ฟลูต ==== ฟลูต (อังกฤษ: flute) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน ฟลูต (อังกฤษ: flute) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน ฟลูต เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีแรก ๆ ของโลก ฟลูตที่เป่าตามแนวนอนพบครั้งแรกที่ประเทศจีนเมื่อ 900 ปีก่อน ค.ศ. ฟลูตได้ไปถึงยุโรปเมื่อราวปี ค.ศ. 1100 ฟลูตในช่วงปี ค.ศ. 1700 นั้นผลิตจากไม้และมีคีย์ 1-4 คีย์ ในศตวรรษที่ 19 จำนวนคีย์ได้เพิ่มเป็น 8 คีย์ ในปี ค.ศ. 1832 ผู้ผลิตเครื่องดนตรีชาวเยอรมันชื่อ Theobald Boehm ได้คิดค้นระบบการวางนิ้วของฟลูตใหม่ และเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ผลิตจากไม้เป็นโลหะ ทำให้ฟลูตสามารถเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้นและเสียงเจิดจ้าขึ้น ระบบเดียวกันนี้ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้กับ โอโบ คลาริเน็ต และแซกโซโฟนด้วย ฟลูตมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา, โดยพื้นฐานแล้วฟลูตก็คือ ท่อปลายเปิดที่ถูกเป่าให้มีเสียง (เหมือนการเป่าขวด) เมื่อมีความต้องการการเครื่องดนตรีที่มีความสามารถมากขึ้น ได้ทำให้เกิดการพัฒนาจนเกิด ฟลูตตะวันตก ซึ่งมีกลุ่มของแป้นกดที่มีความซับซ้อน ฟลูตถูกแบ่งเป็นหลายประเภท โดยส่วนใหญ่ผู้เล่นจะเป่าไปที่ขอบของฟลูตเพื่อให้เกิดเสียง อย่างไรก็ตาม ฟลูตบางประเภทอย่างเช่น ขลุ่ย, นกหวีด จะมีท่อนำลมไปยังขอบ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเล่น แต่จะทำให้ไม่สามารถควบคุมลักษณะของเสียงได้เช่นเดียวกับการผิว โดยปรกติแล้ว ขลุ่ยจะไม่ถูกเรียกว่าฟลูต ถึงแม้ว่ากายภาพ วิธีการ และเสียง จะคล้ายกับฟลูตก็ตาม การแบ่งประเภทอีกแบบหนึ่งก็การแบ่งระหว่าง การเป่าด้านข้าง (Transverse) และการเป่าจากส่วนบน กลุ่มหลัก ๆ ของฟลุตประกอบไปด้วย ปิคโคโล คอนเสิร์ทฟลุต อัลโตฟลุต เบสฟลุต คอนทราเบสฟลุต ซึ่งแต่ละชนิดจะมีช่วงของเสียงแตกต่างกัน ปิคโคโลจะมีเสียงสูงกว่าฟลูต ไป 1 คู่แปด แต่การเขียนโน้ตจะเขียนเช่นเดียวกับคอนเสิร์ตฟลูต อัลโตฟลูตจะให้เสียง G (โซ) ซึ่งต่ำกว่า C (โด) กลาง เสียงสูงที่สุดที่อัลโตฟลูตจะเล่นได้คือ G (โซสูง) อยู่บนเสี้นที่ 4 เหนือบรรทัด 5 เส้น เบสฟลูตจะให้เสียงต่ำกว่าคอนเสิร์ตฟลูตอยู่ 1 คู่แปด เป็นฟลูตที่ไม่ค่อยถูกนำมาเล่น มีทั้ง ฟลูตเสียงสูง ที่ให้เสียง G (โซ) ที่ให้เสียงสูงกว่า อัลโตฟลูตอยู่ 1 คู่แปด, โซปราโนฟลูต, เทเนอร์ฟลูต ฯลฯ โดยฟลูตที่มีขนาดแตกต่างจาก ฟลูต และ ปิคโคโล บางครั้งจะถูกเรียกว่า ฮาร์โมนีฟลูต นิเกิล ใช้ทำฟลูตระดับนักเรียน หรือสำหรับผู้หัดเล่น ฟลูตทำจากวัสดุประเภทนี้จะมีราคาถูก มีการตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนต่ำ ให้เสียงที่ทึบ นิเกิล-ซิลเวอร์ เกิดจากการนำทองแดงผสมนิเกิล และโลหะอื่นๆอีกเล็กน้อยตามที่ผู้ผลิตต้องการ โลหะชนิดนี้ไม่มีเงินผสมอยู่ แต่มีสีเหมือนเงิน จึงเรียกว่านิเกิล-ซิลเวอร์ และมักถูกเคลือบด้วยเงินอีกชั้น ฟลูตชนิดนี้ให้เสียงที่สว่าง การตอบสนองดี ราคาสูงกว่าแบบนิเกิล เงิน (Silver, Stiring Silver) ให้การตอบสนองและการโปรเจกต์เสียงที่ดีกว่านิเกิ้ลซิลเวอร์ ราคาแพงกว่าแบบนิเกิล-ซิลเวอร์มาก ไม้ แก้ว ทอง Headjoint หรือที่เรียกว่าปากเป่า เป็นตัวกำเนิดเสียง ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ Reflector อยู่ด้านในสุดของรูเป็นตัวสร้างเสียง Lip Plate เป็นส่วนวางปาก ซึ่งบน Lip Plate จะมีปากเป่า (Embouchure) เป็นส่วนให้ผู้เล่นผิวลมเข้าไป Crown เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของฟลูต สามารถหมุนออกเพื่อปรับ Refector ได้ Body เป็นส่วนควบคุมเสียง โดยมีส่วนคีย์และกลไกในการเล่น อาจจะมีกลไกเพิ่มเติมเช่น E Mechanism Foot คือส่วนหางมี 2 ประเภทคือ C Foot และ B Foot โดยฟลุตที่เป็น C Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือ Middle C และฟลุตที่เป็น B Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือเสียง B (ต่ำกว่า Middle C ครึ่งเสียง) ฟลูตที่เป็น B Foot จะราคาแพงกว่า ยาวกว่า และหนักกว่า C Foot Concert Flute หรือ Flute ทั่วไป Piccolo in C,Db Alto Flute in G Alto Flute in F Bass Flute in C Contrabass Flute Double Contrabass Flute ณัชชา โสคติยานุรักษ์, พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2543), หน้า 73 บทความเกี่ยวกับเพลง ดนตรี หรือ เครื่องดนตรีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดนตรี ฟลุต สาธารณรัฐโคลอมเบียในโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 ======================================== สาธารณรัฐโคลอมเบีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 17 ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ณ กรุงโรม อิตาลีระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 11 กันยายน พ.ศ. 2503 สาธารณรัฐโคลอมเบีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 17 ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ณ กรุงโรม อิตาลีระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 11 กันยายน พ.ศ. 2503 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศโคลอมเบียในโอลิมปิก ธงชาติโคลอมเบีย รหัสประเทศ : COL เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกโคลอมเบีย เว็บไซต์ : www.coc.org.co (สเปน) โอลิมปิกฤดูร้อน 1960 โรม อิตาลี เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 • 1936 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 • 2016 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2002 • 2006 • 2010 • 2014 ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหาร ==================================== ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหาร เป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประเภทการเจ็บป่วยตามเกณฑ์เพื่อใช้บันทึกเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลทางสถิติในการวางแผนสุขภาพในระดับสากล ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหาร เป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประเภทการเจ็บป่วยตามเกณฑ์เพื่อใช้บันทึกเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลทางสถิติในการวางแผนสุขภาพในระดับสากล (K00) ความผิดปกติของพัฒนาการและการงอกของฟัน (K00.0) ภาวะไร้ฟัน (K00.1) ฟันเกิน (K00.2) ความผิดปกติของขนาดและรูปร่างฟัน ฟันใหญ่ ฟันเล็ก ฟันแฝดติด ฟันเชื่อมติดกัน เดนส์ อีวาจินาตัส เดนส์ อินวาจินาตัส ไข่มุกเคลือบฟัน ภาวะโพรงในตัวฟันยืดขยายสู่ปลายราก (K00.4) การรบกวนการสร้างฟัน รากฟันหงิกงอ ภาวะเจริญพร่องของเคลือบฟัน โอด็อนโตดิสเปลเซียเฉพาะบริเวณ ฟันเทอร์เนอร์ (K00.5) การรบกวนการสร้างฟันที่เป็นกรรมพันธุ์ มิได้จำแนกไว้ที่ใด การสร้างเคลือบฟันไม่สมบูรณ์ การสร้างเนื้อฟันไม่สมบูรณ์ การสร้างฟันไม่สมบูรณ์ เนื้อฟันเจริญผิดปกติ เชลล์ ทีต (K00.6) การรบกวนการงอกของฟัน (K00.7) กลุ่มอาการฟันน้ำนมงอก (K00.8) ความผิดปกติแบบอื่นของพัฒนาการของฟัน (K00.9) ความผิดปกติของพัฒนาการของฟัน ไม่ระบุรายละเอียด (K01) ฟันฝังและฟันคุด (K01.0) ฟันฝัง (K01.1) ฟันคุด (K02) ฟันผุ (K02.0) ฟันผุที่จำกัดเฉพาะเคลือบฟัน (K02.1) ฟันผุที่ลุกลามถึงเนื้อฟัน (K02.2) ฟันผุของเคลือบรากฟัน (K02.3) ฟันผุที่ไม่ลุกลาม (K02.4) โอด็อนโทเคลเซีย (K02.8) ฟันผุแบบอื่น (K02.9) ฟันผุ ไม่ระบุรายละเอียด (K03) โรคแบบอื่นของเนื้อเยื่อแข็งของฟัน (K03.0) ฟันสึกจากการบดเคี้ยวมากผิดปกติ (K03.1) ฟันสึกจากการขัดถู (K03.2) ฟันสึกกร่อน (K03.3) การละลายของฟันที่มีพยาธิสภาพ (K03.4) ภาวะเคลือบรากฟันเกิน (K03.5) รากฟันยึดติดกระดูกขากรรไกร (K03.6) คราบ (สิ่งสะสม) บนฟัน (K03.7) การเปลี่ยนสีของเนื้อเยื่อแข็งของฟันหลังฟันขึ้น (K03.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดของเนื้อเยื่อแข็งของฟัน (K03.9) โรคของเนื้อเยื่อแข็งของฟัน ไม่ระบุรายละเอียด (K04) โรคของเนื้อเยื่อในฟันและเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน (K04.0) เนื้อเยื่อในฟันอักเสบ (K04.1) การตายของเนื้อเยื่อในฟัน (K04.2) การเสื่อมของเนื้อเยื่อในฟัน (K04.3) การสร้างเนื้อเยื่อแข็งในฟันผิดปกติ (K04.4) เนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันอักเสบเฉียบพลันที่มีสาเหตุจากเนื้อเยื่อในฟัน (K04.5) เนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันอักเสบเรื้อรัง (K04.6) ฝีรอบปลายรากฟันร่วมกับทางหนองไหล (K04.7) ฝีรอบปลายรากฟันที่ไม่มีทางหนองไหล (K04.8) ถุงน้ำรากฟัน (K04.9) โรคอื่นและที่ไม่ระบุรายละเอียดของเนื้อเยื่อในฟันและเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน (K05) เหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ (K05.0) เหงือกอักเสบเฉียบพลัน (K05.1) เหงือกอักเสบเรื้อรัง (K05.2) โรคปริทันต์อักเสบเฉียบพลัน (K05.3) โรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง (K05.4) โรคปริทันต์อักเสบในผู้เยาว์ (K05.5) โรคปริทันต์อื่น (K05.6) โรคปริทันต์ ไม่ระบุรายละเอียด (K06) ความผิดปกติแบบอื่นของเหงือกและสันกระดูกขากรรไกรไร้ฟัน (K06.0) เหงือกร่น (K06.1) เหงือกโต (K06.2) รอยโรคของเหงือกและสันกระดูกขากรรไกรไร้ฟันที่พบร่วมกับการบาดเจ็บ (K06.8) ความผิดปกติอื่นที่ระบุรายละเอียดของเหงือกและสันกระดูกขากรรไกรไร้ฟัน ติ่งเนื้อเส้นใย สันเหงือกปวกเปียก ติ่งเนื้อไจแอนต์ เซลล์ ไจแอนต์ เซลล์ แกรนูโลมาที่ขอบ แกรนูโลมาที่ทำให้เกิดหนอง (K06.9) ความผิดปกติของเหงือกและสันกระดูกขากรรไกรไร้ฟัน ไม่ระบุรายละเอียด (K07) วิกลภาพของกระดูกขากรรไกรร่วมกับใบหน้า (รวมการสบฟันผิดปกติ) (K07.0) วิกลภาพหลักของขนาดขากรรไกร การเจริญพร่องของขากรรไกรล่าง การเจริญพร่องของขากรรไกรบน การเจริญเกินของของขากรรไกรล่าง การเจริญเกินของของขากรรไกรบน ขากรรไกรใหญ่เกิน (ขากรรไกรล่าง) (ขากรรไกรบน) ขากรรไกรเล็กเกิน (ขากรรไกรล่าง) (ขากรรไกรบน) (K07.1) วิกลภาพของความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกรกับฐานกะโหลกศีรษะ ขากรรไกรไม่สมมาตร คางยื่น (ขากรรไกรล่าง) (ขากรรไกรบน) คางหดสั้น (ขากรรไกรล่าง) (ขากรรไกรบน) (K07.2) วิกลภาพของความสัมพันธ์ของส่วนโค้งฟัน ครอสไบต์ (ด้านหน้า) (ด้านหลัง) ดิสโต-อ็อกคลูชัน มีซิโอ-อ็อกคลูชัน การเบี่ยงเบนของแนวกึ่งกลาง ภาวะสบเปิด (ด้านหน้า) (ด้านหลัง) การเหลื่อมแนวดิ่งมากกว่าปกติ การเหลื่อมแนวราบมากกว่าปกติ ส่วนโค้งขากรรไกรล่างด้านหลังสบเข้าทางด้านลิ้น (K07.3) วิกลภาพของตำแหน่งฟัน ฟันซ้อน ฟันเคลื่อน ฟันหมุน ฟันห่าง ฟันย้ายข้าง ฟันฝังหรือฟันคุดในตำแหน่งผิดปกติ (K07.4) การสบฟันผิดปกติ ไม่ระบุรายละเอียด (K07.5) ความผิดปกติของการทำงานของฟันร่วมกับใบหน้า การหุบปากผิดปกติ การสบฟันผิดปกติจากการกลืนผิดปกติ การสบฟันผิดปกติจากการหายใจทางปาก การสบฟันผิดปกติจากนิสัยใช้ลิ้น ริมฝีปาก หรือนิ้ว (K07.6) ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร กลุ่มอาการปวดและทำงานผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (คอสเต็น) ข้อต่อขากรรไกรมีเสียงคลิก (K07.8) วิกลภาพอื่นของขากรรไกรร่วมกับใบหน้า (K07.9) วิกลภาพของขากรรไกรร่วมกับใบหน้า ไม่ระบุรายละเอียด (K08) ความผิดปกติอื่นของฟันและโครงสร้างที่พยุงฟัน (K08.0) การหลุดของฟันจากสาเหตุของระบบ (K08.1) การสูญเสียฟันจากอุบัติเหตุ การถอน หรือโรคปริทันต์เฉพาะที่ (K08.2) การฝ่อของสันกระดูกขากรรไกรไร้ฟัน (K08.3) รากฟันตกค้าง (K08.8) ความผิดปกติอื่นที่ระบุรายละเอียดของฟันและโครงสร้างที่พยุงฟัน สันกระดูกขากรรไกรขยายใหญ่ มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น สันกระดูกเบ้าฟันไม่สม่ำเสมอ ปวดฟัน มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (K08.9) ความผิดปกติของฟันและโครงสร้างที่พยุงฟัน ไม่ระบุรายละเอียด (K09) ถุงน้ำบริเวณปาก มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K09.0) ถุงน้ำที่เกี่ยวข้องกับการกำเนิดฟัน (K09.1) ถุงน้ำที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกำเนิดฟัน (K09.2) ถุงน้ำอื่นของขากรรไกร (K09.8) ถุงน้ำอื่นบริเวณปาก มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K09.9) ถุงน้ำบริเวณปาก ไม่ระบุรายละเอียด (K10) โรคอื่นของขากรรไกร (K10.0) ความผิดปกติทางพัฒนาการของขากรรไกร ปุ่มกระดูกขากรรไกรล่าง ปุ่มกระดูกเพดานปาก (K10.1) ไจแอนต์ เซลล์ แกรนูโลมาที่เกิดในกระดูก (K10.2) ภาวะอักเสบของขากรรไกร (K10.3) กระดูกขากรรไกรส่วนเบ้าฟันอักเสบ (K10.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดของขากรรไกร (K10.9) โรคของขากรรไกร ไม่ระบุรายละเอียด (K11) โรคของต่อมน้ำลาย (K11.0) ต่อมน้ำลายฝ่อ (K11.1) ต่อมน้ำลายโตเกิน (K11.2) ต่อมน้ำลายอักเสบ (K11.3) ฝีของต่อมน้ำลาย (K11.4) ทางทะลุของต่อมน้ำลาย (K11.5) นิ่วน้ำลาย (K11.6) ถุงน้ำเมือกของต่อมน้ำลาย รานูลา (K11.7) ความผิดปกติของการหลั่งน้ำลาย การหลั่งน้ำลายน้อยไป การหลั่งน้ำลายมากเกิน (น้ำลายสอ) ปากแห้งจากน้ำลายน้อย (K11.8) โรคอื่นของต่อมน้ำลาย รอยโรคลิมโฟอีพิทีเลียลชนิดไม่ร้ายของต่อมน้ำลาย โรคมิคูลิกซ์ เนโครไทซิง ไซอะโลเมตะเพลเซีย ท่อน้ำลายโป่ง (K11.9) โรคของต่อมน้ำลาย ไม่ระบุรายละเอียด (K12) ปากอักเสบและรอยโรคที่สัมพันธ์กัน (K12.0) แอ็ฟทาในปากที่กลับเป็นซ้ำ (K12.1) ปากอักเสบรูปแบบอื่น (K12.2) เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบและฝีที่ปาก (K13) โรคอื่นของริมฝีปากและเยื่อบุช่องปาก (K13.0) โรคของริมฝีปาก ริมฝีปากอักเสบ ไคโลไดเนีย มุมปากแตกเป็นร่อง เพอร์แลช NEC (K13.1) แก้มและริมฝีปากถูกกัด (K13.2) ลิวโคเพลเกียและความผิดปกติอื่นของเยื่อบุผิวช่องปากรวมลิ้น อีริโทรเพลเกีย (K13.3) ลิวโคเพลเกียชนิดมีขน (K13.4) แกรนูโลมาและรอยโรคคล้ายแกรนูโลมาของเยื่อเมือกช่องปาก เวอร์รูคัส แซนโทมา (K13.5) พังผืดใต้เยื่อเมือกของปาก (K13.6) การเจริญเกินของเยื่อเมือกของปากจากการระคายเคือง (K13.7) รอยโรคอื่นและที่ไม่ระบุรายละเอียดของเยื่อเมือกของปาก (K14) โรคของลิ้น (K14.0) ลิ้นอักเสบ (K14.1) ลิ้นลายแผนที่ (K14.2) มีเดียน รอมบอยด์ กลอสไซติส (K14.3) การโตเกินของปุ่มที่ลิ้น ลิ้นมีขนสีดำ (K14.4) ปุ่มที่ลิ้นฝ่อ (K14.5) ลิ้นมีรอยพับหรือจีบ ลิ้นมีรอยแยก (K14.6) กลอสโซไดเนีย (K14.8) โรคอื่นของลิ้น (K14.9) โรคของลิ้น ไม่ระบุรายละเอียด (K20) หลอดอาหารอักเสบ (K21) โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร (K22) โรคอื่นของหลอดอาหาร (K22.0) กล้ามเนื้อเรียบของปากกระเพาะอาหารไม่คลาย (K22.1) แผลที่หลอดอาหาร (K22.2) การอุกดั้นที่หลอดอาหาร (K22.3) รูทะลุที่หลอดอาหาร (K22.4) หลอดอาหารเคลื่อนไหวผิดปกติ (K22.5) ถุงยื่นที่หลอดอาหาร เกิดภายหลัง (K22.6) กลุ่มอาการฉีกขาดมีเลือดออกที่กระเพาะอาหารและหลอดอาหาร กลุ่มอาการมัลลอรี-ไวสส์ (K22.7) หลอดอาหารบาร์แร็ตต์ (K22.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดที่หลอดอาหาร (K22.9) โรคที่หลอดอาหาร ไม่ระบุรายละเอียด (K23) ความผิดปกติที่หลอดอาหารในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (K25) แผลกระเพาะอาหาร (K26) แผลลำไส้เล็กส่วนต้น (K27) แผลเพ็ปทิก ไม่ระบุตำแหน่ง (K28) แผลกระเพาะอาหารร่วมกับลำไส้เล็กส่วนกลาง (K29) กระเพาะอาหารอักเสบและลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ (K29.0) กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลันและมีเลือดออก (K29.1) กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลันอื่น (K29.2) กระเพาะอาหารอักเสบจากแอลกอฮอล์ (K29.3) กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังที่ชั้นผิว (K29.4) กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังแบบฝ่อ (K29.5) กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ไม่ระบุรายละเอียด (K29.6) กระเพาะอาหารอักเสบอื่น (K29.7) กระเพาะอาหารอักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด (K29.8) ลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ (K29.9) กระเพาะอาหารร่วมกับลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด (K30) อาหารไม่ย่อย (K31) โรคอื่นที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (K31.0) กระเพาะอาหารขยายขนาดเฉียบพลัน (K31.1) การตีบที่กระเพาะอาหารส่วนปลายทำให้กระเพาะโตขึ้นเฉียบพลัน (K31.2) การคอดและตีบที่กระเพาะอาหาร (K31.3) กระเพาะอาหารส่วนปลายบีบเกร็ง มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K31.4) ถุงยื่นที่กระเพาะอาหาร (K31.5) การอุดกั้นที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (K31.6) ทางทะลุที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (K31.7) ติ่งเนื้อที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (K31.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ภาวะไร้กรดเกลือ กระเพาะอาหารย้อย การหดตัวของกระเพาะอาหารเป็นรูปนาฬิกาทราย (K31.9) โรคของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ไม่ระบุรายละเอียด (K35) ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน (K35.0) ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันร่วมกับเยื่อบุช่องท้องอักเสบทั่วไป (K35.1) ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันร่วมกับฝีในช่องท้อง (K35.9) ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ไม่ระบุรายละเอียด (K36) ไส้ติ่งอักเสบแบบอื่น (K37) ไส้ติ่งอักเสบที่ไม่ระบุรายละเอียด (K38) โรคแบบอื่นของไส้ติ่ง (K38.0) ไส้ติ่งเจริญเกิน (K38.1) นิ่วในไส้ติ่ง นิ่วอุจจาระ นิ่วคูถ (K38.2) ถุงยื่นของไส้ติ่ง (K38.3) ทางทะลุของไส้ติ่ง (K38.8) โรคแบบอื่นที่ระบุรายละเอียดของไส้ติ่ง ไส้ติ่งกลืนกัน (K38.9) โรคของไส้ติ่ง ไม่ระบุรายละเอียด (K40) ไส้เลื่อนขาหนีบ (K41) ไส้เลื่อนต้นขา (K42) ไส้เลื่อนสะดือ (K43) ไส้เลื่อนหน้าท้อง (K44) ไส้เลื่อนกะบังลม (K45) ไส้เลื่อนแบบอื่นที่ท้อง ไส้เลื่อนเอว (K46) ไส้เลื่อนที่ไม่ระบุรายละเอียดที่ท้อง (K50) โรคโครห์น (ลำไส้อักเสบเฉพาะบริเวณ) (K50.0) โรคโครห์นที่ลำไส้เล็ก (K50.1) โรคโครห์นที่ลำไส้ใหญ่ (K50.8) โรคโครห์นที่อื่น (K50.9) โรคโครห์น ไม่ระบุรายละเอียด (K51) ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (K51.0) ลำไส้ใหญ่ทั้งหมดอักเสบแบบมีแผล (เรื้อรัง) (K51.1) ลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (เรื้อรัง) (K51.2) ลำไส้ตรงอักเสบแบบมีแผล (เรื้อรัง) (K51.3) ลำไส้ตรงและลำไส้ส่วนซิกมอยด์อักเสบแบบมีแผล (เรื้อรัง) (K51.4) ติ่งเนื้อเมือกที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ (K51.5) ลำไส้ใหญ่ด้านซ้ายอักเสบ (K51.8) ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผลแบบอื่น (K51.9) ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล ไม่ระบุรายละเอียด (K52) กระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กอักเสบและลำไส้ใหญ่อักเสบที่ไม่ติดเชื้อแบบอื่น (K52.0) กระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กอักเสบและลำไส้ใหญ่อักเสบเพราะการฉายรังสี (K52.1) กระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กอักเสบและลำไส้ใหญ่อักเสบจากสารพิษ (K52.2) กระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กอักเสบและลำไส้ใหญ่อักเสบจากภูมิแพ้และสารอาหาร (K52.8) กระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กอักเสบและลำไส้ใหญ่อักเสบที่ไม่ติดเชื้อแบบอื่นที่ระบุรายละเอียด (K52.9) กระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กอักเสบและลำไส้ใหญ่อักเสบที่ไม่ติดเชื้อ ไม่ระบุรายละเอียด (K55) ความผิดปกติของหลอดเลือดลำไส้ (K55.0) ความผิดปกติเฉียบพลันของหลอดเลือดลำไส้ (K55.1) ความผิดปกติเรื้อรังของหลอดเลือดลำไส้ เยื่อแขวนลำไส้มีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ (K55.2) หลอดเลือดลำไส้ใหญ่เจริญผิดปกติ (K55.8) ความผิดปกติอื่นของหลอดเลือดลำไส้ (K55.9) ความผิดปกติของหลอดเลือดลำไส้ ไม่ระบุรายละเอียด (K56) ลำไส้อืดเป็นอัมพาตและลำไส้อุดกั้นที่ไม่มีไส้เลื่อน (K56.0) ลำไส้อืดเป็นอัมพาต (K56.1) ลำไส้กลืนกัน (K56.2) ลำไส้บิดเกลียว (K56.3) ลำไส้อืดจากนิ่วน้ำดี (K56.4) การอัดในลำไส้แบบอื่น (K56.5) ลำไส้ยึดติด (แถบ) ร่วมกับมีการอุดกั้น (K56.6) ลำไส้อุดกั้นอื่นและที่ไม่ระบุรายละเอียด (K56.7) ลำไส้อืด ไม่ระบุรายละเอียด (K57) โรคถุงยื่นของลำไส้ (K57.0) โรคถุงยื่นของลำไส้เล็กร่วมกับรูทะลุและฝี (K57.1) โรคถุงยื่นของลำไส้เล็กที่ไม่มีรูทะลุหรือฝี (K57.2) โรคถุงยื่นของลำไส้ใหญ่ร่วมกับรูทะลุและฝี (K57.3) โรคถุงยื่นของลำไส้ใหญ่ที่ไม่มีรูทะลุหรือฝี (K57.4) โรคถุงยื่นของทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ร่วมกับรูทะลุและฝี (K57.5) โรคถุงยื่นของทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ที่ไม่มีรูทะลุหรือฝี (K57.8) โรคถุงยื่นของลำไส้ ไม่ระบุส่วน ร่วมกับรูทะลุและฝี (K57.9) โรคถุงยื่นของลำไส้ ไม่ระบุส่วน ที่ไม่มีรูทะลุหรือฝี (K58) กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (K59) ความผิดปกติอื่นในการทำหน้าที่ของลำไส้ (K59.0) ท้องผูก (K59.1) ท้องร่วงจากการทำหน้าที่ผิดปกติ (K59.2) ลำไส้ทำหน้าที่ผิดปกติจากระบบประสาท มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K59.3) ลำไส้ใหญ่พอง มิได้จำแนกไว้ที่ใด ลำไส้ใหญ่พองจากเป็นพิษ (K59.4) ทวารหนักหดเกร็ง เจ็บทวารหนัก (K59.8) ความผิดปกติอื่นที่ระบุรายละเอียดในการทำหน้าที่ของลำไส้ (K59.9) ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของลำไส้ ไม่ระบุรายละเอียด (K60) รอยแยกและทางทะลุบริเวณทวารหนักและลำไส้ตรง (K60.0) รอยแยกทวารหนักเฉียบพลัน (K60.1) รอยแยกทวารหนักเรื้อรัง (K60.2) รอยแยกทวารหนัก ไม่ระบุรายละเอียด (K60.3) ทางทะลุทวารหนัก (K60.4) ทางทะลุลำไส้ตรง (K60.5) ทางทะลุระหว่างทวารหนักกับลำไส้ตรง (K61) ฝีบริเวณทวารหนักและลำไส้ตรง (K61.0) ฝีทวารหนัก (K62) โรคอื่นของทวารหนักและลำไส้ตรง (K62.0) ติ่งเนื้อทวารหนัก (K62.1) ติ่งเนื้อลำไส้ตรง (K62.2) ทวารหนักย้อย (K62.3) ลำไส้ตรงย้อย (K62.4) การตีบของทวารหนักและลำไส้ตรง (K62.5) เลือดออกจากทวารหนักและลำไส้ตรง (K62.6) แผลที่ทวารหนักและลำไส้ตรง (K62.7) ลำไส้ตรงอักเสบเพราะการฉายรังสี (K62.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดของทวารหนักและลำไส้ตรง ลำไส้ตรงอักเสบ มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (K62.9) โรคของทวารหนักและลำไส้ตรง ไม่ระบุรายละเอียด (K63) โรคอื่นของลำไส้ (K63.0) ฝีที่ลำไส้ (K63.1) ลำไส้ทะลุ (ไม่เกิดจากการบาดเจ็บ) (K63.2) ทางทะลุที่ลำไส้ (K63.3) แผลที่ลำไส้ (K63.4) ลำไส้ย้อย (K63.5) ติ่งเนื้อเมือกของลำไส้ใหญ่ (K63.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดของลำไส้เล็ก (K63.9) โรคของลำไส้เล็ก ไม่ระบุรายละเอียด (K65) เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (K66) ความผิดปกติแบบอื่นของเยื่อบุช่องท้อง (K66.0) เยื่อบุช่องท้องยึดติด (K66.1) ช่องท้องมีเลือด (K66.8) ความผิดปกติแบบอื่นที่ระบุรายละเอียดของเยื่อบุช่องท้อง (K66.9) ความผิดปกติของเยื่อบุช่องท้อง ไม่ระบุรายละเอียด (K67) ความผิดปกติของเยื่อบุช่องท้องในโรคติดเชื้อที่จำแนกไว้ที่อื่น (K70) โรคตับจากแอลกอฮอล์ (K70.0) ตับคั่งไขมันจากแอลกอฮอล์ (K70.1) ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ (K70.2) ตับเกิดพังผืดและแข็งจากแอลกอฮอล์ (K70.3) ตับแข็งจากแอลกอฮอล์ (K70.4) ตับวายจากแอลกอฮอล์ (K70.9) โรคตับจากแอลกอฮอล์ ไม่ระบุรายละเอียด (K71) โรคตับจากสารพิษ (K71.0) โรคตับจากสารพิษร่วมกับน้ำดีคั่ง (K71.1) โรคตับจากสารพิษร่วมกับเนื้อตายของตับ (K71.2) โรคตับจากสารพิษร่วมกับตับอักเสบเฉียบพลัน (K71.3) โรคตับจากสารพิษร่วมกับตับอักเสบที่คงอยู่เรื้อรัง (K71.4) โรคตับจากสารพิษร่วมกับกลีบตับอักเสบเรื้อรัง (K71.5) โรคตับจากสารพิษร่วมกับตับอักเสบมีฤทธิ์เรื้อรัง (K71.6) โรคตับจากสารพิษร่วมกับตับอักเสบ มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K71.7) โรคตับจากสารพิษร่วมกับตับมีพังผืดและตับแข็ง (K71.8) โรคตับจากสารพิษร่วมกับความผิดปกติอื่น (K71.9) โรคตับจากสารพิษ ไม่ระบุรายละเอียด (K72) ตับวาย มิได้จำแนกไว้ที่ใด โรคสมองจากตับ (K73) ตับอักเสบเรื้อรัง มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K74) ตับมีพังผืดและตับแข็ง (K74.0) พังผืดของตับ (K74.1) เนื้อตับแข็ง (K74.2) พังผืดของตับร่วมกับเนื้อตับแข็ง (K74.3) ตับแข็งจากโรคท่อน้ำดีปฐมภูมิ (K74.4) ตับแข็งจากโรคท่อน้ำดีทุติยภูมิ (K74.5) ตับแข็งจากโรคท่อน้ำดี ไม่ระบุรายละเอียด (K74.6) ตับแข็งแบบอื่นและที่ไม่ระบุรายละเอียด (K75) โรคตับอักเสบแบบอื่น (K75.0) ฝีของตับ (K75.1) หลอดเลือดดำพอร์ทัลอักเสบ (K75.2) ตับอักเสบแบบปฏิกิริยาไม่จำเพาะ (K75.3) ตับอักเสบแบบแกรนูโลมาตัส มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K75.4) ตับอักเสบแบบภูมิต้านตนเอง (K75.8) โรคตับอักเสบแบบอื่นที่ระบุรายละเอียด (K75.9) โรคตับอักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด ตับอักเสบ มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (K76) โรคอื่นของตับ (K76.0) ตับ (การเปลี่ยนแปลง) คั่งไขมัน มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K76.1) เลือดคั่งในตับแบบเรื้อรัง (K76.2) เนื้อตับตายและมีเลือดออกที่ส่วนกลาง (K76.3) เนื้อตับตายจากขาดเลือด (K76.4) เปลิโอซิส เฮปาติส (K76.5) โรคหลอดเลือดดำตับอุดตัน (K76.6) ความดันในหลอดเลือดพอร์ทัลสูง (K76.7) กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ (K76.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดของตับ (K76.9) โรคตับ ไม่ระบุรายละเอียด (K77) ความผิดปกติของตับในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (K80) นิ่วน้ำดี (K80.0) นิ่วในถุงน้ำดีร่วมกับถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (K80.1) นิ่วในถุงน้ำดีร่วมกับถุงน้ำดีอักเสบแบบอื่น (K80.2) นิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีถุงน้ำดีอักเสบ (K80.3) นิ่วในท่อน้ำดีร่วมกับท่อน้ำดีอักเสบ (K80.4) นิ่วในท่อน้ำดีร่วมกับถุงน้ำดีอักเสบ (K80.5) นิ่วในท่อน้ำดีที่ไม่มีท่อน้ำดีอักเสบหรือถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วในท่อน้ำดีรวม (K80.8) นิ่วน้ำดีแบบอื่น (K81) ถุงน้ำดีอักเสบ (K82) โรคอื่นของถุงน้ำดี (K82.0) ถุงน้ำดีอุดกั้น (K82.1) ถุงน้ำดีบวมน้ำ (K82.2) ถุงน้ำดีทะลุ (K82.3) ทางทะลุที่ถุงน้ำดี (K82.4) โคเลสเตอรอลสะสมในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีสตรอเบอร์รี (K82.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดของถุงน้ำดี (K82.9) โรคของถุงน้ำดี ไม่ระบุรายละเอียด (K83) โรคอื่นของทางเดินน้ำดี (K83.0) ท่อน้ำดีอักเสบ (K83.1) ท่อน้ำดีอุดกั้น (K83.2) ท่อน้ำดีทะลุ (K83.3) ทางทะลุที่ท่อน้ำดี (K83.4) การตีบของหูรูดของอ็อดดี (K83.5) ถุงน้ำของท่อน้ำดี (K83.8) โรคอื่นที่ไม่ระบุรายละเอียดของทางเดินน้ำดี (K83.9) โรคของทางเดินน้ำดี ไม่ระบุรายละเอียด (K85) ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (K86) โรคอื่นของตับอ่อน (K86.0) ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากแอลกอฮอล์ (K86.1) ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังอื่น (K86.2) ถุงน้ำที่ตับอ่อน (K86.3) ถุงน้ำเทียมที่ตับอ่อน (K86.8) โรคแบบอื่นที่ระบุรายละเอียดของตับอ่อน (K86.9) โรคของตับอ่อน ไม่ระบุรายละเอียด (K87) ความผิดปกติของถุงน้ำดี ทางเดินน้ำดี และตับอ่อนในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (K90) การดูดซึมของลำไส้ผิดปกติ (K90.0) โรคของซีลิแอ็ก (K90.1) โรคบิดสปรูเขตร้อน (K90.2) กลุ่มอาการไบลด์ ลูป มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K90.3) ไขมันในอุจจาระมากเกินจากตับอ่อน (K90.4) การดูดซึมผิดปกติจากการไม่ทน มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K90.8) ลำไส้ดูดซึมผิดปกติแบบอื่น (K90.9) ลำไส้ดูดซึมผิดปกติ ไม่ระบุรายละเอียด (K91) ความผิดปกติหลังทำหัตถการระบบย่อยอาหาร มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K91.0) อาเจียนหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้ (K91.1) กลุ่มอาการหลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร กลุ่มอาการดัมปิง กลุ่มอาการหลังตัดกระเพาะ กลุ่มอาการหลังตัดเส้นประสาทเวกัส (K91.2) การดูดซึมผิดปกติหลังผ่าตัด มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K91.3) ลำไส้อุดกั้นหลังผ่าตัด (K91.4) รูเปิดลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กทำหน้าที่ผิดปกติ (K91.5) กลุ่มอาการหลังตัดถุงน้ำดี (K91.8) ความผิดปกติอื่นที่ระบุรายละเอียดหลังทำหัตถการระบบย่อยอาหาร มิได้จำแนกไว้ที่ใด (K91.9) ความผิดปกติหลังทำหัตถการระบบย่อยอาหาร ไม่ระบุรายละเอียด (K92) โรคแบบอื่นของระบบย่อยอาหาร (K92.0) อาเจียนเป็นเลือด (K92.1) ถ่ายดำ (K92.2) เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ ไม่ระบุรายละเอียด (K92.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดของระบบย่อยอาหาร (K92.9) โรคของระบบย่อยอาหาร ไม่ระบุรายละเอียด (K93) ความผิดปกติอื่นของอวัยวะย่อยอาหารในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น รายการอาการในรหัส ICD-10 บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ICD-10-TM Online บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย บัญชีจำแนกโรค ICD-10 A00-B99 โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค C00-D48 เนื้องอก D50-D89 เลือดและอวัยวะสร้างเลือด E00-E90 ต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม F00-F99 ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม G00-G99 ระบบประสาท H00-H59 ตาและอวัยวะเคียงลูกตา H60-H95 หูและปุ่มกระดูกกกหู I00-I99 ระบบไหลเวียนโลหิต J00-J99 ระบบหายใจ K00-K93 ระบบย่อยอาหาร L00-L99 ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง M00-M99 กล้ามเนื้อโครงร่างและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน N00-N99 ระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะ O00-O99 การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด P00-P96 ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด Q00-Q99 รูปพิการและความผิดปกติของโครโมโซม R00-R99 ความผิดปกติจากทางคลินิกและห้องปฏิบัติการ S00-T98 การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และอุบัติเหตุ V01-Y98 สาเหตุภายนอก Z00-Z99 ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพ U00-U99 รหัสเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ ด พ ก ระบบย่อยอาหาร · โรคระบบย่อยอาหาร · วิทยาทางเดินอาหาร (ส่วนใหญ่อยู่ใน K20–K93) ทางเดินอาหารส่วนบน ทางเดินอาหารส่วนล่าง: ลำไส้ เลือดออกใน กระเพาะอาหารและลำไส้/ อุจจาระมีเลือดปน ส่วนบน  (อาเจียนเป็นเลือด, ถ่ายดำ)  · ส่วนล่าง  (ภาวะอุจจาระมีเลือด) ต่อมช่วยย่อยอาหาร ช่องท้องร่วมอุ้งเชิงกราน หลอดอาหาร หลอดอาหารอักเสบ  (เชื้อราแคนดิดา, เชื้อเริม)  · การฉีกขาด  (กลุ่มอาการบอร์ฮาเว, กลุ่มอาการมัลลอรี-ไวสส์) · UES  (ถุงยื่นเซงเคอร์)  · LES  (หลอดอาหารบาร์แร็ตต์) · หลอดอาหารเคลื่อนไหวผิดปกติ  (หลอดอาหารแบบนัทแคร็กเกอร์, กล้ามเนื้อเรียบของหลอดอาหารไม่คลาย, การหดเกร็งของหลอดอาหาร, โรคกรดไหลย้อน (GERD)) · โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาคอหอยส่วนกล่องเสียง (LPR) · รอยคอดที่หลอดอาหาร · หลอดอาหารโตเกิน กระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ  (แบบฝ่อ, โรคเมเนตริเอร์, กระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กอักเสบ)  · แผลเพ็ปทิก (กระเพาะอาหาร)  (แผลเปื่อยคุชชิง, รอยโรคดีเยอลาฟัว)  · อาหารไม่ย่อย · การตีบที่กระเพาะอาหารส่วนปลาย · ภาวะไร้กรดเกลือ · อัมพาตกระเพาะ · กระเพาะอาหารย้อย · โรคกระเพาะจากความดันในหลอดเลือดพอร์ทัลสูง · การโป่งของหลอดเลือดกระเพาะอาหารส่วนปลาย · กลุ่มอาการดัมปิง · กระเพาะอาหารบิดเกลียว ลำไส้เล็ก/ (ส่วนต้น/ส่วนกลาง/ส่วนปลาย) ลำไส้เล็กอักเสบ  (ส่วนต้น, ส่วนกลาง, ส่วนปลาย)  — แผลเพ็ปทิก (ลำไส้เล็ก)  (แผลเปื่อยเคอร์ลิง)  — การดูดซึมผิดปกติ: ซีลิแอ็ก · โรคบิดสปรูเขตร้อน · กลุ่มอาการไบลด์ ลูป · โรควิปเพิล · กลุ่มอาการลำไส้สั้น · ไขมันในอุจจาระมากเกิน · โรคมิลรอย ลำไส้ใหญ่ (ไส้ติ่ง/ลำไส้ใหญ่) ไส้ติ่งอักเสบ · ลำไส้ใหญ่อักเสบ  (เยื่อบุลำไส้ใหญ่อักเสบเทียม, แบบมีแผล, เพราะขาดเลือด, เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์, ชนิดคอลลาจีนัส, ชนิดลิมโฟไซติก)  · ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของลำไส้ใหญ่  (โรคลำไส้แปรปรวน, ลำไส้อุดกั้นเทียม/กลุ่มอาการโอกิลวี)  — ลำไส้ใหญ่พอง/ลำไส้ใหญ่พองจากเป็นพิษ · ถุงยื่นอักเสบ/ถุงยื่น ลำไส้เล็กและใหญ่ ลำไส้เล็กและใหญ่อักเสบ  (ลำไส้อักเสบชนิดเนื้อตาย)  · โรคลำไส้อักเสบ  (โรคโครห์น)  — โรคหลอดเลือด: อาการปวดเค้นท้อง · เยื่อแขวนลำไส้ขาดเลือด · หลอดเลือดลำไส้ใหญ่เจริญผิดปกติ — ลำไส้อุดกั้น: ลำไส้อืด · ลำไส้กลืนกัน · ลำไส้บิดเกลียว · การอัดของอุจจาระ — ท้องผูก · ท้องร่วง  (จากการติดเชื้อ)  · ลำไส้ยึดติด ไส้ตรง ลำไส้ตรงอักเสบ  (ลำไส้ตรงอักเสบเพราะการฉายรังสี)  · เจ็บทวารหนัก · ลำไส้ตรงย้อย ทวารหนัก รอยแยกทวารหนัก/ทางทะลุทวารหนัก · ฝีทวารหนัก  · การเจริญผิดปกติของทวารหนัก  · อาการคันทวารหนัก ตับ ตับอักเสบ  (จากไวรัส, แบบภูมิต้านตนเอง, จากแอลกอฮอล์)  · ตับแข็ง  (ตับแข็งจากโรคท่อน้ำดีปฐมภูมิ)  · ตับคั่งไขมัน  (ตับคั่งไขมันที่ไม่เกิดจากแอลกอฮอล์)  · โรคหลอดเลือด  (โรคหลอดเลือดดำตับอุดตัน, ความดันในหลอดเลือดพอร์ทัลสูง, เลือดคั่งในตับแบบเรื้อรัง)  · โรคตับจากแอลกอฮอล์ · ตับวาย  (โรคสมองจากตับ, ตับวายเฉียบพลัน)  · ฝีของตับ  (ทำให้เกิดหนอง, จากอะมีบา)  · กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ · เปลิโอซิส เฮปาติส ถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบ · นิ่วน้ำดี · โคเลสเตอรอลสะสมในถุงน้ำดี · โพรงโรคิแทนสคี-อัสชอฟฟ์ · กลุ่มอาการหลังตัดถุงน้ำดี · ถุงน้ำดีพอร์ซเลน ท่อน้ำดี/ ทางเดินน้ำดีอื่น ท่อน้ำดีอักเสบ  (ท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ, ท่อน้ำดีอักเสบแข็งทุติยภูมิ, ท่อน้ำดีอักเสบขึ้นบน)  · น้ำดีคั่ง/กลุ่มอาการมีริซซี · ทางทะลุที่ท่อน้ำดี · มีเลือดในท่อน้ำดี · นิ่วน้ำดี ท่อน้ำดีร่วม  (นิ่วในท่อน้ำดีร่วม, การเคลื่อนไหวผิดปกติของท่อซิสติก)  · หูรูดของอ็อดดีทำหน้าที่ผิดปกติ ตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบ  (เฉียบพลัน, เรื้อรัง, ที่เป็นกรรมพันธุ์)  · ถุงน้ำเทียมที่ตับอ่อน · ตับอ่อนส่วนต่อมมีท่อทำงานไม่เพียงพอ · ทางทะลุที่ตับอ่อน ไส้เลื่อน ไส้เลื่อนกะบังลม: ไส้เลื่อนที่กะบังลมแต่กำเนิด · ไส้เลื่อนผ่านช่องเปิดของกะบังลม — ไส้เลื่อนของท้อง: ไส้เลื่อนขาหนีบ  (อ้อม, ตรง)  · ไส้เลื่อนสะดือ · ไส้เลื่อนที่รอยแผล · ไส้เลื่อนต้นขา — ไส้เลื่อนอ็อบทูเรเตอร์ · ไส้เลื่อนหน้าท้อง · ไส้เลื่อนภายใน เยื่อบุช่องท้อง เยื่อบุช่องท้องอักเสบ  (เยื่อบุช่องท้องอักเสบเองจากแบคทีเรีย)  · ช่องท้องมีเลือด · ช่องท้องมีลม กล่องท้ายเรื่องที่เกี่ยวกับ: ระบบย่อยอาหาร กายวิภาค (ทางเดินอาหาร, ต่อมช่วยย่อย, ช่องท้องร่วมเชิงกราน)/สรีรวิทยา/คัพภวิทยา/เอนไซม์ โรค/ความผิดปกติแต่กำเนิด/เนื้องอก, อาการ/ชื่อบุคคล หัตถการ, ยา (A2A/2B/3/4/5/6/7/14/16), การตรวจเลือด อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ======================= อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (อังกฤษ: personal protective equipment: PPE) หรือเรียกโดยย่อว่า อุปกรณ์นิรภัย หรือ เซฟตี้ เป็นอุปกรณ์เพื่อในการทำงานใช้สวมใส่ร่างกาย หรือ ติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ให้เกิดความปลอดภัย ทั้งในบ้าน, ที่ทำงาน, ที่สาธารณะ, อาคาร และพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สวมลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายส่วนรวมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้นๆ ไม่ให้ต้องประสบอันตรายจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด คือเป็นการป้องกันอันตรายจากสภาวะแวดล้อมในการทำงาน 1.หลักการใช้และประโยชน์ขออุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ก็เพื่อป้องกันอวัยวะส่วนต่างของร่างกายโดยไม่ให้เกิดการสูญเสียด้านร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิ่งต่างๆ การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล มีหลักการดังนี้ ต้องเลือกใช้ชนิดที่ป้องกันอันตรายได้ดี ต้องมีน้ำหนักที่เบาเป็นพิเศษและสบายในการสวมใส่ ต้องมีประสิทธิภาพสูง สามารถป้องกันอันตรายได้ดีที่สุด มีราคาย่อมเยาหาซื้อได้ง่าย วิธีการใช้เครื่องป้องกันนั้นจะต้องไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป เพราะจะทำให้คนที่ใช้สวมใสเกิดความยุ่งยาก ต้องมีสีสันที่เด่นชัด และเป็นสีที่ดูแล้วสะอาดตา การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ต้องทราบลักษณะและความต้องการในการใช้อย่างแน่นอนเสียก่อน การเลือกใช้จะต้องระมัดระวัง ต้องให้ถูกต้องกับลักษณะของงานมากที่สุด ไม่ให้ขัดขวางการทำงานของคนงานได้ และจะไม่ลดประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องพยายามให้ผู้ใช้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็น รวมถึงประโยชน์ในการใช้เครื่องป้องกันอันตรายได้ ต้องมีการอบรมให้คำแนะนำถึงวิธีการเก็บ การรักษา และการใช้จากผู้ที่ชำนาญ จะต้องมีระเบียบและข้อบังคับในการใช้ เพื่อให้การใช้มีผลที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ในการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในโรงงาน เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงงาน เพื่อช่วยในการประหยัดเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้า เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความรู้สึกว่า กาปฏิบัติงานนั้น ๆ มีความปลอดภัยตลอดเวลา เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้สูงขึ้น 2.ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แบ่งออกเป็น อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย คือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้นๆ โดยเฉพาะ สามารถแบ่งย่อยๆ ออกตามลักษณะที่ใช้ป้องกันได้ ดังนี้ อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection) 1.1 หมวกกันน็อค (Helmet) หมวกนี้ส่วนใหญ่จะทำจากไฟเบอร์หรือพลาสติกแข็ง หรือวัสดุอื่นที่มีความทึบแสง และไม่ติดไฟ สามารถป้องกันอันตรายจกรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้และไม่ทำให้เกิดโรคติดต่อ หมวกชนิดนี้นอกจากจะใช้ป้องกันศีรษะ ก้านคอและใบหูแล้ว ยังสามารถติดกระบังหน้าเพื่อป้องกันวัสดุที่จะกระเด็นใส่หน้า และเมื่อไม่ต้องการใช้ก็เปิดขึ้นไปเหนือศีรษะได้ กระบังหน้าที่ใช้มือถือ (Hand Shield) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันใบหน้าชนิดหนึ่ง ที่ผู้ใช้รูสึกรำคาญจากการใช้หมวกกันน็อค อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้ในการตรวจสอบงานแนวเชื่อม กระบังหน้าชนิดนี้เรียกว่า หน้ากากเชื่อม Product 38910 198478728 fullsize.jpg อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ การใช้หมวกนิรภัย มีหลักการ 6 ข้อ - เลือกหมวกให้เหมาะสมกับชนิดของงาน - ตรวจสอบสภาพหมวกก่อนใช้งานทุกครั้ง - ปรับหมวกให้กระชับพอดี -สวมหมวกตรงๆเต็มศีรษะ อย่าให้เอียงไปเอียงมา - เมื่อใช้งานเสร็จ ควรเก็บรักษาให้ดี -สวมหมวกตลอดเวลาขณะทำงาน1.2 ผ้าคลุมผม ชุดทำงานของพนักงานหญิงจะมีความพิเศษมากกว่าชุดทำงานของพนักงานชาย เพราะส่วนมากพนักงานหญิงชอบไว้ผมยาว ดังนั้น ควรให้พนักงานหญิงใส่แหคลุมผมป้องกันไม่ให้ได้รับอันตรายจากการทำงานของเครื่องจักรได้บ้าง อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Eye Protection) ก๊อกเกิ้ล แว่นตา เลนส์ -อุปกรณ์ป้องกันดวงตา(Eyes Protection). ดวงตาเป็นส่วนจำเป็นอย่างยิ่งในอวัยวะบนตัวมนุษย์เรา หากเราไม่รู้จักป้องกันดวงตาของเรา. อันตรายอาจจะเกิดขึ้น. ทำให้กลายเป็นคนตาบอด. ไม่สามารถมองเห็นอะไรได้แม้กระทั่งลูกหน้าเมียหรือคนที่คุณรัก. ซึ่งเราสามารถป้องกันอันตรายดวงตาของเราได้. เพียงแค่เราเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม(แว่นนิรภัย)กับสภาพการทำงานนั้น อันตรายที่เกิดขึ้นในขณะทำงานมีสาเหตุได้หลายทาง ดังนี้ -การหลุดกระเด็นของวัสดุ. ที่ก่อให้เกิดอันตรายกะดวงตา. เช่น การเจียระไน. การเชื่อม การหลอมโลหะ ฯลฯ -ไอของสารเคมีบางชนิด - แสงและรังสีต่างๆ - ควันหรือแก๊สพิษและอื่นๆข้อควรคำนึงถึงเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันตา ควรเป็นชนิดที่มีกรอบและกระชับเวลาส่วมใส่ สวมใส่สบาย สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ควรเป็นแบบที่สามารถซ่อมแซมได้ง่าย ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะป้องกันตาทั้งหมด ไม่ติดเชื่อได้ง่าย และไม่ติดไฟง่าย อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู มีความเสี่ยงอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไปถือว่าเสียงที่มีความดังมากกว่า 90 เดซิเบล จะเป็นอัตรายต่อแก้วหู วิธีที่ลดความดันของเสียงมีเทคนิค คือ 1.ปลั้กลดเสียง (Ear Plugh) เป็นเครื่องป้องกันอันตรายจากเสียงโดยการเสียบเข้าไปในหู อุปกรณ์ที่ใช้ทำปลั้กลดเสียงมีหลายอย่าง เช่น ยาง พลาสติก ขี้ผึ้ง ฝ้าย สำลี เป็นต้น -หรือสำลี เป็นแบบง่ายที่สุด แต่สามารถลดเสียงได้น้อย ประมาณ 10 - 15 เดซิเบล - ปลั้กยาง ลดเสียงได้ 20 - 25 เดซิเบล แต่บางครั้งก็อาจทำให้เกิดความรำคาญ2.ครอบหู เป็นเครื่องป้องกันลดอันตรายเสียงจากชนิดที่ใช้ครอบใบหู ใช้ลดเสียงได้ดีกว่าชนิดปลั้กเสียบ แต่ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ชนิดที่ทามด้วยของเหลวภายในลดเสียงได้ดีกส่าชนิดที่ทำด้วยพลาสติกหรืโฟม สามารถลดเสียงได้ 30-45 เดซิเบล ***ทั้งปลั้กลดเสียงและครอบหู ถ้านำมาใช้ร่วมกัน จะสามารถลดเสียงได้อีก 3-5 เดซิเบล ไฟล์:Http://lh6.ggpht.com/ r2QjSqzXlsE/SrGib3pFcHI/AAAAAAAAAEI/q wL zqHrXY/Eye Protection.gif อุปกรณ์ป้องกันเสียง Hearing Protection อุปกรณ์ป้องกันกลิ่น Respire Protection อุปกรณ์ป้องกันมือ Hand Protection อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (Body Protection) อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง Fall Protection ไฟล์:Http://lh5.ggpht.com/ r2QjSqzXlsE/SrGn-pGhxOI/AAAAAAAAAEM/bqAngY5gvcs/Fall Protection.gif อุปกรณ์ป้องกันเท้า Foot Protection อุปกรณ์จราจร Traffic Equipment อุปกรณ์ดับเพลิง Fire Equipment อุปกรณ์เซฟตี้อื่น ๆ Safety Product อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (อังกฤษ: personal protective equipment: PPE) หรือเรียกโดยย่อว่า อุปกรณ์นิรภัย หรือ เซฟตี้ เป็นอุปกรณ์เพื่อในการทำงานใช้สวมใส่ร่างกาย หรือ ติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ให้เกิดความปลอดภัย ทั้งในบ้าน, ที่ทำงาน, ที่สาธารณะ, อาคาร และพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สวมลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายส่วนรวมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้นๆ ไม่ให้ต้องประสบอันตรายจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด คือเป็นการป้องกันอันตรายจากสภาวะแวดล้อมในการทำงาน 1.หลักการใช้และประโยชน์ขออุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ก็เพื่อป้องกันอวัยวะส่วนต่างของร่างกายโดยไม่ให้เกิดการสูญเสียด้านร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิ่งต่างๆ การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล มีหลักการดังนี้ ต้องเลือกใช้ชนิดที่ป้องกันอันตรายได้ดี ต้องมีน้ำหนักที่เบาเป็นพิเศษและสบายในการสวมใส่ ต้องมีประสิทธิภาพสูง สามารถป้องกันอันตรายได้ดีที่สุด มีราคาย่อมเยาหาซื้อได้ง่าย วิธีการใช้เครื่องป้องกันนั้นจะต้องไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป เพราะจะทำให้คนที่ใช้สวมใสเกิดความยุ่งยาก ต้องมีสีสันที่เด่นชัด และเป็นสีที่ดูแล้วสะอาดตา การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ต้องทราบลักษณะและความต้องการในการใช้อย่างแน่นอนเสียก่อน การเลือกใช้จะต้องระมัดระวัง ต้องให้ถูกต้องกับลักษณะของงานมากที่สุด ไม่ให้ขัดขวางการทำงานของคนงานได้ และจะไม่ลดประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องพยายามให้ผู้ใช้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็น รวมถึงประโยชน์ในการใช้เครื่องป้องกันอันตรายได้ ต้องมีการอบรมให้คำแนะนำถึงวิธีการเก็บ การรักษา และการใช้จากผู้ที่ชำนาญ จะต้องมีระเบียบและข้อบังคับในการใช้ เพื่อให้การใช้มีผลที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ในการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในโรงงาน เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงงาน เพื่อช่วยในการประหยัดเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้า เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความรู้สึกว่า กาปฏิบัติงานนั้น ๆ มีความปลอดภัยตลอดเวลา เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้สูงขึ้น 2.ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แบ่งออกเป็น อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย คือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้นๆ โดยเฉพาะ สามารถแบ่งย่อยๆ ออกตามลักษณะที่ใช้ป้องกันได้ ดังนี้ อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection) 1.1 หมวกกันน็อค (Helmet) หมวกนี้ส่วนใหญ่จะทำจากไฟเบอร์หรือพลาสติกแข็ง หรือวัสดุอื่นที่มีความทึบแสง และไม่ติดไฟ สามารถป้องกันอันตรายจกรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้และไม่ทำให้เกิดโรคติดต่อ หมวกชนิดนี้นอกจากจะใช้ป้องกันศีรษะ ก้านคอและใบหูแล้ว ยังสามารถติดกระบังหน้าเพื่อป้องกันวัสดุที่จะกระเด็นใส่หน้า และเมื่อไม่ต้องการใช้ก็เปิดขึ้นไปเหนือศีรษะได้ กระบังหน้าที่ใช้มือถือ (Hand Shield) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันใบหน้าชนิดหนึ่ง ที่ผู้ใช้รูสึกรำคาญจากการใช้หมวกกันน็อค อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้ในการตรวจสอบงานแนวเชื่อม กระบังหน้าชนิดนี้เรียกว่า หน้ากากเชื่อม Product 38910 198478728 fullsize.jpg อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ การใช้หมวกนิรภัย มีหลักการ 6 ข้อ - เลือกหมวกให้เหมาะสมกับชนิดของงาน - ตรวจสอบสภาพหมวกก่อนใช้งานทุกครั้ง - ปรับหมวกให้กระชับพอดี -สวมหมวกตรงๆเต็มศีรษะ อย่าให้เอียงไปเอียงมา - เมื่อใช้งานเสร็จ ควรเก็บรักษาให้ดี -สวมหมวกตลอดเวลาขณะทำงาน 1.2 ผ้าคลุมผม ชุดทำงานของพนักงานหญิงจะมีความพิเศษมากกว่าชุดทำงานของพนักงานชาย เพราะส่วนมากพนักงานหญิงชอบไว้ผมยาว ดังนั้น ควรให้พนักงานหญิงใส่แหคลุมผมป้องกันไม่ให้ได้รับอันตรายจากการทำงานของเครื่องจักรได้บ้าง อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Eye Protection) ก๊อกเกิ้ล แว่นตา เลนส์ -อุปกรณ์ป้องกันดวงตา(Eyes Protection). ดวงตาเป็นส่วนจำเป็นอย่างยิ่งในอวัยวะบนตัวมนุษย์เรา หากเราไม่รู้จักป้องกันดวงตาของเรา. อันตรายอาจจะเกิดขึ้น. ทำให้กลายเป็นคนตาบอด. ไม่สามารถมองเห็นอะไรได้แม้กระทั่งลูกหน้าเมียหรือคนที่คุณรัก. ซึ่งเราสามารถป้องกันอันตรายดวงตาของเราได้. เพียงแค่เราเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม(แว่นนิรภัย)กับสภาพการทำงานนั้น อันตรายที่เกิดขึ้นในขณะทำงานมีสาเหตุได้หลายทาง ดังนี้ -การหลุดกระเด็นของวัสดุ. ที่ก่อให้เกิดอันตรายกะดวงตา. เช่น การเจียระไน. การเชื่อม การหลอมโลหะ ฯลฯ -ไอของสารเคมีบางชนิด - แสงและรังสีต่างๆ - ควันหรือแก๊สพิษและอื่นๆ ข้อควรคำนึงถึงเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันตา ควรเป็นชนิดที่มีกรอบและกระชับเวลาส่วมใส่ สวมใส่สบาย สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ควรเป็นแบบที่สามารถซ่อมแซมได้ง่าย ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะป้องกันตาทั้งหมด ไม่ติดเชื่อได้ง่าย และไม่ติดไฟง่าย อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู มีความเสี่ยงอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไปถือว่าเสียงที่มีความดังมากกว่า 90 เดซิเบล จะเป็นอัตรายต่อแก้วหู วิธีที่ลดความดันของเสียงมีเทคนิค คือ 1.ปลั้กลดเสียง (Ear Plugh) เป็นเครื่องป้องกันอันตรายจากเสียงโดยการเสียบเข้าไปในหู อุปกรณ์ที่ใช้ทำปลั้กลดเสียงมีหลายอย่าง เช่น ยาง พลาสติก ขี้ผึ้ง ฝ้าย สำลี เป็นต้น -หรือสำลี เป็นแบบง่ายที่สุด แต่สามารถลดเสียงได้น้อย ประมาณ 10 - 15 เดซิเบล - ปลั้กยาง ลดเสียงได้ 20 - 25 เดซิเบล แต่บางครั้งก็อาจทำให้เกิดความรำคาญ 2.ครอบหู เป็นเครื่องป้องกันลดอันตรายเสียงจากชนิดที่ใช้ครอบใบหู ใช้ลดเสียงได้ดีกว่าชนิดปลั้กเสียบ แต่ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ชนิดที่ทามด้วยของเหลวภายในลดเสียงได้ดีกส่าชนิดที่ทำด้วยพลาสติกหรืโฟม สามารถลดเสียงได้ 30-45 เดซิเบล ***ทั้งปลั้กลดเสียงและครอบหู ถ้านำมาใช้ร่วมกัน จะสามารถลดเสียงได้อีก 3-5 เดซิเบล ไฟล์:Http://lh6.ggpht.com/ r2QjSqzXlsE/SrGib3pFcHI/AAAAAAAAAEI/q wL zqHrXY/Eye Protection.gif อุปกรณ์ป้องกันเสียง Hearing Protection อุปกรณ์ป้องกันกลิ่น Respire Protection อุปกรณ์ป้องกันมือ Hand Protection อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (Body Protection) อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง Fall Protection ไฟล์:Http://lh5.ggpht.com/ r2QjSqzXlsE/SrGn-pGhxOI/AAAAAAAAAEM/bqAngY5gvcs/Fall Protection.gif อุปกรณ์ป้องกันเท้า Foot Protection อุปกรณ์จราจร Traffic Equipment อุปกรณ์ดับเพลิง Fire Equipment อุปกรณ์เซฟตี้อื่น ๆ Safety Product SafetyPPE (May 26, 2015). ความรู้เรื่องความปลอดภัย. Samut Prakan, Thailand: Admin.  ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม/ฝ่ายวิชาการบริษัทสกายบุ๊กส์/พิมพ์ครั้งที่2:2544 อำพล ซื่อตรง,อนันตชัย เที่ยงดาห์ และสุธี รัตนเสถียร.(2535).ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. ประเทศแอฟริกากลางใน ค.ศ. 2016 ============================= เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศแอฟริกากลาง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศแอฟริกากลาง ประเทศแอฟริกากลางในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 รายชื่อปีในประเทศแอฟริกากลาง สาธารณรัฐโคลอมเบียในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ======================================== สาธารณรัฐโคลอมเบีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 21 ค.ศ. 1976([[พ.ศ. 2519) ณ กรุงมอนทรีออล ควิเบก ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2519 สาธารณรัฐโคลอมเบีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 21 ค.ศ. 1976([[พ.ศ. 2519) ณ กรุงมอนทรีออล ควิเบก ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2519 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศโคลอมเบียในโอลิมปิก ธงชาติโคลอมเบีย รหัสประเทศ : COL เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกโคลอมเบีย เว็บไซต์ : www.coc.org.co (สเปน) โอลิมปิกฤดูร้อน 1976 มอนทรีออล แคนาดา เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 • 1936 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 • 2016 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2002 • 2006 • 2010 • 2014 รายพระนามเทวดาญี่ปุ่น ===================== เทพเจ้าของญี่ปุ่น ถือกำเนิดโดยมีต้นสายวงศ์คณาเทพ โดย อิซานากิ เทพบิดา และ อิซานามิ เทพมารดา เทพเจ้าของญี่ปุ่น ถือกำเนิดโดยมีต้นสายวงศ์คณาเทพ โดย อิซานากิ เทพบิดา และ อิซานามิ เทพมารดา อาจิสุคิทากะฮิโกเนะ : เทพแห่งสายฟ้า อะมะเตะระสุ : เทพีแห่งดวงอาทิตย์ อามัตสึมิกะโบชิ : เทพแห่งความชั่วร้าย คามุอิ : เทพีแห่งพระอาทิตย์และพระจันทร์ ฟูจิน, คามิคาเซะ : เทพแห่งวายุ ฟุสึโนะจิ : เทพแห่งไฟและฟ้าแลบ ฮิจิมัง : เทพแห่งสงคราม, เกษตรกรรม, เทพผู้ปกป้องบ้านเมือง อินาริ: เทพแห่งข้าวและเกษตรกรรม อิซานางิ : เทพแห่งการสร้างและชีวิต อิซานามิ : เทพีแห่งการสร้างและความตาย คุคุโนจิ : เทพแห่งต้นไม้ โอยามะสึมิ : เทพผู้ครองภูเขา, ทะเล และสงคราม ไรจิน, ไรเด็น : เทพแห่งสายฟ้า และฟ้าแล่บ ริวจิน, ริวโอะ : เทพแห่งทะเล เซ็นเง็น, โคะโนะฮะนะซาคุยะ : เทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิ, เจ้าหญิงแห่งดอกไม้, เทพีแห่งภูเขาไฟฟูจิ ซารุตะฮิโกะ : เทพแห่งแผ่นดินโลก ซุซะโนะโอะ: เทพแห่งพายุ ทสึตะฮิเมะ : เทพีแห่งฤดูใบไม้ร่วง เทนจิน : เทพแห่งการศึกษา ซึคุโยมิ, สึคิโยะมิ : เทพแห่งพระจันทร์ อุเคโมจิ : เทพีแห่งอาหาร อุซุเมะ : เทพีแห่งอุษาและความสุข ยะบุเนะ : เทพแห่งบ้านเรือน ยูคิ อนนะ : เทพีแห่งฤดูหนาว, นางหิมะ เบนไซเทน, เบนเทน : เทพีแห่งความรัก, ศิลปะ, กวี, ปัญญา และวารี บิชะมง, ทะมงเทน : เทพแห่งสงคราม, ความยุติธรรม และผู้พิทักษ์กฎหมาย ไดโคะคุเทน : เทพแห่งความมั่งคั่งและดิน เอบิสึ : เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์แห่งท้องทะเลและการประมง ฟุคุโระคุจุ : เทพแห่งปัญญาและความเจริญรุ่งเรือง โฮเท : เทพแห่งความสุข, เสียงหัวเราะ และปัญญาแห่งความรู้แจ้ง จุโรจิน, กะมะ : เทพแห่งความอายุยืน คิจิโจเทน, คุจิคุเทน : เทพีแห่งความงาม (เป็นองค์ที่ 8 ซึ่งเพิ่มมาภายหลัง แต่โดยรวมยังเรียกว่า เทพแห่งโชคลาภทั้ง 7) บทความเกี่ยวกับความเชื่อนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล สาธารณรัฐโบลิเวียในโอลิมปิกฤดูหนาว 1980 ======================================= สาธารณรัฐโบลิเวีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 13 ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ณ เมืองเลคพลาซิด ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 สาธารณรัฐโบลิเวีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 13 ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ณ เมืองเลคพลาซิด ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศโบลิเวียในโอลิมปิก ธงชาติโบลิเวีย รหัสประเทศ:   BOL โอลิมปิกฤดูหนาว 1980 เลคพลาซิด สหรัฐอเมริกา เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 • 1948–1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1956 • 1960–1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1994–2014 ปลา (แก้ความกำกวม) ================== ปลา อาจหมายถึง ปลา - สัตว์น้ำชนิดหนึ่งหายใจทางเงือก งูปลา - ชื่องูชนิดหนึ่ง ตาปลา - โรคชนิดหนึ่ง ปลาร้า หรือ ปลาแดก - อาหารชนิดหนึ่งของทางภาคอีสาน สัตว์น้ำ - ปลามักจะเป็นคำไทยที่ใช้เรียกสัตว์น้ำ แม้ว่าสัตว์กลุ่มนั้นอาจจะไม่ใช่สัตว์ประเภทปลาเช่น ปลาหมึก ปลาวาฬ หรือปลาโลมา หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง ปลาแซลมอน ========= ปลาแซลมอน หรือ ปลาแซมอน (อังกฤษ: Salmon; /ˈsæmən/) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ โดยคำว่า "แซลมอน" มาจากภาษาละตินคำว่า Salmo ซึ่งมาจากคำว่า Salire หมายถึง "ที่จะกระโดด" ปลาแซลมอน คือ ปลาที่อยู่ในอันดับ Salmoniformes และวงศ์ Salmonidae พบกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกทางเหนือ คือ อเมริกาเหนือ, อลาสกา, ไซบีเรีย, ยุโรปเหนือ, เอเชียเหนือ และเอเชียตะวันออก ปลาแซลมอนผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร (ปลาน้ำกร่อย) มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ ปลาแซลมอนวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูง เท่านั้นโดยปลาแซลมอนเพศเมียจะขุดรัง ด้วยปลายหางและวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มมาปฏิสนธิกับไข่ ตัวเมียจะใช้หางกลบไข่เพื่อให้ไข่ไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปแล้วลูกปลาแซลมอนจะว่ายตามกระแสน้ำออกสู่ทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน เมื่อออกจากไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะอพยพไปสู่มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเจริญเติบโต และเมื่อถึงฤดูวางไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะกลับไปวางไข่ที่บ้านเกิดของตัวงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีศึกษาพบว่าปลาแซลมอนที่ถูกวิจัยทั้งหมดอพยพกลับมาเพียงร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือสูญหายในทะเล สิ่งที่นำทางลูกปลาแซลมอนให้กลับมาวางไข่ได้ถูกต้อง คือกลิ่นเฉพาะของแม่น้ำที่มันเกิดและพฤติกรรมแบบฝังใจในลูกปลาแซลมอนที่เกิดขึ้นทันทีที่มันฟักออกจากไข่ เป็นสิ่งที่ใช้นำทางปลาแซลมอนที่โตเต็มที่จากมหาสมุทรไปยังที่ที่ใช้วางไข่ สารประกอบของกลิ่นนั้นเป็นสารอินทรีย์ ระเหย และคุณสมบัติทางเคมียังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนี้ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า ปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ในการนำทางมาจากทะเล การทดลองล่าสุดได้ให้ข้อคิดว่า ปลาตัวเต็มวัยได้รับการชักนำจากปรากฏการบนท้องฟ้าเช่น มีดวงดาวเป็นเครื่องนำทางหรือทิศทางหรือตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นต้นในกรณีนี้ปลาแซลมอนจะมีความสามารถในการจับเวลาเสมือนหนึ่งเป็นนาฬิกาชีวภาพ ดังที่พบในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ปลาแซลมอน หรือ ปลาแซมอน (อังกฤษ: Salmon; /ˈsæmən/) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ โดยคำว่า "แซลมอน" มาจากภาษาละตินคำว่า Salmo ซึ่งมาจากคำว่า Salire หมายถึง "ที่จะกระโดด" ปลาแซลมอน คือ ปลาที่อยู่ในอันดับ Salmoniformes และวงศ์ Salmonidae พบกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกทางเหนือ คือ อเมริกาเหนือ, อลาสกา, ไซบีเรีย, ยุโรปเหนือ, เอเชียเหนือ และเอเชียตะวันออก ปลาแซลมอนผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร (ปลาน้ำกร่อย) มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ ปลาแซลมอนวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูง เท่านั้นโดยปลาแซลมอนเพศเมียจะขุดรัง ด้วยปลายหางและวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มมาปฏิสนธิกับไข่ ตัวเมียจะใช้หางกลบไข่เพื่อให้ไข่ไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปแล้วลูกปลาแซลมอนจะว่ายตามกระแสน้ำออกสู่ทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน เมื่อออกจากไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะอพยพไปสู่มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเจริญเติบโต และเมื่อถึงฤดูวางไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะกลับไปวางไข่ที่บ้านเกิดของตัวงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีศึกษาพบว่าปลาแซลมอนที่ถูกวิจัยทั้งหมดอพยพกลับมาเพียงร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือสูญหายในทะเล สิ่งที่นำทางลูกปลาแซลมอนให้กลับมาวางไข่ได้ถูกต้อง คือกลิ่นเฉพาะของแม่น้ำที่มันเกิดและพฤติกรรมแบบฝังใจในลูกปลาแซลมอนที่เกิดขึ้นทันทีที่มันฟักออกจากไข่ เป็นสิ่งที่ใช้นำทางปลาแซลมอนที่โตเต็มที่จากมหาสมุทรไปยังที่ที่ใช้วางไข่ สารประกอบของกลิ่นนั้นเป็นสารอินทรีย์ ระเหย และคุณสมบัติทางเคมียังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนี้ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า ปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ในการนำทางมาจากทะเล การทดลองล่าสุดได้ให้ข้อคิดว่า ปลาตัวเต็มวัยได้รับการชักนำจากปรากฏการบนท้องฟ้าเช่น มีดวงดาวเป็นเครื่องนำทางหรือทิศทางหรือตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นต้นในกรณีนี้ปลาแซลมอนจะมีความสามารถในการจับเวลาเสมือนหนึ่งเป็นนาฬิกาชีวภาพ ดังที่พบในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ส่วนมากลำตัวมีสีเงินวาว มีจุดสีดำที่บริเวณด้านบนของลำตัวเหนือเส้นข้างลำตัว ลักษณะอย่างอื่นคล้ายปลาทั่วไปไม่ว่าจะเป็นลักษณะภายนอกหรือลักษณะภายใน ปลาแซลมอน ได้แก่ สกุล Salmo และ Oncorhynchus ไข่ (Eggs) เริ่มต้นที่ปลาแซลมอนตัวเมีย ไปวางไข่ไว้ที่ก้อนกรวดในแหล่งน้ำจืด โดยมันจะใช้หางขุดก้อนกรวดเป็นหลุมเพื่อที่จะวางไข่ลงในนั้น ส่วนปลาแซลมอนตัวผู้จะคอยอยู่ข้างๆตัวเมียเสมอ เพื่อคอยระวังอันตรายและเมื่อมีการปฏิสนธิไข่ พวกมันจะทำรังสำหรับวางไข่เป็นจำนวนมาก ปลาแซลมอนตัวเมียจะวางไข่ทีละ 2,000 ถึง 10,000 ฟอง แล้วแต่สายพันธุ์ ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายหลังวางไข่เป็นเวลาประมาณ 3-4 เดือน ตัวอ่อน (Alevin) ปลาที่เพิ่งฟักออกจากไข่จะเรียกว่า “ตัวอ่อน” ตัวอ่อนของแซลมอนไม่สามารถว่ายน้ำได้ ทำได้แค่เพียงใช้หางสะบัดเพื่อเคลื่อนที่ไปรอบๆลูกรังที่มันอยู่เท่านั้น ตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกมานั้นจะมีความยาวเพียงแค่หนึ่งนิ้วครึ่ง นอกจากนั้นแต่ละตัวยังจะมีถุงไข่ติดอยู่ด้วย ลูกอ่อน (Fry) เมื่อตัวอ่อนได้รับอาหารจากถุงไข่ทำให้มันมองดูคล้ายปลาแซลมอนตัวเล็กๆ ระยะนี้จะเรียกว่า “ลูกอ่อน” ระยะเวลาของการเป็นลูกอ่อนนี้จะแตกต่างกันไปแล้วแต่สายพันธุ์ ชีนุค เริ่มว่ายน้ำกลับสู่ทะเลแล้ว ในขณะที่ สายพันธ์ โคโฮ จะใช้เวลาอยู่ในแหล่งน้ำจืดนานเป็นปีก่อนที่จะว่ายกลับทะเล มีปลาแซลมอนบางตัวใช้ชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำจืดที่มันเกิดเป็นเวลานานกว่า 3 ปี จึงว่ายลงไปสู่ทะเล 'ลูกปลาแซลมอน (Smolt) ปลาแซลมอนที่อยู่ในระยะนี้จะเป็นลูกปลาแซลมอนในวัยที่จะออกจากแหล่งน้ำจืดและมุ่งสู่ทะเล โดยมากแล้วจะเป็นปลาที่มีอายุประมาณ 2 ปี ความยาวมากกว่า 5 นิ้ว ปลาแซลมอนในระยะนี้จะมีลำตัวออกสีเงิน ปลาแซลมอนในระยะนี้จะใช้เวลาส่วนมากอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่น้ำจืดและน้ำเค็มต่อกัน ในขณะที่มันกำลังปรับตัวเข้าสู่น้ำเค็ม บริเวณปากแม่น้ำนี้มีความสำคัญต่อปลาแซลมอนมากเนื่องจากว่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต ตัวเต็มวัย (Adult salmon) ปลาแซลมอนจะถือว่าเป็นตัวเต็มวัยก็ต่อเมื่อมันกลับสู่ท้องทะเลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พวกมันจะใช้เวลาอยู่ในท้องทะเลตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี อาหารของปลาแซลมอนก็ได้แก่ กุ้ง ปลาหมึก และปลาตัวเล็กๆ ปลาแซลมอนจะอยู่ในท้องทะเลห่างจากแหล่งน้ำจืดที่มันเกิดเป็นระยะทางกว่า 2,000 ไมล์ และเมื่อมันโตเต็มที่มันก็จะว่ายกลับไปสู่แหล่งน้ำจืดอีกครั้งเพื่อที่จะวางไข่ วางไข่ (Spawning) เมื่อปลาแซลมอนว่ายไปสู่แหล่งน้ำจืดเพื่อที่จะวางไข่ มันจะหยุดกินอาหาร และมันจะตายภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่วางไข่เรียบร้อยแล้ว ปลาแซลมอนที่ตายไปก็จะกลายเป็นสารอาหารอยู่ในแหล่งน้ำจืดต่อไป เนื้อปลาแซลมอนมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมนำไปแปรรูปต่าง ๆ ทั้ง ปลากระป๋อง หรือเนื้อปลาสด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีการประมงทั่วโลก รวมถึงการตกเป็นเกมกีฬาด้วย มีการศึกษาพบว่าเนื้อปลาแซลมอนมีโปรตีนสูง มีกรดอะมิโนที่มีคุณค่า มีวิตามิน A, D, B6, B12 รวมทั้งไนอาซินและไรโบเฟลวิน, ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, สังกะสี, แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส นับเป็นอาหารที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เพราะเป็นเนื้อปลาที่ย่อยง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งบางชนิดได้ด้วย นอกจากนี้แล้วปลาแซลมอนที่พบในประเทศญี่ปุ่นจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าปลาแซลมอนที่อื่นด้วย ทว่า เนื้อปลาแซลมอนมีพยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex) http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID=&searchKey=&searchFrom=&searchTo=&PageShow=24&TopView=&QID=13914 http://www.etymonline.com/index.php?term=salmon Online Etymology Dictionary. Retrieved 25 April 2012. ปลาแซลมอนKKU.AC.TH http://www.jgbthai.com/salmon/ ,สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2558 ปลาแซลมอนอลาสก้า "Iron Chef Thailand เชฟกระทะเหล็ก 11 มิ.ย.57 ปลาหมึกยักษ์ 1/6". ช่อง 7. 11 June 2014. สืบค้นเมื่อ 12 June 2014.  ปลาดิบไม่มีพยาธิ (จริงหรือ ?) จากคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2558 ภาพปลาแซลมอนSiamfishing วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า: ปลาแซลมอน วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ: ปลาแซลมอน ภาพวาดปลาแซลมอนชนิดต่าง ๆ การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ====================== การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เป็นการ์ตูนและนิยายสัญชาติไทย แนวสืบสวน-สยองขวัญ แต่งเนื้อเรื่องโดย อัยย์ โดยมีทีม Black Tohfu Studio วาดภาพประกอบในฉบับนิยาย และวาดภาพเนื้อเรื่องทั้งหมดในฉบับการ์ตูน จัดพิมพ์โดย พูนิก้า สำนักพิมพ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน ออกมาเป็นฉบับนิยายภาค 1 จำนวน 8 เล่ม กับภาค 2 อีก 6 เล่ม และฉบับการ์ตูน 30 เล่ม (รวมฉบับพิเศษ 1 เล่ม) และสามารถทำยอดจำหน่ายหมดภายในเดือนเดียวที่วางแผง ในปี พ.ศ. 2553 ค่ายอี.คิว.พลัส และ พูนิก้า คอมิคส์ ได้ร่วมกันเขียนการ์ตูนเรื่อง "การินจูเนียร์ ประวัติศาสตร์ / คำสาป / อาถรรพ์" ซึ่งเป็นการ์ตูนความรู้เชิงสารคดีด้านประวัติศาสตร์สำหรับเด็ก โดยใน"การินจูเนียร์ ประวัติศาสตร์ / คำสาป / อาถรรพ์"นี้ ใช้ตัวละครจาก การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เป็นตัวละครหลัก แต่อยู่ในรูปลักษณ์ที่เหมาะสำหรับเด็ก และมีเนื้อเรื่องที่แตกต่างออกไปจากเนื้อเรื่องหลักของ การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เป็นการ์ตูนและนิยายสัญชาติไทย แนวสืบสวน-สยองขวัญ แต่งเนื้อเรื่องโดย อัยย์ โดยมีทีม Black Tohfu Studio วาดภาพประกอบในฉบับนิยาย และวาดภาพเนื้อเรื่องทั้งหมดในฉบับการ์ตูน จัดพิมพ์โดย พูนิก้า สำนักพิมพ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน ปัจจุบัน ออกมาเป็นฉบับนิยายภาค 1 จำนวน 8 เล่ม กับภาค 2 อีก 6 เล่ม และฉบับการ์ตูน 30 เล่ม (รวมฉบับพิเศษ 1 เล่ม) และสามารถทำยอดจำหน่ายหมดภายในเดือนเดียวที่วางแผง ในปี พ.ศ. 2553 ค่ายอี.คิว.พลัส และ พูนิก้า คอมิคส์ ได้ร่วมกันเขียนการ์ตูนเรื่อง "การินจูเนียร์ ประวัติศาสตร์ / คำสาป / อาถรรพ์" ซึ่งเป็นการ์ตูนความรู้เชิงสารคดีด้านประวัติศาสตร์สำหรับเด็ก โดยใน"การินจูเนียร์ ประวัติศาสตร์ / คำสาป / อาถรรพ์"นี้ ใช้ตัวละครจาก การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เป็นตัวละครหลัก แต่อยู่ในรูปลักษณ์ที่เหมาะสำหรับเด็ก และมีเนื้อเรื่องที่แตกต่างออกไปจากเนื้อเรื่องหลักของ การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในการิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เป็นเรื่องราวของ "การิน" เด็กหนุ่มผู้คลั่งไคล้ในศาสตร์มืด และต้องการก้าวข้ามขีดจำกัดของมนุษย์ แต่ถึงแม้จะทุ่มเททุกวิถีทาง เขาก็ไม่อาจเข้าสู่โลกแห่งความมืดอย่างที่เขาต้องการได้ จนกระทั่งเขาได้พบกับลัลทริมา เด็กสาวผู้ต้องการเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา แต่เธอกลับเป็นคนครอบครองพลังที่เรียกว่า "ญาณอาถรรพ์" พลังต้องคำสาปที่สามารถดึงดูดอาถรรพ์และความเลวร้ายเข้าสู่ตัวผู้เป็นเจ้าของ รวมไปถึงสามารถอ่านใจคนอื่น และกระตุ้นด้านมืดของมนุษย์ ให้ลุกขึ้นเข่นฆ่ากันเองอย่างไร้ซึ่งมนุษยธรรม ทางเดินที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของทั้งสอง กลับถูกบิดเบนให้เข้าหากันด้วยความริษยาของการิน ผู้ต้องการญาณอาถรรพ์มาเป็นของตนเอง การินเข้ามารังควานชีวิตลัลทริมา เพื่อใช้เธอเป็นเครื่องมือดึงดูดโศกนาฏกรรม วิญญาณ และอาถรรพ์ ซึ่งเป็นทุกสิ่งที่เขาหลงใหลให้เข้ามา และบรรลุเป้าหมายของตนเอง การิน จินตเมธร ลูกชายผู้อำนวยการโรงเรียนนิศาพาณิชย์ เป็นเด็กหนุ่มอัจฉริยะ ผู้มีนิสัยร้ายกาจ เย็นชา มีโลกส่วนตัวสูง และมีปัญหาด้านมนุษยสัมพันธ์ มักจะแสดงความก้าวร้าว ปากร้าย จนไม่ค่อยมีใครอยากเข้าใกล้ การินหลงใหลในไสยศาสตร์ อาถรรพ์ และเรื่องลึกลับอย่างมาก จนปรารถนาที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดของมนุษย์ธรรมดา แต่เขาก็ไม่สามารถทำได้ การินจึงอิจฉาและคอยระรานลัลทริมาผู้มีพลังแบบที่ตนต้องการ ลัลทริมา วิกรานต์วรสริต เด็กสาวผู้มีชีวิตราวกับต้องคำสาป เธอสูญเสียครอบครัวไปในอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่น่าเศร้า ซึ่งได้มอบ ‘ญาณอาถรรพ์’ พลังดึงดูดความเลวร้ายแก่เธอมา ลัลทริมามีจิตใจดี มั่นคง รักพวกพ้อง มองโลกในแง่ดี และเสียสละ แต่เป็นคนไม่ค่อยร่าเริงนักเพราะในใจมีเรื่องมากมายที่ไม่สามารถเล่าให้ใครฟังได้ เธอกำลังเรียนอาชีวศึกษาชั้นเรียนเดียวกันกับการินและกำลังหวั่นไหวด้วย เชียร ชายหนุ่มปริศนา อ้างตนว่าเป็น'อัตตานิรันดร์'หนึ่งเดียวของโลก ผู้ซึ่งก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ด้วยพิธีอาถรรพ์ได้สำเร็จ มีความสนใจในความตายของมนุษย์และเก็บเรื่องราวไว้ในสมุดบันทึก เชียรมีอายุยืนยาวหลายร้อยปีจึงคิดได้ว่าตนจะสร้างสรรค์โลกขึ้นใหม่ด้วยการทำลายกฎแห่งกรรม ล้มเลิกนิพพาน และตั้งตนเป็นศาสดาแห่งความมืด เขามีความพึงพอใจในตัวการินมากและต้องการการินมาเป็นสาวกมือขวาร่วมกับสาวกคนอื่น ผู้ที่จะร่วมสร้างโลกในความฝันของตนเองขึ้นมา (ปรากฏตัวในเนื้อเรื่องหลักรูปแบบการ์ตูนละในฉบับภาพยนตร์) วิทูร ชายลึกลับ ผู้คอยตามลัลทริมา ถ้าไปสถานที่ใด ๆ มักจะพบกับความตาย วิทูรต้องการจะเป็นอมตะอัตตานิรันดร์ แต่ถูกการินขัดขวางจนวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในนาฬิการุมทำร้ายจนสลายไป เมื่อก่อนวิทูรเป็นคนความจำเสื่อมจำเรื่องราวตั้งแต่ 10 ขวบ ขึ้นไปไม่ได้ถูกซ้อมถูกรังแก จนชายหนุ่มลึกลับได้มอบนาฬิกาพกมาให้จนตัวตนของวิทูรตื่นขึ้นมาและฆ่านักเรียนพวกนั้นทิ้ง มีความสนใจในคนที่มีความสามารถอย่างการิน (ปรากฏตัวในฉบับภาพยนตร์และในฉบับแบบการ์ตูน) โชติกาล วัฒนนุกุลวงศ์ เด็กหนุ่มอัจฉริยะผู้มีหน้าตาคล้ายกับนัยน์เนตรจนเหมือนเป็นคน ๆ เดียวกัน มีความสนใจในตัวการินมาก และอยากเป็นเพื่อนกับการิน (ปรากฏตัวในเนื้อเรื่องหลักเฉพาะรูปแบบนิยาย) เอมิกา วิทยาณุสรณ์ศิลป์ เพื่อนสนิทของลัลทริมา บุคลิกห้าวหาญ ใจนักเลง ตรงไปตรงมา รักและจริงใจต่อเพื่อน คอยปกป้องลัลทริมาจากการถูกผู้คนเหยียดหยามรังแก ชื่นชอบช็อคโกแลตมาก มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี มัณฑินี วศิษฐ์นิติกรณ์ เพื่อนสนิทอีกคนของลัลทริมา เป็นเด็กเรียนเก่ง เรียบร้อย สดใสร่าเริง และระแวงเกินจริง มัณฑินีมักจะเป็นคนคอยประสานรอยร้าวระหว่างลัลทริมาและเอมิกาทุกครั้งที่มันเกิดขึ้น เธอเคยร่วมชั้นเรียนกับการินมาในชั้น ม.ต้น ของโรงเรียนนิศาพาณิชย์ ทำให้รู้เรื่องในอดีตของการินอยู่บ้าง นอกจากนี้เธอยังเคยรู้จักกับนัยน์เนตรอีกด้วย รุทร ศิวะกร เด็กหนุ่มผู้เงียบขรึม เข้าเรียนปี 1 ในโรงเรียนนิศาพาณิชย์ในคดีที่ 7 บายศรีสังหาร และเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันที่ใกล้ชิดกับลลิต น้องรหัสของลัลทริมามากที่สุด ภูมิหลังยังคลุมเครือ แต่ถึงแม้จะมีการกระทำที่เป็นปริศนาหลายอย่าง แต่เห็นได้ชัดว่ารุทรมักจะคอยช่วยเหลือการินและปกป้องดูแลลัลทริมาอยู่ห่าง ๆ เนื่องจากการที่รุทรพยายามช่วยชีวิตลัลทริมาในฉบับการ์ตูนคดีที่ 8 ส่งผลให้ตัวเขาในเวลาต่อมากลายเป็นเครื่องมือ และไม้เบื่อไม้เมาคนใหม่ของการินอย่างเสียไม่ได้ นรินทร์ จินตเมธร ผู้อำนวยการโรงเรียนนิศาพาณิชย์ และบิดาของการิน เป็นคนใจดี มีความเป็นผู้นำ อบอุ่นอ่อนโยน เขาไม่ค่อยมีเวลาให้การินนัก นรินทร์จึงมักโทษตัวเองที่ทำหน้าที่พ่อได้แย่มาก จนทำให้การินกลายเป็นคนแบบนี้ สิ่งเดียวที่นรินทร์ทำให้การินได้นอกเหนือจากการพยายามปรับปรุงนิสัยซึ่งไม่เคยทำสำเร็จ จึงเป็นการตามเก็บกวาดเรื่องราววุ่นวายที่ลูกชายมักเข้าไปพัวพันนั่นเอง รสวดี เปี่ยมสุวรรณสวัสดิ์ น้าสาวของลัลทริมา ญาติสนิทคนเดียวที่รับดูแลลัลทริมาตั้งแต่พ่อแม่ของลัลทริมาเสียไป เป็นเหยี่ยวสาวสายข่าวสังคม ที่ถึงแม้จะมีงานรัดตัวแค่ไหน ก็คอยเป็นห่วงเป็นใย ลัลทริมาเสมอ เป็นคนมองโลกในแง่ดี จิตใจเข้มแข็ง เข้าใจสัจธรรมของโลก และเป็นคนที่ให้กำลังใจลัลทริมาเสมอในวันที่เธอท้อแท้ แม้รสวดีจะรู้ว่าลัลทริมามีพลังญาณอาถรรพ์และรู้ดีว่าสักวันต้องเดือดร้อนเพราะพลังนี้ แต่เธอก็ไม่เคยคิดจะทอดทิ้งลัลทริมาเลย ซ้ำยังเพิ่มการดูแลหลานสาวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจก็ตาม ริสา จินตเมธร (วรรณาเวทย์) แม่ของการิน เกิดและเติบโตมาในตระกูลหมอผี เธอตัดสินใจแต่งงานกับนรินทร์ภายใต้การคัดค้านอย่างรุนแรงของตระกูลจินตเมธร ชีวิตสมรสที่ตรากตรำผ่านไป กระทั่งลูกชายคนเดียวมีอายุครบ 5 ขวบ ริสาก็เสียชีวิตลง ซึ่งการจากไปของเธอนั้นฝากรอยแผลไว้กับการินทั้งทางกายและทางใจ ลัทธพล วิกรานต์วรสริต พี่ชายคนเดียวของลัลทริมา นิสัยอ่อนโยน มีความคิดเป็นผู้ใหญ่ คอยดูแล ห่วงใย และให้คำปรึกษาที่ดีแก่ลัลทริมาอยู่เสมอ แต่แล้ววันหนึ่งเมื่อ 6 ปีก่อน ลัทธพลได้วิ่งตามลัลทริมาที่วิ่งหนีออกมาเพราะการทะเลาะกันของทั้งคู่จนถูกรถชนจนเสียชีวิต และเหตุการณ์นั้นเองที่ทำให้ชีวิตของลัลทริมาเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล นัยน์เนตร เด็กหนุ่มผู้อมทุกข์ และเป็นเพื่อนคนแรกของการิน มีพลัง'ญาณทำนาย' สามารถล่วงรู้สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่เมื่อทำนายอนาคตให้กับเพื่อนคนหนึ่งแล้วเป็นจริง กลับถูกมองว่าเป็นการสาปแช่ง จึงถูกมองเป็นตัวประหลาดเหมือนกับลัลทริมา ว่ากันว่าการินเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการหายสาปสูญไปของนัยน์เนตรเมื่อ 4 ปีก่อน (ปรากฏตัวครั้งแรกในฉบับการ์ตูน คดีที่ 2 -ขบวนแห่ภูต ป่าอาถรรพ์) ลลิต น้องรหัสของลัลทริมา เป็นเด็กหนุ่มจิตใจดีที่มีอดีตอันน่าเศร้า เขาและลัลทริมาจึงมีความรักให้กันเสมือนคนในครอบครัว ในบรรดาเพื่อนร่วมรุ่น มีความสนิทสนมกับรุฑรมากที่สุด ลลิตถูกเชียรใช้เป็นเครื่องในการทำทำพิธีบายศรีสังหารแต่เขาได้สละชีวิตตนเองเพื่อทำลายพิธีลง(ปรากฏตัวครั้งแรกในคดีที่ 7 บายศรีสังหาร) ชัยเดช วัฒนขจร นักเรียนชายโรงเรียนนิศาพาณิชย์ ร่วมรุ่นเดียวกับลัลทริมา เป็นคนร่าเริงตามแบบฉบับเด็กหนุ่มทั่วไป ซึ่งมักจะชอบเก๊กเท่ แต่ท้ายสุดภาพพจน์ที่สร้างไว้มักจะเละไม่เป็นท่าเสมอ โดยชัยเดชเคยถูกอาถรรพ์ทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นถือเป็นการเริ่มต้นเรื่องราวระหว่างการินกับลัลทริมา เล่มต่อ ๆ มา ชัยเดชจะปรากฏตัวบ้างบางครั้ง เป็นคู่กัดกับมัณฑินีทะเลาะกันและเป็นไม้เบื่อไม้เมากันอยู่ตลอด (ปรากฏตัวครั้งแรกในฉบับการ์ตูน คดีที่ 1 คืนลอยกระทงสีเลือด) พงศธร พี่ชายของเมธาธร เป็นนักข่าวอาชญากรรม ที่เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนบุคคล พงศกรเป็นหนึ่งในแขกรับเชิญในงานเปิดพิพิธภัณฑ์คนบาป (ปรากฏตัวเฉพาะฉบับการ์ตูน คดีที่ 4 พิพิธภัณฑ์คนบาป) เมธาธร น้องรหัสของมัณฑินี มีนิสัยร่าเริงติงต๊อง อ่อนไหวง่ายจนเกินพอดี แต่ก็เป็นคนที่ฉลาดและมีความสามารถในการเจาะระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก (ปรากฏตัวในฉบับการ์ตูนคดีที่ 7 บายศรีสังหารเป็นต้นไป) อัญชัญ น้องรหัสของเอมิกา หน้าตาน่ารัก ไม่คอยจะมีบทพูดซักเท่าไร และแอบปลื้มเอมิกาซึ่งเป็นพี่รหัสของตัวเองอยู่ (ปรากฏตัวในฉบับการ์ตูนคดีที่ 7 บายศรีสังหารเป็นต้นไป) ไกรสร วรรณาเวทย์ ตาของการิน เป็นหมอผีที่มีชื่อเสียง เป็นคนบอกเรื่องของริสาให้การิน (ปรากฏครั้งแรกในฉบับนิยาย เล่ม 8 -บันทึกเขียนกรรม) นิรันดร์ จินตเมธร ลุงของการิน มีอาชีพเป็นแพทย์และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลจินตเมธรเมโมเรียล อาจจะไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนรินทร์และการินเท่าไหร่นัก แต่ก็มีความเป็นห่วงและคอยช่วยเหลือทั้งคู่อยู่ห่าง ๆ (ปรากฏตัวครั้งแรกในฉบับการ์ตูน คดีที่ 6 -กวีวิฬาร์อาฆาตและฉบับนิยาย คดีที่7 -สุขสันต์วันถึงฆาต) เจนิเฟอร์ แฮมมิลตัน แม่ของเอมิกา วิศวกรใต้ดิน เป็นคนชอบแต่งตัวตาม Lady gaga จึงดูเหมือนคนไม่ค่อยปกติ ( ปรากฏตัวครั้งแรกในฉบับการ์ตูน คดีที่ 9 -สาปลัทธิโลกาวินาศและฉบับนิยาย ภาค2 คดีที่ 2 -เชือกปะกำศพ) ในต้นปี พ.ศ. 2554 ทางค่ายพูนิก้าก็ได้ตีพิมพ์การินฉบับพิเศษอีก 2 เล่ม เล่มแรกตีพิมพ์ในรูปแบบการ์ตูน คือ "การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ บทสูญ" โดยเป็นเรื่องราวในวัยเด็กของลัลทริมาเมื่อครั้งที่เธอสูญเสียพี่ชาย ซึ่งมีเนื้อหาก่อนเกิดเหตุการณ์ในคดีที่ 1 โดยเล่าถึงอดีตของตัวละครเอก 3 ตัว อันได้แก่ การิน, ลัลทริมา และเชียร ส่วนเล่มที่สองตีพิมพ์ในรูปแบบนิยาย คือ "เชียร พันธนาอัตตานิรันดร์" ซึ่งมี เชียร ตัวร้ายใน การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เป็นตัวเอกของเรื่อง นอกจากการินฉบับพิเศษที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ยังมีนิยายเรื่อง "ริน/ชิน/เร ตรรกะ..ปริศนาคดีอาถรรพ์ เกมฆาตกรรม" เป็นนิยายชุดพิเศษที่นำ การิน จาก การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ชินะและเรวิน จาก ชินเร ตรรกะ เกมฆาตกรรม ซึ่งอยู่ในเครือพูนิก้าทั้งคู่ มาเผชิญหน้ากัน โดยเป็นการร่วมมือเขียนระหว่าง อัยย์ ผู้เขียนการินฯ และ แทน ผู้เขียนชินเรฯ รวมถึงนิยายเรื่อง "บริษัทพิทักษ์ (คุณหนู) การิน" เป็นการร่วมกันเขียนระหว่างอัยย์ และ เนบิวลา สองนักเขียนในเครือพูนิก้า มีตัวละครนำคือ การิน และ สองตัวเอกจาก นิยาย "บริษัทพิทักษ์คุณหนู" อคิน และแคปเปอร์ การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ เปิดตัวในรูปแบบของภาพยนตร์คนแสดงเป็นครั้งแรก ในชื่อ "การิน ปฐมนิเทศแห่งความตาย" บทของ'การิน จินตเมธร' รับบทโดย วิศรุตต์ ปองธนพิสิฐ หรือ อาร์ต บท 'ลัลทริมา วิกรานต์วรสริต' ถูกแสดงโดย ธนพร ปุกกูล หรือ ซาร่า และในฉบับภาพยนตร์นี้มีการเขียนบทขึ้นใหม่ ผสมผสานเนื้อหาจากตอนต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบนิยายและการ์ตูน โดยมีตัวละครใหม่ที่กลายมาเป็นคู่ปรับของการินคือ 'วิทูรณ์' ซึ่งจะปรากฏตัวเฉพาะในรูปแบบภาพยนตร์เท่านั้น รับบทโดย สรณ ขุนพลพิทักษ์ หรือ เทมส์ และต่อมาก็ได้สร้าง Garin Movie project s.2 ในชื่อ Garin x guardian โดยเอาตัวละครจากบริษัทพิทักษ์คุณหนูมาเพิ่ม อย่าง แคปเปอร์และอคิน จากความนิยมของนิยายชุด การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ส่งผลให้มีการจัดพิมพ์ซ้ำเรื่องดังกล่าวหลายครั้ง และ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ซึ่งเป็นนักวิจารณ์การ์ตูน ได้กล่าวถึงหนังสือคดีที่ 1 ในบทแรกว่ามีการเปิดตัวลัลทริมาที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีการแปลลิขสิทธิ์ในฉบับภาษามาเลเซีย โดยชื่อว่า "FaIL aNEH GaRIN" ตลอดจนมีตัวแทนจากหลายประเทศเริ่มติดต่อกับทางผู้จัดทำเพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์ รวมไปจนถึงประเทศเกาหลีใต้ที่มีโครงการที่จะนำซีรีส์ดังกล่าวไปนำเสนอในประเทศของตนเป็นลำดับต่อไป การ์ตูนชุดนี้สามารถสร้างชื่อเสียงในกลุ่มผู้อ่านการ์ตูนสยองขวัญและสืบสวน รวมถึงปัจจุบัน ได้มีการเตรียมจัดฉายในฉบับภาพยนตร์ นิรวาณ คุระทอง. (2553). ประวัติย่อการ์ตูนไทย. สำนักพิมพ์ LET'S Comic. ISBN 9786169012863. หน้า 314 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ปีที่ 34 ฉบับที่ 12026. วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554. ISSN 1686-8188. หน้า 24 Let's List. นิรวาณ คุระทอง. (กันยายน 2554). LET'S Comic. Vol 15. หสน.ห้องภาพสุวรรณ. ISBN 978-131-33172-2-1. หน้า 124 การิน เล่มพิเศษ บทสูญ เชียร พันธนา อัตตานิรันดร์ Garin Movie Project รายชื่อตอนในการิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ช่วงเวลาที่ความฝันจะเป็นความจริง เมื่อการ์ตูนไทยจะโกอินเตอร์ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ Garin Vs Casting E.Q.Plus MAG การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ชื่อไทย การิน ปริศนาคดีอาถรรพ์ ชื่ออังกฤษ Garin's Uncanny files แนว Black Fantasy หนังสือการ์ตูน ผู้แต่ง อัยย์ ผู้วาดภาพประกอบ ทีม Black Tohfu สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์พูนิก้า นิตยสาร Blacx ตีพิมพ์เมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน จำนวนเล่ม 30 เล่ม ส่วนหนึ่งของสถานีย่อย:ประเทศไทย วงเวียนใหญ่ =========== พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′34″N 100°29′37″E / 13.725977°N 100.493569°E / 13.725977; 100.493569 วงเวียนใหญ่ เป็นวงเวียนที่ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนอินทรพิทักษ์มาบรรจบกันในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นสถานีต้นทางของทางรถไฟสายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่-มหาชัย) พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′34″N 100°29′37″E / 13.725977°N 100.493569°E / 13.725977; 100.493569 วงเวียนใหญ่ เป็นวงเวียนที่ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนอินทรพิทักษ์มาบรรจบกันในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นสถานีต้นทางของทางรถไฟสายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่-มหาชัย) พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกแบบและควบคุมการหล่อโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปินผู้ปั้นคือนายแสวง สงฆ์มั่งมี เป็นพระบรมรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ประทับบนหลังม้า ทรงพระมาลา เบี่ยงหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่จันทรบุรี พระหัตถ์ขวา ทรง พระแสงดาบชูออกไปเหนือพระเศียร พระหัตถ์ซ้ายทรงบังเหียน ท่านำพลรุกไล่ข้าศึก โดยที่พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ทางรัฐบาลได้ให้ประชาชนออกเงินบริจาคสร้าง และเปิดโอกาสให้ได้ออกเสียงเลือกแบบด้วย ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เลือกแบบในปัจจุบันนี้ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชาอนุสาวรีย์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม ปีเดียวกัน จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ เนื่องจากในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เป็นวันที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนหลังจากการเสียกรุงครั้งที่สอง ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันถวายบังคมพระบรมราชาอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จะมีพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณของพระองค์ ที่พระบรมราชานุสาวรีย์ วงเวียนใหญ่ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 กรุงเทพมหานครได้ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์วงเวียนใหญ่ให้แลดูสวยงามขึ้น มีการติดตั้งไฟส่องพระบรมราชานุสาวรีย์ในเวลากลางคืน และมีอุโมงค์คนเดินจากทางเท้าเข้าไปถึงวงเวียนและตัวพระบรมราชานุสาวรีย์ได้ แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะสู่วงเวียนใหญ่ ภาพถ่ายทางอากาศของ วงเวียนใหญ่ ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 ธันวาคม 2547 มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ thairunning.com กรุงเทพมหานคร - สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร - สำนักงานเขตธนบุรี 19 ศิลปินชั้นเยี่ยม วงเวียนใหญ่ ภาพถ่ายจากด้านบนของวงเวียนใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2559 ชื่ออักษรโรมัน Wong Wian Yai รหัส N109 ที่ตั้ง แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ทิศทางการจราจร ถนนประชาธิปก » แยกบ้านแขก ถนนลาดหญ้า » แยกลาดหญ้า-ท่าดินแดง ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน » แยกตากสิน ถนนอินทรพิทักษ์ » แยกบางยี่เรือ ด • พ • ก บริการ สถานี/ป้ายหยุดรถ สายทาง รถโดยสารประจำทาง ประชาธิปก 3 4 7 7ก 21 37 82 85 149 177 529 710 ลาดหญ้า 3 20 84 89 105 111 120 149 177 สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ 20 21 37 82 85 120 529 บางยี่เรือ 4 7 7ก 9 42 84 84ก 89 111 710 รถไฟชานเมือง สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ทางรถไฟสายแม่กลอง ด พ ก วงเวียน ทางแยก และชุมทางต่างระดับในกรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนคร อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ (อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ) วงเวียน 22 กรกฎาคม วงเวียนสิบสามห้าง วงเวียน รด./ท้ายวัง สี่กั๊กพระยาศรี สี่กั๊กเสาชิงช้า ปากคลองตลาด พระพิทักษ์ บ้านหม้อ พาหุรัด เฉลิมกรุง อุณากรรณ์ วังบูรพา สามยอด สะพานมอญ เรือนจำ สำราญราษฎร์ เสาชิงช้า สะพานช้างโรงสี ป้อมเผด็จ ผ่านพิภพลีลา คอกวัว บางลำพู บางขุนพรหม เทเวศร์ สี่เสาเทเวศร์ วังแดง หอประชุม ทบ. สวนมิสกวัน ลานพระรูป (พระบรมรูปทรงม้า) วัดเบญจฯ พาณิชยการ นางเลิ้ง สะพานขาว เทวกรรม มัฆวานรังสรรค์ ประชาเกษม วิสุทธิกษัตริย์ สะพานวันชาติ ป้อมมหากาฬ ผ่านฟ้าลีลาศ จปร. จักรพรรดิพงษ์ หลานหลวง แม้นศรี กษัตริย์ศึก ห้าแยกนพวงศ์ พลับพลาไชย โรงพยาบาลกลาง วรจักร เอสเอบี วัดตึก ราชวงศ์ เสือป่า แปลงนาม หมอมี/สามแยก เฉลิมบุรี วงเวียนโอเดียน ไมตรีจิตต์ หัวลำโพง มหานคร สะพานเหลือง มหาพฤฒาราม สี่พระยา สุรวงศ์ บางรัก เฉลิมพันธุ์ สุรศักดิ์ สาทร-สุรศักดิ์ สุรวงศ์-นราธิวาส สีลม-นราธิวาส สาทร-นราธิวาส วิทยุ ศาลาแดง อังรีดูนังต์ สามย่าน ปทุมวัน เจริญผล พงษ์พระราม เฉลิมเผ่า ราชประสงค์ ราชดำริ ชิดลม เพลินจิต วิทยุ-เพชรบุรี ชิดลม-เพชรบุรี ประตูน้ำ มักกะสัน หมอเหล็ง สามเหลี่ยมดินแดง พญาไท ราชเทวี เพชรพระราม อุรุพงษ์ ยมราช เสาวนี ศรีอยุธยา ตึกชัย อุภัยเจษฎุทิศ ราชวิถี โรงกรองน้ำ สุโขทัย สวนรื่นฤดี การเรือน ซังฮี้ วชิระ ศรีย่าน ราชวัตร บางกระบือ สะพานเกษะโกมล เกียกกาย สะพานแดง ประดิพัทธ์ สะพานควาย กำแพงเพชร สะพานสูงบางซื่อ ประชาชื่น เตาปูน บางโพ พิบูลสงคราม วงศ์สว่าง ประชานุกูล รัชวิภา วัดเสมียนนารี บางเขน เกษตร เสนานิคม รัชโยธิน ลาดพร้าว สุทธิสาร รัชดา-ลาดพร้าว รัชดา-สุทธิสาร ห้วยขวาง เทียมร่วมมิตร พระราม 9 ประชาสงเคราะห์ ใต้ด่วนดินแดง มิตรสัมพันธ์ อโศก-เพชรบุรี เอกมัยเหนือ คลองตัน รามคำแหง พระราม 9-ประดิษฐ์มนูธรรม เหม่งจ๋าย ประชาธรรม ศรีวรา ลำสาลี บางกะปิ เกตุนุติ โชคชัย 4 วังหิน เกษตร-ลาดปลาเค้า โรงไม้ สุคนธสวัสดิ์ ประดิษฐ์มนูธรรม นวลจันทร์-นวมินทร์ รามอินทรา กม.8 ลาดปลาเค้า วัชรพล สายไหม สุขาภิบาล 5-สายไหม หลักสี่ เมืองมีน รามคำแหง-ร่มเกล้า รามคำแหง-สุวินทวงศ์ ร่มเกล้า-สุวินทวงศ์ นิมิตใหม่ ลำผักชี หลวงแพ่ง หนองจอก ลาดกระบัง กิ่งแก้ว ทับช้าง ประเวศ อ่อนนุช-พัฒนาการ พัฒนาการ พระราม 9-ศรีนครินทร์ สวนหลวง ศรีอุดม ศรีเอี่ยม (ต่างระดับ) บางนา แบริ่ง ลาซาล อุดมสุข อ่อนนุช พระโขนง เกษมราษฎร์ อโศกมนตรี พระรามที่ 4 คลองเตย ณ ระนอง พระรามที่ 3-นราธิวาส รัชดา-นราธิวาส จันทน์-นราธิวาส สวนพลู สาธุ-จันทน์ เจริญราษฎร์-จันทน์ ตรอกจันทน์ ด่วนสาธุประดิษฐ์ สาธุประดิษฐ์ พระรามที่ 3-รัชดา เจริญราษฎร์ ถนนตก อู่ทองใน อู่ทองนอก ฝั่งธนบุรี วงเวียนใหญ่ (พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) วงเวียนเล็ก ตากสิน ตลาดพลู บางยี่เรือ ลาดหญ้า คลองสาน นาหลวง บ้านแขก โพธิ์สามต้น วังเดิม บ้านขมิ้น ศิริราช อรุณอมรินทร์ บรมราชชนนี บางพลัด สิรินธร บางขุนนนท์ บ้านเนิน พรานนก ไฟฉาย พาณิชยการธนบุรี ท่าพระ รัชดา-ตลาดพลู มไหสวรรย์ บุคคโล ดาวคะนอง บางปะแก้ว ประชาอุทิศ จอมทอง บางบอน เพชรเกษม (ต่างระดับ) บางแค บางแค (ต่างระดับ) ทศกัณฑ์ ฉิมพลี ศาลาธรรมสพน์ ตลาดมะลิทอง คลองทวีวัฒนา ภาษีเจริญ บ้านสวน ท่าน้ำแป็บซี่ เจริญนคร เทียนทะเล บุปผาราม รายชื่อ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม สหราชอาณาจักรในโอลิมปิกฤดูหนาว 1980 =================================== สหราชอาณาจักร เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 13 ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ณ เมืองเลคพลาซิด ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 สหราชอาณาจักร เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 13 ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ณ เมืองเลคพลาซิด ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา สหราชอาณาจักรในโอลิมปิก ธงชาติสหราชอาณาจักร รหัสประเทศ : GBR เอ็นโอซี : สมาคมโอลิมปิกแห่งสหราชอาณาจักร เว็บไซต์ : www.olympics.org.uk โอลิมปิกฤดูหนาว 1980 เลคพลาซิด สหรัฐอเมริกา เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1896 · 1900 · 1904 · 1908 · 1912 · 1920 · 1924 · 1928 · 1932 · 1936 · 1948 · 1952 · 1956 · 1960 · 1964 · 1968 · 1972 · 1976 · 1980 · 1984 · 1988 · 1992 · 1996 · 2000 · 2004 · 2008 · 2012 · 2016 · 2020 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1924 · 1928 · 1932 · 1936 · 1948 · 1952 · 1956 · 1960 · 1964 · 1968 · 1972 · 1976 · 1980 · 1984 · 1988 · 1992 · 1994 · 1998 · 2002 · 2006 · 2010 · 2014 ประเทศพม่าใน ค.ศ. 1924 ====================== เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1924 ในประเทศพม่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1924 ในประเทศพม่า หม่อง หม่อง ปฎิทินปี 1924 - ประเทศพม่า บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ เกาะลิเบอร์ตี ============= บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน เกาะลิเบอร์ตี (อังกฤษ: Liberty Island) เป็นเกาะที่ไม่มีผู้อาศัยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของเกาะแมนแฮตตัน ของนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่รู้จักจากการเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ และปัจจุบันได้ขึ้นในทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ 59,560 ตารางเมตร เป็นทรัพย์ส่วนกลางของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา บทความเกี่ยวกับภูมิศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล หรือดูเพิ่มที่ ภูมิศาสตร์ ภาพทางอากาศของเกาะลิเบอร์ตี ซีซี ==== CC หรือ cc สามารถหมายถึง หน่วยปริมาตร ซีซี มีค่าเท่ากับ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons, CC) - องค์กรเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เซอร์กิตซิตี (Circuit City) - ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย Current Century - ยุคสมัยที่แต่งขึ้นในการ์ตูนเรื่อง เทิร์นเอกันดั้ม closed caption (CC) - เป็นซับไตเติลของรายการโทรทัศน์ ไว้สำหรับบริการคนพิการทางหู Carbon copy (CC) - คำย่อที่อยู่ในการจ่าหน้าการส่ง Email หมายถึง สำเนาถึง โดยไม่ต้องการให้ผู้รับอีเมลตอบกลับ .cc - โดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศของหมู่เกาะโคโคส CC ใน เลขโรมัน มีค่าเท่ากับจำนวน 200 ซีทู (C.C.) - ตัวละครจากการ์ตูนเรื่อง โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช คำสั่งแปลโปรแกรมภาษาซี อักษร C ที่ประกอบกับอักษรละตินตัวอื่น CA CB CC CD CE CF CG CH CI CJ CK CL CM CN CO CP CQ CR CS CT CU CV CW CX CY CZ AC BC CC DC EC FC GC HC IC JC KC LC MC NC OC PC QC RC SC TC UC VC WC XC YC ZC หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง ขาวมณี ====== แมวขาวมณี หรือ ขาวปลอด เป็นสายพันธุ์ที่พบเห็นได้มากสุดในปัจจุบัน เป็นแมวไทยโบราณที่ไม่ได้มีบันทึกไว้ในสมุดข่อย จึงเชื่อว่าเป็นแมวที่เพิ่งกำเนิดในต้นยุครัตนโกสินทร์นี่เอง นิยมเลี้ยงไว้ในราชสำนักครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 แมวชนิดนี้เป็นที่โปรดปราณมาก ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงกันเป็นคู่เพื่อให้ผลัดกันทำความสะอาดขน เป็นแมวที่ค่อนข้างเชื่อง เหมาะสำหรับการเลี้ยงเป็นเพื่อนได้เป็นอย่างดี ลักษณะเด่นของขาวมณีคือสีขนและผิวกายขาวสะอาด ขนสั้น นุ่ม รูปร่างลำตัวยาวขาเรียว ทรงเพียวลม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป หัวไม่กลมโต แต่เป็นทรงสามเหลี่ยมคล้ายหัวใจ หน้าผากแบนใหญ่ หูขนาดใหญ่และตั้งตรงจมูกสั้น ดวงตาจะรีเล็กน้อยนัยน์ตาเป็นสีฟ้าหรือเหลืองอำพันสีใดสีหนึ่งเมื่อนำแมวขาวมณีตาสีฟ้า ผสมกับแมวขางมณีตาสี อำพัน ลูกที่ออกมาจะมีตาสองสี คือ สีฟ้าข้างหนึ่งและสีเหลืองอำพันข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยในแมวขาวมณีแทบทุกตัวจะมีจุดด้อย เช่น ถ้ามีตาสองสีมักมีตาข้างหนึ่งที่ไม่ดี อาจมองเห็นไม่ชัดหรือมองไม่เห็นเลย ถ้าแมวตาสีฟ้ามักจะหูพิการ หรือไม่ได้ยินเสียงมากนัก และแมวตาสีเหลืองอำพันมักมีต่อมขนที่ไม่ดี จุดด้อยอีกข้อของแมวขาวมณีคือความไม่ขาวปลอด มีสีใดสีหนึ่งแซมเข้ามา รวมถึงตาสองข้างเป็นคนละสีกัน (Odd eyes) หรือเป็นสีอื่นสีใดที่ไม่ใช่สีฟ้าหรือเหลืองอำพัน ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ (อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศนั้นกลับนิยมแมวขาวมณีที่มีตาคนละสีมากกว่าตาสีเดียว) เช่นเดียวกับขนที่ยาวมากเกินขนาด หางคด หางขอด หางงอและ หางสั้น แมวขาวมณี หรือ ขาวปลอด เป็นสายพันธุ์ที่พบเห็นได้มากสุดในปัจจุบัน เป็นแมวไทยโบราณที่ไม่ได้มีบันทึกไว้ในสมุดข่อย จึงเชื่อว่าเป็นแมวที่เพิ่งกำเนิดในต้นยุครัตนโกสินทร์นี่เอง นิยมเลี้ยงไว้ในราชสำนักครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 แมวชนิดนี้เป็นที่โปรดปราณมาก ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงกันเป็นคู่เพื่อให้ผลัดกันทำความสะอาดขน เป็นแมวที่ค่อนข้างเชื่อง เหมาะสำหรับการเลี้ยงเป็นเพื่อนได้เป็นอย่างดี ลักษณะเด่นของขาวมณีคือสีขนและผิวกายขาวสะอาด ขนสั้น นุ่ม รูปร่างลำตัวยาวขาเรียว ทรงเพียวลม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป หัวไม่กลมโต แต่เป็นทรงสามเหลี่ยมคล้ายหัวใจ หน้าผากแบนใหญ่ หูขนาดใหญ่และตั้งตรงจมูกสั้น ดวงตาจะรีเล็กน้อยนัยน์ตาเป็นสีฟ้าหรือเหลืองอำพันสีใดสีหนึ่งเมื่อนำแมวขาวมณีตาสีฟ้า ผสมกับแมวขางมณีตาสี อำพัน ลูกที่ออกมาจะมีตาสองสี คือ สีฟ้าข้างหนึ่งและสีเหลืองอำพันข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยในแมวขาวมณีแทบทุกตัวจะมีจุดด้อย เช่น ถ้ามีตาสองสีมักมีตาข้างหนึ่งที่ไม่ดี อาจมองเห็นไม่ชัดหรือมองไม่เห็นเลย ถ้าแมวตาสีฟ้ามักจะหูพิการ หรือไม่ได้ยินเสียงมากนัก และแมวตาสีเหลืองอำพันมักมีต่อมขนที่ไม่ดี จุดด้อยอีกข้อของแมวขาวมณีคือความไม่ขาวปลอด มีสีใดสีหนึ่งแซมเข้ามา รวมถึงตาสองข้างเป็นคนละสีกัน (Odd eyes) หรือเป็นสีอื่นสีใดที่ไม่ใช่สีฟ้าหรือเหลืองอำพัน ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ (อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศนั้นกลับนิยมแมวขาวมณีที่มีตาคนละสีมากกว่าตาสีเดียว) เช่นเดียวกับขนที่ยาวมากเกินขนาด หางคด หางขอด หางงอและ หางสั้น ลักษณะสีขน ขนสั้นแน่นและอ่อนนุ่ม สีขาวไม่มีสีอื่นปน สีผิวหนังเป็นสีขาวปลอดทั้งตัว ลักษณะของส่วนหัว รูปร่างไม่กลม หรือแหลมเกินไป แต่คล้ายรูปหัวใจ ผน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูตั้งใหญ่ ลักษณะของนัยน์ตา นัยน์ตาสีฟ้า หรือสีเหลืองอำพัน ลักษณะของหาง หางยาว ปลายหางแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขาวยาวเรียวได้สัดส่วนกับลำ ขนมีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี อาจเป็นผลจากกรรมพันธุ์ มี 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์ตาสีเหลืองอัมพัน สายพันธุ์ตาสีฟ้า ถ้าเอาทั้งสองสายพันธุ์มาผสมกัน จะเกิดเป็นแมวตาสองสี คือข้างหนึ่งสีเหลือง อีกข้างหนึ่งสีฟ้า "อุทยานแมวไทยโบราณ" เรื่องของแมวขาวมณี คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ขาวมณี แมวขาวมณี แมวขาวมณีตาสองสี (ข้างหนี่งสีฟ้า ข้างหนึ่งสีเหลืองอำพัน) สาธารณรัฐโปรตุเกสในโอลิมปิกฤดูร้อน 1912 ======================================= สาธารณรัฐโปรตุเกส เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 5 ค.ศ. 1912 (พ.ศ. 2455) ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดนระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ประเทศโปรตุเกสในโอลิมปิก ธงชาติโปรตุเกส รหัสประเทศ : POR เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งโปรตุเกส เว็บไซต์ : www.comiteolimpicoportugal.pt (โปรตุเกส) โอลิมปิกฤดูร้อน 1912 สตอกโฮล์ม สวีเดน เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1912 • 1920 • 1924 • 1928 • 1932 • 1936 • 1948 • 1952 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 • 2016 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1952 • 1988 • 1994 • 1998 • 2002 • 2006 • 2010 • 2014 • 2018 จังหวัดไอชิ =========== จังหวัดไอชิ (ญี่ปุ่น: 愛知県 Aichi-ken ?) เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในภูมิภาคจูบุ ประเทศญี่ปุ่น เมืองศูนย์กลางคือ นะโงะยะ จังหวัดไอชิ (ญี่ปุ่น: 愛知県 Aichi-ken ?) เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในภูมิภาคจูบุ ประเทศญี่ปุ่น เมืองศูนย์กลางคือ นะโงะยะ แรกเริ่มนั้นพื้นที่บริเวณนี้ถูกแบ่งเขตออกเป็น 3 จังหวัด คือ โอะวะริ มิกะวะ และโฮะ ต่อมาในช่วงสมัยไทกะ จังหวัดมิกะวะและจังหวัดโฮะถูกผนวกเข้าเป็นจังหวัดเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2414 หลังจากมีการเลิกล้มระบอบศักดินา พื้นที่ของจังหวัดโอะวะรินอกจากส่วนที่อยู่ในคาบสมุทรจิตะได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็น จังหวัดนะโงะยะ และจังหวัดมิกะวะได้ถูกผนวกรวมเข้ากับส่วนที่คาบสมุทรจิตะ แล้วก่อตั้งขึ้นเป็นจังหวัดนุกะตะ ต่อมาจังหวัดนะโงะยะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดไอชิในเดือนเมษายน พ.ศ. 2415 และได้ผนวกเอาจังหวัดมิกะวะเข้าไปด้วยในวันที่ 27 พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน จังหวัดไอชิตั้งอยู่ในตำแหน่งใกล้จุดศูนย์กลางของเกาะฮนชู ตัวจังหวัดหันหน้าออกสู่อ่าวอิเสะและอ่าวมิกะวะทางทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดชิซุโอะกะทางทิศตะวันออก จังหวัดนะงะโนะทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดกิฟุทางทิศเหนือ และจังหวัดมิเอะทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ทั้งหมด 5,153.81 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นอัตราส่วน 1.36% ของพื้นผิวทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น จุดที่อยู่สูงที่สุดในจังหวัดคือ ภูเขาจาอุสุ มีความสูง 1,415 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล พื้นที่ด้านตะวันตกของจังหวัดเป็นเขตเมืองนะโงะยะ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของญี่ปุ่น ส่วนพื้นที่ด้านตะวันออกของจังหวัดจะมีความหนาแน่นของประชากรค่อนข้างน้อยกว่า แต่ก็ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางหลักทางอุตสาหกรรมอีกหลายแห่ง ในปี พ.ศ. 2544 ประชากรของจังหวัดไอชิประกอบไปด้วยเพศชาย 50.03% และเพศหญิง 49.97% มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ 139,540 คน คิดเป็นประมาณ 2% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด จังหวัดไอชิมีเมือง 38 เมือง ดังนี้ ภาพถ่ายดาวเทียมของอ่าวมิกะวะ แผนที่ของจังหวัดไอชิ นะโงะยะ บทความเกี่ยวกับประเทศ ดินแดน หรือเขตการปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก จังหวัดไอชิ 愛知県 จังหวัด การถอดเสียงญี่ปุ่น  • ญี่ปุ่น 愛知県  • โรมะจิ Aichi ประเทศ ญี่ปุ่น ภาค จูบุ เกาะ ฮนชู เมืองเอก นะโงะยะ การปกครอง  • ผู้ว่าราชการ คันดะ มาซาอากิ พื้นที่  • ทั้งหมด 5,153.81 ตร.กม. (1,989.90 ตร.ไมล์) อันดับพื้นที่ 28 ของประเทศ ประชากร (1 กุมภาพันธ์ 2554)  • ทั้งหมด 7,408,640  • อันดับ 4 ของประเทศ  • ความหนาแน่น 1,437.51 คน/ตร.กม. (3,723.1 คน/ตร.ไมล์) รหัสไอเอสโอ 3166 JP-23 อำเภอ 10 เทศบาล 63 ดอกไม้ ไอริส (Iris laevigata) ต้นไม้ Hananoki (Acer pycnanthum) นก Scops Owl (Otus scops japonicus) เว็บไซต์ http://www.pref.aichi.jp/index-e.html สัญลักษณ์ของจังหวัดไอชิ Population by age (2001) อายุ  % Population  % ชาย  % หญิง 0 - 9 10.21 10.45 9.96 10 - 19 10.75 11.02 10.48 20 - 29 15.23 15.71 14.75 30 - 39 14.81 15.31 14.30 40 - 49 12.21 12.41 12.01 50 - 59 15.22 15.31 15.12 60 - 69 11.31 11.22 11.41 70 - 79 6.76 6.01 7.52 over 80 3.12 2.01 4.23 unknown 0.38 0.54 0.23 ไอซะอิ อะมะ อันโจ ชิเรียว ชิตะ งะมะโงริ ฮังดะ เฮะกินัง อิชิโนะมิยะ อินะซะวะ อินุยะมะ อิวะกุระ คะริยะ คะซุงะอิ คิตะนะโงะยะ คิโยะซุ โคะมะกิ โคนัน มิโยะชิ นะงะกุเตะ นะโงะยะ (เมืองหลัก) นิชิโอะ นิสชิน โอกะซะกิ โอบุ โอะวะริอะซะฮิ เซะโตะ ชินชิโระ ทะฮะระ ทะกะฮะมะ โทะโกะนะเมะ โทไก โทะโยะอะเกะ โทะโยะฮะชิ โทะโยะกะวะ โทะโยะตะ สึชิมะ ยะโตะมิ ชิงกันเซ็ง ========== ชิงกันเซ็ง (ญี่ปุ่น: 新幹線 shinkansen ?, แปล: สายทางไกลสายใหม่) เป็นชื่อเรียกเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่นซึ่งดำเนินงานโดย 4 กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น สายแรกที่เปิดใช้งานคือ โทไกโดะ ชิงกันเซ็ง (515.4 กม.) ในปี ค.ศ. 1964 จากนั้นเป็นต้นมา เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งก็ได้ถูกขยายออกไปทั่วประเทศ ด้วยระยะทางรวมกว่า 2,765 กม. และวิ่งด้วยความเร็ว 240–320 กม./ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีสาย มินิชิงกันเซ็ง สั้น ๆ ความยาว 10.3 กม. ที่วิ่งด้วยความเร็ว 130 กม./ชั่วโมง รถไฟชิงกันเซ็งให้บริการแก่ผู้โดยสารด้วยความเร็วสูงสุด 320 กม./ชั่วโมง แม้ว่าจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 443 กม./ชั่วโมงในการทดสอบเมื่อปี ค.ศ. 1996 และรถไฟชิงกันเซ็งยังทำลายสถิติรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็วถึง 603 กม./ชั่วโมง ในการทดสอบขบวนแม็กเลฟ เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 ชิงกันเซ็ง (ญี่ปุ่น: 新幹線 shinkansen ?, แปล: สายทางไกลสายใหม่) เป็นชื่อเรียกเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่นซึ่งดำเนินงานโดย 4 กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น สายแรกที่เปิดใช้งานคือ โทไกโดะ ชิงกันเซ็ง (515.4 กม.) ในปี ค.ศ. 1964 จากนั้นเป็นต้นมา เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งก็ได้ถูกขยายออกไปทั่วประเทศ ด้วยระยะทางรวมกว่า 2,765 กม. และวิ่งด้วยความเร็ว 240–320 กม./ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีสาย มินิชิงกันเซ็ง สั้น ๆ ความยาว 10.3 กม. ที่วิ่งด้วยความเร็ว 130 กม./ชั่วโมง รถไฟชิงกันเซ็งให้บริการแก่ผู้โดยสารด้วยความเร็วสูงสุด 320 กม./ชั่วโมง แม้ว่าจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 443 กม./ชั่วโมงในการทดสอบเมื่อปี ค.ศ. 1996 และรถไฟชิงกันเซ็งยังทำลายสถิติรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็วถึง 603 กม./ชั่วโมง ในการทดสอบขบวนแม็กเลฟ เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงของญี่ปุ่น ได้ต้นแบบพัฒนามาจากรถไฟความเร็วสูง ซีเมนส์ ของ เยอรมนี ญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะสร้างรางรถไฟที่รองรับรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูง จึงได้สร้างทางรถไฟมาเพื่อรถไฟความเร็วสูงอย่างจริงจังโดยเฉพาะ เป็นประเทศแรกในโลก เนื่องจากภูมิประเทศของญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยภูเขามากมาย เส้นทางรถไฟที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงมีความกว้างแบบแคบ คือ 1,067 มิลลิเมตร ซึ่งทำให้ต้องวางเส้นทางรถไฟที่คดเคี้ยวและรถไฟไม่สามารถเร่งให้มีความเร็วสูงกว่านี้ได้ ต่อมา ญี่ปุ่นมีความต้องการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงมากกว่าความต้องการสร้างของประเทศที่มีระบบรางรถไฟความกว้างมาตรฐานอยู่แล้วและญี่ปุ่นนั้นก็มีศักยภาพในการปรับปรุงระบบรถไฟให้ทันสมัยมากกว่าอีก ชื่อเรียกอีกชื่อที่คุ้นหูกันดีสำหรับชิงกันเซ็งนี้ก็คือ รถไฟหัวกระสุน (bullet train) ซึ่งเป็นความหมายของคำในภาษาญี่ปุ่นว่า ดังงัง เร็ชชะ (弾丸列車) ต่อมาชื่อนี้ได้นำมาเรียกเป็นชื่อเล่นของโครงการตั้งแต่ตอนเริ่มต้นปรึกษาหารือความเป็นไปได้ของโครงการในราวทศวรรษที่ 1930 ชื่อนี้ได้มาจากลักษณะของหัวรถจักรที่มีลักษณะคล้ายกับหัวกระสุนปืนและยังมีความเร็วสูงเหมือนกระสุนปืนนั่นเอง คำว่า "ชิงกันเซ็ง" มีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) เพื่อใช้เรียกเส้นทางทางเดินรถไฟโดยสาร/สินค้าจากกรุงโตเกียวไปยังชิโมะโนะเซะกิที่จะสร้างขึ้นในสมัยนั้น โดยการใช้พลังงานไอน้ำและหัวรถจักรไฟฟ้าที่สามารถเร่งความเร็วได้ถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นสามปี รัฐมนตรีรถไฟได้ผลักดันให้เกิดโครงการขยายทางรถไฟไปสู่กรุงปักกิ่ง (โดยการเจาะอุโมงค์ผ่านคาบสมุทรเกาหลี) หรือยาวไปจนถึงสิงคโปร์เลยทีเดียว ไปจนถึงการสร้างทางรถไฟเชื่อมกับทางรถไฟสายไซบีเรียนของรัสเซียและทางรถไฟสายอื่น ๆ ของเอเชีย แต่ต่อมา แผนนี้ได้มีการยกเลิกในปี พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) และสภาวะของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างบางส่วนก็ได้รับการพัฒนาต่อ เช่น อุโมงค์บางส่วนได้มาการนำมาใช้สำหรับชิงกันเซ็งในปัจจุบันนับตั้งแต่มีการสร้างครั้งแรกในช่วงสงคราม หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง รถไฟความเร็วสูงก็ได้เลือนหายไปจากความทรงจำของคนญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายปี ต่อมากลางทศวรรษที่ 1950 ทางรถไฟสายหลักโทไกโดะก็ถูกใช้งานมาจนเต็มขีดความสามารถแล้ว รัฐมนตรีรถไฟของญี่ปุ่นจึงได้ตัดสินใจกลับมาทบทวนโครงการชิงกันเซ็งอีกครั้ง รัฐบาลได้อนุมัติโครงการเมื่อปี 1958 การก่อสร้างทางรถไฟส่วนแรกของ โทไกโดะ ชิงกันเซ็ง ระหว่างกรุงโตเกียวไปยังโอซะกะก็ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 การก่อสร้างทางรถไฟครั้งนี้ ญี่ปุ่นจำเป็นต้องกู้เงินจากธนาคารโลกเป็นจำนวนเงิน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในปี 1962 ได้มีพิธีเปิดการทดสอบระบบเพื่อการขนสินค้าเป็นครั้งแรกในบางส่วนของเส้นทางนี้ ที่เมืองโอะดะวะระ จังหวัดคะนะงะวะ โทไกโดะ ชิงกันเซ็ง ได้เปิดใช้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ซึ่งทันเวลาสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 ณ กรุงโตเกียวพอดี ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จทันทีทีเปิดใช้บริการ โดยมีจำนวนผู้โดยสารถึง 100 ล้านคนในเวลาน้อยกว่า 3 ปีคือวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) และยอดผู้โดยสารรวมมีจำนวนถึง 1,000 ล้านคนในปี 1976 และรถไฟขบวนโดยสาร 16 ตู้ก็ได้นำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการปี 70 ที่โอซะกะ รถไฟชิงกันเซ็งขบวนแรกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดถึง 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นก็เพิ่มเป็น 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถไฟบางขบวนที่มีรูปร่างเป็นหัวกระสุนนั้นยังมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และหัวรถจักรคันหนึ่งในจำนวนนี้ปัจจุบันได้นำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์รถไฟแห่งชาติ ที่เมืองยอร์ค สหราชอาณาจักร หลังจากในช่วงแรกประสบความสำเร็จ จึงพร้อมที่จะต่อขยายเส้นทางเดินรถไฟออกไปทางตะวันตก โดยมีจุดหมายไปยังฮิโระชิมะและฟุกุโอะกะ (ซันโย ชิงกันเซ็ง) จนแล้วเสร็จในปี 1975 คาคุเออิ ทานากะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนอย่างมาก รัฐบาลชุดนี้ตั้งเป้าว่าจะต่อขยายรางรถไฟที่มีอยู่ให้กลายเป็นรางรถไฟรางคู่ขนานครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เส้นทางใหม่ 2 แห่งแรกคือ โทโฮคุ ชิงกันเซ็ง และโจเอสึ ชิงกันเซ็ง ทั้งสองเส้นทางนี้สร้างขึ้นตามแผนการของรัฐบาลชุดนี้ หลังจากนั้นแผนการต่อขยายในเส้นทางอื่น ๆ ก็ถูกระงับชั่วคราวหรือถูกยกเลิกไปทั้งหมดขณะที่กิจการรถไฟแห่งชาติเริ่มเข้าสู่ภาวะเป็นหนี้มหาศาลเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเครือข่ายชิงกันเซ็งทั่วประเทศนั้นเป็นตัวเลขที่สูงมากทีเดียว ในราวทศวรรษที่ 1980 การรถไฟญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเกือบจะล้มละลาย จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นหน่วยงานเอกชนในที่สุด เมื่อปี 1987 อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนารถไฟชิงกันเซ็งก็ได้ดำเนินการมาโดยตลอด มีต้นแบบรถที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละรุ่นออกมาเสมอ ตอนนี้ รถไฟชิงกันเซ็งสามารถทำความเร็วได้ถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก้าวขึ้นมาเทียบเท่ารถไฟความเร็วสูงระดับโลกไม่ว่าจะเป็น TGV ของฝรั่งเศส, TAV ของอิตาลี, AVE ของอิตาลี และ ICE ของเยอรมนี นอกจากนั้น ตั้งแต่ปี 1970 ญี่ปุ่นยังได้พัฒนาชุโอะ ชิงกันเซ็ง ซึ่งเป็นรถไฟพลังแม่เหล็ก (แม็กเลฟ) ที่พัฒนามาจากรถไฟความเร็วสูงพลังแม่เหล็ก (Maglev) ของเยอรมนี โดยกำหนดว่าจะวิ่งจากโตเกียวไปยังโอซะกะ ในวันที่ 2 ธันวาคม ปี 2003 รถไฟพลังแม่เหล็กขนาดสามตู้รถไฟ ชื่อ JR-Maglev MLX01 ระหว่างการใช้งานกว่า 40 ปีเต็ม จำนวนยอดผู้โดยสารกว่า 6 ล้านคนมาแล้ว ชิงกันเซ็งก็ไม่เคยมีประวัติว่ามีผู้โดยสารเสียชีวิตเนื่องจากรถไฟตกรางหรือรถไฟชนกันเลย (รวมไปถึงอุบัติเหตุแผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่นด้วย) มีเพียงการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากประตูรถไฟงับผู้โดยสารหรือสัมภาระของผู้โดยสารเท่านั้น เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยอยู่เป็นจำนวนมากที่สถานีเพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็เคยมีประวัติผู้โดยสารฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงไปในรางขณะที่รถไฟกำลังเทียบชานชาลาหรือกระโดดออกจากรถไฟก่อนที่รถไฟจะจอด ชิงกันเซ็งช่วงที่กำลังรับส่งผู้โดยสารนั้นเคยตกรางเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในชูเอะสึ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2004 ตอนโดยสารจำนวน 8 ตอนจากทั้งหมด 10 ตอนของรถไฟหมายเลข 325 สาย โจเอ็ทสุ ชิงกันเซ็ง ตกรางใกล้ ๆ กับสถานีนะงะโอะกะ ในเมืองนะงะโอะกะ จังหวัดนีงะตะ แต่ผู้โดยสารทั้ง 154 คนไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด[1]PDF (43.8 KiB) ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น ระบบตรวจจับแผ่นดินไหวสามารถสั่งการให้รถไฟหยุดได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาอย่างหนึ่งของชิงกันเซ็งคือ ยิ่งเพิ่มความเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มีมลพิษทางเสียงมากขึ้นและแก้ไขได้ยากขึ้นอีกด้วย การศึกษาวิจัยในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นในเรื่องการลดเสียงดังที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสียงที่เกิดขึ้นในอุโมงค์ หรือ tunnel boom อันเกิดจากการที่รถไฟวิ่งออกจากอุโมงค์ด้วยความเร็วสูง บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกได้ประกาศว่ารถไฟขบวนใหม่สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วถึง 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะนำมาใช้ในการเปิดตัวโทโฮคุ ชิงกันเซ็ง ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจากฮะชิโนะเฮะไปยังอะโอะโมะริในช่วงต้นปี 2011 แต่จากการทดลองวิ่งรถไฟ Fastech 360 พบว่า ที่ความเร็ว 360 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นยังมีปัญหาอยู่ที่มลพิษทางเสียง สายส่งเหนือรถไฟ และระยะหยุดรถ ซึ่งอาจจะเป็นข้อจำกัดของการเทคโนโลยีชิงกันเซ็งในปัจจุบันก็ว่าได้ ในที่สุด ก็มีการนำเอาเทคโนโลยีรถไฟพลังแม่เหล็กหรือเทคโนโลยีอื่นมาทดแทน หากสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจากอุตสึโนะมิยะไปยังอะโอะโมะริแล้วก็จะทำให้สามารถเดินทางจากโตเกียวไปยังอะโอะโมะริได้โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น (ระยะทางประมาณ 675 กิโลเมตรหรือ 419 ไมล์) นอกจากนั้น ผู้บริหารของการรถไฟแห่งญี่ปุ่นสายกลางก็ได้ประกาศแผนการที่จะสร้างรถไฟพลังแม่เหล็ก ชูโอะ ชิงกันเซ็ง ให้สามารถเดินทางจากโตเกียวไปยังนาโกย่าภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงให้ได้ (ระยะทางประมาณ 366 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ภายในปี 2027 เส้นทางหลัก ได้แก่ และยังมีทางรถไฟอีกสองรางขนาดมาตรฐานที่ไม่จัดว่าเป็นเส้นทางของชิงกันเซ็งแต่ก็มีการให้บริการชิงกันเซ็งอยู่ ได้แก่ สาย ฮะกะตะ มินะมิ (ฮะกะตะ - ฮะกะตะ-มินะมิ) สาย กาลายุซะวะ เป็นสาขาของสายโจเอะสึ (เอะชิโกะยูซะวะ - กาลายูซะวะ) ยังมีอีกหลายเส้นทางชิงกันเซ็งที่มีกำหนดว่าจะสร้างขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ที่ชิงกันเซ็งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เส้นทางเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า เซะอิบิ ชิงกันเซ็ง หรือ "ชิงกันเซ็งที่วางโครงการไว้แล้ว" (planned Shinkansen) หนึ่งในเส้นทางเหล่านี้คือ นะริตะ ชิงกันเซ็ง ที่จะเชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ แต่ก็มีการยกเลิกไป ถึงกระนั้นก็ยังมีบ้างส่วนที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ ได้แก่ โฮะกุริกุ ชิงกันเซ็ง ต่อขยายไปยังสึรุงะ กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและจะเปิดใช้บริการในปี 2025 คีวชู ชิงกันเซ็ง สายที่ 2 เชื่อมต่อจากชินโทะสุไปยังนะงะซะกิ กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ฮกไกโด ชิงกันเซ็ง เชื่อมต่อจากฮะโกะดะเตะไปยังซัปโปะโระ กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างและจะเปิดใช้บริการในปี 2030 รถไฟที่ใช้เทคโนโลยีของชิงกันเซ็งไม่ได้มีแค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น รถไฟความเร็วสูงไต้หวัน วิ่งด้วยรถไฟซีรีส์ 700T ดำเนินการโดยบริษัทอุตสาหกรรมหนักคะวะซะกิ รถไฟความเร็วสูงจีน นำเข้ารถไฟที่มีความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขนาด 8 ตอนจำนวน 60 ขบวน ซึ่งเป็นรถไฟซีรีส์ E2-1000 ชื่อว่า CRH -2 Class 395 สร้างด้วยเทคโนโลยีของชิงกันเซ็งโดยบริษัทฮิตาชิ นำไปให้บริการเป็นรถไฟความเร็วสูงสาย 1 ในสหราชอาณาจักร รถไฟชิงกันเซ็งสามารถพ่วงได้ยาวถึง 16 ตอน แต่ละตอนมีความยาว 25 เมตร และรถไฟชิงกันเซ็งที่ยาวที่สุดมีความยาว 400 เมตรวัดจากหัวขบวนถึงท้ายขบวน สถานีรถไฟจึงต้องมีความยาวเพียงพอสำหรับรถไฟชิงกันเซ็งเหล่านี้ด้วย รถไฟโดยสาร 0 ซีรีส์ 100 ซีรีส์ 200 ซีรีส์ 300 ซีรีส์ 400 ซีรีส์ (มินิชิงกันเซ็ง) 500 ซีรีส์ 700 ซีรีส์ 700T ซีรีส์ (รถไฟความเร็วสูงของไต้หวัน หรือ ไต้หวัน ชิงกันเซ็ง) N700 ซีรีส์ 800 ซีรีส์ E1 ซีรีส์ E2 ซีรีส์ E3 ซีรีส์ (มินิชิงกันเซ็ง) E4 ซีรีส์ E5 ซีรีส์ E6 ซีรีส์ (มินิชิงกันเซ็ง) รถไฟทดลองวิ่ง คลาส 1000 คลาส 951 คลาส 961 คลาส 962 คลาส 500-900 (WIN 350) คลาส 952/953 (STAR 21) คลาส 955 (300X) คลาส E954 (FASTECH 360 S) คลาส E955 (FASTECH 360 Z) (มินิชิงกันเซ็ง) รถไฟพลังแม่เหล็ก LSM200 - 1972 ML100 - 1972 ML100A - 1975 ML-500 - 1977 ML-500R - 1979 MLU001 - 1981 MLU002 - 1987 MLU002N - 1993 MLX01 - 1996 ซีรีส์ 0 ซีรีส์ 100 ซีรีส์ 200 ซีรีส์ 300 ซีรีส์ 400 ซีรีส์ 500 700 Series ซีรีส์ N700 ซีรีส์ 800 ซีรีส์ E1 ซีรีส์ E2 ซีรีส์ E3 ซีรีส์ E4 Doctor-Yellow Fastech 360S ภายใน ซีรีส์ 500 ordinary class ภายใน ซีรีส์ N700 Green class ภายใน ซีรีส์ 800 ordinary class http://www.h2.dion.ne.jp/~dajf/byunbyun/speeds/schedule.htm Hood, Christopher P. (2006). Shinkansen – From Bullet Train to Symbol of Modern Japan. London: Routledge. ISBN 0-415-32052-6 (hb) or ISBN 0415444098. (pb) Hood, Christopher P. (2007). Shinkansen – From Bullet Train to Symbol of Modern Japan. Routledge, London. pp. 18–43. ISBN 9-78-0-415-32052-8. Semmens, Peter (1997). High Speed in Japan: Shinkansen - The World's Busiest High-speed Railway. Sheffield, UK: Platform 5 Publishing. ISBN 1-872524-88-5. เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง สาย สถานีต้นทาง สถานีปลายทาง ระยะทาง ผู้ดำเนินงาน โทไกโด ชิงกันเซ็ง โตเกียว ชินโอซะกะ 515.4 กม. JR ตอนกลาง ซันโย ชิงกันเซ็ง ชินโอซะกะ ฮะกะตะ 553.7 กม. JR ตะวันตก โทโฮะกุ ชิงกันเซ็ง โตเกียว ชินอะโอะโมะริ 674.9 กม. JR ตะวันออก โจเอะสึ ชิงกันเซ็ง โอมิยะ นีงะตะ 269.5 กม. โฮะกุริกุ ชิงกันเซ็ง ทะกะซะกิ คะนะซะวะ 345.4 กม. JR ตะวันตก และ JR ตะวันออก คีวชู ชิงกันเซ็ง ฮะกะตะ คะโงะชิมะชูโอ 256.8 กม. JR คีวชู ฮกไกโด ชิงกันเซ็ง ชินอะโอะโมะริ ชินฮะโกะดะเตะโฮะกุโตะ 148.9 กม. JR ฮกไกโด กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ไมล์ต่อชั่วโมง) รถไฟ สถานที่ วันที่ หมายเหตุ 200 (124.3) ชิงกันเซ็ง คลาส 1000 รางทดสอบโอะดะวะระ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโทไกโด ชิงกันเซ็ง 31 ตุลาคม ค.ศ. 1962 256 (159.1) ชิงกันเซ็ง คลาส 1000 รางทดสอบโอะดะวะระ 30 มีนาคม ค.ศ. 1963 เคยเป็นสถิติโลก 286 (177.7) ชิงกันเซ็ง คลาส 951 ซันโย ชิงกันเซ็ง 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972 เคยเป็นสถิติโลก 319.0 (198.2) ชิงกันเซ็ง คลาส 961 รางทดสอบโอยะมะ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ โทโฮะกุ ชิงกันเซ็ง 7 ธันวาคม ค.ศ. 1979 เคยเป็นสถิติโลก 325.7 (202.4) ชิงกันเซ็ง ซีรีส์ 300 รุ่นทดสอบ โทไกโด ชิงกันเซ็ง 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 352.0 (218.7) คลาส 952/953 รุ่นทดสอบ โจเอะสึ ชิงกันเซ็ง 30 ตุลาคม ค.ศ. 1992 425.0 (264.1) คลาส 952/953 รุ่นทดสอบ โจเอะสึ ชิงกันเซ็ง 21 ธันวาคม ค.ศ. 1993 426.6 (265.1) คลาส 955 (300X) รุ่นทดสอบ โทไกโด ชิงกันเซ็ง 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 443.0 (275.3) คลาส 955 (300X) รุ่นทดสอบ โทไกโด ชิงกันเซ็ง 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 ชินคันเซ็นต่างๆที่อู่รถของ JR ตะวันออก ค.ศ. 2012 ชิงกันเซ็งรุ่นต่างๆที่อู่รถของ JR ตะวันตก ค.ศ. 2008 รางรถไฟชิงกันเซ็ง เป็นรางที่มีความกว้างมาตรฐาน (standard gauge) ภูเขาไฟฟูจิกับรถไฟชิงกันเซ็ง ในช่วงดอกซากุระบาน แผนที่แสดงเครือข่ายชิงกันเซ็ง สายสีเขียว : JR ตะวันออก สายสีเหลือง : JR ตอนกลาง สายสีน้ำเงิน : JR ตะวันตก สายสีแดง : JR คีวชู ชิงกันเซ็งรุ่นต่างๆในลานจอด ภูเขาอิบุกิกับชิงกันเซ็ง 300 ซีรีส์ ชิงกันเซ็ง 700T ซีรีส์ ขณะวิ่งทดสอบในไต้หวัน เมื่อเดือนมิถุนายน 2006 ชิงกันเซ็ง N700 ซีรีส์ เง็กเซียนฮ่องเต้ ================ เง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นเทพเจ้าสูงสุดของจีน เทวรูปและรูปวาดขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้จะทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับจักรพรรดิจีน คือมีพระมาลา ด้านหน้ามีเส้นร้อยไข่มุกเป็นแถวห้อยลงมาหน้าพระพักตร์ พระหัตถ์ทรงพระป้ายซือฮุดหน้าพระอุระ ด้านหลังมีพนักงานสองคนคอยโบกพัด ด้านหน้ามีองครักษ์สององค์ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น พระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าสูงสุดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา เง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นเทพเจ้าสูงสุดของจีน เทวรูปและรูปวาดขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้จะทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับจักรพรรดิจีน คือมีพระมาลา ด้านหน้ามีเส้นร้อยไข่มุกเป็นแถวห้อยลงมาหน้าพระพักตร์ พระหัตถ์ทรงพระป้ายซือฮุดหน้าพระอุระ ด้านหลังมีพนักงานสองคนคอยโบกพัด ด้านหน้ามีองครักษ์สององค์ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น พระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าสูงสุดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา คำว่า เง็กเซียนฮ่องเต้ คนคนไทยเรียกกันเกิดจากการผสมภาษาจีนระหว่าง 2 สำเนียง คือ ฮกเกี้ยนกับแต่จิ๋ว คือ เง็ก (แต้จิ๋ว) เซียน (ฮกเกี้ยน) ฮ่องเต้ (ฮกเกี้ยน) ชื่อ "เง็กเซียนฮ่องเต้" นี้เป็นการเรียกแบบไทย ชาวจีนโดยส่วนมากเรียก อวี่หวงต้าตี้ (ตัวเต็ม: 玉皇大帝, ตัวย่อ: 玉皇大帝, พินอิน: Yù huáng dà dì , ฮกเกี้ยน: หยกฮ่องไต่เต้,สำเนียงแต้จิ๋ว:เง็กอ้วงไต่ตี่ ) หรือ อวี่หวงซ่างตี้ (ตัวเต็ม: 玉皇上帝, ตัวย่อ: 玉皇上帝, พินอิน: Yù huáng sháng dì , ฮกเกี้ยน: หยกอ๋องซ่งเต้,สำเนียงแต้จิ๋ว:เง็กอ้วงเซี่ยงตี่ ) แปลว่า จักรพรรดิหยก หรือ ทีกง หรือ เทียนกง 天公 แปลว่า ปู่สวรรค์ หรือปู่ฟ้า ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวฮกเกี้ยนและชาวไต้หวันเรียกแบบใกล้ชิดเสมอญาติ ชาวจีนมีความเชื่อว่าทีกงคือผู้ดลบันดาลทุกอย่างที่มีบนโลก ทั้งธรรมชาติ ดวงชะตา และความเป็นไปของมนุษย์ ดั้งนั้นทีกงจึงมีผลต่อวิถีของชาวจีน ตามศาลเจ้าหรือวัดจีนทั่วโลก ก่อนที่จะทำการบูชาเทพเจ้าองค์อื่นต้องบูชาทีกงเป็นอย่างแรกเพื่อเป็นการให้เกียรติ โดยตามศาลเจ้าจีนส่วนมากจะตั้งกระถางธูปของทีกงไว้ตรงหน้าของศาล โดยตรงกระถางธูปหรือป้ายบูชาทีกงของคนจีนแต่ละกลุ่มภาษาจะสลักตัวอักษรแตกต่างออกไป ศาลเจ้าของชาวฮกเกี้ยนและชาวกวางตุ้ง จะสลักคำว่า 天官赐福 เทียนก๊วนซูฮก ศาลเจ้าของชาวแต้จิ๋วและไหหลำ จะสลักคำว่า 天地父母 เทียนเต่เป่โบ้ ในทุกปีหลังวันตรุษจีนไปแล้ว 8 วัน ชาวจีนฮกเกี้ยนทั่วโลกจะมีพิธีทีกง เรียกกันว่า ป่ายเทียนกง (拜天公) เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของเง็กเซียนฮ่องเต้และเป็นวันประสูติของพระองค์ และมีความเชื่อว่าเมื่อสมัยราชวงค์หมิงชาวจีนฮกเกี้ยนทุกรุกรานจากญี่ปุ่นจึงพากันหนีไปหลบกันในดงอ้อย เมื่อญี่ปุ่นยกทัพกับไปจึงได้พากันออกมา วันนั้นเป็นวันขึ้น 9 คำ เดือน 1 (จีน) พอดีซึ่งตรงกับวัน ป่ายทีกง ชาวจีนฮกเกี้ยนจึงเชื้อว่าที่พวกตนรอดจากการรุกรานของญี่ปุ่นเป็นเพราะทีกงช่วยเอาไว้ จึงได้จัดการป่ายทีกงในวันประสูติของเง็กเซียนฮ่องเต้ในทุกๆปี เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณ และ ได้นำต้นอ้อยมาร่วมในบูชาด้วย และอ้อยในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ก้ามเจี่ย (甘蔗) ซึ่งไปพ้องเสียงกับคำว่า กัมเสี่ย (感謝)ซึ่งแปลว่า ขอบคุณ ยี่หนึงจินกุน หลานของเง็กเซียน เป็นตัวละครในเรื่องไซอิ๋ว ท่านเป็นผู้เดียวที่สามารถปราบซุนหงอคงแล้วเอาตัวมาลงโทษบนสวรรค์ได้ แต่อย่างไรก็ตามซุนหงอคงมีฤทธิ์มากเมื่อนำตัวขึ้นสวรรค์ไปประหารก็ไม่ตาย ทางสวรรค์จึงขออาศัยบารมีพระพุทธเจ้า (พระยูไล) พระพุทธเจ้าจึงจับตัวหงอคงไปขังไว้ใต้ภูเขาเป็นเวลานานถึง 500 ปี รอจนผู้มีบุญมาช่วย ซึ่งผู้มีบุญนั้นคือพระแม่กวนอิมและพระเสวียนจั้ง และทำให้หงอคงกลับตัวกลับใจจนเข้าร่วมอัญเชิญพระไตรปิฎกอีกด้วย ยี่หนึงจินกุนมีพี่น้อง 7 คน ชาวจีนบางกลุ่มเชื่อว่าเง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นตำแหน่งสืบทอดที่มีวาระ โดยเง็กเซียนฮ่องเต้องค์ปัจุบันเป็นองค์ที่ 18 คือเทพเจ้ากวนอู ทั้ง 18 องค์มีลำดับดังนี้ หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเอี่ยนโกส่งเต่ พระนามว่า อึ้งเหล่า 玉皇大天尊 玄玄高上帝(黃老) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนหงวนโกส่งเต่ พระนามว่า จีมุ้ยเต้กุน玉皇大天尊 玄元高上帝(紫微帝君) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเบ๋งโกส่งเต่ พระนามว่า ไต้ฮ้วงก่าฮ่วยเสี่ยจู้ 玉皇大天尊 玄明高上帝(大寰教化聖主) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเต็งโกส่งเต่ พระนามว่า ฮ้งกึงเหล่าโจ้ว 玉皇大天尊 玄徵高上帝(鴻鈞老祖) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนห่องโกส่งเต่ พระนามว่า แชฮ่วยเต้กุน 玉皇大天尊 玄寰高上帝(星化帝君) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนกินโกส่งเต่ พระนามว่า คี่ง้วนเทียนจุน 玉皇大天尊 玄巾高上帝 (氣原天尊) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอียนลี้โกส่งเต่ พระนามว่า ก่องฮั้วเซ่งจู้ 玉皇大天尊 玄理高上帝(光華聖主) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเทียนโกส่งเต่ พระนามว่า ไต่ล้อจ้อซู 玉皇大天尊 玄天高上帝(大羅祖師) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนอุ๊นโกส่งเต้ พระนามว่า เจียงอิดเทียนซู 玉皇大天尊 玄運高上帝(精一天師) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนหัวโกส่งเต่ พระนามว่า เอี่ยงเอี๋ยงจ้อซู 玉皇大天尊 玄化高上帝(延衍祖師) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนอิมโกส่งเต่ พระนามว่า ปักฮั้วเต้กุน 玉皇大天尊 玄陰高上帝(北華帝君) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเอี๊ยงโกส่งเต่ พระนามว่า กงโต่วจินอ๋อง玉皇大天尊 玄陽高上帝(廣度真王) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเจี่ยโกส่งเต่ พระนามว่า โต่วหัวเทียนจุน 玉皇大天尊 玄正高上帝(度化天尊) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนขี่เกาส่งเต่ พระนามว่า ฮกม้อเซ่จ้อ玉皇大天尊 玄炁高上帝(伏魔世祖) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนจุ้นโกส่งเต่ พระนามว่า หิ้นยู้เทียนจุน 玉皇大天尊 玄震高上帝(興儒天尊) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเชียงโกาส่งเต่ พระนามว่า กิ่วเซ่เทียนอ๋อง 玉皇大天尊 玄蒼高上帝(救世天王) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเกวียงโกส่งเต่ พระนามว่า เมี้ยหลกก๊กอ๋อง (บางตำราเชื่อว่าเป็นพระบิดาของพระโพธิสัตว์กวนอิม 玉皇大天尊玄穹高上帝(妙樂國王) หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเหลียงโกส่งเต่ พระนามว่า กวนเซ่งเต้กุน 玉皇大天尊玄靈高上帝(關聖帝君) ยี่หนึงจินกุน ถักทะลีทีอ๋อง นัทชา ประพัฒน์พรกุล. ไซอิ๋ว ตอน หงอคงบุกแดนสวรรค์. กรุงเทพ: ธัชกนิษฐ์, 2548. Jade Emperor, Encyclopedia of Taiwan บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง Names อักษรจีนตัวย่อ: 玉皇上帝 อักษรจีนตัวเต็ม: 玉皇上帝 พินอิน: Yù huáng shàng dì Wade-Giles: Jade Emperor สำเนียงแต้จิ๋ว: เง็กอ้วงเซี่ยงตี่ สำเนียงฮกเกี้ยน: หยกอ๋องซ่งเต้, ยกฮ่องซ่งเต้ ภาษาญี่ปุ่น | : 玉皇上帝 ภาษาเกาหลี | อักษรฮันกุล: 옥황상제 เกาหลี: og-hwang-sang-je ภาษาเวียดนาม: Ngọc Hoàng Thượng Đế ชื่ออื่นๆ : หยกอ๋องไต่เทียนจุน (玉皇大天尊) เอี่ยนเกวี่ยนโกซ่งเต้ (玄穹高上帝) หยกอ๋องซ่งเต้ (玉皇上帝) หยกอ๋องไต่เต้ (玉皇大帝) ฮ่องเทียนซ่งเต้ (皇天上帝) โฮเทียนซ่งเต้ (昊天上帝) เทียนก๊วนซูฮก (天官赐福) ทีเต่เป่โบ้ (天地父母) ทีกงเปะ (天公伯) หยกอ๋อง (玉皇) ฮ่องเทียน(皇天) ซ่งเทียน (上天) หยกเต้ (玉帝) ทีกง (天公) ทีเต้ (天帝) ทีเต่ (天地) คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เง็กเซียนฮ่องเต้ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1942 ================================ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1942 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1942 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 25 มกราคม - การลงประชามติสวิตเซอร์แลนด์ ค.ศ. 1942 รายชื่อปีในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปฏิทินปี 1942 - ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา โจ๊ก ==== โจ๊ก เป็นข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ นิยมรับประทานกันในหลายประเทศในเอเชีย ในบางวัฒนธรรมจะรับประทานโจ๊กเป็นอาหารเช้าหรืออาหารมื้อค่ำแทนอาหารหลักในบางมื้อ ส่วนเทศกาลวันตรุษจีนจะมีข้อห้ามกินโจ๊กเพราะการกินโจ๊กวันตรุษจีนเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวยเนื่องจากคนจนจะนิยมกินโจ๊ก โจ๊กยังสามารถทำได้ในหม้อธรรมดาหรือหม้อหุงข้าว คำว่า congee ในภาษาอังกฤษน่าจะมีความเป็นไปได้ว่ามาจากคำในภาษาดราวิเดียน คำว่า kanji และเว็บสเตอร์ดิกชันนารี ระบุว่าคำว่า Congee มาจากอินเดีย ส่วนคำว่า โจ๊ก ในภาษาไทย เลียนเสียงมาจากภาษาจีนกวางตุ้ง จุ๊ก (粥 dzuk7) โจ๊ก เป็นข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ นิยมรับประทานกันในหลายประเทศในเอเชีย ในบางวัฒนธรรมจะรับประทานโจ๊กเป็นอาหารเช้าหรืออาหารมื้อค่ำแทนอาหารหลักในบางมื้อ ส่วนเทศกาลวันตรุษจีนจะมีข้อห้ามกินโจ๊กเพราะการกินโจ๊กวันตรุษจีนเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวยเนื่องจากคนจนจะนิยมกินโจ๊ก โจ๊กยังสามารถทำได้ในหม้อธรรมดาหรือหม้อหุงข้าว คำว่า congee ในภาษาอังกฤษน่าจะมีความเป็นไปได้ว่ามาจากคำในภาษาดราวิเดียน คำว่า kanji และเว็บสเตอร์ดิกชันนารี ระบุว่าคำว่า Congee มาจากอินเดีย ส่วนคำว่า โจ๊ก ในภาษาไทย เลียนเสียงมาจากภาษาจีนกวางตุ้ง จุ๊ก (粥 dzuk7) Dravidian Studies 1, by T. Burrow Bulletin of the School of Oriental Studies, University of London © 1938 ""congee."". Webster's Revised Unabridged Dictionary. MICRA, Inc. 23 November 2008.  เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรม จีน-ไทย (จีนกลาง กวางตุ้ง แต้จิ๋ว) . กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2541. หน้า 405. ISBN 978-974-246-307-6 วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ: โจ๊กหมู บทความเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม และหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอื่น ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล โจ๊ก โจ๊กของจีน ข้อมูลจุดกำเนิด ข้อมูลอาหาร อุณหภูมิการเสิร์ฟ: ร้อน ส่วนประกอบหลัก ข้าว คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โจ๊ก 24 มิถุนายน =========== วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันที่ 175 ของปี (วันที่ 176 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 190 วันในปีนั้น วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันที่ 175 ของปี (วันที่ 176 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 190 วันในปีนั้น พ.ศ. 2114 (ค.ศ. 1571) - สถาปนาเมืองมะนิลาในประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2364 (ค.ศ. 1821) - ยุทธการที่การาโบโบเริ่มต้นขึ้น เป็นสงครามครั้งสำคัญเพื่อปลดปล่อยเวเนซุเอลาจากการปกครองของสเปน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - การปฏิวัติสยาม : คณะราษฎรก่อปฏิวัติยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อบังคับให้พระราชทานรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 1 อันมีสาระเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - เริ่มการก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - พิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริเวณต้นทางหลวงประชาธิปัตย์ กรุงเทพมหานคร (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพหลโยธิน) พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - เคนเนท อาร์โนลด์ สังเกตเห็นจานบิน 9 ลำ บินเหนือท้องฟ้ารัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เป็นรายงานการเห็นยูเอฟโอที่โด่งดังครั้งแรก พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - เริ่มการปิดล้อมเบอร์ลิน เมื่อสหภาพโซเวียตปิดกั้นเส้นทางที่เชื่อมระหว่างเยอรมนีตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันตก พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - พิธีเปิดและแพร่สัญญาณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทย (ปัจจุบันคือสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ เปิดโรงพิมพ์ธนบัตร ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2085 (ค.ศ. 1542) - นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน (มรณกรรม ค.ศ. 1591) พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) - แอมโบรส เบียร์ซ นักเขียนชาวอเมริกัน (หายสาบสูญ พ.ศ. 2456-2457) พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) - เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) นักการเมืองและทหารชาวไทย (ถึงแก่อสัญกรรม 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483) พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) - แจ็ค เดมป์ซีย์ นักมวยสากลชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) - เฟรด ฮอยล์ นักดาราศาสตร์และนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 20 สิงหาคม พ.ศ. 2544) พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ นักแสดง ผู้กำกับชาวไทย พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - หม่อมเจ้ามาลินีมงคล อมาตยกุล พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - สุชาติ สวัสดิ์ศรี นักเขียนชาวไทย พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา (หม่ำ จ๊กมก) ผู้กำกับภาพยนตร์, นักแสดงตลกชายชาวไทย พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - พีท ทองเจือ นักแสดงและนักแข่งรถชาวไทย พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - เท็ตสึยะ อิวานางะ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - ชุนซุเกะ นะกะมุระ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - มนัส บุญจำนงค์ นักมวยสากลสมัครเล่นและทหารชาวไทย พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - คัคกิ่งรักส์ คิคคิคสะระณัง (เมจิ) นักแสดงหญิงชาวไทย พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - จีเอกู อัลวิส นักฟุตบอลชาวบราซิล พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ลีโอเนล เมสซี นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - นิชคุณ หรเวชกุล นักร้องชาวไทย พ.ศ. 781 (ค.ศ. 238) - จักรพรรดิแม็กซิมินัส แทร็กซ์ (พระราชสมภพ ค.ศ. 173) พ.ศ. 1941 (ค.ศ. 1398) - จักรพรรดิหงหวู่ จักรพรรดิราชวงศ์หมิงของจีน (พระราชสมภพ 21 ตุลาคม พ.ศ. 1871) พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) - เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกและทหารชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2320) พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา (ประสูติ 4 กันยายน พ.ศ. 2405) พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) - คริสโตเฟอร์ ไมเคิล เบนวา นักมวยปล้ำชาวแคนาดา (เกิด 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) โรมันคาทอลิก - วันสมโภชการกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมา วันชาติในประเทศไทย (พ.ศ. 2482-2502) - ตามวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง เริ่มฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 และเปลี่ยนมาใช้วันเฉลิมพระชนมพรรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 BBC: On This Day (อังกฤษ) The New York Times: On This Day (อังกฤษ) วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตรงกับวันที่ 24 มิถุนายน วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง << มิถุนายน >> อา จ อ พ พฤ ศ ส 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30           พ.ศ. 2557 ขนมหัวล้าน ========== บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน ขนมหัวล้าน เป็นขนมพื้นบ้าน[ภาคใต้]]โดยขนาดใช้วิธีการทำแบบ ขนมต้ม บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน ขนมหัวล้าน เป็นขนมพื้นบ้าน[ภาคใต้]]โดยขนาดใช้วิธีการทำแบบ ขนมต้ม ทำจากแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่ทำมาจากถั่วเขียวนึ่งบด กวนกับมะพร้าวขูดและน้ำตาล ปั้นเป็นรูปกลม นำไปนึ่งให้สุก ราดด้วยกะทิ ถ้าไม่นึ่งแต่นำไปทอดเรียกขนมหัวล้านทอด ขนมพื้นบ้านภาคใต้อีกชนิดหนึ่งที่คล้ายขนมหัวล้านคือขนมหนวยหนุน ซึ่งใช้กะทิมากกว่าขนมหัวล้าน และปั้นเป็นเม็ดคล้ายเม็ดขนุน ไส้ต่างไปจากไส้ของขนมหัวล้าน ในภาคกลางเรียนขนมโคกระทิ "ส่วนใส้" ถั่วเขียวเราะเปลือก น้ำตาล น้ำกะทิ เกลือ "ส่วนแป้ง" แป้งข้าวเหนียว กะทิสำหรับราดขนม หัวกะทิ น้ำตาลทราย เกลือ http://flash-mini.com/thaidessert/13/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%20%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.htm สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. กทม. สถาบันทักษิณคดีศึกษา. 2527 บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ขนมหัวล้าน ผ้าฝ้าย ======= สำหรับพันธุ์พืช ดูที่ ฝ้าย ฝ้าย (Cotton) คือ เส้นใยเก่าแก่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ในการทอผ้ามาแต่สมัยโบราณ โดยหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งบอกให้รู้ว่ามีการปลูกฝ้ายและปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้ายมานานแล้ว คือ การขุดพบฝ้ายในซากปรักหักพังอายุประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ที่แหล่งโบราณคดีโมฮันโจ ดาโร (Mohenjo daro) บริเวณแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุในเขตประเทศปากีสถานปัจจุบัน ใยฝ้ายได้มาจากส่วนที่ห่อหุ้มเมล็ดของต้นฝ้าย หรือที่เรียกว่า ปุยฝ้าย ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ ฝ้ายมีคุณสมบัติเนื้อนุ่ม โปร่งสบาย ระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากฝ้ายมีช่องระหว่างเส้นใย จึงเหมาะกับสภาพอากาศในฤดูร้อน และเมื่อเปียกจะตากแห้งได้เร็ว การใช้ฝ้ายมาใช้งานทำได้โดยนำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย แล้วนำมาท่อเป็นผืนผ้า บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิสในโอลิมปิกฤดูหนาว 1992 =========================================== เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 16 ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ณ เมืองแอลเบิร์ทวิลล์ ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 16 ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ณ เมืองแอลเบิร์ทวิลล์ ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสในโอลิมปิก ธงชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส รหัสประเทศ : AHO เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส เว็บไซต์ : www.sports.an (อังกฤษ) โอลิมปิกฤดูหนาว 1992 อัลแบร์วิล ฝรั่งเศส เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1988 • 1992 • 1994–2010 การเข้าร่วมในนามของชาติอื่น นักกีฬาเฉพาะบุคคล (2012) อารูบา (2016–) เนเธอร์แลนด์ (2016–) รายชื่อเครื่องยนต์ฮอนด้า ======================== เครื่องยนต์ฮอนด้า เป็นเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ที่ผลิตโดย บริษัท ฮอนด้ามอเตอร์ แห่งประเทศญี่ปุ่น เครื่องยนต์ฮอนด้า เป็นเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ที่ผลิตโดย บริษัท ฮอนด้ามอเตอร์ แห่งประเทศญี่ปุ่น VTEC (Variable valve Timing and lift Electronic Control) เป็นชื่อเรียกการควบคุมกลไกการเปิดและปิดลิ้นไอดีและไอเสียเครื่องยนต์ของฮอนด้าด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ ประกอบด้วย DOHC VTEC SOHC VTEC SOHC VTEC-E 3-Stage VTEC i-VTEC A-series 1987 1.8 L A18 (พรีลูด) 1987 2.0 L A20 (แอคคอร์ด) B-series 1989 1.6 L B16 (ซีวิค/อินทีกรา) VTEC 1992 1.7 L B17 (อินทีกรา) VTEC 1990 1.8 L B18 (อินทีกรา) VTEC 1996 2.0 L B20B/Z (CRV) VTEC B20A 1987 2.0 L B20A (พรีลูด/CRV) 1990 2.1 L B21A (พรีลูด) D-series 1984 1.5 L D15 (ซีวิค) VTEC-E 1986 1.6 L D16 (ซีวิค/อินทีกรา) VTEC-E/VTEC-II 2001 1.7 L D17 (ซีวิค) VTEC-E/VTEC-II E-series 1973 1.2 L EB (ซีวิค) 1975 1.5 L ED (ซีวิค) CVCC 1976 1.6 L EF (แอคคอร์ด) 1980 1.3 L EJ (ซีวิค) 1979 1.8 L EK (แอคคอร์ด/พรีลูด) 1980 1.5 L EM (ซีวิค) CVCC 1984 1.4-1.5 L EW4 (ซีวิค) 1983 1.8 L ES (แอคคอร์ด/พรีลูด) 1985 1.8 L ET (พรีลูด) 1984 1.3 L EV (ซีวิค) 1984 1.5 L EW (ซีวิค/CRX) F-series 1988 2.0 L F20 (แอคคอร์ด) VTEC 1990 2.2 L F22 (แอคคอร์ด/พรีลูด/CL) VTEC 1998 2.3 L F23 (แอคคอร์ด/CL) VTEC F20C 2000 2.0 L F20C (S2000) VTEC G-series 1996 2.5 L G25 (TL) H-series 1992 2.3 L H23 (พรีลูด) 1993 2.2 L H22 (พรีลูด) VTEC เครื่อง VTEC ตระกูล H22A ที่วางทั้ง ACCORD CD6 และ PRELUDE BB4 ที่มีการเปลี่ยนโฉมกันใหม่ในปี 1996 - 1997 และในPRELUDE BB6 รุ่นใหม่ปี 1998 จะเป็นเครื่องยนต์ H22A รุ่น 220 แรงม้า กับรุ่น 200 แรงม้า K-series 2001 2.0 L K20 (อินทีกรา/ซีวิค/RSX/Atom) iVTEC 2002 2.4 L K24 (CRV/Element) iVTEC 2003-on ฮอนด้า แอคคอร์ด 2004-on Acura TSX DOHC i-VTEC I (GDI) 2003 2.0 L (Stream) (Japan-only) Circle L - General Motors/Isuzu 1.7 L Diesel VTEC VTEC = Variable value Timing and value lift Electronic Control system แปลว่า ระบบควบคุมการเปลี่ยนแปลงองศาเปิดและปิดด้วยอิเล็กทร อนิกส์ เป็นการนำเอาComputerที่นอกจากจะควบคุมการจ่ายน้ำมัน และระบบจุด ระเบิดแล้วยังนำมาควบคุมการเปลี่ยนแปลงองศาการเปิดและปิด ของลิ้นไอดีและไอเสียที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ที่แตกต่างกัน ระหว่างความเร็วรอบต่ำและสูง ทำให้สามารถเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ได้ เนื่องจากการควบคุมการประจุไอดีและองศาการจุดระเบิดของเครื่องย นต์ โดยใช้ระบบMechanicที่มีอยู่ในตัวเครื่องโดยComputerจะควบคุมกลไกการทำงานของกระเดื่องลิ้น เครื่อง VTEC มีจำหน่ายตั้งแต่ปี 1989 ในรุ่น Civic EF9 , CR-X EF2 , INTEGRA DA6,8 เป็นเครื่อง B16A รุ่นแรก (vtecเล็ก) 160PS หลังจากนั้นได้ปรับปรุงเพิ่มสมรรถนะของเครื่องใหม่ เพิ่มแรงม้าและแรงบิด กลายเป็นเครื่อง B16A VTEC ใหญ่ 170PS จะอยู่ในบอดี้ Civic SIR EG9 (ซีวิค3ประตู) , SIR II EG6 (รุ่น4ประตู) , CR-X SIR EG2 (Delsol) ต่อมาได้ปรับปรุงบอดี้กลายเป็นรุ่น EK (ซีวิคตาโต) เครื่องยนต์ยังคงเป็น B16A VTECใหญ่ ปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อย และยังมี version พิเศษเป็น Civic Type R โดยนำรุ่นตาโต3ประตูมาแต่งเติมทั้งภายในและภายนอก ใช้เครื่องยนต์ตัวใหม่ B16B 185PS เป็นเครื่องที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับรุ่นนี้โดยเฉพาะ มีการปรับปรุงแรงบิดและแรงม้าให้มากขึ้นกว่าเดิม เครื่องยนต์ VTEC จะแตกต่างจากเครื่องยนต์ตัวอื่น 1 LOST MOTION ASSEMBLY (กลไกดันกระเดื่องกดลิ้นตัวกลาง) ทำหน้าที่เป็นสปริงดันให้กระเดื่องกดลิ้นตัวกลางเลื่อนกลับในตำแหน่งเดิม มีหน้าที่เป็นตัวช่วยlockกระเดื่อง 2 HYDRAULIC PRESSURE CONTROL (กลไกควบคุมแรงดันไฮโดรลิก) ECUจะควบคุมการทำงานของ Solinoid & Pressure switch เมื่อถึงรอบที่กำหนด (5700rpm standard) ECU จะส่งสัญญาณ Pulse ไปสั่งให้ Solinoid ทำงาน แรงดันน้ำมันจะดันลูกสูบภายใน Rocker Arm เอาชนะแรงดัน Spring ที่ดันลูกสูบไว้ ทำให้ชุดกระเดื่องทำงาน (B16Aปี96 , B18Cปี96,98 และรุ่นใหม่ๆจะไม่มี Pressure Switch) ECU จะมีหน้าที่รับ factor ต่างๆจากเครื่อง - Engine Speed - Engine Load - Vehicle Speed - Water Temperature ทำการประมวลผลและสั่งการไปที่เครื่องยนต์ เพื่อทำให้เครื่องทำงานเป็นปกติเหมาะสมกับการทำงานใน ขณะนั้น แรงดันน้ำมันเครื่อง จะทำงานอยู่ที่ 0.7-4.0 BAR ขึ้นกับความเร็วของรอบเครื่อง เพื่อทำให้ระบบVTECทำงานโดยผ่าน Solinoid B16A เครื่องยนต์ B16A ตัวนี้นั้นจัดได้ว่าเป็น VTEC DOHC รุ่นแรกใน CIVIC จะสังเกตได้ว่าเป็นเครื่องที่เรียกกันติดปากว่า VTEC เล็ก โดยดูตัวอักษร VTEC จะเล็กกว่า DOHC อยู่บนฝาครอบวาล์ว จากนั้นมการเปลี่ยนโฉมเป็นรุ่นฮิต 3 ประตู ก็ปรับปรุงสมรรถนะมากขึ้น เพิ่มแรงบิด แรงม้า เป็น B 16 A VTEC ใหญ่ (ตัว VTEC ใหญ่กว่า DOHC) ต่อมาเปลี่ยนเป็นรุ่นตาโต ก็ยังเป็นเครื่องตัวเดิมอยู่ จากนั้นทำ 3 ประตูตาโตออกมาก็เปลี่ยนเป็นเครื่อง B16B ตัวแรง แต่งพิเศษ B18C ทีนี้เป็นเครื่องที่ใหญ่ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งเจ้าตัว B18C นี้จะอยู่ใน INTREGA รหัส DC2 (DC1 เป็นเครื่องZC 1600CC) จะเป็นทั้งตัว ธรรมดา และ Type R ด้วย โดยตัวหลังจะปรับปรุงทั้ง แรงม้า แรงบิด เพิ่มกำลังอัดและเปลี่ยนโปรแกรมควบคุมใหม่ ให้เพิ่มมากขึ้น จนได้แรงม้า 200 ตัว H22A เครื่อง VTEC ตระกูล H22A ที่วางทั้ง ACCORD CD6 และ PRELUDE BB4 ที่มีการเปลี่ยนโฉมกันใหม่ในปี 1996 - 1997 และในPRELUDE BB6 รุ่นใหม่ปี98จะเป็นเครื่องยนต์ H22A รุ่น 220 แรงม้า กับรุ่น 200 แรงม้า ความแตกต่างของเครื่อง VTEC B16A VTEC เล็ก โดยอาศัยตัวอักษร VTEC ที่มีขนาดเล็กอยู่ใต้ตัวอักษร DOHC ที่มีขนาดใหญ่กว่า รางหัวฉีดเข้าเครื่องจะมีลักษณะทรงกลมขนาดใหญ่ ถัดจากรางหัวฉีดจะเห็นท่อไอดีเขียนคำว่า PGM-FI ตัวนูน คลัตช์เป็นแบบสาย ที่เกียร์จะไม่มีปั๊มคลัตช์ เลขเครื่องเริ่มตั้งแต่ 1000000 ขึ้นไป ตัวเลขจะมีหลัก ผลิตตั้งแต่ปี 1990 ถึง 1991 B16A VTEC ใหญ่ ตัวอักษร VTEC จะมีขนาดใหญ่หว่า ตัวอักษร DOHC รางหัวฉีดเป็นแบบแบน และไม่มีอักษรใดๆบนท่อไอดี แต่จะเป็นเปลายขวางแทน ระบบคลัตช์เป็นแบบน้ำมัน ที่เกียร์จะมีปั๊มคลัตช์อยู่ เลขเครื่องยนต์ 7 หลัก สองหลักแรกเริ่มตั้งแต่ 54 ถึง 57 ส่วนปีใหม่กับปีเก่าของเครื่องตัวนี้ดูจาก Vacuum เซ็นเซอร์ ถ้าเซ็นเซอร์แยกออกมาจากเครื่องจะมีเลขเครื่องตั้งแต่54-55 หรือปี 1992-1993 แต่ถ้าเป็นตัวเซ็นเซอร์อยู่บนลิ้นปีกผีเสื้อ จะมีเลขเครื่องตั้งแต่ 56-57 หรือปี 1993-1994 และเครื่องยนต์ที่มีเลขตั้งแต่ 56 ขึ้นไปจะมี Limited Slip มาให้ด้วย B16A-170ม้า body ตาโตเลขเริ่มต้นที่ 58 - 63 เป็น ปี 96-2000 จะเป็นกล่องยาว(E CU) B16B VTEC ฝาครอบวาล์วจะเป็นสีแดงเด่นชัด รางหัวฉีดเป็นแบบกลมเหมือน VTEC เล็ก แต่จะมีขนาดลิ้นปีกผีเสื้อที่ใหญ่ขึ้น เลขเครื่องเริ่มตั้งแต่ 1 ขึ้นไปหรือปี 1997 ขึ้นไป ในปีใหม่กว่านี้จะมีขนาดของปั๊มช่วยผ่อนแรงพวงมาลัยที่เล็กลงด้วย B18C VTEC ลักษณะของท่อไอดีจะเปลี่ยนเป็นแบบคว่ำลงรางหัวฉีดเป็นแบบกลม Vacuum จะอยู่บนตัวเรือนลิ้นปีกผีเสื้อ เลขเครื่องจะเริ่มตั้งแต่ 10 ขึ้นไป ผลิตปี 1992 เลขเครื่อง 11 ผลิตปี 1993 เลขเครื่อง 12 ผลิตปี 1994-1997 ในปีที่มีเลขเครื่อง 10-12 กล่องควบคุมจะสั้น ส่วนตั้งแต่เลขเครื่อง 12 กล่องควบคุมจะยาว และขนาดปั๊มพาวเวอร์ที่เล็กลง เครื่องตั้งแต่ปี 1995 จะมี Limited Slip มาให้ด้วย B18C VTEC Type-R ลักษณะเด่นของ Type-R คือฝาครอบวาล์วจะมีสีแดงเด่น ท่อไอดีจะเหมือนกับ B16A แต่จะใหญ่กว่า มีรางหัวฉีดกลมขนาดใหญ่ ฝาครอบสายหัวเทียน 98เป็นลายcevlar 96 เป็นสีเงินธรรมดา ปั๊มพาวเวอร์เล็กแต่สายน้ำมันพาวเวอร์จะใหญ่ เลขเครื่อง 19 ผลิตปี 1996 เลขเครื่อง 20 ผลิตปี 1997 เลขเรื่อง 21 ผลิตปี 1998 ขึ้นไป และอยู่ในรุ่น INTEGRA ที่มีดุมล้อ 5 รู 98ท่อร่วมไอเสียจะเป็นท่อแยก(เฮดเดอร์จากโรงงาน) 96จะเป็นท่อไอเสียแบบปกติทั่วไป H22A VTEC เป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ ถ้ามีแรงม้า 200 เลขเครื่อง 10 ผลิตปี 1991-1992 เลขเครื่อง 11 ผลิตปี 1993-1994 เลขเครื่อง 20 ขึ้นไปผลิตปี 1995-1996 ส่วนที่อยู่ใน PRELUDE ตัว 200 แรงม้า จะผลิตปี 1997 ขึ้นไปมีดุมล้อ 5 รู ส่วนเครื่องที่มีแรงม้า 220 จะมีฝาครอบวาล์วเป็นสีแดง อยู่ใน PRELUDE ตัว Type-S ตั้งแต่ปี 1997 เลขเครื่องตั้งแต่ 40 ขึ้นไป ดุมล้อเป็นแบบ 5 รู ในตัว ACCORD ตัว 190 แรงม้า ตัวนี้ VTEC จะเปิดเร็วกว่าในตัว PRELUDE ผลิตปี 1992-1997 สาระน่ารู้เกี่ยวกับVTEC ส่วนเรื่องเกียร์ LSD นั้นจะเป็น option สำหรับเครื่อง B16A ตั้งแต่เลขเครื่อง56xxxxxเป็นต้นไป ส่วน B18C จะเริ่มที่101xxxx แต่ถ้าเป็นเครื่องฝาแดงแล้วจะมี LSD ให้ทุกเครื่อง เกียร์ LSD เครื่อง B16A เลขเครื่องตั้งแต่ 5700000 ขึ้นไปจะไม่มีปลั๊กเขียวเซ็นเซอร์ใต้ โซลินอยด์ วีเทค อยู่ใกล้จานจ่าย เป็นตัวกลมๆ ถ้าเป็น B18C ฝาดำถ้าเป็นตัว 180 แรงม้าก็จะไม่มีปลั๊กเขียวนี้เช่นกัน ส่วนเครื่องฝาแดงทั้งหมดจะไม่มีปลั๊กเขียวตัวนี้ แต่ถ้าเป็นฝาแดงรุ่นเฉพาะสหรัฐอเมริกาจะมีปลั๊กตัวนี้ เครื่อง B16A เลข 5800000 ในรุ่นตาโตจะมีเซนเซอร์วัดปริมาณอากาศอยู่ที่ท่อยาง ก่อนเข้าไอดี และก็ไม่มีตัวเซ็นเซอร์ตรงเขาไอดีช่วงท่อ1และ2จะเป็น รอยอุดธรรมดา แต่ถ้าเป็นตัวก่อนหน้านี้ที่อยู่ในบอดี EG ทั้งหมดหรือ CRX จะมีเซ็นเซอร์อยู่ตรงเขาไอดีเท่านั้น ไม่มีตรงท่อยางก่อนเข้าคอไอดี เครื่อง B18Cฝาดำ ถ้าเป็นตัว 180 แรงม้า ตรงคอไอดีจะมีตุ่ม 2 เม็ดแต่มันก็ไม่ได้มีผลเกี่ยวกับเครื่องมันดูเป็นรุ่ นใหม่มากกว่า ก็เช่นเดียวกับเสื้อเกียร์ถ้าเป็น 180 แรงม้า และ B16A ของบอดี้ตาโตขึ้นไปจนกระทั่งฝาแดงจะมีรูอยู่ 2 รูอยู่ด้านหน้าไกล้ ๆ เลขเครื่อง เครื่องฝาแดง เหล็กยึดไดร์ชาร์ตดูเหมือนจะเป็นสนิมแต่เขาจงใจทำมา แต่ถ้าเป็นพวก B16 หรือ B18 จะเป็นเหล็กพ่นสีดำ ปีที่ผลิตของเครื่อง ก็จะดูได้ที่ฝาสูบด้านหน้าไกล้ ๆ คอไอเสีย อาจจะมองยากสักหน่อยเพราะมีเหล็กกันความร้อนของท่อบั งอยู่ โดยจะยึดเอาเลข3ตัวจากซ้ายเป็นหลัก จะบอกเป็น ปี-เดือน-วัน ในการผลิต เครื่อง เช่น 7-04-15 หมายถึง ผลิตปี97 เดือน4 วันที่15 C-series - 90° SOHC/DOHC 1986 2.7 L C27 (Legend/แอคคอร์ด) 1991 3.0 L C30 (NSX) 1991 3.2 L C32 (Legend/TL/NSX) 3.5 L C35 (RL) J-series - 60° SOHC 2.5 L J25 (Inspire/Saber) 3.0 L J30 (แอคคอร์ด/CL) 3.2 L J32 (TL/CL) 3.5 L J35 (Odyssey/MDX) 2.2i-CTDi J25 (ฮอนด้า CR-V i-CTDi/Accord Euro i-CTDi/Civic i-CTDi) Honda Engine ListHONDASWAP.COM, บทความเกี่ยวกับรถยนต์หรือยานพาหนะนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง บทความนี้อาจต้องการพิสูจน์อักษร ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานด้านล่าง โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป กรดโฟลิก ======== {{Infobox drug | drug_name = กรดโฟลิก (Folic acid) | IUPAC_name = (2S)-2-[[4-[(2-Amino-4-oxo-1H-pteridin-6-yl) methylamino]benzoyl]amino]pentanedioic acid |synonyms = N-(4-{[(2-amino-4-oxo-1,4-dihydropteridin-6-yl)methyl]amino}benzoyl)-L-glutamic acid, pteroyl-L-glutamic acid, vitamin B9, vitamin Bc, vitamin M, folacin, pteroyl-L-glutamate |image = Folic acid.svg |width = 260px |alt = Skeletal formula |image2 = Folic acid crystals.jpg |width2 = 150px |alt2 = กรดโฟลิกโดยเป็นผงผลึกสีเหลืองส้ม |pronounce = foe' lik | Drugs.com = แม่แบบ:Drugs.com |MedlinePlus = a682591 | pregnancy_US = A |bioavailability = 50-100% |metabolism = ตับ |excretion = ปัสสาวะ | CAS_number = 59-30-3 | ATC_prefix = B03 | ATC_suffix = BB01 |PubChem = 6037 |DrugBank = DB00158 |KEGG = C00504 |SMILES = O=C(N[C@H] (C(O)=O)CCC(O)=O)C1=CC=C(NCC2=NC(C(NC(N)=N3)=O)=C3N=C2)C=C1 |StdInChI = 1S/C19H19N7O6/c20-19-25-15-14(17(30)26-19)23-11(8-22-15)7-21-10-3-1-9(2-4-10)16(29)24-12(18(31)32)5-6-13(27)28/h1-4,8,12,21H,5-7H2, (H,24,29) (H,27,28) (H,31,32) (H3,20,22,25,26,30) /t12-/m0/s1 |StdInChIKey = OVBPIULPVIDEAO-LBPRGKRZSA-N |ChEBI = 27470 |UNII = 935E97BOY8 |ChEMBL = 1622 | IUPHAR_ligand = 4563 |ChemSpiderID = 5815 |solubility = 1.6 mg/L (25 °C) | melting_point = 250 |C = 19 |H = 19 |N = 7 |O = 6 | melting_notes = (decomposition) | DrugBank_Ref = แม่แบบ:Drugbankcite }} กรดโฟลิก หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่รู้จักคือ โฟเลต (อังกฤษ: Folic acid, folate) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ต่อทารก (ซึ่งรวมการไม่มีสมองใหญ่ สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่) และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางเหตุขาดกรดโฟลิก มีประเทศเกินกว่า 50 ประเทศที่บังคับให้เสริมกรดโฟลิกในอาหารโดยเป็นมาตรการลดอัตรา NTDs ในประชากร การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นประจำสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย เป็นวิตามินที่สามารถใช้ทานหรือฉีดก็ได้ ยาไม่มีผลข้างเคียงที่สามัญ โฟเลตเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อผลิต DNA RNA และกระบวนการสร้างและย่อยสลายกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถสร้างกรดโฟลิก ดังนั้นจำต้องได้จากอาหาร การไม่ได้โฟเลตเพียงพอก็จะทำให้เกิดภาวะขาดโฟเลต ซึ่งอาจมีผลเป็นภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (megaloblastic) เป็นจำนวนน้อย อาการอาจรวมความล้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แผลบนลิ้นไม่หาย สีผิวหรือผมเปลี่ยน การขาดในช่วงตั้งครรภ์เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกเกินครึ่ง การขาดในเด็กอาจเกิดภายในเดือนเดียวที่ทานอาหารไม่ดี ในผู้ใหญ่ระดับโฟเลตทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่ระหว่าง 10,000-30,000 ไมโครกรัม (µg) โดยมีระดับในเลือดเกิน 7 nmol/L (3 ng/mL) กรดนี้ค้นพบในระหว่างปี พ.ศ. 2474-2486 อยู่ในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก ซึ่งหมายถึงยาที่สำคัญที่สุดในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ราคาขายส่งของอาหารเสริมในประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ 0.001 - 0.005 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4-20 สตางค์) โดยปี 2557 คำภาษาอังกฤษว่า "folic" มาจากคำภาษาละตินว่า folium ซึ่งหมายถึงใบไม้ โฟเลตมีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารหลายอย่างรวมทั้งผักใบเขียวเข้มและตับ {{Infobox drug | drug_name = กรดโฟลิก (Folic acid) | IUPAC_name = (2S)-2-[[4-[(2-Amino-4-oxo-1H-pteridin-6-yl) methylamino]benzoyl]amino]pentanedioic acid |synonyms = N-(4-{[(2-amino-4-oxo-1,4-dihydropteridin-6-yl)methyl]amino}benzoyl)-L-glutamic acid, pteroyl-L-glutamic acid, vitamin B9, vitamin Bc, vitamin M, folacin, pteroyl-L-glutamate |image = Folic acid.svg |width = 260px |alt = Skeletal formula |image2 = Folic acid crystals.jpg |width2 = 150px |alt2 = กรดโฟลิกโดยเป็นผงผลึกสีเหลืองส้ม |pronounce = foe' lik | Drugs.com = แม่แบบ:Drugs.com |MedlinePlus = a682591 | pregnancy_US = A |bioavailability = 50-100% |metabolism = ตับ |excretion = ปัสสาวะ | CAS_number = 59-30-3 | ATC_prefix = B03 | ATC_suffix = BB01 |PubChem = 6037 |DrugBank = DB00158 |KEGG = C00504 |SMILES = O=C(N[C@H] (C(O)=O)CCC(O)=O)C1=CC=C(NCC2=NC(C(NC(N)=N3)=O)=C3N=C2)C=C1 |StdInChI = 1S/C19H19N7O6/c20-19-25-15-14(17(30)26-19)23-11(8-22-15)7-21-10-3-1-9(2-4-10)16(29)24-12(18(31)32)5-6-13(27)28/h1-4,8,12,21H,5-7H2, (H,24,29) (H,27,28) (H,31,32) (H3,20,22,25,26,30) /t12-/m0/s1 |StdInChIKey = OVBPIULPVIDEAO-LBPRGKRZSA-N |ChEBI = 27470 |UNII = 935E97BOY8 |ChEMBL = 1622 | IUPHAR_ligand = 4563 |ChemSpiderID = 5815 |solubility = 1.6 mg/L (25 °C) | melting_point = 250 |C = 19 |H = 19 |N = 7 |O = 6 | melting_notes = (decomposition) | DrugBank_Ref = แม่แบบ:Drugbankcite }} กรดโฟลิก หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่รู้จักคือ โฟเลต (อังกฤษ: Folic acid, folate) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ต่อทารก (ซึ่งรวมการไม่มีสมองใหญ่ สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่) และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางเหตุขาดกรดโฟลิก มีประเทศเกินกว่า 50 ประเทศที่บังคับให้เสริมกรดโฟลิกในอาหารโดยเป็นมาตรการลดอัตรา NTDs ในประชากร การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นประจำสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย เป็นวิตามินที่สามารถใช้ทานหรือฉีดก็ได้ ยาไม่มีผลข้างเคียงที่สามัญ โฟเลตเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อผลิต DNA RNA และกระบวนการสร้างและย่อยสลายกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถสร้างกรดโฟลิก ดังนั้นจำต้องได้จากอาหาร การไม่ได้โฟเลตเพียงพอก็จะทำให้เกิดภาวะขาดโฟเลต ซึ่งอาจมีผลเป็นภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (megaloblastic) เป็นจำนวนน้อย อาการอาจรวมความล้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แผลบนลิ้นไม่หาย สีผิวหรือผมเปลี่ยน การขาดในช่วงตั้งครรภ์เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกเกินครึ่ง การขาดในเด็กอาจเกิดภายในเดือนเดียวที่ทานอาหารไม่ดี ในผู้ใหญ่ระดับโฟเลตทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่ระหว่าง 10,000-30,000 ไมโครกรัม (µg) โดยมีระดับในเลือดเกิน 7 nmol/L (3 ng/mL) กรดนี้ค้นพบในระหว่างปี พ.ศ. 2474-2486 อยู่ในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก ซึ่งหมายถึงยาที่สำคัญที่สุดในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ราคาขายส่งของอาหารเสริมในประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ 0.001 - 0.005 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4-20 สตางค์) โดยปี 2557 คำภาษาอังกฤษว่า "folic" มาจากคำภาษาละตินว่า folium ซึ่งหมายถึงใบไม้ โฟเลตมีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารหลายอย่างรวมทั้งผักใบเขียวเข้มและตับ ผู้ผลิตอาหารเสริมบ่อยครั้งใช้คำว่าโฟเลต โดยหมายถึงอะไรนอกจากกรดโฟลิกบริสุทธิ์ ส่วนทางเคมี โฟเลตหมายถึงไอออนที่ไร้โปรตอน และกรดโฟลิกหมายถึงโมเลกุลที่มีขั้วเป็นกลาง ซึ่งทั้งสองรูปแบบละลายน้ำอยู่ร่วมกันได้ ส่วนองค์กรมาตรฐานสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) และ International Union of Biochemistry and Molecular Biology (IUBMB) กำหนดว่า โฟเลตเป็นไวพจน์สำหรับกรด pteroylglutamate และกรดโฟลิกสำหรับ pteroylglutamic acid ชื่ออื่น ๆ รวมทั้ง วิตามินบี9 วิตามินบีc วิตามินเอ็ม folacin, และ pteroyl-L-glutamate การทานกรดโฟลิกในช่วงตั้งครรภ์สัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) และความบกพร่องแต่กำเนิดโดยเฉพาะอื่น ๆ ต่อทารกที่น้อยลง แต่ก็ยังมีความวิตกกังวลทั่วโลกเกี่ยวกับการมีกรดโฟลิกสูงแต่มีวิตามินบี12ต่ำในช่วงก่อนเกิดว่า เป็นเหตุความเปลี่ยนแปลงทางอีพีเจเนติกส์ต่อทารก เพิ่มแนวโน้มของความผิดปกติทางเมแทบอลิซึม ภาวะเนื้อเยื่อไขมันมากส่วนท้อง (central adiposity) และโรคที่มีในผู้ใหญ่ เช่น โรคเบาหวานแบบ 2 แม้ว่าจะมีความกังวลเช่นนี้ แต่ก็ไม่ปรากฏสหสัมพันธ์ระหว่างการทานกรดโฟลิกเสริมของแม่ กับความเสี่ยงต่อโรคหืดที่สูงขึ้นสำหรับเด็กในครรภ์ โฟเลตเป็นสารที่จำเป็นเพื่อความเจริญพันธุ์ทั้งในชายหญิง เพราะมีส่วนในการสร้างสเปิร์ม และดังนั้น จึงจำเป็นที่จะได้อย่างพอเพียงจากอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นหมัน นอกจากนั้นแล้ว ภาวะพหุสัณฐานของยีนที่เข้ารหัสเอนไซม์ที่เกี่ยวกับเมแทบอลิซึมของโฟเลต อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งในปัญหาในหญิงบางคนที่ความเป็นหมันไม่ทราบสาเหตุ การทานกรดโฟลิกเสริมเป็นระยะเวลานานสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้โดย 4% แม้ว่างานศึกษาอีกงานหนึ่งจะไม่พบผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ก็มีผลลดระดับ homocysteine ในเลือด การทานกรดโฟลิกเสริมก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์อาจลดสภาวะหัวใจวิการในทารก การทานกรดโฟลิกเสริมเป็นประจำลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองโดย 10% ซึ่งอาจเป็นเพราะบทบาทของโฟเลตในการควบคุมระดับ homocysteine งานทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ชี้ว่า โอกาสเสี่ยงดูจะลดลงสำหรับบางคนเท่านั้น ถึงกระนั้น ก็ยังไม่มีระดับการเสริมกรดโฟลิกที่แนะนำเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนอกเหนือไปจากระดับ RDA ที่บัณฑิตยสถานแห่งชาติสหรัฐแนะนำ คนเอเชียได้ระดับการป้องกันโรคหลอดเลือดในสมองที่สูงกว่าเมื่อเสริมโฟเลตเทียบกับคนยุโรปหรืออเมริกาเหนือ การลดโรคหลอดเลือดสมองที่พบ เข้ากับการลดความต่างระหว่างความดันช่วงหัวใจบีบตัวและขยายตัว (pulse pressure) ที่ได้จากการทานโฟเลตเสริม 5 มก. ต่อวัน เพราะว่า ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคหลอดเลือดสมอง ยาเม็ดเสริมกรดโฟลิกไม่แพงและใช้ง่าย ซึ่งเป็นเหตุผลที่แนะนำคนไข้โรคหลอดเลือดสมองหรือมีภาวะ homocysteine เกิน (hyperhomocysteinemia) ให้ทานวิตามินบีทุก ๆ วันรวมทั้งกรดโฟลิก การเสริมกรดโฟลิกอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งบางอย่างเล็กน้อย เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ระดับโฟเลตที่ต่ำก็สัมพันธ์กับมะเร็งบางอย่างอื่น ๆ เช่นเดียวกัน แต่ว่า ก็ไม่ชัดเจนว่า การทานโฟเลตตามที่แนะนำหรือว่าสูงกว่านั้น ไม่ว่าจะจากอาหารหรือจากยาเสริม สามารถลดความเสี่ยงมะเร็งได้หรือไม่ โฟเลตเป็นสารสำคัญต่อเซลล์และเนื้อเยื่อที่ต้องแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เซลล์มะเร็งก็แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ยาที่ขัดขวางเมแทบอลิซึมของโฟเลตจึงใช้รักษามะเร็งได้ด้วย เช่น ยา methotrexate ที่ใช้รักษาโรคมะเร็งก็เป็นยาต้านโฟเลตด้วย เพราะมันขัดขวางการผลิตวิตามินที่มีฤทธิ์แบบ Tetrahydrofolic acid (THF) จากแบบที่ไม่มีฤทธิ์คือ dihydrofolate (DHF) แต่ว่า methotrexate สามารถเป็นพิษ ทำให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การอักเสบในทางเดินอาหารที่ทำให้ยากที่จะทานอาหารปกติ นอกจากนั้นแล้ว ไขสันหลังอาจทำงานน้อยลงทำให้เกิดภาวะ leukopenia และ thrombocytopenia และตับไตวาย กรด folinic ภายใต้ชื่อการค้า leucovorin ซึ่งเป็นโฟเลตแบบ formyl-THF สามารถแก้พิษของ methotrexate แต่ว่า กรด Folinic ไม่ใช่กรดโฟลิก และยาเสริมโฟลิกก็ไม่มีหลักฐานว่าช่วยในการเคมีบำบัดโรคมะเร็ง แต่ว่า มีกรณีการทดแทนกรด folinic ด้วยกรดโฟลิกโดยอุบัติเหตุ สร้างผลร้ายรุนแรงต่อคนไข้ที่กำลังใช้ยา methotrexate สำหรับเคมีบำบัด ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่ได้ methotrexate ที่จะทำตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการใช้กรดโฟลิก หรือกรด folinic การเสริมกรด folinic สำหรับคนไข้ที่ได้ methotrexate ก็เพื่อให้เซลล์ที่แบ่งตัวช้ากว่า (มะเร็ง) ได้โฟเลตเพียงพอเพื่อทำหน้าที่ปกติได้ เนื่องจากเซลล์มะเร็งจะใช้โฟเลตที่ให้เสริมหมดเพื่อแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้กันปัญหาที่มากับ methotrexate ได้ มีหลักฐานที่สัมพันธ์การขาดโฟเลตกับโรคซึมเศร้า หลักฐานจำกัดจากงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) แสดงว่า การให้กรดโฟลิกเสริมยากลุ่ม SSRI (เช่น ฟลูออกซิติน) อาจมีประโยชน์ และงานศึกษาที่มหาวิทยาลัยแพทย์แห่งหนึ่ง (University of York and Hull York Medical School) พบความสัมพันธ์ระหว่างโรคซึมเศร้ากับระดับโฟเลตที่ต่ำ งานศึกษาหนึ่งโดยกลุ่มเดียวกันมีผู้ร่วมการทดลอง 15,315 คน ยาเสริมกรดโฟลิกมีผลต่อตัวรับ noradrenaline และตัวรับเซโรโทนินภายในสมอง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้กรดโฟลิกสามารถต้านความซึมเศร้าได้ แม้ว่ากลไกของโรคจิตเภทและโรคซึมเศร้าจะยังไม่ชัดเจน แต่ว่า โฟเลตที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive) คือ methyltetrahydrofolate (5-MTHF) เป็นสารที่รับกลุ่ม methyl จากสารให้เมทิลเช่น S-adenosyl methionine (SAMe) โดยตรง และอำนวยการนำ dihydrobiopterin (BH2) ไปใช้ใหม่โดยเปลี่ยนเป็น tetrahydrobiopterin (BH4) ซึ่งเป็น cofactor ที่จำเป็นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีนหลายอย่าง รวมทั้งเซโรโทนิน และโดพามีน ดังนั้น BH4 จึงเป็นตัวควบคุมการสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน และจำเป็นในการอำนวยฤทธิ์ของยาแก้ซึมเศร้าโดยมาก นอกจากนั้นแล้ว 5-MTHF ยังมีบทบาททั้งโดยตรงโดยอ้อมต่อกระบวนการเติม methyl ให้ดีเอ็นเอ (DNA methylation), การสังเคราะห์ NO2, และเมแทบอลิซึมแบบคาร์บอนเดี่ยว ๆ (one-carbon metabolism) งานศึกษาปี 2552 (substudy of the Women's Antioxidant and Folic Acid Cardiovascular Study) รายงานการใช้อาหารเสริมที่มีกรดโฟลิก วิตามินบี6 (pyridoxine) และวิตามินบี12 (cyanocobalamin) ว่าลดโอกาสเสี่ยงการเกิดจุดภาพชัดเสื่อมเนื่องจากอายุ (age-related macular degeneration) โดย 34.7% มีปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างกรดโฟลิก วิตามินบี12 และธาตุเหล็ก การขาดอย่างหนึ่งอาจจะไม่ปรากฏถ้ามีอีกอย่างหนึ่งเกิน ดังนั้น ทั้งสามอย่างต้องสมดุลกัน โอกาสเสี่ยงจากความเป็นพิษเนื่องจากกรดโฟลิกมีน้อย เพราะว่า โฟเลตละลายน้ำได้ ร่างกายจึงขับออกทางปัสสาวะเป็นประจำ แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับการได้กรดโฟลิกสูงก็คือมันอาจอำพรางการวินิจฉัยภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anaemia) และผลลบอย่างอื่น ๆ[โปรดขยายความ] ที่เป็นไปได้ต่อสุขภาพ ดูบทความหลักที่: การขาดโฟเลต การขาดโฟเลตอาจมาจากการทานอาหารที่ไม่ถูกอนามัย คือไม่ได้รวมผักและผลไม้เพียงพอ, จากมีโรคที่ทำให้ดูดซึมกรดโฟลิกได้ไม่ดี เช่น Crohn's disease หรือ celiac disease, จากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่มีผลต่อระดับโฟเลต, และจากการทานยาบางอย่าง เช่น phenytoin, sulfasalazine, หรือ trimethoprim-sulfamethoxazole การขาดโฟเลตจะแย่ลงถ้าดื่มเหล้า การขาดโฟเลตอาจทำให้เกิดลิ้นอักเสบ (glossitis) ท้องเสีย ซึมเศร้า สับสน เลือดจาง, ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) หรือความพิการทางสมองสำหรับทารกในครรภ์ อาการอื่น ๆ อาจรวมความล้า ผมหงอก แผลในปาก เจริญเติบโตช้า และลิ้นบวม ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) วัดระดับวิตามินบี12 และระดับโฟเลตในเลือด แม้ว่า CBC อาจจะแสดงเลือดจางแบบเม็ดเลือดโต (megaloblastic) แต่นี่ก็อาจจะเป็นอาการของการขาดวิตามินบี12 ได้ด้วย ระดับโฟเลตในเลือดที่เท่ากับหรือน้อยกว่า 3 μg/L แสดงว่าขาด แม้ว่าระดับโฟเลตในเลือดสามารถสะท้อนสถานะของโฟเลต แต่ระดับโฟเลตในเม็ดเลือดแดงจะสะท้อนถึงการสะสมในร่างกายได้ดีกว่าหลังจากทานเข้าไป เพราะว่า ระดับในเลือดจะมีปฏิกิริยาเมื่อทาน รวดเร็วกว่าที่ระดับในเม็ดเลือดแดงจะมี ระดับโฟเลตในเม็ดเลือดแดงที่เท่ากับหรือต่ำกว่า 140 μg/L บ่งว่าขาด ระดับ homocysteine ที่สูงขึ้นอาจแสดงการขาดโฟเลตในร่างกาย แต่ระดับ homocysteine ก็อาจมีผลจากระดับวิตามินบี12 วิตามินบี6 การทำงานของไต และพันธุกรรมได้ วิธีอย่างหนึ่งเพื่อจำแนกอาการระหว่างการขาดโฟเลตและวิตามินบี12 ก็คือตรวจระดับกรด methylmalonic (MMA) MMA ที่ปกติ แสดงว่าขาดโฟเลตและระดับ MMA ที่สูง แสดงว่าขาดวิตามินบี12 การขาดโฟเลตรักษาโดยการทานโฟเลตเสริมประมาณ 400-1,000 μg ต่อวัน วิธีนี้ได้ผลดีมากในการเพิ่มการสะสมในร่าง แม้ในกรณีที่มีปัญหาการดูดซึม คนไข้ที่มีเลือดจางแบบเม็ดเลือดโต (megaloblastic) ต้องตรวจว่าขาดวิตามินบี12 ก่อนเสริมโฟเลต เพราะว่า ถ้าคนไข้ขาดวิตามินบี12 การเสริมโฟเลตจะกำจัดภาวะเลือดจาง แต่สามารถทำปัญหาทางประสาทให้แย่ลง คนไข้ที่อ้วนมาก คือมีดัชนีมวลกายสูงกว่า 50 มีโอกาสขาดโฟเลตมากกว่า คนไข้โรค celiac disease ก็มีโอกาสขาดสูงกว่าด้วย การขาดวิตามินบี12อาจนำไปสู่การขาดโฟเลต ซึ่งจะเพิ่มระดับ homocysteine และอาจมีผลเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสภาวิรูปแต่เกิดสำหรับทารกในครรภ์ งานวิจัยบางงานแสดงว่าการให้เหล็ก-โฟเลตเสริมกับเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบอาจเพิ่มอัตราการตายเนื่องจากโรคมาลาเรีย ซึ่งทำให้องค์การอนามัยโลกเปลี่ยนนโยบายเสริมเหล็ก-โฟเลตให้กับเด็กในเขตที่มาลาเรียชุก เช่นในอินเดีย เพราะความแตกต่างในการพร้อมดูดซึมของยาเสริมกรดโฟลิก และประเภทของโฟเลตที่พบในอาหารต่าง ๆ จึงได้สร้างระบบมาตรฐาน dietary folate equivalent (DFE) ขึ้น คือ 1 DFE = 1 μg ของโฟเลตที่ได้ทางอาหาร หรือ = .6 μg ของกรดโฟลิกเสริม วิทยาศาสตรบัณฑิตยสถานสหรัฐอเมริกาได้ตั้งระบบ Dietary Reference Intake (DRIs) เพื่อเป็นค่าอ้างอิงใช้วางแผนและประเมินสารอาหารที่คนปกติแต่ละคนควรได้ โดยมีค่าอ้างอิง 4 ค่าคือ ความจำเป็นประเมินเฉลี่ย (Estimated Average Requirements, EARs), ค่าแนะนำจากอาหาร (Recommended Dietary Allowances, RDAs, ค่าแต่ละวันที่เพียงพอสำหรับคน 97-98% ในสหรัฐอเมริกา), ค่าอย่างน้อย (Adequate Intakes, AI) ถ้าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มียังไม่สามารถตั้งค่า EARs และ RDAs, และค่าสูงสุด (tolerable upper intake levels, UL, ระดับการทานสูงสุดที่พิจารณาว่าปลอดภัย) ส่วนค่าสูงสุดสำหรับโฟเลตหมายถึงกรดโฟลิกสังเคราะห์เท่านั้น เพราะยังไม่ปรากฏว่า การได้โฟเลตเป็นจำนวนมากจากอาหารตามธรรมชาติเสี่ยงต่อสุขภาพ องค์กรความปลอดภัยอาหารยุโรป (European Food Safety Authority) ได้ทบทวนข้อมูลปัญหาความปลอดภัยแล้วได้ตั้งค่าสูงสุดสำหรับผู้ใหญ่ที่ 1,000 μg ป้ายอาหารในสหรัฐอเมริกาจะแสดงค่าเป็น % ที่ควรได้ต่อวัน (%DV) สำหรับป้ายโฟเลต 100% ของ DV เท่ากับ 400 μg โดยเดือนพฤษภาคม 2559 ค่าก็ยังดำรงอยู่ที่ 400 μg โฟเลตมีอยู่เป็นจำนวนมากในอาหารธรรมชาติ ผัก (โดยเฉพาะผักใบเขียว) ผลไม้ น้ำผลไม้ ถั่ว ผลิตภัณฑ์นม ไก่และเนื้อ ไข่ อาหารทะเล ข้าว และเบียร์บางอย่าง ส่วนอาโวคาโด บีตรูต ผักโขมฝรั่ง ตับ ยีสต์ และหน่อไม้ฝรั่ง เป็นอาหารที่มีโฟเลตมากที่สุด ในประเทศหลายประเทศ กฎหมายบังคับให้เพิ่มกรดโฟลิกในผลิตภัณฑ์ข้าว โดยประชากรจะได้กรดโฟลิกเป็นจำนวนสำคัญจากผลิตภัณฑ์เช่นนี้ เพราะยาเสริมกรดโฟลิก และโฟเลตประเภทที่พบในอาหารต่าง ๆ มีความแตกต่างในการพร้อมดูดซึม จึงได้เกิดระบบมาตรฐาน dietary folate equivalent (DFE) ขึ้น คือ 1 DFE = 1 μg ของโฟเลตที่ได้ทางอาหาร หรือ = .6 μg ของกรดโฟลิกเสริม หรือลดลงเป็น 0.5 μg ถ้าทานเมื่อท้องว่าง โฟเลตที่มีอยู่ในอาหารโดยธรรมชาติ จะไวความร้อนและรังสีอัลตราไวโอเลต และละลายน้ำได้ และจะไวความร้อนถ้าอยู่กับกรดและอาจจะไวออกซิเดชันด้วย ผลิตภัณฑ์อาหารแทนบางอย่างไม่มีโฟเลตพอตามที่กำหนดใน RDAs โฟเลต คือ วิตามินบี9 สามารถผลิตจากสารตั้งต้นของวิตามิน คือ กรด pteroylmonoglutamic (วิตามินบี10) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การขาดโฟเลตและภาวะเลือดจางเป็นโรคเดียวกัน ในปี คศ. 1931 นักวิจัย พญ. ลูซี่ วิลส์ ได้ทำข้อสังเกตสำคัญที่นำไปสู่การระบุโฟเลตว่าเป็นสารอาหารที่จำเป็นเพื่อป้องกันภาวะเลือดจางในช่วงตั้งครรภ์ คือหมอได้แสดงว่า ภาวะโลหิตจางสามารถรักษาได้ด้วยยีสต์ที่ใช้ผสมเหล้า ต่อมาในปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 จึงระบุโฟเลตได้ว่าเป็นสารที่มีฤทธิ์รักษาในยีสต์ แล้วต่อมาสกัดจากผักโขมฝรั่งได้ในปี 1941 ในปี 1943 จึงสามารถสกัดในรูปแบบผลึก แล้วระบุโครงสร้างทางเคมีของมันได้ งานวิจัยนี้ต่อมานำไปสู่การสังเคราะห์ยาต้านโฟเลต คือ aminopterin ซึ่งเป็นยารักษาโรคมะเร็งแรก โดยได้หลักฐานของประสิทธิผลยาโดยปี 1948 (ทำโดย Sidney Farber) ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 นักวิทยาศาสตร์จึงได้ค้นพบกลไกทางเคมี-ชีวภาพของโฟเลต ในปี 1960 ผู้เชี่ยวชาญสัมพันธ์การขาดโฟเลตกับปัญหาหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกในครรภ์เป็นครั้งแรก และโดยปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 นักวิทยาศาสตร์สหรัฐจึงเริ่มเข้าใจว่า แม้ว่าจะมีโฟเลตในอาหารและยาเสริม แต่ประชาชนก็ยังมีปัญหาได้โฟเลตตามที่จำเป็น สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มโปรแกรมเสริมโฟเลตในอาหาร โฟเลตเป็นสารที่จำเป็นเพื่อผลิตและดำรงรักษาเซลล์ใหม่ ๆ เพื่อสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เพื่อสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงต่อดีเอ็นเอ และดังนั้น จึงช่วยป้องกันมะเร็ง และสำคัญเป็นพิเศษในช่วงที่มีการแบ่งและการเติบโตของเซลล์อย่างรวดเร็ว เช่น ในช่วงวัยทารกหรืออยู่ในครรภ์ โฟเลตเป็นตัวอำนวยปฏิกิริยาที่แลกเปลี่ยนคาร์บอนอะตอมเดียวหลายรูปแบบผ่านกระบวนการ methylation และการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก (ที่เด่นที่สุดคือ thymine แต่รวม purine ด้วย) ดังนั้น การขาดโฟเลตจะขัดขวางการสังเคราะห์ดีเอ็นเอและการแบ่งเซลล์ โดยมีผลต่อเซลล์สร้างเม็ดเลือด (hematopoietic cell) และเนื้องอกมากที่สุด เพราะเหตุความถี่ในการแบ่งเซลล์ ส่วนการถอดรหัสอาร์เอ็นเอ (RNA transcription) และการสังเคราะห์โปรตีนที่ตามมา จะได้รับอิทธิพลน้อยกว่าจากการขาดโฟเลต เนื่องจาก mRNA สามารถนำไปใช้ใหม่ได้อีก เทียบกับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอที่ต้องสร้างตัวใหม่เลย เนื่องจากการขาดโฟเลตจำกัดการแบ่งเซลล์ การสร้างเม็ดเลือดแดงก็จะถูกขัดขวางทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดใหญ่ (megaloblastic anemia) ซึ่งกำหนดโดยการมีเม็ดเลือดแดงที่ยังไม่โตเต็มที่แต่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากการขัดขวางการถ่ายแบบดีเอ็นเอ การซ่อมแซมดีเอ็นเอ และการแบ่งเซลล์ ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่เรียกว่า megaloblast (คือ hypersegmented neutrophil) โดยมีไซโทพลาซึมมากที่สามารถสังเคราะห์อาร์เอ็นเอและโปรตีน แต่มีการจับกลุ่ม (clumping) หรือการแบ่งแยก (fragmentation) ของโครมาตินที่นิวเคลียส เซลล์ขนาดใหญ่เหล่านี้ แม้จะยังไม่โตเต็มที่ (เป็น reticulocytes) จะปล่อยออกจากไขสันหลังก่อนควรเพื่อชดเชยภาวะเลือดจาง ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจำเป็นต้องได้โฟเลตเพื่อผลิตเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว และป้องกันภาวะเลือดจาง การขาดโฟเลตในหญิงมีครรภ์เชื่อว่าเป็นเหตุต่อภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ต่อทารกในครรภ์ ดังนั้น ประเทศพัฒนาจำนวนมากบังคับให้เสริมโฟเลตในอาหารมีธัญพืชเป็นต้น NTDs จะเกิดตอนต้น ๆ ของการตั้งครรภ์ (เดือนแรก) ดังนั้น หญิงจำเป็นต้องทานโฟเลตจำนวนมากเริ่มตั้งแต่ครรภ์ โฟเลตจำเป็นในการผลิตเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว และการขาดโฟเลตอาจจะทำให้โลหิตจาง ซึ่งเป็นเหตุของความล้า ความอ่อนเพลีย และความไม่มีสมาธิ ในรูปแบบของสารประกอบ tetrahydrofolate แบบต่าง ๆ สารอนุพันธุ์ของโฟเลตเป็นซับสเตรตของปฏิกิริยาที่ถ่ายโอนคาร์บอนอะตอมเดียวหลายอย่าง และมีบทบาทในการสังเคราะห์ dTMP (2′-deoxythymidine-5′-phosphate) จาก dUMP (2′-deoxyuridine-5′-phosphate) เป็นซับสเตรตของปฏิกิริยาที่สำคัญที่วิตามินบี12มีส่วนร่วม เป็นตัวการจำเป็นในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเซลล์ที่แบ่งตัวทั้งหมด วิถีการสร้าง tetrahydrofolate (THF, FH4) เริ่มที่การรีดิวซ์กรดโฟลิก (F) เป็น dihydrofolate (DHF, FH2) แล้วรีดิวซ์เป็น THF โดยมีเอนไซม์ dihydrofolate reductase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา วิตามินบี3 ในรูปแบบของ NADPH เป็น cofactor ที่จำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ทั้งสอง โดยโมเลกุลไฮไดรด์จะถ่ายโอนจาก NADPH ไปยังตำแหน่ง C6 ของวงแหวน pteridine เพื่อรีดิวซ์กรดโฟลิกเป็น THF ส่วน Methylene-THF (CH2FH4) เกิดขึ้นจาก THF โดยเพิ่มสะพาน methylene จากตัวให้คาร์บอน 3 ตัว คือ formate, serine, หรือไกลซีน. Methyl tetrahydrofolate (methyl-THF, CH3-THF) สามารถทำจาก methylene-THF โดยรีดิวซ์กลุ่ม methylene พร้อมด้วย NADPH อีกรูปแบบหนึ่งของ THF ก็คือ 10-formyl-THF ซึ่งเกิดจากการออกซิไดซ์ methylene-THF หรือเกิดจาก formate ให้กลุ่ม formyl ต่อ THF นอกจากนั้นแล้ว histidine ยังสามารถให้คาร์บอนอะตอมหนึ่งกับ THF เพื่อสร้าง methenyl-THF ได้ด้วย วิตามินบี12 เป็นตัวรับอย่างเดียวของ methyl-THF ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ผลิต methyl-B12 (methylcobalamin) และก็มีตัวรับ methyl-B12 เดียวคือ homocysteine โดยเป็นปฏิกิริยาที่เร่งโดยเอนไซม์ homocysteine methyltransferase ปฏิกิริยาเหล่านี้สำคัญเพราะว่าถ้าเอนไซม์ homocysteine methyltransferase บกพร่อง หรือถ้าขาดวิตามินบี12 ก็จะนำไปสู่สถานการณ์ที่เรียกว่ากับดักเมทิล ("methyl-trap") ของ THF ที่ THF เปลี่ยนไปเป็นบ่อเก็บ methyl-THF ซึ่งไม่มีทางสร้างหรือสลายเป็นอย่างอื่น กลายเป็นตัวดูด THF ซึ่งจะทำให้ขาดโฟเลตต่อมา ดังนั้น การขาดวิตามินบี12 จะสร้างบ่อเก็บ methyl-THF ขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถทำปฏิกิริยาอะไรได้ และมีอาการปรากฏเหมือนกับขาดโฟเลต ปฏิกิริยาที่นำไปสู่บ่อเก็บ methyl-THF สามารถแสดงเป็นห่วงลูกโซ่ดังต่อไปนี้ folate → dihydrofolate → tetrahydrofolate ↔ methylene-THF → methyl-THF กรดโฟลิกที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจะอยู่ในรูปแบบของ tetrahydrofolate และสารอนุพันธุ์อื่น ๆ การมีให้กับร่างกายขึ้นอยู่กับฤทธิ์ของเอนไซม์ dihydrofolate reductase ในตับ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช้ามากในมนุษย์ คือ น้อยกว่า 2% ของหนู (และมีการแปรผัน [variation] ของฤทธิ์เอนไซม์เกือบ 5 เท่าตัว) ซึ่งนำไปสู่ภาวะกรดโฟลิกสะสมที่ไม่มีการสร้างหรือสลายตัว มีการเสนอว่า ปฏิกิริยาระดับต่ำที่จำกัดการเปลี่ยนกรดโฟลิกเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในรูปแบบอื่น จะเกิดขึ้นเมื่อทานกรดโฟลิกในระดับที่สูงกว่าพิจารณาว่าปลอดภัย (UL ที่ 1 มก./วัน สำหรับผู้ใหญ่) มียาหลายอย่างที่ขัดขวางการสังเคราะห์กรดโฟลิกและ THF รวมทั้ง ยากลุ่ม dihydrofolate reductase inhibitor เช่น trimethoprim, pyrimethamine, และ methotrexate ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ (ซึ่งเป็นตัวยับยั้งแบบแข่งขันต่อ 4-aminobenzoic acid ในปฏิกิริยากับเอนไซม์ dihydropteroate synthetase ) Valproic acid ซึ่งเป็นยาแก้ชักที่จ่ายให้คนไข้อย่างสามัญที่สุด และยังใช้รักษาอาการทางจิตอื่น ๆ อีกด้วย เป็นยาที่รู้ว่ายับยั้งกรดโฟลิก และดังนั้น จึงมีหลักฐานว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) กระดูกสันหลังโหว่ (spina bifida) และความพิการทางการรู้คิดในทารกเกิดใหม่ เพราะความเสี่ยงนี้ มารดาที่ต้องคงใช้ valproic acid หรือยาอนุพันธุ์ในช่วงตั้งครรภ์เพื่อควบคุมโรค (คือแทนที่จะหยุดใช้ หรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือใช้ขนาดลดลง) ควรจะเสริมกรดโฟลิกภายใต้การดูแลของแพทย์ งานสำรวจระหว่างปี 1988-1991 (NHANES III 1988-91) และ 1994-1996 (1994-96 CSFII) ชี้ว่า ผู้ใหญ่โดยมากทานโฟเลตไม่เพียงพอ แต่ว่าโปรแกรมเสริมกรดโฟลิกในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มปริมาณกรดในอาหารที่ทานอย่างสามัญที่สุดเช่น ธัญพืชที่ทานเป็นอาหารเช้า ข้าว และดังนั้น คนอเมริกันจะได้โฟเลตจากอาหารตามที่จำเป็น การเสริมกรดโฟลิก (folic acid fortification) เป็นการเติมกรดโฟลิกใส่แป้งประกอบอาหารเพื่อมุ่งปรับสาธารณสุขโดยเพิ่มระดับโฟเลตในประชากร ในสหรัฐอเมริกา อาหารจะเสริมด้วยกรดโฟลิก ซึ่งเป็นรูปแบบธรรมชาติอย่างหนึ่งของโฟเลต แม้จะเป็นแบบที่อาหารธรรมชาติให้เป็นส่วนน้อย ตั้งแต่ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการได้กรดโฟลิกไม่พอและภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกในครรภ์ รัฐบาลและองค์กรสาธารณสุขทั่วโลกได้แนะนำให้หญิงที่จะมีครรภ์เสริมกรดโฟลิก แต่ว่าการเสริมแหล่งอาหารโดยตรงสร้างความขัดแย้ง โดยเป็นประเด็นเสรีภาพของบุคคล และความกังวลในเรื่องความเป็นพิษดังที่กล่าวมาในส่วนก่อน ๆ ในสหรัฐอเมริกา มีความกังวลว่า แม้รัฐบาลกลางจะบังคับให้เสริมอาหาร แต่ก็ไม่ได้คอยตรวจตราว่ามีผลที่ไม่ต้องการด้วยหรือไม่ ประเทศ 76 ประเทศทั่วโลกบังคับให้เสริมกรดโฟลิกในแหล่งอาหารอย่างน้อยคือข้าวสำคัญชนิดหนึ่ง โดยเกือบทั้งหมดเป็นการเสริมแป้งข้าวสาลี ตามข้อมูลเดือนพฤศจิกายน 2556 ประเทศรวมทั้ง แอนติกาและบาร์บูดา, อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, บาฮามาส, บาห์เรน, บาร์เบโดส, เบลีซ, เบนิน, โบลิเวีย, บราซิล, บูร์กินาฟาโซ, แคเมอรูน, แคนาดา, ชิลี, โคลอมเบีย, คอสตาริกา, โกตดิวัวร์, คิวบา, ดอมินีกา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอกวาดอร์, อียิปต์, เอลซัลวาดอร์, ฟิจิ, กานา, เกรเนดา, กัวเตมาลา, กินี, กายอานา, เฮติ, ฮอนดูรัส, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิรัก, จาเมกา, จอร์แดน, คาซัคสถาน, เคนยา, คอซอวอ, คูเวต, คีร์กีซสถาน, ไลบีเรีย, มาลี, มอริเตเนีย, เม็กซิโก, โมร็อกโก, เนปาล, นิการากัว, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, โอมาน, ปาเลสไตน์, ปานามา, ปาปัวนิวกินี, ปารากวัย, เปรู, มอลโดวา, รวันดา, เซนต์คิตส์และเนวิส, เซนต์ลูเซีย, เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์, ซาอุดีอาระเบีย, เซเนกัล, เซียร์ราลีโอน, หมู่เกาะโซโลมอน, แอฟริกาใต้, ซูรินาม, แทนซาเนีย, โตโก, ตรินิแดดและโตเบโก, เติร์กเมนิสถาน, ยูกันดา, สหรัฐอเมริกา, อุรุกวัย, อุซเบกิสถาน, และเยเมน โดยเดือนพฤศจิกายน 2556 ยังไม่มีประเทศใดในสหภาพยุโรปที่บังคับให้เสริมกรดโฟลิก มีข้อขัดแย้งในออสเตรเลียว่าควรจะใส่กรดโฟลิกลงในผลิตภัณฑ์เช่นขนมปังหรือแป้งทำอาหารหรือไม่ ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ความจริงได้ตกลงร่วมกันเสริมอาหารผ่านการควบคุมขององค์กรมาตรฐานอาหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Food Standards Australia New Zealand) ออสเตรเลียได้เสริมแป้งทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2552 แม้ว่า มาตรฐานจะเป็นสำหรับทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แต่รัฐบาลออสเตรเลียก็ได้กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับนิวซีแลนด์ว่าจะใช้มาตรฐานนี้หรือไม่ มาตรฐานบังคับให้เสริมโฟเลต 0.135 มก. ต่อขนมปัง 100 ก. ในปี 2546 กลุ่มวิจัยของโรงพยาบาลเด็กแห่งมหาวิทยาลัยโทรอนโตได้พิมพ์งานศึกษาที่แสดงว่า การเสริมกรดโฟเลตในแป้งในประเทศแคนาดามีผลลดการเกิดนิวโรบลาสโตมาอย่างน่าทึ่ง ซึ่งเป็นมะเร็งที่อันตรายมากในเด็กเล็ก ๆ ในปี 2552 มีหลักฐานจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์เพิ่ม ที่แสดงการลดความชุกกำเนิดของทารกที่มีสภาวะวิรูปของหัวใจรุนแรงแต่กำเนิดโดย 6.2% กรดโฟลิกที่ใช้เสริมอาหารเป็นรูปแบบสังเคราะห์ที่เรียกว่า pteroylmonoglutamate ซึ่งอยู่ในภาวะออกซิไดซ์ และมีการจับคู่ (conjugation) กับกลูตาเมตเดี่ยว ๆ ดังนั้นกรดนี้จึงดูดซึมเข้าร่างกายผ่านระบบที่ต่างจากโฟเลตที่มีในธรรมชาติ ซึ่งอาจมีผลต่างต่อโปรตีนยึดโฟเลตและตัวขนส่ง (transporter) กรดโฟลิกดูดซึมได้ดีกว่าโฟเลตตามธรรมชาติโดยดูดซึมผ่านลำไส้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงสำคัญที่จะพิจารณา Dietary Folate Equivalent (DFE) เมื่อคำนวณโฟเลตที่ได้ คือ โฟเลตตามธรรมชาติ 1 µg เท่ากับ 1 DFE แต่เพียงแค่ 0.6 µg ของกรดโฟลิกก็เท่ากับ 1 DFE แล้ว การเสริมโฟลิกในอาหารเริ่มบังคับใช้ในแคนาดาในปี 2541 โดยเสริมกรดโฟลิก 150 µg ต่อแป้งเสริมและข้าวที่ยังไม่หุง 100 ก. โดยมุ่งลดความเสี่ยงภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในเด็กเกิดใหม่ การเสริมข้าวเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเป็นอาหารที่ทานอย่างกว้างขวาง และตัว neural tube ก็เกิดพัฒนาการภายใน 4 อาทิตย์แรกในครรภ์ บ่อยครั้งก่อนที่มารดาจะรู้ว่าตนตั้งครรภ์ แคนาดาประสบผลสำเร็จลด NTDs โดย 19% ตั้งแต่เริ่มโปรแกรม งานศึกษา 7 จังหวัดในระหว่างปี 2536-2545 แสดงการลดอัตราทั่วไปของ NTDs 46% หลังจากที่เริ่มโปรแกรม ตอนแรกประเมินว่า โปรแกรมจะเพิ่มการทานกรดโฟลิกของแต่ละคนที่ 70-130 µg ต่อวัน แต่ปรากฏว่าปริมาณเพิ่มจริง ๆ เกือบสองเท่าที่ประเมิน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าอาหารโดยมากเสริมเกิน 160-175% ของค่าที่คาดหวัง นอกจากนั้นแล้ว คนสูงอายุยังทานวิตามินเสริมที่เพิ่มกรดโฟลิกอีก 400 µg ต่อวัน ทำให้กังวลว่า ประมาณ 70-80% ของประชากรมีโฟเลตในเลือดที่ไม่มีเมแทบอลิซึมในระดับที่ตรวจเจอได้ และการได้ขนาดสูงอาจเร่งการเจริญเติบโตของ preneoplastic lesions (รอยโรคก่อนที่จะกลายเป็นเนื้องอก) ยังไม่ชัดเจนว่า การเสริมกรดโฟลิกขนาดไหนอาจจะเป็นโทษ ตามการสำรวจของประเทศแคนาดา หญิง 58% บอกว่าตนเริ่มใช้วิตามินรวม/ที่มีกรดโฟลิก หรือเสริมกรดโฟลิกอาจล่วงหน้าการมีครรภ์ถึง 3 เดือน หญิงที่มีรายได้สูงกว่า และมีการศึกษามากกว่า จะเสริมกรดโฟลิกมากกว่าก่อนตั้งครรภ์ หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์และอายุเกิน 25 ปีมีโอกาสเสริมกรดโฟลิกสูงกว่า องค์กรสาธารณสุขของแคนาดามุ่งโปรโหมตความสำนึกถึงความสำคัญของการเสริมกรดโฟลิกสำหรับหญิงทั้งหมดในช่วงอายุที่มีลูกได้ และมุ่งลดความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม-เศรษฐกิจโดยแจกกรดโฟลิกแก่หญิงกลุ่มที่เสี่ยง นิวซีแลนด์ตอนแรกวางแผนที่จะเสริมขนมปัง (ยกเว้นแบบอินทรีย์หรือแบบไม่ใส่ผงฟู) เริ่มตั้งแต่ 18 กันยายน 2552 แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นรอดูงานวิจัยเพิ่มขึ้น โดยมีสมาคมคนทำขนมปัง (Association of Bakers) และพรรคเขียว (Green Party) ที่ค้านการบังคับให้เสริม โดยเรียกว่าเป็นการบังคับให้ยากับคนเป็นจำนวนมาก ต่อมารัฐมนตรีความปลอดภัยอาหารได้ทบทวนการตัดสินที่จะเสริมในเดือนกรกฎาคม 2552 แล้วอ้างว่า การทานโฟเลตเกินสัมพันธ์กับมะเร็ง ดังนั้น รัฐบาลนิวซีแลนด์ก็ยังทบทวนอยู่ว่าจะบังคับให้เสริมกรดโฟลิกในขนมปังหรือไม่ มีข้อขัดแย้งกันมาก่อนในสหราชอาณาจักรถึงการเสริมกรดโฟลิกลงในผลิตภัณฑ์เช่นขนมปังหรือแป้งทำอาหาร ในขณะที่องค์กรมาตรฐานอาหารของรัฐแนะนำให้เสริมกรดโฟลิก และแป้งข้าวสาลีจริง ๆ ก็เสริมเหล็กอยู่แล้ว แต่การเสริมกรดโฟลิกในประเทศสามารถทำโดยอาสาและไม่ได้บังคับ องค์กรสาธารณสุขของรัฐบาลกลางสหรัฐ (USPHS) แนะนำให้หญิงเพิ่งตั้งครรภ์เสริมกรดโฟลิกเพิ่ม 0.4 มก. / วัน ซึ่งสามารถทานเป็นยาเสริม แต่ว่า นักวิจัยจำนวนมากเชื่อว่าวิธีนี้ไม่ได้ผลดีพอ เพราะว่า การตั้งครรภ์ครึ่งหนึ่งในประเทศไม่ได้วางแผน และหญิงทุกคนไม่ได้ทำตามที่แนะนำ ประชากรประมาณ 53% ทานวิตามินเสริม ในขณะที่ 35% ทานวิตามินเสริมที่มีกรดโฟลิก ชายบริโภคโฟเลตมากกว่าหญิง (เทียบโดย DFE) คนผิวขาวที่ไม่ใช่เชื้อสายละตินอเมริกันทานโฟเลตมากกว่าคนเม็กซิกันอเมริกันและคนผิวดำที่ไม่ใช่เชื้อสายละตินอเมริกัน หญิงผิวดำ 29% ทานโฟเลตไม่เพียงพอ กลุ่มอายุที่ทานโฟเลตและกรดโฟลิกมากที่สุดก็คือคนอายุมากกว่า 50 ปี 5% ทานเกินระดับสูงสุดที่แนะนำ ในปี 2539 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) บังคับให้เสริมกรดโฟลิกในขนมปัง ธัญพืช แป้งทำอาหาร อาหารที่ทำจากข้าวโพด พาสตา และข้าว ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 และมุ่งลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ต่อเด็กในครรภ์โดยเฉพาะ โดยมีความกังวลบ้างว่า ขนาดที่เสริมยังอาจไม่พอ โดยเป็นผลของโปรแกรมการเสริมอาหาร อาหารเสริมได้กลายมาเป็นแหล่งกรดโฟลิกที่สำคัญในอาหารคนอเมริกัน ศูนย์ป้องกันโรค (CDC) ใช้ข้อมูลสภาพวิรูปแต่กำเนิดจากบันทึก 23 แห่งที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของสหรัฐ แล้วประมาณค่านอกช่วงโดยถือนัยเอาทั้งประเทศ ข้อมูลบ่งว่า ตั้งแต่เสริมกรดโฟลิกในธัญพืชดังที่บังคับโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) อัตรา NTDs ได้ลดลง 25% ในสหรัฐอเมริกา ก่อนโปรแกรมการเสริม มีการตั้งครรภ์ 4,100 รายที่มีผลจาก NTDs แต่ละปีในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เริ่มโปรแกรม จำนวนได้ลดลงเป็น 3,000 รายต่อปี ผลของโปรแกรมการเสริมอาหารต่ออัตรา NTDs ในประเทศแคนาดาก็มีผลดีเช่นกัน โดยแสดงการลดความชุกโดย 46% ผลลดที่เห็นเป็นไปตามอัตรา NTDs ที่มีก่อนโปรแกรม คือโปรแกรมได้กำจัดค่าแปรผันระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ ของ NTDs ในแคนาดาก่อนโปรแกรม เมื่อองค์การอาหารและยาสหรัฐบังคับให้เสริมกรดโฟลิกในปี 2539 ค่าประเมินการทานกรดโฟลิกเพิ่มอยู่ที่ 100 µg/วัน แต่ข้อมูลจากงานศึกษาที่มีผู้เข้าร่วม 1,480 รายแสดงว่า กรดที่ทานจริง ๆ เพิ่มขึ้น 190 µg/วัน และระดับ DFE เพิ่มขึ้นเป็น 323 µg / วัน ส่วนการทานโฟลิกเกินระดับสูงสุดที่แนะนำ (คือ กรดโฟลิก 1,000 µg / วัน) เกิดเฉพาะในบุคคลที่ทานทั้งยาเสริมกรดโฟลิกและอาหารที่เสริม ดังนั้นโดยรวม ๆ แล้ว โปรแกรมการเสริมกรดโฟลิกได้เพิ่มการทานกรดโฟลิกมากกว่าที่คาดไว้ "Folic Acid". The PubChem Project.  Fenech, Michael (2012-05). "Folate (vitamin B9) and vitamin B12 and their function in the maintenance of nuclear and mitochondrial genome integrity". Mutation Research/Fundamental and Molecular Mechanisms of Mutagenesis 733 (1-2): 21–33. PMID 22093367. doi:10.1016/j.mrfmmm.2011.11.003.  Check date values in: |date= (help) "Definition of vitamin Bc". Medical-dictionary.thefreedictionary.com. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.  Darby, William J.; Jones, Edgar (1945-11-01). "Treatment of Sprue with Synthetic L. casei Factor (Folic Acid, Vitamin M).". Experimental Biology and Medicine 60 (2): 259–262. doi:10.3181/00379727-60-15154P. สืบค้นเมื่อ 2014-12-013.  Check date values in: |accessdate= (help) "Folic Acid". Drugs.com. American Society of Health-System Pharmacists. 2010-01-01. สืบค้นเมื่อ 2016-09-01.  Bailey, Lynn B. (2009). Folate in Health and Disease, Second Edition (ใน English). CRC Press. p. 198. ISBN 9781420071252.  Obeid, R; Herrmann, W (2012-10). "The emerging role of unmetabolized folic acid in human diseases: myth or reality?". Current drug metabolism 13 (8): 1184–95. PMID 22746304.  Check date values in: |date= (help) Li, Y; Huang, T; Zheng, Y; Muka, T; Troup, J; Hu, FB (2016). "Folic Acid Supplementation and the Risk of Cardiovascular Diseases: A Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials". J Am Heart Assoc 5 (8). PMID 27528407. doi:10.1161/JAHA.116.003768.  "Dietary supplement fact sheet: Folate". Health Information. Office of Dietary Supplements, US National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2016-09-01.  Pommerville, Glendale Community College Jeffrey C. (2009). Alcamo's Fundamentals of Microbiology: Body Systems (ใน English). Jones & Bartlett Publishers. p. 511. ISBN 9780763787127.  Marino, Bradley S.; Fine, Katie Snead (2009). Blueprints Pediatrics (ใน English). Lippincott Williams & Wilkins. p. 131. ISBN 9780781782517.  Pond, Wilson G.; Nichols, Buford L.; Brown, Dan L. (2009). Adequate Food for All: Culture, Science, and Technology of Food in the 21st Century (ใน English). CRC Press. p. 148. ISBN 9781420077544.  "WHO Model List of Essential Medicines". World Health Organization. 2013-10. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.  Check date values in: |date= (help) "Folic Acid". International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 2016-09-01.  Chambers Concise Dictionary (ใน English). Allied Publishers. 2004. p. 451. ISBN 979-8186-06236-3.  "Folic Acid". qmul.ac.uk.  Fenech, Michael (2012-05). "Folate (vitamin B9) and vitamin B12 and their function in the maintenance of nuclear and mitochondrial genome integrity". Mutation Research/Fundamental and Molecular Mechanisms of Mutagenesis 733 (1-2): 21–33. PMID 22093367. doi:10.1016/j.mrfmmm.2011.11.003.  Check date values in: |date= (help) "Definition of vitamin Bc". Medical-dictionary.thefreedictionary.com. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.  Wilson, RD; Wilson, RD; Audibert, F; Brock, JA; Carroll, J; Cartier, L; Gagnon, A; Johnson, JA; Langlois, S; Murphy-Kaulbeck, L; Okun, N; Pastuck, M; Deb-Rinker, P; Dodds, L; Leon, JA; Lowel, HL; Luo, W; MacFarlane, A; McMillan, R; Moore, A; Mundle, W; O'Connor, D; Ray, J; Van den Hof, M (2015). "Pre-conception Folic Acid and Multivitamin Supplementation for the Primary and Secondary Prevention of Neural Tube Defects and Other Folic Acid-Sensitive Congenital Anomalies". J Obstet Gynaecol Can 37 (6): 534–52. PMID 26334606. doi:10.1016/s1701-2163(15)30230-9.  Yajnik, CS; Deshmukh, US (2008-09). "Maternal nutrition, intrauterine programming and consequential risks in the offspring". Rev Endocr Metab Disord 9 (3): 203–11. PMID 18661241. doi:10.1007/s11154-008-9087-z.  Check date values in: |date= (help) Crider, KS; Cordero, AM; Qi, YP; Mulinare, J; Dowling, NF; Berry, RJ (2013). "Prenatal folic acid and risk of asthma in children: a systematic review and meta-analysis". Am. J. Clin. Nutr. 98 (5): 1272–81. PMID 24004895. doi:10.3945/ajcn.113.065623.  Ebisch, IM; Thomas, CM; Peters, WH; Braat, DD; Steegers-Theunissen, RP (2007). "The importance of folate, zinc and antioxidants in the pathogenesis and prevention of subfertility". Hum. Reprod. Update 13 (2): 163–74. PMID 17099205. doi:10.1093/humupd/dml054.  Altmäe, S; Stavreus-Evers, A; Ruiz, JR; etal (2010-06). "Variations in folate pathway genes are associated with unexplained female infertility". Fertil. Steril. 94 (1): 130–7. PMID 19324355. doi:10.1016/j.fertnstert.2009.02.025.  Check date values in: |date= (help) Bazzano, LA (2011-08). "No effect of folic acid supplementation on cardiovascular events, cancer or mortality after 5 years in people at increased cardiovascular risk, although homocysteine levels are reduced". Evid Based Med 16 (4): 117–8. PMID 21402567. doi:10.1136/ebm1204.  Check date values in: |date= (help) Bazzano, LA (2009-07). "Folic acid supplementation and cardiovascular disease: the state of the art". Am. J. Med. Sci. 338 (1): 48–9. PMID 19593104. doi:10.1097/MAJ.0b013e3181aaefd6.  Check date values in: |date= (help) "Folic acid 'reduces stroke risks'". BBC News (London). 2007-05-31.  Terwecoren, A; Steen, E; Benoit, D; Boon, P; Hemelsoet, D (2009-09). "Ischemic stroke and hyperhomocysteinemia: truth or myth?". Acta Neurol Belg 109 (3): 181–8. PMID 19902811.  Check date values in: |date= (help) Wien, TN; Pike, E; Wisløff, T; Staff, A; Smeland, S; Klemp, M (2012). "Cancer risk with folic acid supplements: a systematic review and meta-analysis". BMJ Open 2 (1): e000653. PMC 3278486. PMID 22240654. doi:10.1136/bmjopen-2011-000653.  Wang, R; Zheng, Y; Huang, JY; Zhang, AQ; Zhou, YH; Wang, JN (2014-12-029). "Folate intake, serum folate levels, and prostate cancer risk: a meta-analysis of prospective studies.". BMC Public Health 14 (1): 1326. PMID 25543518. doi:10.1186/1471-2458-14-1326.  Check date values in: |date= (help) Weinstein, SJ; Hartman, TJ; Stolzenberg-Solomon, R; etal (2003-11). "Null association between prostate cancer and serum folate, vitamin B(6), vitamin B(12), and homocysteine". Cancer Epidemiol. Biomarkers Prev. 12 (11 Pt 1): 1271–2. PMID 14652294.  Check date values in: |date= (help) "Folic Acid". cancer.org.  Kamen, B (1997-10). "Folate and antifolate pharmacology". Semin. Oncol. 24 (5 Suppl 18): S18–30–S18–39. PMID 9420019.  Check date values in: |date= (help) Rubio, IT; Cao, Y; Hutchins, LF; Westbrook, KC; Klimberg, VS (1998-05). "Effect of glutamine on methotrexate efficacy and toxicity". Ann. Surg. 227 (5): 772–8; discussion 778–80. PMC 1191365. PMID 9605669. doi:10.1097/00000658-199805000-00018.  Check date values in: |date= (help) Wolff, JE; Hauch, H; Kuhl, J; Egeler, RM; Jurgens, H (1998). "Dexamethasone increases hepatotoxicity of MTX in children with brain tumors". Anticancer Research 18 (4B): 2895–9. PMID 9713483.  Kepka, L; De Lassence, A; Ribrag, V; etal (1998-03). "Successful rescue in a patient with high dose methotrexate-induced nephrotoxicity and acute renal failure". Leuk. Lymphoma 29 (1-2): 205–9. PMID 9638991. doi:10.3109/10428199809058397.  Check date values in: |date= (help) Branda, RF; Nigels, E; Lafayette, AR; Hacker, M (1998). "Nutritional folate status influences the efficacy and toxicity of chemotherapy in rats". Blood 92 (7): 2471–6. PMID 9746787.  Shiroky, JB; Frcp (c) (1997-11). "The use of folates concomitantly with low-dose pulse methotrexate". Rheum. Dis. Clin. North Am. 23 (4): 969–80. PMID 9361164. doi:10.1016/S0889-857X(05)70369-0.  Check date values in: |date= (help) Keshava, C; Keshava, N; Whong, WZ; Nath, J; Ong, TM (1998-02). "Inhibition of methotrexate-induced chromosomal damage by folinic acid in V79 cells". Mutat. Res. 397 (2): 221–8. PMID 9541646. doi:10.1016/S0027-5107(97)00216-9.  Check date values in: |date= (help) Coppen, A; Bolander-Gouaille, C (2005-01). "Treatment of depression: time to consider folic acid and vitamin B12". J. Psychopharmacol. (Oxford) 19 (1): 59–65. PMID 15671130. doi:10.1177/0269881105048899.  Check date values in: |date= (help) Taylor, MJ; Carney, SM; Goodwin, GM; Geddes, JR (2004-06). "Folate for depressive disorders: systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials". J. Psychopharmacol. (Oxford) 18 (2): 251–6. PMID 15260915. doi:10.1177/0269881104042630.  Check date values in: |date= (help) Gilbody, S; Lewis, S; Lightfoot, T (2007-01). "Methylenetetrahydrofolate reductase (MTHFR) genetic polymorphisms and psychiatric disorders: a HuGE review". Am. J. Epidemiol. 165 (1): 1–13. PMID 17074966. doi:10.1093/aje/kwj347.  Check date values in: |date= (help) Gilbody, S; Lightfoot, T; Sheldon, T (2007-07). "Is low folate a risk factor for depression? A meta-analysis and exploration of heterogeneity". J Epidemiol Community Health 61 (7): 631–7. PMC 2465760. PMID 17568057. doi:10.1136/jech.2006.050385.  Check date values in: |date= (help) Gaweesh, S; Ewies, AA (2010-02). "Folic acid supplementation cures hot flushes in postmenopausal women". Med. Hypotheses 74 (2): 286–8. PMID 19796883. doi:10.1016/j.mehy.2009.09.010.  Check date values in: |date= (help) García-Miss, Mdel R; Pérez-Mutul, J; López-Canul, B; etal (2010-05). "Folate, homocysteine, interleukin-6, and tumor necrosis factor alfa levels, but not the methylenetetrahydrofolate reductase C677T polymorphism, are risk factors for schizophrenia". J Psychiatr Res 44 (7): 441–6. PMID 19939410. doi:10.1016/j.jpsychires.2009.10.011.  Check date values in: |date= (help) Krebs, MO; Bellon, A; Mainguy, G; Jay, TM; Frieling, H (2009-12). "One-carbon metabolism and schizophrenia: current challenges and future directions". Trends Mol Med 15 (12): 562–70. PMID 19896901. doi:10.1016/j.molmed.2009.10.001.  Check date values in: |date= (help) Christen, WG; Glynn, RJ; Chew, EY; Albert, CM; Manson, JE (2009-02). "Folic acid, pyridoxine, and cyanocobalamin combination treatment and age-related macular degeneration in women: the Women's Antioxidant and Folic Acid Cardiovascular Study". Arch. Intern. Med. 169 (4): 335–41. PMC 2648137. PMID 19237716. doi:10.1001/archinternmed.2008.574.  Check date values in: |date= (help) Vreugdenhil, G; Wognum, AW; van Eijk, HG; Swaak, AJ (1990-02). "Anaemia in rheumatoid arthritis: the role of iron, vitamin B12, and folic acid deficiency, and erythropoietin responsiveness". Ann. Rheum. Dis. 49 (2): 93–8. PMC 1003985. PMID 2317122. doi:10.1136/ard.49.2.93.  Check date values in: |date= (help) Reynolds, E (2006-11). "Vitamin B12, folic acid, and the nervous system". Lancet Neurol 5 (11): 949–60. PMID 17052662. doi:10.1016/S1474-4422(06)70598-1.  Check date values in: |date= (help) Allen, RH; Stabler, SP; Savage, DG; Lindenbaum, J (1990-06). "Diagnosis of cobalamin deficiency I: usefulness of serum methylmalonic acid and total homocysteine concentrations". Am. J. Hematol. 34 (2): 90–8. PMID 2339683. doi:10.1002/ajh.2830340204.  Check date values in: |date= (help) Hathcock, JN (1997-08). "Vitamins and minerals: efficacy and safety". Am. J. Clin. Nutr. 66 (2): 427–37. PMID 9250127.  Check date values in: |date= (help) FAO; WHO (2002), "ch. 4, Folate and Folic Acid", Human Vitamin and Mineral Requirements  Smith, AD (2007-01). "Folic acid fortification: the good, the bad, and the puzzle of vitamin B-12". Am. J. Clin. Nutr. 85 (1): 3–5. PMID 17209170.  Check date values in: |date= (help) "Folate deficiency: MedlinePlus Medical Encyclopedia". www.nlm.nih.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-11-16.  Diaz, V. H. US Patent 20080020071, Jan 24, 2008. http://www.merck.com Lohner, Szimonetta; Fekete, Katalin; Berti, Cristiana; Hermoso, Maria; Cetin, Irene; Koletzko, Berthold; Decsi, Tamás (2012). "Effect of folate supplementation on folate status and health outcomes in infants, children and adolescents: A systematic review". International Journal of Food Sciences and Nutrition 63 (8): 1014–20. PMID 22574624. doi:10.3109/09637486.2012.683779.  Malterre, T (2009-09). "Digestive and nutritional considerations in celiac disease: could supplementation help?". Altern Med Rev 14 (3): 247–57. PMID 19803549.  Check date values in: |date= (help) Varela-Moreiras, G; Murphy, MM; Scott, JM (2009-05). "Cobalamin, folic acid, and homocysteine". Nutr. Rev. 67 Suppl 1: S69–72. PMID 19453682. doi:10.1111/j.1753-4887.2009.00163.x.  Check date values in: |date= (help) Pasricha, S; Shet, A; Sachdev, HP; Shet, AS (2009-10). "Risks of routine iron and folic acid supplementation for young children". Indian Pediatr 46 (10): 857–66. PMID 19887691.  Check date values in: |date= (help) "Dietary Supplement Fact Sheet: Folate". National Institutes of Health.  "Dietary Reference Intakes for Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B12, Pantothenic Acid, Biotin, and Choline" (PDF). National Academy Press. 2001. pp. 196–305.  Tolerable Upper Intake Levels For Vitamins And Minerals, European Food Safety Authority, 2006  Owens, Janel E.; Clifford, Andrew J.; Bamforth, Charles W. (2007). "Folate in Beer". Journal of the Institute of Brewing 113 (3): 243–248. ISSN 0046-9750. doi:10.1002/j.2050-0416.2007.tb00283.x.  "USDA Nutrient Database (Table)". United States Department of Agriculture. สืบค้นเมื่อ 2014-08-14.  Dietrich, M; Brown, CJ; Block, G (2005). "The effect of folate fortification of cereal-grain products on blood folate status, dietary folate intake, and dietary folate sources among adult non-supplement users in the United States". J Am Coll Nutr 24 (4): 266–274. PMID 16093404. doi:10.1080/07315724.2005.10719474.  Suitor, CW; Bailey, LB (2000). "Dietary folate equivalents: interpretation and application". J Am Diet Assoc 100 (1): 88–94. PMID 10646010. doi:10.1016/S0002-8223(00)00027-4.  "Effects of Cooking on Vitamins (Table)". Beyondveg.com. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.  Cabanillas, M; Moya Chimenti, E; González Candela, C; Loria Kohen, V; Dassen, C; Lajo, T. (2009). "Usefulness of meal replacement: analysis of the principal meal replacement products commercialised in Spain". Nutr Hosp. 24 (5): 535–42. PMID 19893863.  Lanska, DJ. (2009). "Chapter 30 Historical aspects of the major neurological vitamin deficiency disorders: the water-soluble B vitamins". Handb Clin Neurol. Handbook of Clinical Neurology 95: 445–76. ISBN 978-0-444-52009-8. PMID 19892133. doi:10.1016/S0072-9752(08)02130-1.  Mitchell, HK; Snell, EE; Williams, RJ (1941). "The concentration of "folic acid"". J Am Chem Soc. 63 (8): 2284. doi:10.1021/ja01853a512.  Hoffbrand, AV; Weir, DG (2001-06). "The history of folic acid". Br. J. Haematol. 113 (3): 579–89. PMID 11380441. doi:10.1046/j.1365-2141.2001.02822.x.  Check date values in: |date= (help) Angier, RB; Boothe, JH; Hutchings, BL; etal (1945-08). "Synthesis of a Compound Identical with the L. Casei Factor Isolated from Liver". Science 102 (2644): 227–8. Bibcode:1945Sci...102..227A. PMID 17778509. doi:10.1126/science.102.2644.227.  Check date values in: |date= (help) Figueiredo, JC; Grau, MV; Haile, RW; etal (2009-03). "Folic acid and risk of prostate cancer: results from a randomized clinical trial". J. Natl. Cancer Inst. 101 (6): 432–5. PMC 2657096. PMID 19276452. doi:10.1093/jnci/djp019.  Check date values in: |date= (help) Smith, C; Lieberman, M; Marks, DB; Marks, AD (2007). Marks' essential medical biochemistry. Hagerstwon, MD: Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 0-7817-9340-8. [ต้องการหน้า] Zittoun, J (1993). "Anemias due to disorder of folate, vitamin B12 and transcobalamin metabolism". La Revue du praticien (ใน French) 43 (11): 1358–63. PMID 8235383.  "Folate and Your Health - HealthLinkBC File #68g". Healthlinkbc.ca. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.  Goh, YI; Koren, G (2008-01). "Folic acid in pregnancy and fetal outcomes". J Obstet Gynaecol 28 (1): 3–13. PMID 18259891. doi:10.1080/01443610701814195.  Check date values in: |date= (help) "EC 1.5.1.3". Us.expasy.org. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.  Benkovic, SJ; Hammes-Schiffer, S (2003-08). "A perspective on enzyme catalysis". Science 301 (5637): 1196–202. Bibcode:2003Sci...301.1196B. PMID 12947189. doi:10.1126/science.1085515.  Check date values in: |date= (help) Bailey, SW; Ayling, JE (2009-09). "The extremely slow and variable activity of dihydrofolate reductase in human liver and its implications for high folic acid intake". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America 106 (36): 15424–9. Bibcode:2009PNAS..10615424B. PMC 2730961. PMID 19706381. doi:10.1073/pnas.0902072106.  Check date values in: |date= (help) Alaimo, K; McDowell, MA; Briefel, RR; Bischof, AM; Caughman, CR; Loria, CM; Johnson, CL (1994). "Dietary intake of vitamins, minerals, and fiber of persons ages 2 months and over in the United States: Third National Health and Nutrition Examination Survey, Phase 1, 1988-91". Advance Data from Vital and Health Statistics (258): 1–28. PMID 10138938.  Raiten, DJ; Fisher, KD (1995). "Assessment of folate methodology used in the Third National Health and Nutrition Examination Survey (NHANES III, 1988-1994)". The Journal of Nutrition 125 (5): 1371S–1398S. PMID 7738698.  Lewis, CJ; Crane, NT; Wilson, DB; Yetley, EA (1999-08). "Estimated folate intakes: data updated to reflect food fortification, increased bioavailability, and dietary supplement use". Am. J. Clin. Nutr. 70 (2): 198–207. PMID 10426695.  Check date values in: |date= (help) "Global Progress". Flour Fortification Initiative website. Flour Fortification Initiative. 2013-11.  Check date values in: |date= (help); Missing or empty |url= (help) "Bread fortification 'not justified'". The Sydney Morning Herald. 2006-07-29.  NZPA (2007-06-22). "Bread to be fortified with folic acid". NZ Herald. สืบค้นเมื่อ 2009-07-13.  "Bread additive call 'up to NZ'". สืบค้นเมื่อ 2009-07-15.  French, AE; Grant, R; Weitzman, S; etal (2003-09). "Folic acid food fortification is associated with a decline in neuroblastoma". Clin. Pharmacol. Ther. 74 (3): 288–94. PMID 12966372. doi:10.1016/S0009-9236(03)00200-5.  Check date values in: |date= (help) Ionescu-Ittu, R; Marelli, AJ; Mackie, AS; Pilote, L (2009). "Prevalence of severe congenital heart disease after folic acid fortification of grain products: time trend analysis in Quebec, Canada". BMJ 338: b1673. PMC 2682153. PMID 19436079. doi:10.1136/bmj.b1673.  Smith, AD; Kim, YI; Refsum, H (2008-03). "Is folic acid good for everyone?". Am. J. Clin. Nutr. 87 (3): 517–33. PMID 18326588.  Check date values in: |date= (help) Ulrich, CM; Potter, JD (2006-02). "Folate supplementation: too much of a good thing?". Cancer Epidemiol. Biomarkers Prev. 15 (2): 189–93. PMID 16492904. doi:10.1158/1055-9965.EPI-152CO.  Check date values in: |date= (help) Mason, JB; Dickstein, A; Jacques, PF; etal (2007-07). "A temporal association between folic acid fortification and an increase in colorectal cancer rates may be illuminating important biological principles: a hypothesis". Cancer Epidemiol. Biomarkers Prev. 16 (7): 1325–9. PMID 17626997. doi:10.1158/1055-9965.EPI-07-0329.  Check date values in: |date= (help) Quinlivan, EP; Gregory, JF (2003-01). "Effect of food fortification on folic acid intake in the United States". Am. J. Clin. Nutr. 77 (1): 221–5. PMID 12499345.  Check date values in: |date= (help) "Welcome to the Health Canada Web site". Hc-sc.gc.ca. สืบค้นเมื่อ 2012-09-09.  Chustecka, Z. (2009). Folic-acid fortification of flour and increased rates of colon cancer. สืบค้นเมื่อ 2009-11-09.  "Work Starts on Wilkinson’s Mass Medication Plan" (Press release). Association Of Bakers. 2009-07-08. สืบค้นเมื่อ 2009-07-13.  "NZ should push pause on folic fortification" (Press release). Green Party. 2009-07-09. สืบค้นเมื่อ 2009-07-13.  NZPA (2009-07-08). "Bakers, Govt battle over folic acid". NZ Herald. สืบค้นเมื่อ 2009-07-13.  "Govt reviewing folic acid policy". Stuff. สืบค้นเมื่อ 2009-07-15.  "Put folic acid in bread". BBC. 2000-01-13.  FSA (2007-05-17). "Board recommends mandatory fortification". สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.  "Backing for folic acid in bread". BBC News. 2007-05-17. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.  "Experts back folic acid in flour". BBC. 2007-05-11.  Bailey, RL; Dodd, KW; Gahche, JJ; etal (2010-01). "Total folate and folic acid intake from foods and dietary supplements in the United States: 2003-2006". Am. J. Clin. Nutr. 91 (1): 231–7. PMC 2793110. PMID 19923379. doi:10.3945/ajcn.2009.28427.  Check date values in: |date= (help) Malinow, MR; Duell, PB; Hess, DL; etal (1998-04). "Reduction of plasma homocyst (e) ine levels by breakfast cereal fortified with folic acid in patients with coronary heart disease". N. Engl. J. Med. 338 (15): 1009–15. PMID 9535664. doi:10.1056/NEJM199804093381501.  Check date values in: |date= (help) Daly, S; Mills, JL; Molloy, AM; etal (1997-12). "Minimum effective dose of folic acid for food fortification to prevent neural-tube defects". Lancet 350 (9092): 1666–9. PMID 9400511. doi:10.1016/S0140-6736(97)07247-4.  Check date values in: |date= (help) Crandall, BF; Corson, VL; Evans, MI; Goldberg, JD; Knight, G; Salafsky, IS (1998-07). "American College of Medical Genetics statement on folic acid: fortification and supplementation". Am. J. Med. Genet. 78 (4): 381. PMID 9714444. doi:10.1002/(SICI)1096-8628(19980724)78:4<381::AID-AJMG16>3.0.CO;2-E.  Check date values in: |date= (help) "FDA muffed chance to reduce birth defects". Boston Globe. 2004-01-06.  Centers for Disease Control and Prevention (CDC) (2004-05). "Spina bifida and anencephaly before and after folic acid mandate--United States, 1995-1996 and 1999-2000". MMWR Morb. Mortal. Wkly. Rep. 53 (17): 362–5. PMID 15129193.  Check date values in: |date= (help) "Birth Defects COUNT | Folic Acid | NCBDDD | CDC". www.cdc.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-11-16.  De Wals, P; Tairou, F; Van Allen, MI; etal (2007-07). "Reduction in neural-tube defects after folic acid fortification in Canada". N. Engl. J. Med. 357 (2): 135–42. PMID 17625125. doi:10.1056/NEJMoa067103.  Check date values in: |date= (help) Choumenkovitch, SF; Selhub, J; Wilson, PW; Rader, JI; Rosenberg, IH; Jacques, PF (2002-09). "Folic acid intake from fortification in United States exceeds predictions". J. Nutr. 132 (9): 2792–8. PMID 12221247.  Check date values in: |date= (help) Biochemistry links Folate biosynthesis (early stages) Folate biosynthesis (later stages) Folate coenzymes C1 metabolism with folate Formylation, hydroxymethylation and methylation using folate โฟเลตที่จำเป็นต่อร่างกายต่อวันกำหนดโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) (µg ต่อวัน) อายุ ทารก (อย่างน้อย) ทารก (สูงสุด) ผู้ใหญ่ (แนะนำ) ผู้ใหญ่ (สูงสุด) หญิงมีครรภ์ (แนะนำ) หญิงมีครรภ์ (สูงสุด) หญิงให้นม (แนะนำ) หญิงให้นม (สูงสุด) 0-6 เดือน 65 ไม่ตั้ง - - - - - - 7-12 เดือน 80 ไม่ตั้ง - - - - - - 1-3 ขวบ - - 150 300 - - - - 4-8 ขวบ - - 200 400 - - -  - 9-13 ปี - - 300 600 - - - - 14-18 ปี - - 400 800 600 800 500 800 19+ ปี - - 400 1,000 600 1,000 500 1,000 วิตามินซีและวิตามินเอ็มดังแสดงบนป้ายหน้าศูนย์เทคโนโลยีใหม่ของมหาวิทยาลัยวอร์ซอ โครงสร้างทางเคมีของโฟเลต เมแทบอลิซึมของกรดโฟลิกเพื่อนำ homocysteine ไปใช้ใหม่โดยเปลี่ยนเป็น methionine เมแทบอลิซึมของโฟเลต ในสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์ข้าวหลายอย่างจะเสริมกรดโฟลิก กราวด์ (ไฟฟ้า) ============== กราวด์ (อังกฤษ: ground) ในด้านวิศวกรรมไฟฟ้า หมายถึงจุดๆ หนึ่งในวงจรไฟฟ้าที่ใช้เป็นจุดอ้างอิงในการวัดแรงดันไฟฟ้า หรือใช้เป็นเส้นทางกลับร่วมกันของกระแสไฟฟ้าจากหลายๆที่ หรือจุดเชื่อมต่อทางกายภาพโดยตรงกับพื้นดิน สายไฟที่ลงดิน (สายดิน) จะต้องถูกกำหนดเป็นมาตรฐานให้ใช้สีที่แน่นอนเพื่อป้องกันการใช้ที่ไม่ถูกต้อง วงจรไฟฟ้าอาจจะถูกเชื่อมต่อกับพื้นดิน (พื้นโลก) ด้วยเหตุผลหลายประการ ในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟ AC เมนส์ ชิ้นส่วนโลหะที่ผุ้ใช้สัมผัสได้จะถูกเชื่อมต่อกับพื้นดินเพื่อป้องกันผู้ใช้ไม่ให้สัมผ้สกับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นอันตรายในกรณีที่ฉนวนไฟฟ้าล้มเหลว การเชื่อมต่อกับพื้นดินจะจำกัดกระแสไฟฟ้าสถิตที่ถูกสร้างขึ้นในการรับมือกับผลิตภัณฑ์ที่ติดไฟง่าย หรืออุปกรณ์ที่มีความไวต่อไฟฟ้าสถิต ในบางวงจรโทรเลขและบางระบบส่งกำลังไฟฟ้า แผ่นดินหรือผิวโลกเองสามารถถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในตัวนำสายส่งของวงจร ซึ่งจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งตัวนำสายส่งที่เป็นสายรีเทินที่แยกต่างหากไปหนึ่งเส้น (ดูระบบสายดินกลับ(อังกฤษ: single-wire earth return)) สำหรับวัตถุประสงค์ในการวัด กราวด์ทำหน้าที่เป็นจุดที่มีค่าความดันคงที่(พอสมควร) ที่สามารถถูกใช้เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการวัดแรงดันที่จุดใดๆในวงจรได้ ระบบสายกราวด์ไฟฟ้าควรจะมีความสามารถในการเคลื่อนกระแสที่เหมาะสมในการทำหน้าที่เป็นแรงดันไฟฟ้าระดับอ้างอิงเป็นศูนย์ ในทางทฤษฎีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ "กราวด์" ในทางอุดมคติมักจะเป็นแหล่งจ่ายประจุหรือแหล่งระบายประจุที่ไม่มีที่สิ้นสุด ที่สามารถดูดซับกระแสได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันที่จุดนั้น ในขณะที่การเชื่อมต่อกับพื้นดินที่แท้จริงมักจะมีความต้านทานเกิดขึ้น ดังนั้นแรงดันของดินที่ใกล้เคียงกับศูนย์จึงไม่สามารถทำได้ แรงดันไฟฟ้ากระจัดกระจายหรือผลกระทบของแรงดันดินจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างการรบกวนในสัญญาณต่างๆ หรือถ้าผลกระทบนั้นมีขนาดใหญ่พอ การรบกวนนั้นอาจจะสร้างอันตรายจากการช็อก(อังกฤษ: shock)ไฟฟ้าได้ การใช้คำว่ากราวด์เป็นเรื่องธรรมดาในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใชัในอุปกรณ์แบบพกพาเช่นโทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นสื่อในยานพาหนะที่อาจจะพูดว่ามี"กราวด์" โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นจริงกับดินแต่อย่างใด โดยปกติจะเป็นแค่สายไฟตัวนำขนาดใหญ่ที่ต่ออยู่กับ ด้านใดด้านหนึ่งของแหล่งจ่ายไฟ (เช่น"ground plane" ในแผงวงจรพิมพ์) ซึ่งทำหน้าที่เป็น เส้นทางกลับร่วมกันสำหรับกระแสจากชิ้นส่วนต่างๆหลายจุดในวงจร กราวด์ (อังกฤษ: ground) ในด้านวิศวกรรมไฟฟ้า หมายถึงจุดๆ หนึ่งในวงจรไฟฟ้าที่ใช้เป็นจุดอ้างอิงในการวัดแรงดันไฟฟ้า หรือใช้เป็นเส้นทางกลับร่วมกันของกระแสไฟฟ้าจากหลายๆที่ หรือจุดเชื่อมต่อทางกายภาพโดยตรงกับพื้นดิน สายไฟที่ลงดิน (สายดิน) จะต้องถูกกำหนดเป็นมาตรฐานให้ใช้สีที่แน่นอนเพื่อป้องกันการใช้ที่ไม่ถูกต้อง วงจรไฟฟ้าอาจจะถูกเชื่อมต่อกับพื้นดิน (พื้นโลก) ด้วยเหตุผลหลายประการ ในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟ AC เมนส์ ชิ้นส่วนโลหะที่ผุ้ใช้สัมผัสได้จะถูกเชื่อมต่อกับพื้นดินเพื่อป้องกันผู้ใช้ไม่ให้สัมผ้สกับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นอันตรายในกรณีที่ฉนวนไฟฟ้าล้มเหลว การเชื่อมต่อกับพื้นดินจะจำกัดกระแสไฟฟ้าสถิตที่ถูกสร้างขึ้นในการรับมือกับผลิตภัณฑ์ที่ติดไฟง่าย หรืออุปกรณ์ที่มีความไวต่อไฟฟ้าสถิต ในบางวงจรโทรเลขและบางระบบส่งกำลังไฟฟ้า แผ่นดินหรือผิวโลกเองสามารถถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในตัวนำสายส่งของวงจร ซึ่งจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งตัวนำสายส่งที่เป็นสายรีเทินที่แยกต่างหากไปหนึ่งเส้น (ดูระบบสายดินกลับ(อังกฤษ: single-wire earth return)) สำหรับวัตถุประสงค์ในการวัด กราวด์ทำหน้าที่เป็นจุดที่มีค่าความดันคงที่(พอสมควร) ที่สามารถถูกใช้เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการวัดแรงดันที่จุดใดๆในวงจรได้ ระบบสายกราวด์ไฟฟ้าควรจะมีความสามารถในการเคลื่อนกระแสที่เหมาะสมในการทำหน้าที่เป็นแรงดันไฟฟ้าระดับอ้างอิงเป็นศูนย์ ในทางทฤษฎีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ "กราวด์" ในทางอุดมคติมักจะเป็นแหล่งจ่ายประจุหรือแหล่งระบายประจุที่ไม่มีที่สิ้นสุด ที่สามารถดูดซับกระแสได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันที่จุดนั้น ในขณะที่การเชื่อมต่อกับพื้นดินที่แท้จริงมักจะมีความต้านทานเกิดขึ้น ดังนั้นแรงดันของดินที่ใกล้เคียงกับศูนย์จึงไม่สามารถทำได้ แรงดันไฟฟ้ากระจัดกระจายหรือผลกระทบของแรงดันดินจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างการรบกวนในสัญญาณต่างๆ หรือถ้าผลกระทบนั้นมีขนาดใหญ่พอ การรบกวนนั้นอาจจะสร้างอันตรายจากการช็อก(อังกฤษ: shock)ไฟฟ้าได้ การใช้คำว่ากราวด์เป็นเรื่องธรรมดาในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใชัในอุปกรณ์แบบพกพาเช่นโทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นสื่อในยานพาหนะที่อาจจะพูดว่ามี"กราวด์" โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นจริงกับดินแต่อย่างใด โดยปกติจะเป็นแค่สายไฟตัวนำขนาดใหญ่ที่ต่ออยู่กับ ด้านใดด้านหนึ่งของแหล่งจ่ายไฟ (เช่น"ground plane" ในแผงวงจรพิมพ์) ซึ่งทำหน้าที่เป็น เส้นทางกลับร่วมกันสำหรับกระแสจากชิ้นส่วนต่างๆหลายจุดในวงจร ระบบโทรเลขแม่เหล็กไฟฟ้าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1820 เป็นต้นมา ใช้สายสัญญาณสองสายหรือมากกว่า เพื่อส่งสัญญาณไปและรับกลับ จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน คาร์ล เอากุสท์ ฟอน ชไตน์ไฮล์ (เยอรมัน: Carl August von Steinheil) ได้ค้นพบในปี ค.ศ. 1836–1837 ว่าพื้นดินสามารถถูกใช้เป็นเส้นทางกลับเพื่อให้ครบวงจรได้ ทำให้สายกลับเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม มีหลายปัญหากับระบบนี้ สัญญาณรบกวนถูกขยายมากขึ้นบนสายโทรเลขข้ามทวีปที่ถูกสร้างขึ้นใน ปี 1861 โดยบริษัทเวสเทิร์นยูเนียน ระหว่างเมืองเซนต์โยเซฟ รัฐมิสซูรี กับเมืองแซคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ในระหว่างสภาพอากาศแห้ง การเชื่อมต่อกับพื้นดินมักจะเกิดความต้านทานสูง ที่จำเป็นต้องมีน้ำมาเทลงบนแท่งดิน (อังกฤษ: ground rod) เพื่อให้โทรเลขหรือโทรศัพท์ใช้งานได้ ต่อมาเมื่อโทรศัพท์เริ่มมาแทนที่โทรเลข พบว่ากระแสในผิวโลกที่เกิดจากระบบไฟฟ้า, รถไฟ ไฟฟ้า, วงจรโทรศัพท์และโทรเลขอื่น ๆ และแหล่งธรรมชาติรวมทั้งฟ้าผ่าทำให้เกิดการรบกวนที่ยอมรับไม่ได้สำหรับสัญญาณเสียง ดังนั้นระบบสองสายหรือระบบวงจรโลหะได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งในราวปี ค.ศ. 1883 การเชื่อมต่อไฟฟ้าไปยังพื้นโลกสามารถใช้เป็นศักย์อ้างอิงสำหรับสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ สำหรับเสาอากาศบางชนิด ส่วนที่ติดต่อกับดินโดยตรงหรือ "ขั้วดิน"สามารถจะเป็นแท่งโลหะธรรมดาที่ปักลงไปในดินหรือเชื่อมต่อกับท่อน้ำโลหะที่ฝังอยู่ใต้ดิน (ท่อจะต้องเป็นตัวนำ) เนื่องจากว่าสัญญาณความถี่สูงสามารถไหลไปยังโลกอันเนื่องมาจากผลกระทบทาง capacitative, ค่าความจุกับดินจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในประสิทธิภาพของการลงดินของสัญญาณ ด้วยเหตุนี้ระบบที่ซับซ้อนของแท่งดินและสายดินต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ การลงดินของสัญญาณในอุดมคติจะทำให้เกิดศักย์ที่คงที่ (ศูนย์) โดยไม่คำนึงถึงปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลลงสู่พื้นดินหรือขึ้นจากพื้นดิน ความต้านทานต่ำ(ที่ความถี่ของสัญญาณ)ของการเชื่อมต่อไฟฟ้าระหว่างขั้วดินกับดินเป็นตัวกำหนดคุณภาพของมัน และคุณภาพที่ดีขึ้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มพื้นที่ผิวของขั้วดินในการสัมผัสกับพื้นโลก หรือเพิ่มความลึกในการฝังแท่งดิน หรือโดยการปักแท่งดินหลายๆแท่ง หรือการเพิ่มปริมาณความชื้นของดิน หรือการปรับปรุงเนื้อดินให้มีความเป็นตัวนำมากขึ้น และการเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมระบบดินให้กว้างขึ้น บางระบบของเสาอากาศใน VLF, LF, MF และช่วง SW ที่ต่ำกว่าจะต้องมีสายดินที่ดีในการ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่นเสาอากาศขั้วเดียวแนวตั้งต้องใช้พื้นที่ราบที่มักจะ ประกอบด้วยเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันของสายเคเบิลที่วิ่งอยู่ในวงรอบห่างจากฐานของเสาอากาศประมาณเท่ากับความสูงของเสาอากาศนั้น บางครั้งคานของเสาเองจะถูกใช้เป็นพื้นระนาบดินที่วางอยู่บนพื้นดิน ในการติดตั้งสายไฟสายเมนส์(ไฟ AC) คำว่าสายกราวด์มักจะหมายถึงสายตัวนำสามชนิดหรือระบบตัวนำสามระบบตามที่ระบุไว้ด้านล่าง สายกราวด์ของอุปกรณ์ใช้เชื่อมต่อทางไฟฟ้าระหว่างชิ้นส่วนของอุปกรณ์ที่เป็นโลหะที่ไม่มีกระแสไหลกับพื้นดินตามรหัสไฟฟ้าแห่งชาติสหรัฐ (NEC) เหตุผลในการทำเช่นนี้เพื่อการจำกัดแรงดันไฟฟ้าที่เกิดจากฟ้าผ่า, ไฟกระชาก และการสัมผัสกับสายไฟฟ้าแรงสูง สายตัวนำกับอุปกรณ์มักจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยการใช้วิธี bonding (ดูด้านล่าง) อุปกรณ์ที่ทำการบอนดิ้งเข้าด้วยกันทำให้เส้นทางไหลของกระแสไฟฟ้าระหว่างชิ้นส่วนโลหะที่ไม่มีกระแสไหลของอุปกรณ์หลายๆส่วนกับแท่งดินมีความต้านทานต่ำมาก เพื่อที่ว่าหากส่วนหนึ่งของชิ้นส่วนนั้นมีกระแสไหลผ่านด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม เช่นสายไฟชำรุด การลัดวงจรจะเกิดขึ้นและทำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือฟิวส์ทำงานเพื่อตัดการเชื่อมต่อกับวงจรที่ทำงานผิดพลาด โปรดสังเกตว่า ดินเองไม่ได้มีบทบาทในกระบวนการล้างความผิดพลาดนี้ เนื่องจากกระแสต้องไหลกลับไปยังแหล่งที่มาของมันเอง ไม่ได้กลับไปที่ดินตามที่เข้าใจกันในบางครั้ง (ดู กฎของวงจร Kirchhoff) โดยการบอนดิ้ง(เชื่อมต่อ)โลหะที่ไม่มีกระแสไหลทั้งหมดเข้าด้วยกัน จุดเหล่านั้นควรจะอยู่ใกล้จุดที่มีศักย์เดียวกันซึ่งจะช่วยลดโอกาสของการช็อก นี้เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องน้ำ ที่คนคนหนึ่งอาจจะสัมผ้สกับหลายระบบโลหะที่แตกต่างกัน เช่น ท่อจ่ายน้ำและท่อระบายน้ำ และฝาเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ตัวนำที่ทำการบอนดิ้งมักจะถูกใช้เป็นสายกราวด์(อังกฤษ: grounding electrode conductor)ด้วย (ดูด้านบน) สายกราวด์เชื่อมต่อขาข้างหนึ่งของระบบไฟฟ้า(สายนิวทรัล)เข้ากับขั้วดิน(อังกฤษ: ground electrode)หนึ่งขั้วหรือหลายขั้ว สิ่งนี้เรียกว่า "ระบบกราวด์" และ ระบบไฟฟ้าส่วนใหญ่จะต้อง มีการต่อสายกราวด์. NEC ของสหรัฐอเมริกา และ BS 7671 ของสหราชอาณาจักร มีรายชื่อของระบบที่จะต้องมีการต่อสายกราวด์ นอกจากนี้ สายกราวด์ยังมักจะยึดติดกับท่อน้ำและโครงสร้างเหล็กในโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ ตามที่กำหนดไว้ใน NEC วัตถุประสงค์ของการต่อสายกราวด์ให้ระบบไฟฟ้าก็คือการจำกัดแรงดันไฟฟ้าเมื่อเทียบกับดินในกรณีที่เกิดฟ้าผ่าและกรณีที่มีการสัมผ้สกับสายไฟฟ้าแรงสูง และยังมีวัตถุประสงค์ในการคงแรงดันไฟฟ้าเมื่อเทียบกับดินให้คงที่ในระหว่างการดำเนินการตามปกติ ในอดีตที่ผ่านมาท่อน้ำประปามักจะถูกนำมาใช้เป็นขั้วดิน แต่ต่อมาไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เมื่อท่อพลาสติกเป็นที่นิยมใช้ สายกราวด์ชนิดนี้ใช้กับเสาอากาศวิทยุและระบบป้องกันฟ้าผ่า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งอย่างถาวรมักจะมีการเชื่อมต่ออย่างถาวรกับสายกราวด์ อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบพกพาที่มีภาชนะใส่เป็นโลหะอาจจะมีสายกราวด์เชื่อมต่อกับพื้นดินด้วยขาในปลั๊กเชื่อมต่อ (ดูปลั๊กและซ็อกเก็ตไฟฟ้ากระแสสลับในท้องถิ่น) ขนาดของสายกราวด์มักจะถูกควบคุมโดยระเบียบขนาดสายไฟระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า AC สายเดี่ยว (อังกฤษ: Single Wire Earth Return) หรือ SWER ค่าใช้จ่ายจะสามารถประหยัดได้โดยใช้เพียงตัวนำไฟฟ้าแรงสูงเพียงสายเดียวต่อเข้ากับพาวเวอร์กริด ในขณะที่กระแส AC ที่ไหลกลับมาจะใช้ทางพื้นดิน ระบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในพื้นที่ชนบท ที่ซึ่ง กระแสไฟฟ้าในแผ่นดินขนาดใหญ่จะไม่เป็นอย่างอื่นที่ทำให้เกิดอันตราย บางระบบส่งกำลังแรงดัน DC สูง (HVDC ) จะใช้พื้นดินเป็นตัวนำที่สอง นี้เป็นเรื่องธรรมดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการสายเคเบิลใต้น้ำ เพราะน้ำทะเลเป็นตัวนำที่ดี ขั้วดินที่ฝังใต้ดินจะถูกเชื่อมต่อกับพื้นดิน สถานที่ของขั้วดินเหล่านี้จะต้องถูกเลือกอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันการกัดกร่อนด้วยเคมีไฟฟ้าในโครงสร้างใต้ดิน ความกังวลอย่างหนึ่งในการออกแบบสถานีไฟฟ้าคือการที่ศักย์ของดินมีค่าสูงขึ้น เมื่อกระแสผิดพลาดขนาดใหญ่มากรั่วลงไปในดิน บริเวณรอบจุดรั่วอาจมีศักย์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับจุดที่ห่างออกไป นี้เกิดจากการนำกระแสที่จำกัดของชั้นของดินในโลก การไล่ระดับของแรงดันไฟฟ้า(แรงดันเปลี่ยนไปตามระยะทาง)อาจจะสูงมากจนทำให้จุดสองจุดบนพื้นดินอาจมีความต่างศักย์มากอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะสร้างอันตรายกับทุกคนที่ยืนอยู่บนพื้นดินในบริเวณนั้น ท่อ, ราง, หรือ สาย สื่อสารทั้งหลายที่เข้าสถานีย่อยอาจจะมีศักย์ของดินที่แตกต่างกันทั้งในและนอกสถานีย่อย ซึ่งสร้างแรงดันอันตรายเมื่อสัมผ้ส Signal ground ทำหน้าที่เป็นเส้นทางกลับของสัญญาณและกำลังไฟฟ้า (ที่แรงดันไฟฟ้าต่ำมากๆ ประมาณน้อยกว่า 50 V) ที่ทำงานภายในอุปกรณ์ และในการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างอุปกรณ์กับหลายๆอุปกรณ์ หรือ อุปกรณ์เดียว.การออกแบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากแสดงเส้นทางกลับเส้นเดียวที่ทำหน้าที่เป็นต้วอ้างอิงสำหรับสัญญาณทั้งหมด กราวด์ของกำลังไฟฟ้าและกราวด์ของสัญญาณมักจะเชื่อมต่อถึงกันผ่านทางกล่องโลหะที่ใส่อุปกรณ์ แรงดันไฟฟ้าเป็นปริมาณที่แตกต่างกัน การวัดแรงดันไฟฟ้าที่จุดใดๆ จุดอ้างอิงจะต้องถูกเลือกให้วัดเทียบกับจุดนั้น จุดอ้างอิงร่วมกันนี้เรียกว่า "กราวด์" และถือว่ามีแรงดันไฟฟ้าเป็นศูนย์ กราวด์สัญญาณนี้อาจจะไม่ได้เชื่อมต่อกับกราวด์ของไฟฟ้า ระบบที่ระบบกราวด์ไม่ได้เชื่อมต่อ กับวงจรอื่นหรือต่อเข้ากับดิน (แม้ว่าจะมีอาจจะยังคงมี AC coupling) มักจะถูกเรียกว่าเป็นระบบกราวด์ลอย ในสถานีโทรทัศน์, สถานีบันทึกสตูดิโอ และสถานีอื่นๆที่คุณภาพเสียงเป็นสิ่งสำคัญ กราวด์สัญญาณพิเศษที่เรียกว่า"กราวด์ทางเทคนิค" (หรือ"technical earth", "special earth" และ "audio earth") มักจะถูกติดตั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกราวด์ลูป โดยพื้นฐานแล้ว สิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวกับ AC power ground แต่ไม่มีสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อเข้ากับมัน เพราะพวกมันอาจนำพาการรบกวนทางไฟฟ้ามาด้วย ตัวอย่างเช่นมีเพียงเครื่องเสียงเท่านั้นที่เชื่อมต่อกับ technical ground ในสตูดิโอบันทึก. ในกรณีส่วนใหญ่ ชั้นวาง อุปกรณ์โลหะของสตูดิโอทั้งหมดจะถูกเชื่อมเข้าด้วยกันด้วยสายทองแดงขนาดใหญ่ (หรือท่อ แบนหรือบัสบาร์ทองแดง ) และ technical ground ก็จะถูกเชื่อมต่อแบบเดียวกัน ต้องมีการดูแลอย่างดีว่าจะไม่มี chassis ground ของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปจะถูกวางไว้บนชั้นวาง เพราะการเชื่อมต่อ AC ground กับ technical ground จะทำลายประสิทธิภาพของงานนี้ สำหรับการใช้งานที่มีความต้องการโดยเฉพาะ technical ground หลักอาจประกอบด้วยท่อทองแดงหนัก ในกรณีที่จำเป็นอาจติดตั้งโดยการเจาะผ่านพื้นคอนกรีตหลายๆชั้น เพื่อที่ว่า technical ground ทั้งหมดอาจจะถูกเชื่อมต่อกันด้วยเส้นทางที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้ไปยังแท่งดินอันหนึ่งอยู่ในห้องใต้ดิน ระบบป้องกันฟ้าผ่าได้รับการออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากฟ้าผ่าผ่านการเชื่อมต่อไปยังระบบ สายดินที่ทำการเชื่อมต่อด้วยพื้นที่ผิวขนาดใหญ่กับแผ่นดิน พื้นที่ขนาดใหญ่มีความจำเป็นเพื่อการกระจายกระแสที่สูงของสายฟ้าฟาดโดยไม่ทำลายตัวนำของระบบจากความร้อนส่วนเกินมหาศาล เนื่องจากสายฟ้าฟาดเป็นพลังงานช่วงสั้นๆจำนวนมากที่มีหลายส่วนประกอบของความถี่สูงมาก ระบบกราวด์เพื่อป้องกันฟ้าผ่ามักจะใช้ตัวนำที่ตรงและสั้นเพื่อลดผลกระทบที่เหนี่ยวนำตัวเองและ skin effect บทความหลัก: Earthing System ในระบบการผลิตไฟฟ้า, ระบบสายดิน (ระบบกราวด์) จะกำหนดศักย์ไฟฟ้าของตัวนำเมื่อเทียบกับศักย์ของตัวนำที่พื้นผิวของโลก ทางเลือกของระบบสายดินจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยและ ความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟ โปรดสังเกตว่ากฎระเบียบสำหรับระบบสายดินจะแตกต่างกันมากในแต่ละประเทศ การต่อลงดินแบบฟังชั่นมีจุดมุ่งหมายอื่นนอกเหนือจากการให้การป้องกันไฟฟ้าช็อก ในทางตรงกันข้ามกับการต่อลงดินแบบป้องกัน การต่อลงดินแบบฟังชั่นอาจนำกระแสในระหว่างการดำเนินงานปกติของอุปกรณ์ หรือมันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุปกรณ์เช่นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก และตัวกรองบางชนิดที่เข้ากันได้กับแม่เหล็กไฟฟ้า, เสาอากาศและเครื่องมือวัดบางชนิด โดยทั่วไปแล้ว การต่อลงดินแบบป้องกันยังสามารถถูกใช้เป็นการต่อลงดินแบบฟังชั่นได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าสิ่งนี้จะ ต้องมีการดูแลในบางสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ถ้าจะพูดให้ชัด คำว่าการต่อกราวด์หรือการลงดินมีความหมายถึงการเชื่อมต่อไฟฟ้ากับกราวด์หรือพื้นดิน การบอนดิ้งคือการจงใจเชื่อมต่อทางฟฟ้ากับวัตถุที่เป็นโลหะทั้งหมดที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน วิธีนี้จะทำให้ทุกรายการของวัตถุดังกล่าวที่ถูกบอนดิ้งนั้นมีศักย์ไฟฟ้าเดียวกันเพื่อการป้องกันไฟฟ้าช็อต จากนั้นวัตถุที่ถูกบอนด์เข้าด้วยกันเหล่านั้นจะสามารถเชื่อมต่อกับพื้นดินเพื่อนำพวกมันให้มีศักย์ของโลก แผ่นกราวด์(ดิน)หรือแผ่นการกราวด์ (การลงดิน) เป็นแผ่นแบนยืดหยุ่นที่ใช้สำหรับการทำงานกับ อุปกรณ์ที่มีความไวต่อไฟฟ้าสถิต โดยทั่วไปทำจากพลาสติกนำไฟฟ้าหรือตาข่ายโลหะที่ปกคลุมพื้นผิวซึ่งจะต่อทางไฟฟ้าไปที่กราวด์ (ดิน) สิ่งนี้จะช่วยปลดปล่อยประจุไฟฟ้าที่ติดอยู่กับที่ซึ่งคนทำงานเป็นผู้สร้างขึ้น เช่นเดียวกับประจุคงที่ที่เกิดบนเครื่องมือหรือส่วนประกอบอื่นๆที่เปิดเผยกับประจุโดยผ่านทางแผ่นกราวด์นั้น แผ่นดังกล่าวเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการซ่อมคอมพิวเตอร์ และยังพบบนรถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงและรถบรรทุกทั่วไป ซึ่งเป็นฉนวนจากกราวด์(ดิน) ที่พวกเขาทำ ได้มีเพียงการต่อทางกายภาพกับยางและอากาศเท่านั้น เห็นได้ชัดว่าการปล่อยประจุในระหว่างการดำเนินการถ่ายโอนน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น ในทำนองเดียวกันใน การเติมน้ำมันอากาศยาน สายกราวด์(ดิน)จะเชื่อมต่อเรือบรรทุก(รถบรรทุกหรือเครื่องบิน)เข้ากับยานที่ต้องการเติมเชื้อเพลิงเพื่อกำจัดความแตกต่างของประจุก่อนที่จะมีการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง ในสถานีไฟฟ้าย่อย แผ่นกราวด์(ดิน)เป็นตาข่ายของวัสดุนำไฟฟ้าที่ติดตั้งในสถานที่ที่ผู้ปฏิบัติงานจะยืนในการทำงานกับสวิทช์หรืออุปกรณ์อื่นๆ มันจะถูกบอนด์เข้ากับโครงสร้างโลหะในพื้นที่นั้น และเพื่อสนับสนุนการจัดการกับสวิตช์เกียร์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการจะไม่ได้สัมผัสกับความต่างศักย์ที่ สูงเนื่องจากความผิดพลาดในสถานีย่อย การแยกออกเป็นกลไกที่จะเอาชนะการกราวด์ มันมักจะถูกใช้กับอุปกรณ์ผู้บริโภคที่ใช้พลังงานต่ำ และเมื่อวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์หรือมือสมัครเล่นหรือช่างซ่อมกำลังทำงานกับวงจรที่ปกติจะ ทำงานโดยใช้แรงดันไฟฟ้า AC การแยกสามารถทำได้โดยเพียงแค่การวางหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอัตราส่วนของลวดระหว่างไฟ AC กับอุปกรณ์เป็น 1:1 แต่สามารถนำไปใช้กับชนิดของ หม้อแปลงไฟฟ้าที่ใช้ขดลวดสองขดขึ้นไปและเป็นฉนวนไฟฟ้าจากกันและกัน สำหรับอุปกรณ์ที่ถูกแยกออก การสัมผัสตัวนำที่มีไฟเพียงเส้นเดียวจะไม่ก่อให้เกิดการช๊อกอย่างรุนแรง เนื่องจากไม่มีเส้นทางกลับไปที่ตัวนำอีกเส้นหนึ่งผ่านทางสายกราด์ อย่างไรก็ตามการช็อกและการถูกไฟฟ้าดูดอาจจะยังคงเกิดขึ้นได้ถ้าทั้งสองขั้วของหม้อแปลงไฟฟ้ามีการสัมผัสกับ ผิวหนังเปลือย ก่อนหน้านี้มีข้อแนะนำให้ช่างซ่อม "ทำงานด้วยมือข้างหนึ่งไว้ข้างหลัง" เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสองส่วนของอุปกรณ์ภายใต้การทดสอบในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นการป้องกันวงจรจากการข้ามผ่านหน้าอกและขัดจังหวะการเต้นของหัวใจ/ก่อให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยทั่วไปทุกหม้อแปลงไฟ AC ทำหน้าที่เป็นหม้อแปลงแยกและทุกขดลวดสเต๊ปอัพและสเต๊ปดาวน์มีศักยภาพที่จะทำตัวเป็นวงจรแยก อย่างไรก็ตาม การแยกนี้จะป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่เสีย ไม่ให้ฟิวส์ขาดเมื่ออุปกรณ์นี้ถูก shorted เข้ากับสายกราวด์ การแยกที่สร้างขึ้นโดยแต่ละหม้อแปลงจะไม่เป็นผลถ้ามีขาข้างหนึ่งของหม้อแปลงลงกราวด์เสมอทั้งสองด้านของขดลวด input และ output ของหม้อแปลง สายไฟเมนส์มักจะกราวด์ที่สายเฉพาะเจาะจง สายใดสายหนึ่งที่ทุกเสาไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่า การทำให้เกิดการเท่าเทียมกันของกระแสไฟฟ้าจากเสาหนึ่งไปยังอีกเสาหนึ่งถ้ามีการช็อดกับกราวด์เกิดขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา เครื่องใช้ที่มีกราวด์จะถูกออกแบบให้มีการแยกภายในในระดับที่ยอมให้ทำการปลดการเชื่อมต่อกับกราวด์ได้อย่างง่ายๆโดยปลั๊กแบบสิบแปดมงกุฎโดยไม่มีปัญหาที่ชัดเจน(เป็นการปฏิบัติที่เป็นอันตรายอย่างหนึ่ง เนื่องจากความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่ลอยจะขึ้นอยู่กับฉนวนในหม้อแปลงไฟฟ้าของมันเอง) อย่างไรก็ตาม เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทันสมัยมักจะมี โมดูลพลังงานที่ได้รับการออกแบบเจตนาให้มี capacitive coupling ระหว่างสายไฟ AC และแท่นเครื่อง เพื่อลดการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลอย่างมีนัยสำคัญ จากสายไฟไปที่กราวด์ ถ้ากราวด์ถูกตัดการเชื่อมต่อโดยปลั๊กสิบแปดมงกุฎหรือโดยอุบัติเหตุ ผลที่เกิดจากการรั่วไหลของกระแสสามารถทำให้เกิดการช็อกที่ไม่รุนแรง ถึงแม้ว่าจะไม่มีความผิดปกติใดๆในอุปกรณ์. แม้แต่กระแสรั่วไหลขนาดเล็กก็จะมีความกังวลอย่างมีนัยสำคัญในการใช้งานทางการแพทย์ เพราะการขาดการเชื่อมต่อกับกราวด์อย่างอุบัติเหตุสามารถทำให้กระแสเหล่านี้ ไหลเข้าส่วนสำคัญของร่างกายมนุษย์ ผลก็คือแหล่งจ่ายไฟทางการแพทย์จะถูกออกแบบให้มี ค่าความจุไฟฟ้าที่ต่ำ เครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นสองและอุปกรณ์ไฟฟ้า Class II (เช่นเครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือ) ไม่ได้มีการเชื่อมต่อใดๆกับกราวด์และได้รับการออกแบบให้แยกเอ้าท์พุทออกจากอินพุท ความปลอดภัยสามารถมั่นใจได้โดยการ double-insulation เพื่อที่ว่าความล้มเหลวของฉนวนพร้อมกันสองครั้งจึงจะทำให้เกิดการช็อก ระบบการกราวด์อุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น Solidly grounded systems. Low-resistance grounding systems. High-resistance grounding (HRG) systems. Low-resistance grounding systems จะใช้ neutral grounding resistor (NGR) หนึ่งตัวเพื่อจำกัดกระแสผิดพลาดไว้ที่ 25 A หรือมากกว่า และจะมี time rating (ประมาณ 10 วินาที) ที่จะบอกว่าตัวต้านทานจะสามารถนำพากระแสผิดพลาดได้นานเท่าไรก่อนที่จะร้อนจัด รีเลย์ที่ใช้ป้องกันความผิดพลาดของกราวด์ต้องไปทริบเซอร์กิตเบรกเกอร์เพื่อป้องกันวงจรก่อนการ้อนจัดจะเกิดขึ้น High-resistance grounding (HRG) systems จะใช้ NGR หนึ่งตัวเพื่อจำกัดกระแสผิดพลาดไว้ที่ 25 A หรือน้อยกว่า ระบบนี้มีอัตราใช้งานที่ต่อเนื่องและถูกออกแบบให้ทำงานที่ความผิดพลาดของกราวด์ครั้งเดียว ซึ่งหมายความว่าระบบจะไม่ทริบโดยทันที่ที่เกิดความผิดพลาดของกราวด์เป็นครั้งแรก ถ้าความผิดพลาดเกิดเป็นครั้งที่สอง รีเลย์ที่ใช้ป้องกันความผิดพลาดของกราวด์ต้องไปทริบเซอร์กิตเบรกเกอร์เพื่อป้องกันวงจร. sensing resistor ต้วหนึ่งจะถูกใช้เพื่อเฝ้าดูการต่อเชื่อมระบบอย่างต่อเนื่อง ถ้าตรวจพบการ open-circuit (เช่น เนื่องจากรอยเชื่อมแตกหักบน NGR) อุปกรณ์ที่เฝ้าดูจะส่งแรงดันไฟฟ้าผ่านทาง sensing resistor และทริบเบรกเกอร์ ถ้าไม่มี sensing resistor ระบบสามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่มีการป้องกันกราวด์ (เนื่องจากสภาวะ open circuit จะบดบังความผิดพลาดของกราวด์) และสภาวะแรงดันเกินชั่วคราวสามารถเกิดขึ้นได้ The Electromagnetic Telegraph Casson, Herbert N., The History of the Telephone, public domain copy at manybooks.net: '"At last," said the delighted manager [J. J. Carty, Boston, Mass.], "we have a perfectly quiet line."' Jensen Transformers. Bill Whitlock, 2005. Understanding, Finding, & Eliminating Ground Loops In Audio & Video Systems. Retrieved February 18, 2010. Swallow D 2011, Live Audio, The Art of Mixing, Chap 4. Power and Electricity, pp. 35-39 IEEE Std 1100-1992, IEEE Recommended Practice for Powering and Grounding Sensitive Electronic Equipment, Chapter 2: Definitions http://news.cnet.com/8301-17938_105-9852716-1.html http://www.slpower.com/reference/An113%20Leakage%20Current.pdf Beltz, R. ; Cutler-Hammer, Atlanta, GA, USA ; Peacock, I. ; Vilcheck, W. (2000). "Application Considerations for High Resistance Ground Retrofits in Pulp and Paper Mills." Pulp and Paper Industry Technical Conference, 2000. รูปแบบหนึ่งของขั้วดิน (ด้านซ้ายของท่อสีเทา) ประกอบด้วยแท่งตัวนำหนึ่งแท่งที่ฝังลงในดินที่บ้านในประเทศออสเตรเลีย Signal Ground Chassis Ground Earth Ground บัสบาร์จะถูกใช้สำหรับเป็นตัวนำกราวด์ในวงจรกระแสสูง ยามา (แก้ความกำกวม) =================== ยามา อาจหมายถึง ยามา สวรรค์ชั้นที่ 3 ในฉกามาพจร ยามา หรือ "ลามา" สัตว์เลี้ยงในตระกูลอูฐ (camelid) ของทวีปอเมริกาใต้ หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง เส้นขนานที่ 63 ============== เส้นขนานที่ 63 อาจหมายถึง: เส้นขนานที่ 63 องศาเหนือ คือ เส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน เส้นขนานที่ 63 องศาใต้ คือ เส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน 63° เส้นขนานที่ 63 องศาเหนือ 63° เส้นขนานที่ 63 องศาใต้ หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง โยนี ==== โยนี (อังกฤษ: vulva) ประกอบด้วยแคม ทั้งแคมใหญ่และแคมเล็ก, ปุ่มกระสัน, ปากของ"ท่อปัสสาวะ" (urethra), และปากช่องคลอด โยนี (อังกฤษ: vulva) ประกอบด้วยแคม ทั้งแคมใหญ่และแคมเล็ก, ปุ่มกระสัน, ปากของ"ท่อปัสสาวะ" (urethra), และปากช่องคลอด ไฟล์:FemaleOrgan.gif เนินอ่อนนุ่มด้านหน้าของโยนี (เกิดจากเนื้อเยื่อไขมันปกคลุมกระดูกหัวหน่าว) คือ เนินหัวหน่าว (mons pubis) โดยเฉพาะในมนุษย์เพศหญิงเรียก มอนส์เวเนริส (mons veneris) หรือ "โคกวีนัส" (mound of Venus) ภายหลังวัยแรกรุ่น จะปกคลุมด้วยขนหัวหน่าว ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นกับพันธุกรรม แคมใหญ่ ขึงแต่ละข้างของโยนี และปกคลุมด้วยขนหัวหน่าว ห่อหุ้มส่วนอื่นๆ ของโยนีอย่างมิดชิด แคมเล็ก เป็นกลีบผิวหนังอ่อนนุ่มสองกลีบ ภายในแคมใหญ่ ในแต่ละข้างของปากช่องคลอด ตรงกลางคือโพรงปากช่องคลอด ปุ่มกระสัน อยู่ที่ด้านหน้าของโยนี ตรงจุดที่แคมเล็กสบกัน ยอดที่เห็นได้ของคลิตอริส หรือ ปุ่มกระสัน (คลิตอรัล แกลน) ถูกคลุมด้วยเนื้อเยื่อ (เรียกว่า "กลีบคลุมปุ่มกระสัน") ใต้คลิตอริส ด้านหน้าของช่องคลอด คือปากของท่อปัสสาวะ (urethral opening) ที่ซึ่งปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย ปากช่องคลอด อยู่ใกล้ส่วนท้ายด้านหลัง (หรือใต้) ของโยนี ในผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีการร่วมเพศ ปากช่องคลอดบางครั้งจะปกคลุมด้วยเยื่อที่เรียกว่า "เยื่อพรหมจรรย์" (hymen) ไฟล์:MonsPabis.gif ถัดลงด้านล่างเล็กน้อย ด้านซ้ายและขวาของช่องเปิดช่องคลอดคือ "ต่อมบาโธลิน" (ต่อมสร้างน้ำหล่อลื่น: Bartholin glands) ; เมื่อผู้หญิงถูกปลุกอารมณ์เพศจะหลั่งสารหล่อลื่น ทำให้สอดใส่ได้ง่ายขึ้น (ช่องคลอดก็มีสารหล่อลื่นไหลซึมเช่นกัน) ถ้าขาดสารหล่อลื่น อาจใช้สารหล่อลื่นสังเคราะห์ช่วยให้การร่วมเพศสะดวกขึ้น พื้นที่ระหว่างโยนีกับทวารหนักคือ ฝีเย็บ (perineum) ฝีเย็บอาจฉีกขาดระหว่างคลอดบุตรได้ เพื่อป้องกันกรณีนี้ แพทย์อาจกรีด ซึ่งเชื่อว่าลดการติดเชื้อมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีบางคนเชื่อว่า การฉีกขาดตามธรรมชาติมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยกว่า และหายเร็วกว่า ลักษณะโยนีและขนาดของส่วนต่างๆ แตกต่างกันไป ในผู้หญิงต่างคนกัน และเป็นเรื่องปกติที่ ซีกซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน ในผู้หญิงคนเดียวกัน คือส่วนของอวัยวะเพศ ที่วิวัฒนาการมาจากเนื้อเยื่อเดียวกัน ในมนุษย์ กายวิภาคของโยนี สอดคล้องกับ กายวิภาคขององคชาตในเพศชาย ในวิชาชีววิทยาพัฒนาการทั่วไป อวัยวะที่มีต้นกำเนิดพัฒนาการจากโครงสร้างเดียวกัน เรียกว่า กำเนิดเดียวกัน (โครงสร้างซึ่งมีที่มาเดียวกัน) ปุ่มกระสันมีกำเนิดเดียวกันเทียบได้กับองคชาตของผู้ชาย, และ ลำปุ่มกระสัน (clitoral body) กับ ขาปุ่มกระสัน (clitoral crura) มีกำเนิดเดียวกันกับ คอร์พอรา เคฟเวอโนซา (corpora cavernosa) ขององคชาต แคมใหญ่, แคมเล็กและกลีบคลุมปุ่มกระสัน (clitoral hood) เป็นกำเนิดเดียวกันกับถุงอัณฑะ (scrotum), ผิวหนังรอบองคชาต (shaft skin of the penis) และหนังหุ้มปลายองคชาต (foreskin) ตามลำดับ เวสทิบูลาร์ บัลบ์ (กระเปาะโพรง: vestibular bulbs) ใต้ผิวของแคมเล็ก เป็นกำเนิดเดียวกันกับ คอร์ปัส สปองจิโอซัม (corpus spongiosum) หรือเนื้อเยื่อรอบหลอดปัสสาวะในองคชาต (คอร์ปัส สปองจิโอซัม เป็นเนื้อเยื่อที่ทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต ส่วน เวสทิบูลาร์ บัลบ์ เป็นบริเวณที่มีโลหิตมาหล่อเลี้ยง เมื่อถูกกระตุ้นให้มีอารมณ์หรือเมื่อภายหลังคลอด อวัยวะเพศจะขยายขึ้นเพราะแคมเล็กขยายแล้วแยกจากกัน) ต่อมบาร์โทลิน (bartholin glands) เป็นกำเนิดเดียวกันกับ ต่อมคาวเปอร์ (Cowper's glands) ในเพศชาย "'V' is for vulva, not just vagina," article discussing the common usage of the word "vagina." Vulvar Anatomy Video - Video tour of the vulva detailing all the structures Vulvas and Vaginas in Mythology, History and Art - This article by Kirsten Anderberg explores vulvae and vaginas in empowerment mythology, in history and in art. The Vulva Revealed - Extensive descriptions and numerous illustrations showing the large variations in vulva shape among women. Erogenous Dot - Numerous 'tasteful' illustrations showing the variation in appearance (warning: popups) Pink Parts - "Walk through" of female sexual anatomy by sex activist and educator Heather Corinna (illustrations; no explicit photos) บทความเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ โครงการวิกิกายวิภาคศาสตร์ บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าอภิปราย หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้ทันที โดยการกดปุ่ม แก้ไข ด้านบน ซึ่งเมื่อตรวจสอบและแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออก บทความนี้ว่าด้วยเพศสภาพของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวกับอวัยวะเพศ กิจกรรมทางเพศ รสนิยมทางเพศ ฯลฯ เพื่อจุดประสงค์เชิงสารานุกรม โยนี (Vulva) 200px โยนี รายละเอียด ภาษาละติน pudendum femininum ศัพภกรรม ปุ่มอวัยวะเพศ (genital tubercle), สันอวัยวะเพศแลัทางเดินปัสสาวะ (urogenital folds) หลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงอวัยวะเพศภายนอกภายใน (internal pudendal artery) หลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำอวัยวะเพศภายนอกภายใน (internal pudendal vein) ประสาท เส้นประสาทอวัยวะเพศภายนอก (pudendal nerve) น้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองขาหนีบผิว (superficial inguinal lymph nodes) การระบุ Gray's p.1264 MeSH 05.360.319.887 Dorlands /Elsevier Vulva TA A09.2.01.001 FMA 20462 อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โยนี โครงสร้างอวัยวะเพศหญิง รายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ภาพลายเส้นกายวิภาคภายในแสดงโยนีของมนุษย์ พร้อมกับกลีบคลุมปุ่มกระสัน (clitoral hood) และแคมเล็ก ประวัติศาสตร์เกาหลี =================== คาบสมุทรเกาหลีเป็นดินแดนที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน เริ่มแต่เป็นดินแดนของผู้คนหลากเผ่าพันธุ์ จนกระทั่งรวมตัวขึ้นเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ ต่อมาถูกจีนยึดครอง เมื่อได้เอกราชจากจีน คาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยสามอาณาจักสำคัญก่อนจะรวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียวปกครองด้วยราชวงศ์ 2 ราชวงศ์ จนถูกญี่ปุ่นยึดครองเป็นอาณานิคมจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามมาด้วยสงครามเกาหลีที่ทำให้ต้องแบ่งเป็น 2 ประเทศในปัจจุบันคือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มีความพยายามที่จะรวมประเทศทั้งสองแต่ยังไม่สำเร็จ คาบสมุทรเกาหลีเป็นดินแดนที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน เริ่มแต่เป็นดินแดนของผู้คนหลากเผ่าพันธุ์ จนกระทั่งรวมตัวขึ้นเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ ต่อมาถูกจีนยึดครอง เมื่อได้เอกราชจากจีน คาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยสามอาณาจักสำคัญก่อนจะรวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียวปกครองด้วยราชวงศ์ 2 ราชวงศ์ จนถูกญี่ปุ่นยึดครองเป็นอาณานิคมจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามมาด้วยสงครามเกาหลีที่ทำให้ต้องแบ่งเป็น 2 ประเทศในปัจจุบันคือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มีความพยายามที่จะรวมประเทศทั้งสองแต่ยังไม่สำเร็จ ดูบทความหลักที่: อาณาจักรโชซ็อนโบราณ ในยุคแรกดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ เผ่าแรกที่ปรากฏคือเผ่าโชซ็อนโบราณ ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือ เรืองอำนาจในช่วงพ.ศ. 143 – 243 ส่วนเผ่าอื่นได้แก่เผ่าพูยอ อยู่บริเวณปากแม่น้ำซุงคารีทางแมนจูเรียเหนือ เผ่าโคกูรยออยู่ระหว่างแม่น้ำพมาก และแม่น้ำอัมนก เผ่าอกจออยู่บริเวณมณฑลฮัมกย็อง เผ่าทงเยอยู่บริเวณมณฑลคังว็อน และเผ่าสามฮั่นคือ มาฮั่น ชินฮั่น และพยอนฮั่น ที่อยู่บริเวณแม่น้ำฮั่นและแม่น้ำนักดง ทางภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ตำนานที่เป็นที่แพร่หลายในประเทศเกาหลีเล่าถึงกำเนิดของชนชาติตนว่า เจ้าชายฮวางวุง โอรสของเทพสูงสุดบนสวรรค์ลงมาสร้างเมืองที่ภูเขาแทแบ็ก ได้แต่งงานกับหญิงที่มีกำเนิดจากหมี มีโอรสชื่อตันกุน ต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโชซ็อนโบราณ เมื่อ 1790 ปีก่อนพุทธศักราช ดินแดนคาบสมุทรเกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นจีนเมื่อ พ.ศ. 434 เมื่อจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้หรือกวนอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นยกทัพเข้ายึดครองดินแดนของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ และแบ่งเกาหลีเป็น 4 มณฑล คือ อาณาจักรนังนัง ชินบอน อิมดุน และฮย็อนโท อย่างไรก็ตาม จีนปกครองมณฑลนังนังอย่างจริงจังเพียงมณฑลเดียว มณฑลอื่น ๆ จึงค่อย ๆ แยกตัวเป็นเอกราช จน พ.ศ. 856 ชนเผ่าโคกูรยอเข้ายึดครองมณฑลนังนัง ขับไล่จีนออกไปได้สำเร็จ การตกเป็นเมืองขึ้นของจีนทำให้เกาหลีได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนมาก เช่นตัวอักษรและศาสนา (พุทธและขงจื๊อ) ดูบทความหลักที่: ราชอาณาจักรทั้งสามของเกาหลี เมื่อเป็นเอกราชจากจีน ดินแดนเกาหลีในขณะนั้นแบ่งเป็น 3 อาณาจักรด้วยกันคือ อาณาจักรโคกูรยอ ทางภาคเหนือ เผ่าโคกูรยอเริ่มเข้มแข็งมากขึ้นเมื่อราชวงศ์ฮั่นของจีนล่มสลาย และสามารถขยายอำนาจเข้ายึดครองมณฑลนังนังจากจีนได้เมื่อ พ.ศ. 856 อาณาจักรแพ็กเจ ชนเผ่าแพ็กเจซึ่งเป็นเผ่าย่อยของเผ่าพูยอที่อพยพลงใต้ เข้ายึดครองอาณาจักรอื่นรวมทั้งอาณาจักรเดิมของเผ่าฮั่น ตั้งเป็นอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 777 อาณาจักรชิลลา อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พัฒนาขึ้นจากเผ่าซาโร แต่อาณาจักรนี้ไม่เข้มแข็งมากนักในช่วงแรก ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับโคกูรยอตลอดจนกระทั่งหลังสงครามระหว่างโคกูรยอกับแพ็กเจ อาณาจักรชิลลาจึงเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถยึดครองลุ่มแม่น้ำฮั่นและลุ่มแม่น้ำนักดงจากแพ็กเจได้ ดูบทความหลักที่: ยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลี เมื่อสิ้นสุดสมัย 3 อาณาจักรนั้น อาณาจักรชิลลาถือว่าเป็นผู้มีชัยเหนืออาณาจักรอื่นบนคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด ในทางประวัติศาสตร์ถือว่ายุคสมัยนี้ อาณาจักรชิลลาเป็นผู้รวบรวมแผ่นดินเกาหลีให้เป็นผืนเดียวกันได้เป็นครั้งแรกนับแต่ยุคสมัยดึกดำบรรพ์เป็นต้นมา จึงเรียกว่า ยุคชิลลารวมอาณาจักร ช่วงยุคสมัยนี้นับจากปีที่อาณาจักรโคกูรยอและอาณาจักรแพ็กเจล่มสลายลงไปใน พ.ศ. 1211 และสืบเนื่องไปจนถึง พ.ศ. 1478 แต่ที่จริงแล้ว อาณาจักรชิลลาไม่ได้ครอบครองดินแดนทั้งหมดไว้ ที่ครอบคลุมได้ทั้งหมดนั้นเพียงดินแดนทางตอนใต้เท่านั้น แม้แต่ดินแดนของโคกูรยอเดิม ชิลลาก็ได้มาเพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่เพียงที่ต้องยกคาบสมุทรเหลียวตงให้กับจีน แต่ดินแดนทางเหนือจรดไปถึงแมนจูเรียตกอยู่ในการควบคุมของอาณาจักรเกิดใหม่อีกอาณาจักรหนึ่ง ชื่อว่า อาณาจักรพัลแฮ หรือเรียกว่า ป๋อไห่ ในชื่อเรียกตามภาษาจีน ในยุคสมัยนี้ นักประวัติศาสตร์บางท่านจึงจัดว่าเป็นยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลี ดูบทความหลักที่: สามอาณาจักรหลัง หลังจากอาณาจักรพัลแฮถูกราชวงศ์เหลียวตีจนแตกนั้นประชาชนพากันอพยพลงใต้มาบริเวณอาณาจักรโคกุเรียวเดิม แล้วเชื้อพระวงศ์ของอาณาจักรพัลแฮ ก็สถาปนาอาณาจักรใหม่บริเวณอาณาจักรโคกุเรียวเดิม แล้วให้ชื่อว่า "อาณาจักรโคกูเรียวใหม่" แล้วสถาปนาตนเองป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้ากุงเย ส่วนชาวแพ็กเจที่อยู่ในอาณาจักรรวมชิลลาก็ได้ก่อกบฏต่ออาณาจักร มีหัวหน้าคือ คยอน ฮวอน แล้วไปตั้งถิ่นฐานที่บริเวณอาณาจักรแพ็กเจเดิม แล้วให้ชื่อว่า "อาณาจักรแพ็กเจใหม่" แล้วสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าคยอน ฮวอน แล้วทำการก่อกบฏต่ออาณาจักรรวมชิลลา ทำให้ชิลลาเกิดความระส่ำระส่าย จึงถือเป็นยุคสามอาณาจักรยุคหลัง ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์โครยอ วังฮูมาสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แทโจแห่งราชวงศ์โคเรียวเมื่อ พ.ศ. 1486 อาณาจักรนี้เจริญสูงสุดในสมัยกษัตริย์มุนจง ยุคนี้เป็นยุคที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา มีการทำสงครามกับพวกญี่ปุ่นและมองโกล ถูกจีนควบคุมในสมัยราชวงศ์หยวน จนเมื่ออำนาจของราชวงศ์หยวนอ่อนแอลง อาณาจักรโครยอต้องพบกับปัญหาโจรสลัดญี่ปุ่นและการรุกรานของราชวงศ์หมิง ในที่สุดทำให้ฝ่ายทหารมีอำนาจมากขึ้นจนนำไปสู่การยึดอำนาจของนายพล อีซองกเย และสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1935 ดูบทความหลักที่: ราชวงศ์โชซ็อน นายพล ลี ซองเกสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แทโจแห่งราชวงศ์โชซ็อน ในสมัยนี้ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อให้เป็นลัทธิประจำชาติและเริ่มลดอิทธิพลของพุทธศาสนา สมัยกษัตริย์เซจงมหาราช ทรงประดิษฐ์อักษรฮันกึลขึ้นใช้แทนอักษรจีน ดูบทความหลักที่: จักรวรรดิเกาหลี จักรวรรดิเกาหลี หรือ แทฮันเจกุก (อังกฤษ: The Greater Korean Empire ; เกาหลี: 대한제국, ฮันจา: 大韓帝國, MC: Daehan Jeguk, MR: Taehan Chekuk) คือราชอาณาจักรโชซ็อนที่ประกาศยกสถานะของรัฐจากราชอาณาจักรเป็นจักรวรรดิ ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าโกจง พร้อมกับการเปลี่ยนพระอิสริยยศจาก กษัตริย์ เป็น จักรพรรดิ โดยพระองค์มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิเกาหลี เพื่อให้ประเทศเอกราชจากจักรวรรดิชิง และยกสถานะของประเทศมีความเท่าเทียมกับจักรวรรดิชิง และ จักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าโดยพฤติการณ์แล้วสถานะของเกาหลีไม่ได้เข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิเลยก็ตาม จนกระทั่งถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองในปี พ.ศ. 2453 ดูบทความหลักที่: เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2453 ญี่ปุ่นได้ผนวกเกาหลีเป็นดินแดนของตนตามสนธิสัญญาการรวมญี่ปุ่น-เกาหลี ซึ่งสนธิสัญญานี้เป็นที่ยอมรับของญี่ปุ่นฝ่ายเดียว แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในเกาหลี เพราะถือว่าไม่มีการลงนามของกษัตริย์เกาหลี เกาหลีถูกญี่ปุ่นปกครองจนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ในระหว่างการปกครองของญี่ปุ่น มีการสร้างระบบคมนาคมแบบตะวันตก แต่ส่วนใหญ่เพื่อประโยชน์ทางการค้าของญี่ปุ่นมากกว่าประโยชน์ของชาวเกาหลี ญี่ปุ่นล้มล้างราชวงศ์โชซ็อน ทำลายพระราชวัง ปรับปรุงระบบภาษี ให้ส่งข้าวจากเกาหลีไปญี่ปุ่น ทำให้เกิดความอดอยากในเกาหลี มีการใช้แรงงานทาสในการสร้างถนนและทำเหมืองแร่ หลังการสวรรคตของกษัตริย์โกจง (Gojong) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2461 ด้วยยาพิษ ทำให้เกิดการเรียกร้องเอกราชทั่วประเทศ เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2461 ผลจากการลุกฮือขึ้นเรียกร้องเอกราชทำให้ชาวเกาหลีราว 7,000 คนถูกฆ่าโดยทหารและตำรวจญี่ปุ่น ชาวคริสต์เกาหลีจำนวนมากถูกฆ่าหรือเผาในโบสถ์ระหว่างการเรียกร้องเอกราชมีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของเกาหลีที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หลังจากการเคลื่อนไหว 1 มีนาคม เพื่อต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่น การลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ต่อไป เช่น การลุกฮือของนักศึกษาทั่วประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2472 จนนำไปสู่การประกาศกฎอัยการศึกเมื่อ พ.ศ. 2474 หลังจากเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2480 ญี่ปุ่นพยายามลบล้างความเป็นชาติของเกาหลี การสอนประวัติศาสตร์และภาษาเกาหลีในโรงเรียนถูกห้าม การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเกาหลีถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ชาวเกาหลีถูกบังคับให้มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น สิ่งของมีค่าถุกนำออกจากเกาหลีไปยังญี่ปุ่น. หนังสือพิมพ์ถูกห้ามตีพิมพ์ด้วยภาษาเกาหลี หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จำนวนมากถูกเผาทำลาย ชาวเกาหลีจำนวนมากอพยพออกจากเกาหลีไปสู่แมนจูเรียและรัสเซีย ชาวเกาหลีในแมนจูเรียจัดตั้งขบวนการกู้เอกราชชื่อ "ทุงนิบกุน" (Dungnipgun) ขบวนการนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน ทำสงครามกองโจรกับกองทัพญี่ปุ่น กองทัพเหล่านี้ได้รวมตัวกันเป็นกองทัพปลดปล่อยเกาหลี เมื่อราว พ.ศ. 2483 เคลื่อนไหวในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวเกาหลีกว่าหมื่นคนเข้าร่วมในกองทัพปลดปล่อยประชาชนและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเกาหลีถูกบังคับให้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ชายชาวเกาหลีถูกเกณฑ์เข้าร่วมในกองทัพญี่ปุ่น ผู้หญิงจากจีนและเกาหลีราว 200,000 คน ถูกส่งตัวไปเป็นนางบำเรอของทหารญี่ปุ่น ดูบทความหลักที่: สงครามเกาหลี หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง แนวโน้มของการแบ่งประเทศเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2488 เมื่อสหรัฐเข้าควบคุมภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลี และโซเวียตเข้าควบคุมภาคเหนือ โดยใช้เส้นขนาน(ละติจูด,เส้นรุ้ง)ที่ 38 องศาเป็นเส้นแบ่ง รัฐบาลชั่วคราวถูกยกเลิกเพราะสหรัฐเห็นว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์ ในครั้งแรกการแบ่งแยกนี้เป็นการชั่วคราว และจะให้เอกราชแก่เกาหลีเมื่อสี่ชาติมหาอำนาจคือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ และจีน จัดการปกครองในเกาหลีสำเร็จ ในการประชุมไคโรเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 กำหนดให้เกาหลีเป็นชาติอิสระ และการประชุมล่าสุดที่ยัลตาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ตกลงให้เกาหลีเป็นรัฐในอารักขาของชาติมหาอำนาจสี่ชาติ ต่อมา 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 โซเวียตยกทัพจากไซบีเรียเข้าสู่เกาหลีโดยไม่มีการต่อต้าน ญี่ปุ่นยอมแพ้เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2488 มีการประชุมที่มอสโกเพื่อตกลงเกี่ยวกับอนาคตของเกาหลี โดยกำหนดให้เป็นรัฐในอารักขา 5 ปี และรวมส่วนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐและโซเวียตเข้าด้วยกัน มีการประชุมกันอีกครั้งที่กรุงโซลแต่องค์การตั้งประเทศใหม่ยังไม่ลุล่วง เดือนกันยายน พ.ศ. 2490 สหรัฐส่งปัญหาเกาหลีเข้าสู่สหประชาชาติเพื่อให้เกาหลีเป็นรัฐเดียวที่มีเอกภาพ แต่ผลจากสงครามเย็นทำให้สหรัฐวางแผนคุ้มกันเกาหลีเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้เกิดการแยกประเทศเมื่อ พ.ศ. 2491 เกิดเป็นสองประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครองต่างกัน สหประชาชาติยอมรับสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) เป็นตัวแทนเกาหลีในสหประชาชาติเพียงรัฐเดียวเมื่อ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2491 สงครามเกาหลีระเบิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2493 เมื่อเกาหลีเหนือยกทัพข้ามเส้นขนานที่ 38 องศาบุกเข้าโจมตีเกาหลีใต้ เป็นการยุติความพยายามในขณะนั้นที่จะรวมประเทศทั้งสองอย่างสันติ สงครามดำเนินไปจนมีข้อตกลงหยุดยิงเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 เกาหลีใต้มีความพยายามที่จะรวมประเทศอย่างสันติตั้งแต่ พ.ศ. 2513 โดยเปิดการเจรจากับเกาหลีเหนืออย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการเจรจาระหว่างสภากาชาดฝ่ายใต้กับฝ่ายเหนือเพื่อให้ครอบครัวที่พลัดพรากระหว่างสงครามได้พบหน้ากัน มีการออกแถลงการณ์ระหว่างสองประเทศเมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 เพื่อยุติการกล่าวร้ายระหว่างกัน แต่การเจรจาเพื่อรวมประเทศไม่ราบรื่น ที่ประสบผลสำเร็จมีเพียงการอนุญาตให้ชาวเกาหลีทั้งสองประเทศข้ามเขตปลอดทหารไปมาหาสู่กันได้ในช่วง 20-23 กันยายน พ.ศ. 2528 และการเจรจาเกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิก พ.ศ. 2531 ที่กรุงโซลเท่านั้น การเจรจาเรื่องอื่น ๆ หยุดชะงักลงหลัง พ.ศ. 2529 เนื่องจากเกาหลีเหนือไม่พอใจเกี่ยวกับการซ้อมรบระหว่างเกาหลีใต้กับสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นการขัดแย้งกับการรวมชาติ เกาหลีใต้พยายามประนีประนอมกับเกาหลีเหนือเพื่อการเจรจาจนมีการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกเมื่อ 4 กันยายน พ.ศ. 2533 จากนั้นมีการประชุมต่อมาอีกหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม การรวมชาติเกาหลียังเป็นสิ่งที่ต้องรอคอยต่อไปจนกระทั่งปัจจุบัน 宮田 節子 [Miyata, Setsuko]. "創氏改名" [Creating Surnames and Changing Given Names}, 明石書店 [Akashi-shoten], 1992, al. ISBN 4-7503-0406-9 [1] 山脇 啓造 Yamawaki, Keizo. 近代日本と外国人労働者―1890年代後半と1920年代前半における中国人・朝鮮人労働者問題 Modern Japan and Foreign Laborers: Chinese and Korean Laborers in the late 1890s and early 1920s, 明石書店 Akashi-shoten, 1994, et al. ISBN 4-7503-0568-5 http://archives.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/east/03/29/japan.comfort.women/index.html] [2] [3] Comfort-Women.org พิพาดา ยังเจริญ. ประวัติศาสตร์เกาหลีตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20: การแข่งขันและแทรกแซงจากต่างชาติ อาณานิคม และชาตินิยม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. ไพบูลย์ ปีตะเสน. ประวัติศาสตร์เกาหลี จากยุคเผ่าพันธุ์ถึงยุคสาธารณรัฐใหม่. กรุงเทพฯ: โพสต์, 2555. ภูวดล ทรงประเสริฐ. ประวัติศาสตร์เกาหลีสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2521. ประเทศเกาหลี ประวัติศาสตร์เกาหลี ยุคก่อนประวัติศาสตร์  ยุคชึลมุน  ยุคมูมุน อาณาจักรโชซ็อนโบราณ 2333–108 BC  รัฐจิ้น ก่อนสามก๊ก: 108–57 BC  พูยอ, อกจอ, ทงเย  สามฮั่น: มา, บย็อน, ชิน สามก๊ก: 57 BC – 668 AD  อาณาจักรโคกูรยอ 37 BC – 668 AD  อาณาจักรแพ็กเจ 18 BC – 660 AD  อาณาจักรชิลลา 57 BC – 935 AD  คายา 42–562 อาณาจักรเหนือใต้: 698–935  อาณาจักรรวมชิลลา 668–935  อาณาจักรพัลแฮ 698–926  สามอาณาจักรหลัง 892–935   อาณาจักรโคกูรยอใหม่, อาณาจักรแพ็กเจใหม่, อาณาจักรชิลลา ราชวงศ์โครยอ 918–1392 ราชวงศ์โชซ็อน 1392–1897 จักรวรรดิเกาหลี 1897–1910 ญี่ปุ่นปกครอง 1910–1945  รัฐบาลพลัดถิ่น 1919–1948 การแบ่งเกาหลี 1945–1948 เหนือ, ใต้ 1948–present  สงครามเกาหลี 1950–1953 เส้นเวลา รายชื่อกษัตริย์ ความเป็นมาของภาษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ทางการทหาร ประวัติศาสตร์ทางทหารเรือ คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ประวัติศาสตร์เกาหลี แผนที่อาณาจักรทั้งสาม ทหารปีนข้ามกำแพงทะเลในอินช็อน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1890 ================================ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1890 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1890 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 2 ตุลาคม - การลงประชามติสวิตเซอร์แลนด์ ค.ศ. 1890 รายชื่อปีในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปฏิทินปี 1890 - ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา รายชื่อปีในโทรทัศน์ประเทศฮังการี ================================ คริสต์ทศวรรษ 1950 1950 1951 1952 1953 1954 1955 1956 1957 1958 1959 คริสต์ทศวรรษ 1960 1960 1961 1962 1963 1964 1965 1966 1967 1968 1969 คริสต์ทศวรรษ 1980 1980 1981 1982 1983 1984 1985 1986 1987 1988 1989 คริสต์ทศวรรษ 1990 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 คริสต์ทศวรรษ 2000 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 คริสต์ทศวรรษ 2010 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 รายชื่อปีในโทรทัศน์ประเทศตุรกี ============================== คริสต์ทศวรรษ 1950 1950 1951 1952 1953 1954 1955 1956 1957 1958 1959 คริสต์ทศวรรษ 1960 1960 1961 1962 1963 1964 1965 1966 1967 1968 1969 คริสต์ทศวรรษ 1980 1980 1981 1982 1983 1984 1985 1986 1987 1988 1989 คริสต์ทศวรรษ 1990 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 คริสต์ทศวรรษ 2000 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 คริสต์ทศวรรษ 2010 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 สหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1879 ========================= เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1879 ในสหราชอาณาจักร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1879 ในสหราชอาณาจักร 4 กรกฎาคม - ชนเผ่าซูลูพ่ายแพ้อังกฤษ รายชื่อปีในสหราชอาณาจักร บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา จังหวัดฮกไกโด ============= ฮกไกโด (ญี่ปุ่น: 北海道 ฮกไกโด ?; ไอนุ: アィヌ・モシリ อัยนูโมซีร์) เดิมเรียก เอะโซะ (ญี่ปุ่น: 蝦夷 ?) เป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชู แต่มีอุโมงค์ใต้ทะเลเซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเขต คือ ซัปโปะโระ ฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้ว คือ ชาวไอนุ แต่โดนกลืนชนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและมีชีวิตเช่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป ฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ในด้านภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปะโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮนชู ฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอยู่อาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก ฮกไกโด (ญี่ปุ่น: 北海道 ฮกไกโด ?; ไอนุ: アィヌ・モシリ อัยนูโมซีร์) เดิมเรียก เอะโซะ (ญี่ปุ่น: 蝦夷 ?) เป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชู แต่มีอุโมงค์ใต้ทะเลเซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเขต คือ ซัปโปะโระ ฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้ว คือ ชาวไอนุ แต่โดนกลืนชนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและมีชีวิตเช่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป ฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ในด้านภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปะโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮนชู ฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอยู่อาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก ฮกไกโดเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไอนุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ชื่อสถานที่หลายแห่งบนเกาะ เช่น เมืองซัปโปะโระ ก็เป็นภาษาไอนุ ฮกไกโดเคยมีชื่อว่า เอะโซะ จนสิ้นยุคเมจิ ในช่วงสงครามโบะชิงเมื่อปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) กองกำลังสนับสนุนรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะซึ่งนำโดย เอะโนะโมะโตะ ทะเกะอะกิ ได้ประกาศเป็นรัฐอิสระในนามสาธารณรัฐเอะโซะ แต่ก็ล่มสลายในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) ภายหลังแบ่งเขตการปกครองเป็น 4 ส่วน ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ ชื่อ ฮกไกโด ในภาษาญี่ปุ่นเขียนว่า 北海道 โรมะจิสะกดว่า Hokkaidō หมายถีง "เส้นทางสู่ทะเลเหนือ" ฮกไกโดเป็นทั้งชื่อ เกาะ เขตแดนและจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีให้เห็นคำว่า เกาะฮกไกโด ซึ่งกล่าวถึงเกาะโดยรวม เขตฮกไกโดกล่าวในลักษณะโดยรวมของบริเวณทางส่วนเหนือของญี่ปุ่น แต่จะไม่ใช้คำว่าจังหวัดฮกไกโด เนื่องจากคำว่า โด (道) ในชื่อฮกไกโด มีความหมายว่าจังหวัดอยู่แล้ว สำหรับชื่อจังหวัดนี้ในชาวไทยนั้นนิยมเรียกว่า "ฮอกไกโด" เสียมากกว่า แต่สำหรับชื่อจริงของจังหวัดนี้คือ "ฮกไกโด" เขตการปกครองฮกไกโดรวมเกาะเล็กๆ ที่อยู่รอบ ๆ เกาะฮกไกโดด้วย เช่น เกาะริชิริ เกาะเรบุน และเกาะโอกุชิริ นอกจากนั้นยังมีเขตอุทยานแห่งชาติอีก 6 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติชิเระโตะโกะ (知床) (มีทั้งทะเลและทะเลสาบ) อุทยานแห่งชาติอะกัง (阿寒) (เป็นทะเลสาบ) อุทยานแห่งชาติคุชิโระ-ชิสึเง็ง (釧路湿原) (เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ) อุทยานแห่งชาติไดเซะสึซัง (大雪山) (เป็นเทือกเขา) อุทยานแห่งชาติชิโกะสึ-โทยะ (支笏洞爺) (เป็นทะเลสาบ) อุทยานแห่งชาติริชิริ-เระบุน-ซะโระเบะสึ (利尻礼文サロベツ) (เป็นเกาะ) 5 วนอุทยาน (準国立公園) 12 เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ ดูบทความหลักที่: กิ่งจังหวัดของฮกไกโด เนื่องจากจังหวัดฮกไกโดมีขนาดใหญ่มาก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการต่อประชาชน จังหวัดฮกไกโดจึงตั้งสำนักงานจังหวัดขึ้นเพื่อดูแลในแต่ละท้องที่จำนวน 14 สำนักงาน เรียกว่า กิ่งจังหวัด ฮกไกโดมีชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีฤดูร้อนที่เย็นสบาย จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ส่วนในฤดูหนาวก็จะมีหิมะมากและหนาวนานอยู่ประมาณครึ่งปี (ปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงต้นเดือนเมษายน) แม้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 22 °C (72 °F) แต่เดือนมกราคมจะมีช่วงอุณหภูมิต่ำมากประมาณ -12 °C ถึง -4 °C (10 °F ถึง 25 °F) ในระหว่างฤดูหนาว ทะเลโอค็อตสค์ทางตะวันออกของเกาะจะกลายเป็นน้ำแข็งทำให้การเดินทางทางทะเลแถบน้ำเป็นไปได้ยาก ต้องใช้เรือตัดน้ำแข็ง ส่วนการประมงก็ต้องรอจนกว่าจะสิ้นฤดูหนาว เนื่องจากฮกไกโดเป็นดินแดนหิมะ ที่เมืองซัปโปะโระจึงมีการจัดเทศกาลหิมะเป็นประจำทุกปี ในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ ฮกไกโดเป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่น เป็นแหล่งผลิตข้าวญี่ปุ่น อาหารทะเลชั้นดี และผักผลไม้คุณภาพสูง ฮกไกโดยังเป็นแหล่งของอุตสาหกรรมเบาบางประเภท เช่น เยื่อกระดาษ เบียร์ซัปโปะโระ และผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบหลักของรายได้ของเขตนี้ ทั้งฤดูร้อนที่เย็นสบายเป็นที่ชมธรรมชาติ ป่าเขาที่สวยงาม และในฤดูหนาวก็มีเทศกาลหิมะซัปโปโรที่เลื่องชื่อเป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นเองและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก และสถานที่เล่นสกีก็มีอยู่มากมายเช่นเดียวกับบ่อน้ำร้อนที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบทำรายได้มหาศาลให้แก่ผู้คนในฮกไกโด ฮกไกโดเชื่อมกับเกาะฮนชูทางอุโมงค์เซกัง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาฮกไกโดโดยทางเครื่องบิน โดยมาลงที่ท่าอากาศยานชิง-ชิโตะเซะในเมืองชิโตเซะ ซึ่งอยู่ห่างจากซัปโปะโระเพียง 40 นาทีโดยรถไฟ เที่ยวบินระหว่างโตเกียวและชิโตะเซะมีมากถึง 45 เที่ยวต่อวัน (3 สายการบิน) ซึ่งนับว่าติดอันดับโลก ฮกไกโดยังมีสายการบินเป็นของตัวเองชื่อ Air Do ซึ่งก็มาจากชื่อของเกาะฮกไกโดนั่นเอง นอกจากเครื่องบินแล้วฮกไกโดยังมีท่าเรือเฟอร์รี่ที่สามารถเดินทางไปยังเกาะต่าง ๆ ได้ แต่จะใช้เวลาค่อนข้างมาก ส่วนภายในฮกไกโดนั้นจะใช้รถไฟเป็นหลัก รถไฟระหว่างเมืองดำเนินงานโดย JR ฮกไกโด แต่บางเมืองต้องเดินทางด้วยรถประจำทางหรือรถยนต์ส่วนตัวเท่านั้น สำหรับรถไฟใต้ดินมีเฉพาะที่นครซัปโปะโระ มหาวิทยาลัยฮกไกโด รูปภาพเกี่ยวกับจังหวัดฮกไกโด ที่ฟลิคเกอร์ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เว็บไซต์สร้างโดยกลุ่มคนไทยในฮอกไกโด พิกัดภูมิศาสตร์: 43°N 142°E / 43°N 142°E / 43; 142 บทความเกี่ยวกับประเทศ ดินแดน หรือเขตการปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล จังหวัดฮกไกโด 北海道 จังหวัด การถอดเสียงญี่ปุ่น  • ญี่ปุ่น 北海道  • โรมะจิ Hokkaido ประเทศ ญี่ปุ่น ภาค ฮกไกโด เกาะ ฮกไกโด เมืองเอก ซัปโปะโระ การปกครอง  • ผู้ว่าราชการ ฮะรุมิ ทะกะฮะชิ พื้นที่  • ทั้งหมด 83,424.22 ตร.กม. (32,210.27 ตร.ไมล์) อันดับพื้นที่ 1 ของประเทศ ประชากร (มี.ค. 2015)  • ทั้งหมด 5,407,930  • อันดับ 7 ของประเทศ  • ความหนาแน่น 64.81 คน/ตร.กม. (167.9 คน/ตร.ไมล์) รหัสไอเอสโอ 3166 JP-01 อำเภอ 66 เทศบาล 207 ดอกไม้ กุหลาบญี่ปุ่น (ฮะนะมะสึ Rosa rugosa) ต้นไม้ สนเจโซ (Picea jezoensis) นก นกกระเรียนมงกุฎแดง (ทันโจ Grus japonensis) เว็บไซต์ http://www.pref.hokkaido.jp/ สัญลักษณ์ของจังหวัดฮกไกโด ทะเลสาบอะกัง ร่องผาโซอุน ในเขตภูเขาไฟไดเซะสึซัง แผนที่เกาะฮกไกโด แสดงกั่งจังหวัดและเมืองสำคัญ เขตสัมพันธวงศ์ ============== เขตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม เขตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางรัก มีคลองผดุงกรุงเกษม เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพระนคร มีคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เป็นเส้นแบ่งเขต เขตนี้เป็นสถานที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ตอนแรกเริ่มกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พวกเขาได้ย้ายมาจากเขตพระนครในปัจจุบัน โดยมีถนนวานิช 1 หรือ "ถนนสำเพ็ง" เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวจีน จวบจนสร้างถนนเยาวราชในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2435 ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางชาวจีนจนถึงปัจจุบัน อำเภอสัมพันธวงศ์ สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ตั้งอยู่ที่สามแยกถนนทรงวาดตัดกับถนนปทุมคงคา ตำบลศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งอยู่ในเขตวัดสัมพันธวงศาราม จึงสันนิษฐานได้ว่าอำเภอสัมพันธวงศ์คงตั้งชื่อตามวัดที่ตั้งนั่นเอง (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายไปตั้งที่ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย) โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 14 ตำบล ต่อมาได้มีการยุบรวม "อำเภอสามแยก" ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตึกแถวสี่แยกถนนทรงวาดกับถนนเยาวราช มีเขตปกครอง 6 ตำบล และ "อำเภอจักรวรรดิ" ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ข้างสถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ มีเขตปกครอง 18 ตำบล มาขึ้นกับอำเภอสัมพันธวงศ์ แล้วแบ่งเขตปกครองใหม่ออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลสัมพันธวงศ์ ตำบลจักรวรรดิ และตำบลตลาดน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติจัดการบริหารราชการใหม่ในเขตนครหลวง อำเภอสัมพันธวงศ์ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร แบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง เขตสัมพันธวงศ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง (khwaeng) ได้แก่ ทางสายสำคัญในเขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่ ดูบทความหลักที่: ถนนเยาวราช ถนนเยาวราช มีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร โดยเกือบตลอดถนนทั้งสายจะเต็มไปด้วยร้านขายทองและร้านอาหาร และเป็นชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยมากที่สุดในเมืองไทย ในปัจจุบันมีประตูซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของไชนาทาวน์อยู่ ซึ่งได้สร้างเนื่องในพระราชวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงฉลองพระชนมายุครบ 6 รอบ ตั้งอยู่กลางวงเวียนโอเดียน สุดถนนเยาวราช วัดและศาลเจ้าที่สำคัญ ได้แก่ ในช่วงเทศกาล ถนนเยาวราชจะปิดทั้งสาย เทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ เว็บไซต์สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ แผนที่เขตสัมพันธวงศ์ แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เขตสัมพันธวงศ์ ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์ แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์ ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์ พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′52″N 100°30′50″E / 13.731°N 100.514°E / 13.731; 100.514 บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. สืบค้น 11 มีนาคม 2560. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556. เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ข้อมูลทั่วไป องค์พระปฏิมาทองคำ ไตรมิตรสถิตธรรมแจ่มใส ซุ้มประตูวัฒนธรรมร่วมใจ จีนไทยสืบสัมพันธ์มั่นคง เป็นแหล่งอาหารเลิศรส ร้านทองชื่อปรากฏกล่าวขาน ตลาดเก่าเยาวราชมีมานาน ไทยจีนร่วมสนานสัมพันธวงศ์ อักษรไทย เขตสัมพันธวงศ์ อักษรโรมัน Khet Samphanthawong รหัสทางภูมิศาสตร์ 1013 รหัสไปรษณีย์ 10100 ข้อมูลสถิติ พื้นที่ 1.416 ตร.กม. ประชากร 24,785 คน (พ.ศ. 2559) ความหนาแน่น 17,503.53 คน/ตร.กม. สำนักงานเขต ที่ตั้ง เลขที่ 37 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100 พิกัด 13°43′53″N 100°30′51″E / 13.73139°N 100.51417°E / 13.73139; 100.51417 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2237 3345 หมายเลขโทรสาร 0 2237 4541 เว็บไซต์ เว็บไซต์สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่ (ตร.กม.) จำนวนประชากร (พฤษภาคม 2560) จำนวนบ้าน (พฤษภาคม 2560) ความหนาแน่นประชากร (พฤษภาคม 2560) จักรวรรดิ Chakkrawat 0.484 7,615 5,036 15,733.47 สัมพันธวงศ์ Samphanthawong 0.483 9,085 4,449 18,809.52 ตลาดน้อย Talat Noi 0.449 7,829 3,752 17.436.52 ทั้งหมด 1.416 24,529 13,237 17,322.74 สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสัมพันธวงศ์ ปี (พ.ศ.) ประชากร การเพิ่มและการลด 2535 43,387 ไม่ทราบ 2536 43,220 -167 2537 42,126 -1,094 2538 40,412 -1,714 2539 39,585 -827 2540 38,984 -601 2541 38,628 -356 2542 37,593 -1,035 2543 36,925 -668 2544 36,899 -26 2545 36,127 -772 2546 35,547 -580 2547 32,194 -3,353 2548 31,674 -520 2549 31,142 -532 2550 30,646 -496 2551 30,088 -558 2552 29,283 -805 2553 28,617 -666 2554 28,001 -616 2555 27,426 -575 2556 26,932 -494 2557 26,359 -573 2558 25,694 -665 2559 24,785 -909 ถนนเจริญกรุง ถนนพระรามที่ 4 ถนนเยาวราช ถนนจักรวรรดิ ถนนราชวงศ์ ถนนบริพัตร ถนนมหาจักร ถนนมังกร ถนนเยาวพานิช ถนนแปลงนาม ถนนผดุงด้าว (ซอยเท็กซัส) พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ถนนพาดสาย ถนนทรงสวัสดิ์ ถนนลำพูนไชย ถนนมิตรภาพไทย-จีน (ตรีมิตร) ถนนทรงวาด ถนนข้าวหลาม ซอยเจริญกรุง 12 (บำรุงรัฐ) ซอยเจริญกรุง 16 / ซอยเยาวราช 6 / ซอยเยาวราช 11 (อิศรานุภาพ) ซอยเยาวราช 23 (ถนนเสริมสินค้า) ซอยวานิช 1 (สำเพ็ง) วัดกันมาตุยาราม วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร วัดชัยชนะสงคราม (วัดตึก) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร วัดบำเพ็ญจีนพรต วัดปทุมคงคา วัดโลกานุเคราะห์ วัดสัมพันธวงศาราม (วัดเกาะ) วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร ประตูจีนที่วงเวียนโอเดียน ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ศาลเจ้าอาเนี้ยเก็ง ศาลเจ้าโรงเจบุญสมาคม ศาลเจ้ากวนอู ศาลเจ้าโจวซือกง ศาลเจ้าไต้ฮงกง ศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง มูลนิธิเทียนฟ้า โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย มหามณฑปหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร โบสถ์กาลหว่าร์ เวิ้งนาครเขษม คลองถม สะพานหัน สะพานเหล็ก ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา ตลาดเก่าเยาวราช ตลาดใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ มูลนิธิเทียนฟ้า พิพิธภัณฑ์ทองคำห้างทองตั้งโต๊ะกัง บางกอกริเวอร์พาร์ค พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตสัมพันธวงศ์ ย่านสำเพ็ง ซอยสุกร มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ หอศิลป์กรุงไทย อาคารธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย กรมเจ้าท่า ด พ ก เขตในกรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี คลองสาน • จอมทอง • ตลิ่งชัน • ทวีวัฒนา • ทุ่งครุ • ธนบุรี • บางกอกน้อย • บางกอกใหญ่ • บางขุนเทียน • บางแค • บางบอน • บางพลัด • ภาษีเจริญ • ราษฎร์บูรณะ • หนองแขม ฝั่งพระนคร คลองเตย • คลองสามวา • คันนายาว • จตุจักร • ดอนเมือง • ดินแดง • ดุสิต • บางกะปิ • บางเขน • บางคอแหลม • บางซื่อ • บางนา • บางรัก • บึงกุ่ม • ปทุมวัน • ประเวศ • ป้อมปราบศัตรูพ่าย • พญาไท • พระโขนง • พระนคร • มีนบุรี • ยานนาวา • ราชเทวี • ลาดกระบัง • ลาดพร้าว • วังทองหลาง • วัฒนา • สวนหลวง • สะพานสูง • สัมพันธวงศ์ • สาทร • สายไหม • หนองจอก • หลักสี่ • ห้วยขวาง แพลทินัม ======== แพลทินัม (อังกฤษ: Platinum) คือธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 78 และสัญลักษณ์คือ Pt เป็นธาตุโลหะทรานซิชัน มีสีเงินเทา มีน้ำหนักมาก สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ แพลทินัมทนต่อการกัดกร่อนมาก ในธรรมชาติพบอยู่กับสินแร่ของนิกเกิลและทองแดง ปัจจุบันแพลทินัมมีราคาสูงกว่าทองคำ 2-3 เท่า แพลทินัมสามารถใช้ทำเครื่องประดับ อุปกรณ์ในห้องทดลอง ตัวนำไฟฟ้า งานทันตกรรม และเครื่องกรองไอเสียในรถยนต์ ธาตุแพลทินัมเรียกได้อีกอย่างว่า ทองคำขาว ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนกับ ทองขาว (White gold) แพลทินัมจะแกะลายได้สวยกว่าทองเนื่องจากความหนาแน่นสูง และเมื่อใช้ไปในระยะยาวจะยังคงมีลายที่คมชัดเหมือนเดิมไม่สึกออกไปเหมือนทอง (แพลทินัมจะน้ำหนักเท่าเดิมไม่สูญหายเหมือนทองที่พอใช้ไปเรื่อยๆ เนื้อทองจะหลุดร่อนทุกครั้งที่กระทบกับวัตถุอื่นๆ) แพลทินัม (อังกฤษ: Platinum) คือธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 78 และสัญลักษณ์คือ Pt เป็นธาตุโลหะทรานซิชัน มีสีเงินเทา มีน้ำหนักมาก สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ แพลทินัมทนต่อการกัดกร่อนมาก ในธรรมชาติพบอยู่กับสินแร่ของนิกเกิลและทองแดง ปัจจุบันแพลทินัมมีราคาสูงกว่าทองคำ 2-3 เท่า แพลทินัมสามารถใช้ทำเครื่องประดับ อุปกรณ์ในห้องทดลอง ตัวนำไฟฟ้า งานทันตกรรม และเครื่องกรองไอเสียในรถยนต์ ธาตุแพลทินัมเรียกได้อีกอย่างว่า ทองคำขาว ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนกับ ทองขาว (White gold) แพลทินัมจะแกะลายได้สวยกว่าทองเนื่องจากความหนาแน่นสูง และเมื่อใช้ไปในระยะยาวจะยังคงมีลายที่คมชัดเหมือนเดิมไม่สึกออกไปเหมือนทอง (แพลทินัมจะน้ำหนักเท่าเดิมไม่สูญหายเหมือนทองที่พอใช้ไปเรื่อยๆ เนื้อทองจะหลุดร่อนทุกครั้งที่กระทบกับวัตถุอื่นๆ) แพลทินัมถูกแยกออกมาเป็นสารบริสุทธิ์ ครั้งแรกโดยนักเคมีชาวอังกฤษ ซึ่งในการแยกแพลทินัมในครั้งนั้น เขาก็ได้ค้นพบธาตุชนิดใหม่ขึ้นมาอีก 2 ชนิด คือ แพลเลเดียม (Pd) และโรเดียม (Rh) โดย แพลทินัมนั้นมาจากภาษาสเปน ซึ่งแปลว่า เงินนั่นเอง แพลทินัมโดยทั่วไปจะพบที่บริเวณแผ่นเปลือกโลก ซึ่งจะกระจายอยู่ทั่วไป แต่จะมีปริมานที่น้อยมาก แหล่งที่พบแพลทินัม คือ แอฟริกาใต้ แคนาดา อเมริกา และรัสเซีย การนำแพลทินัมไปใช้ประโยชน์นั้นมีมากมายหลายหลายแบบ เพราะแพลทินัมนั้น มีคุณสมบัติที่มากหลายประการที่เป็นความต้องการของตลาดเอง หรือแม้แต่ตัวผู้ประกอบการต่างๆ แพลทินัมจึงเป็นโลหะที่ เมื่อเทียบกับโลหะชนิดอื่นในตระกูลแพลทินัมแล้วถือว่าแพลทินัมเป็นโลหะที่มีการใช้มากที่สุด ดังนั้น แพลทินัมจึงมีราคาที่สูงมาก เพราะเป็นทั้งโลหะที่มีการใช้มาก และยังหายากอีกด้วย แต่ถึงจะมีราคาที่สูงแต่แพลทินัมก็เป็นที่นิยมมากในการนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เพราะแพลทินัมนั้น มีสีเงิน และมีความเงางามมาก ที่สำคัญคือ แพลทินัม จะไม่ทำปฏิกิริยากับ ออกซิเจน จึงไม่ทำให้เกิดสนิม และแพลทินัมยังสามารถที่รวมตัวและนำมาผสมกับโลหะชนิดอื่นได้ และยังมีความคงทนแข็งแรง จึงมีการนำแพลทินัมไปทำเป็นเบ้าที่มีความคงทนต่อความร้อนที่สูงและแพลทินัมยังช่วยเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในเคมีได้อีกด้วย แพลทินัมจะมีจุดหลอมเหลวที่สูงมากสุงกว่าจุดหลอมเหลวของทองคำ แพลทินัมจะไม่สามารถหลอมเหลวด้วยเปลวไฟที่ใช้ในการหลอมทองคำได้ เนื่องจาก มีจุดเดือดที่ต่างกัน แพลทินัมจะมีจุดหลอมเหลวที่ 1768.3องศาเซลเซียส แพลทินัมจะไม่มีการสึกกร่อนหรือละลายด้วยกรด ยกเว้นกรดกัดทอง แพลทินัมจะเกิดการละลาย มีเมื่อ มีกรดผสมระหว่างกรดไนตริกกับกรดไฮโดรคลอริก ในอัตราส่วน 1:3 แพลทินัมจะไม่เกิดสนิม ถ้าเป็น เครื่องประดับที่เป็นแหวนก็จะ คงความเงางาม แวววาวได้นาน กว่าทองคำ ถึงแม้ว่าค่าความบริสุทธิ์จะมีค่าเท่ากับแพลทินัม แต่แพลทินัมจะมีค่าความแข็งมากกว่าทองคำถึงเท่าตัวเลยทีเดียว แพลทินัมเป็นธาตุที่มีความบริสุทธิ์สูงถึง 95% จัดเป็นโลหะที่มีความบริสุทธิ์ เทียบเท่ากับทองคำเลยทีเดียว แต่ค่าความแข็งแพลทินัมจะมีค่าสูงกว่าทองคำถึงเท่าตัวเลยทีเดียว ทำให้เป็นธาตุที่มีมูลค่าในด้าน ด้านการแพทย์ นำมาผลิตเป็นเครื่องมือในการผ่าตัด เนื่องจากแพลทินัมจะไม่เกิดสนิม จึงมีประสิทธิ์ภาพสูงกว่าเครื่องมือทั่วๆไป เครื่องใช้ในห้องปฏิบัติการสายความต้านทานไฟฟ้าและจุดติดต่อไฟฟ้า และด้านอุตสาหกรรมด้านอัญมณี และเครื่องประดับ เนื่องจาก แพลทินัม มีความทนทาน แวววาว เมื่อนำมาทำเครื่องประดับก็ดูสวยงามยาวนานโดยที่ไม่ต้องทำความสะอาดอยู่บ่อยๆ และเครื่องประดับจะไม่มีการสึกกร่อนได้ง่าย ทำให้ไม่ศูนย์เสียเนื้อโลหะและไม่มีการบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ยังคงสภาพเดิมได้ยาวนาน รวมถึงการนำมาใช้เป็นสีพ้นบนผิวของตัวรถ ส่วนใหญ่ที่ได้มีการนำมาใช้จะใช้กับรถสปอร์ตหรู ทำให้ดูสวยงามและมีแวววาวของสีรถจะมีความเงางามได้นานกว่าสีธรรมดาทั่วไป ทำให้รถดูมีมูลค่าสูงขึ้นด้วย แพลทินัมยังนำมาใช้ในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์อีกด้วย นำมาปรับใช้ในการลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการปล่อยควันพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ โดยใช้ โลหะ “แพลทินัม” และ “แพลเลเดียม” เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่จะทำให้ CO ให้เป็น co_2 และ น้ำ ในการเกิดปฏิกิริยาในห้องเครื่องยนต์ต้องมีแก๊สออกซิเจนที่มากพอที่จะก่อให้เกิดการทำปฏิกิริยา โดยอาจมีการปั๊มลมเข้าไปในตัวเครื่อง การฟอกอากาศที่เป็นพิษจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของแก๊สด้วย ถ้าแก๊สมีอุณหภูมิสูงกว่า 200 C ประสิทธิภาพการฟอกไอเสียของเครื่องฟอกไอเสียแบบที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันใหม่จะมีค่าถึงร้อยละ 98 แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 200 C ตัวเร่งปฏิกิริยาก็จะใช้ไม่ได้ผล ส่วนใหญ่เราจะพบแร่แพลทินัมในรูปของผลิตภัณฑ์ เป็นในรูปของแหวนเพชรแพลทินัม เพราะว่าแพลทินัมมีความบริสุทธิ์ สุดจึงไม่มีอันตรายต่อการสวมใส่แม้กระทั่ง ผิวที่เกิดการแพ้ง่าย จึงทำให้มีความนิยมกันมากขึ้น แต่แหวนเพชรแพลทินัมนี้จะมีราคาแพงมากจึงเป็นทางเลือกทางเลือกให้แก่ที่คนชอบใส่แหวนแต่มีอาการผิวแพ้โลหะ แต่ถ้ามาดูถึงแพลทินัมในรูปของเกลือแพลทินัมแล้วจะมีอันตรายต่อสุขภาพมากเลยทีเดียว อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอ มะเร็ง อาการแพ้ของผิวหนังและเยื่อเมือก ความเสียหายไปยังอวัยวะเช่นลำไส้ไตและไขกระดูก อาจเกิดการสูญเสียการได้ยินเสียง การวิจัยลูกบาศก์นาโนแพทตินั่มนั้นเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ของเซลล์เชื้อเพลิงแบบใช้ไฮโดรเจน โดยนักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการวิเคราะห์ และทำการทดลองแล้วว่า ยานพาหนะ ที่ใช้เชื้อเพลิงที่ได้จากพลังงานจากไฮโดรเจน ซึ่งมีการนำมาทดแทนการใช้แบตเตอรีนั้น มีการสร้างพลังงานจากปฏิกิริยาเคมี ซึ่งกระบวนการผลิตพลังงานดังกล่าว มักจะมีอุปสรรค คือ มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ต่ำ และมีต้นทุนในการผลิตที่สูงมาก นักวิทยาศาสตร์จึงได้มีการทดลองเพื่อเอาชนะและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น โดยทีมวิจัย ที่มีบุคคลสำคัญ คือ Shouheng Sun ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ ทางด้านเคมี จาก Brown เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านลูกบาศก์นาโนแพทตินั่ม ซึ่งแพทตินั่มเป็นโลหะที่มีค่ามากและยังมีความสามารถที่จะช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีในเซลล์เชื้อเพลิงได้ โดยทีมวิจัยได้ทำการแสดงรูปร่างของโลหะ แพทตินั่มที่เป็นรูปทรงลูกบาศก์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์ เชื้อเพลิง หรือเรียกว่าปฏิกิริยาออกซิเดชัน แพทตินั่มเป็นตัวช่วยในการลดปริมาณพลังงานก่อกัมมันต์ หรือพลังงานที่น้อยที่สุดที่เกิดจากการชนของอนุภาคของสารตั้งต้น แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี และอีกทั้งในส่วนของปฏิกิริยาออกซิเดชันในเซลล์เชื้อเพลิงซึ่งอยู่ในขั้วแคโทด แพทตินั่มก็จะช่วยเร่งปฏิกิริยา การรีดักชันของออกซิเจน โดยที่อิเล็กตรอนจะหลุดออกจากอะตอมของไฮโดรเจน หลังจากนั้นก็ไปรวมตัวกับออกซิเจน เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้า ปฏิกิริยานี้จะมีผลิตภัณฑ์ นั้นก็คือน้ำ โดยผลพลอยได้นี้ ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากรถยนต์ ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ถึงแม้ว่าแพทตินั่มจะมีประสิทธิภาพมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพของแพทตินั่ม ให้ได้สูงสุดในปฏิกิริยารีดักชัน อุปสรรคสำคัญคืออยู่ที่รูปร่างและพื้นที่ผิว โดยรูปทรงทางเลขาคณิตและลักษณะพื้นที่ผิวของแพทตินัมนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการก่อร่างแพทตินัมเป็นรูปทรงลูกบาศก์ในขนาดนาโน ซึ่งในตอนแรกนักวิจัยสามารถที่จะคุมลักษณะรูปร่าง ของแต่ละอนุภาคให้มีลักษณะคล้ายกับลูกบาศก์ แต่มีข้อจำกัดมากมายในการควบคุมลักษณะรูปร่างเหล่านี้ ซึ่งทำได้ยากมาก จนกระทั่งตอนนี้สามารถที่จะผลิตลูกบาศก์นาโนที่มีลักษณะที่เหมือน และมีขนาดที่คงที่มากขึ้น ซึ่งในการทดลองนั้นนักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการนำแพทตินัมที่รูปร่าง แบบทรงหลายเหลี่ยมและทรงลูกบาศก์ โดยมีการเติม Platinum acetylacetonate และ iron pentacarbonyl จำนวนเล็กน้อยในที่มีอุณหภูมิเฉพาะ และพบว่ารูปร่างของลูกบาศก์ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีผิวที่ใหญ่มากและต้านทานการดูดซับ ในสารละลายของเซลล์เชื้อเพลิง จาการทดลองนั้นมีการคาดหวังว่า จะทำให้ได้ปริมาณของพลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้น จนเหมาะสมกับรถยนต์ที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง และให้น้ำออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2553. ISBN 978-616-7073-19-4 สถาบันกรุงเทพอัญมณีศาสตร์ (2557)http://www.bigsthailand.com/lib_platinum.asp สืบค้นวันที่ 1 พ.ศ. 2557 http://www.lenntech.com/periodic/elements/pt.htm http://www.lenntech.com/periodic/elements/pt.htm http://www.team-bhp.com/forum/international-automotive-scene/52448-benz-white-gold.html http://mte.kmutt.ac.th/elearning/Internal%20Combustion%20Engine%20Part%20II/page_11_4.htm http://www.lenntech.com/periodic/elements/pt.htm http://www.electron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=798&Itemid=4 http://www.sciencedaily.com/releases/2008/04/080418090427.htm วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แพลทินัม บทความเกี่ยวกับเคมีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก ทั่วไป ชื่อ, สัญลักษณ์, เลขอะตอม แพลทินัม, Pt, 78 อนุกรมเคมี โลหะทรานซิชัน หมู่, คาบ, บล็อก 10, 6, d ลักษณะ สีขาวอมเทา มวลอะตอม 195.078 (2) กรัม/โมล การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Xe] 4f14 5d9 6s1 อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 8, 18, 32, 17, 1 คุณสมบัติทางกายภาพ สถานะ ของแข็ง ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) 21.45 ก./ซม.³ ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. 19.77 ก./ซม.³ จุดหลอมเหลว 2041.4 K (1768.3 °C) จุดเดือด 4098 K(3825 °C) ความร้อนของการหลอมเหลว 22.17 กิโลจูล/โมล ความร้อนของการกลายเป็นไอ 469 กิโลจูล/โมล ความร้อนจำเพาะ (25 °C) 25.86 J/(mol·K) คุณสมบัติของอะตอม โครงสร้างผลึก cubic face centered สถานะออกซิเดชัน 2, 4 (ออกไซด์เป็นเบสปานกลาง) อิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.28 (พอลิงสเกล) พลังงานไอออไนเซชัน ระดับที่ 1: 870 กิโลจูล/โมล ระดับที่ 2: 1791 กิโลจูล/โมล รัศมีอะตอม 135 pm รัศมีอะตอม (คำนวณ) 177 pm รัศมีโควาเลนต์ 128 pm รัศมีวานเดอร์วาลส์ 175 pm อื่น ๆ การจัดเรียงทางแม่เหล็ก paramagnetic ความต้านทานไฟฟ้า (20 °C) 105 nΩ·m การนำความร้อน (300 K) 71.6 W/(m·K) การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 8.8 µm/(m·K) อัตราเร็วของเสียง (แท่งบาง) (r.t.) 2800 m/s โมดูลัสของยังก์ 168 GPa โมดูลัสของแรงเฉือน 61 GPa โมดูลัสของแรงบีบอัด 230 GPa อัตราส่วนปัวซอง 0.38 ความแข็งโมห์ส 3.5 ความแข็งวิกเกอร์ส 549 MPa ความแข็งบริเนล 392 MPa เลขทะเบียน CAS 7440-06-4 ไอโซโทปเสถียรที่สุด แหล่งอ้างอิง แพลทินัม อิริเดียม ← → ทองคำ Pd ↑ Pt ↓ Ds ความดันไอ P/Pa 1 10 100 1 k 10 k 100 k ที่ T K 2330 (2550) 2815 3143 3556 4094 บทความหลัก: ไอโซโทปของแพลทินัม iso NA ครึ่งชีวิต DM DE (MeV) DP 190Pt 0.01% 6.5 E11 y α 3.18 186Os 191Pt syn 2.96 d ε  ? 191Ir 192Pt 0.79% Pt เสถียร โดยมี 114 นิวตรอน 193mPt syn 4.33 d IT 0.1355e 193Pt 193Pt syn 50 y ε  ? 193Ir 194Pt 32.9% Pt เสถียร โดยมี 116 นิวตรอน 195mPt syn 4.02 d IT 0.1297e 195Pt 195Pt 33.8% Pt เสถียร โดยมี 117 นิวตรอน 196Pt 25.3% Pt เสถียร โดยมี 118 นิวตรอน 197mPt syn 1.59 h IT 0.3465 197Pt 197Pt syn 19.8913 h β- 0.719 197Au 198Pt 7.2% Pt เสถียร โดยมี 120 นิวตรอน แพลทินัม โอมีปราโซล ========== โอมีปราโซล (อังกฤษ: Omeprazole) เป็นยาในกลุ่มยายับยั้งการขับโปรตอน หรือยับยั้งเอนไซน์ hydrogen-potassium adenosine triphosphatase เพื่อลดการหลั่งกรด ใช้รักษาโรคระบบทางเดินอาหาร หรือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะ โรคกรดไหลย้อน ภาวะกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อกำจัดแบคทีเรีย H.pylori ในกระเพาะอาหาร โอมีปราโซล (อังกฤษ: Omeprazole) เป็นยาในกลุ่มยายับยั้งการขับโปรตอน หรือยับยั้งเอนไซน์ hydrogen-potassium adenosine triphosphatase เพื่อลดการหลั่งกรด ใช้รักษาโรคระบบทางเดินอาหาร หรือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะ โรคกรดไหลย้อน ภาวะกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อกำจัดแบคทีเรีย H.pylori ในกระเพาะอาหาร ยาโอมีปราโซลออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ hydrogen-potassium adenosine triphosphatase (H+/K+ ATPase (proton pump)) บนmembraneของเซลล์pareital เอนไซม์ชนิดนี้จะผลิตกรดสู่ลูเมนในกระเพาะอาหาร การยับยั้งเอนไซม์จึงส่งผลต่อการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารน้อยลง เป็นยาชนิดเม็ดใช้สำหรับรับประทาน การหยุดใช้ยาต้องปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน ไม่ควรแบ่งหรือเคี้ยวเม็ดยา ควรกลืนยาทั้งเม็ด ในผู้จำเป็นต้องใช้ยาทั่วไปรับประทานวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ส่วนการใช้เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ควรใช้ยาหลังอาหารเช้า การใช้ยาร่วมกับยาอื่นๆเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori ในกระเพาะอาหาร รับประทานวันละ 2 ครั้ง หรือให้ใช้ยาตามที่ระบุไว้ในฉลาก การใช้ยาควรระมัดระวังกับผู้ป่วยโรคตับ สตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร นอกจากนี้ฤทธิ์ของยายังอาจบดบังอาการของมะเร็งกระเพาะอาหารจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษควรมีการวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งกระเพาะอาหารก่อนการรักษาด้วยยา omeprazole ผลข้างเคียงของยาที่พบได้ เช่น รบกวนระบบทางเดินอาหาร จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด ท้องร่วง ท้องผูก ปวดศีรษะและวิงเวียนศีรษะ ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้น้อย เช่น ปากแห้ง นอนไม่หลับ ง่วงซึม รู้สึกไม่สบาย มองไม่ชัด มีผื่นขึ้นและอาการคัน ผลข้างเคียงอื่นที่พบน้อยมากได้แก่ การรับรสผิดปกติของลิ้น ตับทำงานผิดปกติ บวมน้ำบริเวณแขนขา แพ้ยา ลมพิษ angioedema หลอดลมหดเกร็ง ไวต่อแสง มีไข้ เหงื่อออก ซึมเศร้า เนื้อเยื่อแทรกในไต ภาวะเม็ดเลือดขาวน้อยหรือมากกว่าปกติ ภาวะพร่องเม็ดเลือดทุกชนิด ภาวะเกล็ดเลือดน้อย ลดการดูดซึมวิตามิน B12 ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปฏิกิริยาผิวหนังของกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน และกรดในกระเพาะอาหารลดลงอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร ยายับยั้งการขับโปรตอน ราบีปราโซล Prilosec Prescribing Information. AstraZeneca Pharmaceuticals. Vaz-Da-Silva, M; Loureiro, AI; Nunes, T; Maia, J; Tavares, S; Falcão, A; Silveira, P; Almeida, L และคณะ (2005). "Bioavailability and bioequivalence of two enteric-coated formulations of omeprazole in fasting and fed conditions". Clin Drug Investig 25 (6): 391–9. doi:10.2165/00044011-200525060-00004. PMID 17532679.  |displayauthors= suggested (help) ยายับยั้งการขับโปรตอน (proton pump inhibitor - PPI) ถามเรื่องยา rabeprazole ชื่อการค้า pariet กลุ่มอาการ สตีเวนส์จอห์นสัน 1 : 1 mixture (racemate)Omeprazole ชื่อสารเคมีในระบบ IUPAC (RS)-6-methoxy-2-((4-methoxy-3,5-dimethylpyridin-2-yl) methylsulfinyl)-1H-benzo[d]imidazole ทะเบียนยา เลขทะเบียน CAS 73590-58-6 รหัส ATC A02BC01 PubChem 4594 DrugBank DB00338 ChemSpider 4433 ข้อมูลทางเคมี สูตรเคมี C17H19N3O3S  น้ำหนักโมเลกุล 345.4 g/mol SMILES eMolecules & PubChem ข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์ ชีวปริมาณออกฤทธิ์ 35–76% การจับกับโปรตีน 95% เมแทบอลิซึม ตับ (CYP2C19, CYP3A4) ครึ่งชีวิตของการกำจัด 1 – 1.2 ชั่วโมง การขับถ่าย 80% ไต 20% อุจจาระ ข้อมูลทางคลินิก Licence data US ลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์ B3 (AU) C (US) สถานะตามกฎหมาย Prescription Only (S4) (AU) POM (UK) OTC (US) ช่องทางการรับยา ปาก, หลอดเลือดดำ สารานุกรมเภสัชกรรม อำเภอควนขนุน ============ ควนขนุน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพัทลุง ควนขนุน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพัทลุง อำเภอควนขนุนเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอป่าพะยอมและอำเภอชะอวด(จังหวัดนครศรีธรรมราช) ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอระโนด(จังหวัดสงขลา) ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองพัทลุงและอำเภอศรีบรรพต ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอศรีบรรพตและอำเภอป่าพะยอม จากคำบอกเล่าของผู้รู้ในตำบล ตำบลควนขนุนเป็นตำบลเก่าแก่มาแต่ดั้งเดิม ไม่ปรากฏว่าย้ายมาจากที่ใดและไม่ปรากฏปีที่จัดตั้ง สำหรับชื่อที่เรียกตำบลควนขนุนเดิมบริเวณนี้มีต้นขนุนอยู่ 1 ต้น วันหนึ่งมีพระภิกษุเดินผ่านมาได้กลิ่นหอมของขนุนสุก แต่เมื่อมองหาผลบนต้นกลับไม่พบทั้งที่ยังมีกลิ่นหอมอยู่เหมือนเดิม จึงลองช่วยกันขุดใต้ดินบริเวณต้นขนุน พบขนุนมีลักษณะผิวสีทองจึงได้ช่วยกันนำขึ้นมาและไปถวายเจ้าเมือง เจ้าเมืองประทับใจมากที่มีของแปลกประหลาดจึงได้ประทานรางวัลฆ้อง 2 ลูก เป็นฆ้องเงินและฆ้องทอง และประทานชื่อว่า "บ้านควนขนุน" อำเภอควนขนุนเดิมเรียกว่า อำเภออุดร จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2439 หรือ ร.ศ. 115 มีพระพลสงคราม (โต ศิริธร) เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาภายหลังเป็นพระยาศิริธรเทพสัมพันธ์ เจ้ากรมเสมียนตรา อำเภอตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลควนขนุน และได้ย้ายที่ตั้งอีกจำนวน 4 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2442 ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านมะกอกใต้ เรียกว่า อำเภอมะกอกใต้ ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 ย้ายไปที่บ้านทะเลน้อย เรียก อำเภอทะเลน้อย ครั้งที่ 3 ไม่ปรากฏปี พ.ศ. ย้ายไปที่บ้านพนางตุง เรียก อำเภอพนางตุง และครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2466 ย้ายกลับมาตั้งที่เดิมคือที่บ้านควนขนุน เรียกว่า อำเภอควนขนุน มาจนถึงปัจจุบัน อำเภอควนขนุนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 129หมู่บ้าน ได้แก่ ท้องที่อำเภอควนขนุนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลควนขนุน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 5, 9 ตำบลควนขนุน เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ตำบลมะกอกเหนือ เทศบาลตำบลหนองพ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนขนุน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลควนขนุน) เทศบาลตำบลนาขยาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาขยาดทั้งตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะกอกเหนือ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ) เทศบาลตำบลพนางตุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพนางตุงทั้งตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทะเลน้อยทั้งตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโตนดด้วนทั้งตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกหาทั้งตำบล เทศบาลตำบลแหลมโตนด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมโตนดทั้งตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนทรายทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลพนมวังก์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพนมวังก์ทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลปันแต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปันแตทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะมวงทั้งตำบล อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม อากาศอบอุ่นเย็นสบายตลอดปี อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา และผลไม้ อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ ประมง ค้าขาย หัตถกรรม อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ธนาคาร มี 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย โรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนควนขนุน โรงเรียนปัญญาวุธ โรงเรียนอุดมวิทยายน โรงเรียนดอนศาลานำวิทยา โรงเรียนพนางตุง วิทยาลัยการอาชีพควนขนุน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ตำบลพนางตุง วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน พุทธมณฑลภาคใต้ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลควนขนุน ทรัพยากรดิน สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินปนทราย ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลน้อย คลองปันแต คลองปากประ ทรัพยากรป่าไม้ มีป่าไม้ประมาณ 35,744 ไร่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ 5 แห่ง ทางบก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 และ 4187 (โพธิ์ทอง-ควนขนุน) ทางรถไฟ สถานีรถไฟปากคลองและสถานีรถไฟแหลมโตนด บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย อำเภอควนขนุน ถิ่นพระดังเมืองคนดี ประเพณีลือเลื่อง เฟื่องฟูการศึกษา ทะเลงามตา นกน้ำเพลินใจ ข้อมูลทั่วไป อักษรไทย อำเภอควนขนุน อักษรโรมัน Amphoe Khuan Khanun จังหวัด พัทลุง ข้อมูลสถิติ พื้นที่ 453.96 ตร.กม. ประชากร 84,313 คน (พ.ศ. 2558) ความหนาแน่น 185.72 คน/ตร.กม. รหัสทางภูมิศาสตร์ 9305 รหัสไปรษณีย์ 93110, 93150 (เฉพาะตำบลทะเลน้อย พนางตุง และมะกอกเหนือ) ที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอควนขนุน หมู่ที่ 5 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93110 พิกัด 7°44′6″N 100°0′36″E / 7.73500°N 100.01000°E / 7.73500; 100.01000 หมายเลขโทรศัพท์ 0 7468 1250 หมายเลขโทรสาร 0 7468 1250 ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย 1. ควนขนุน (Khuan Khanun) 9 หมู่บ้าน 7. โตนดด้วน (Tanot Duan) 11 หมู่บ้าน 2. ทะเลน้อย (Thale Noi) 10 หมู่บ้าน 8. ดอนทราย (Don Sai) 11 หมู่บ้าน 3. นาขยาด (Na Khayat) 12 หมู่บ้าน 9. มะกอกเหนือ (Makok Nuea) 9 หมู่บ้าน 4. พนมวังก์ (Phanom Wang) 8 หมู่บ้าน 10. พนางตุง (Phanang Tung) 13 หมู่บ้าน 5. แหลมโตนด (Laem Tanot) 9 หมู่บ้าน 11. ชะมวง (Chamuang) 16 หมู่บ้าน 6. ปันแต (Pan Tae) 13 หมู่บ้าน 12. แพรกหา (Phraek Ha) 8 หมู่บ้าน ตลาดนัดจตุจักร ============== บทความนี้เกี่ยวกับตลาดนัด สำหรับความหมายอื่น ดูที่ จตุจักร พิกัดภูมิศาสตร์: 13°47′56″N 100°33′03″E / 13.79889°N 100.55083°E / 13.79889; 100.55083 ตลาดนัดจตุจักร เป็นตลาดนัดในกรุงเทพมหานคร มีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 8,000 แผงค้า แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็ด บทความนี้เกี่ยวกับตลาดนัด สำหรับความหมายอื่น ดูที่ จตุจักร พิกัดภูมิศาสตร์: 13°47′56″N 100°33′03″E / 13.79889°N 100.55083°E / 13.79889; 100.55083 ตลาดนัดจตุจักร เป็นตลาดนัดในกรุงเทพมหานคร มีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 8,000 แผงค้า แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็ด ตลาดแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 66 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครนั้นได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัด แต่เพียงไม่ถึงปีรัฐบาลก็ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามไชย และย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธิน โดยการดำเนินการโดยนายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงจัดที่ดินสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่ กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบัน ตลาดนัดสวนจตุจักรได้เปลี่ยนอำนาจการดูแลจากกรุงเทพมหานคร สู่การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งก็มีผู้ค้าขายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย หอนาฬิกาเป็นจุดนัดพบยอดนิยมที่ในตลาดนัดจตุจักร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยความร่วมมือของกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร และ สมาคมพ่อค้า ไทย - จีน ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ให้บริการตามหาญาติ สอบถามร้านค้า หาของสูญหาย เปิดบริการวันพุธ ถึง อาทิตย์ เวลา 8.00 - 20.00 น. ซุ้มประชาสัมพันธ์ (ประตู 1) ให้บริการสอบถามร้านค้า แผนที่ตลาดนัด เปิดบริการวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10.00 - 17.00 น. ธนาคารต่างๆ ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ฝากเงิน เปิดบัญชี สินเชื่อ ธนาคารทหารไทย (อาคารกองอำนวยการฯ) ธนาคารกรุงเทพ (อาคารกองอำนวยการฯ) ธนาคารออมสิน (ข้างๆ ฝ่ายปฏิบัติการ) ธนาคารไทยพาณิชย์ (ใกล้ประตู 1 ถ.กำแพงเพชร 2) ธนาคารกสิกรไทย (ตรงข้ามโครงการ 11) รถไฟฟ้ารอบๆ ตลาดนัดจตุจักร ให้บริการเวลาวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10.00 - 17.00 น. ห้องน้ำ ห้องพยาบาล (หลังอาคารกองอำนวยการฯ โครงการ 27) จตุจักรพลาซ่า จตุจักรตลาดนัดติดแอร์ (JJ Mall) จตุจักร เดย์ แอนด์ ไนท์ จตุจักร สแควร์ ร้านอาหาร ชมรมมังสวิรัติ จตุจักร ตลาด อ.ต.ก. ซันเดย์ มอลล์ พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร สวนจตุจักร สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ สวนวชิรเบญจทัศ ลานจอดรถจอดแล้วจร (โบเบ๊จตุจักร) สถานีขนส่งสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) ศูนย์การค้า อินสแควร์ มีหลายรูปแบบทั้งรถยนต์ส่วนตัวซึ่งต้องนำไปจอดที่ลานจอดรถตลาดนัดจตุจักรหรือ Park & Ride และมีรถรับส่งระหว่างลานจอดรถกับตลาดนัดจตุจักร (ประตู 2) หรือนั่งรถประจำทางซึ่งมีหลายสายผ่าน และที่สะดวกมากก็คือโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีหมอชิต หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ลงที่สถานีกำแพงเพชร นอกจากนี้ก็ยังมีรถแท็กซี่ และรถตู้หลายสายให้บริการ ในปี พ.ศ. 2548 คาราบาวได้แต่งเพลงชื่อ สวนจตุจักร อยู่ในอัลบั้มชุด "สามัคคีประเทศไทย" โดยมีเนื้อหาประชาสัมพันธ์ถึงตลาดนัดจตุจักร และมีเนื้อร้องบางท่อนเป็นแร็ปภาษาอังกฤษด้วย กรุณาอย่าให้เงินกับขอทาน ไม่มีนโยบายให้ขายของแบกับดิน (ยกเว้นตลาดนัดจตุจักรกลางคืนวันศุกร์ซึ่งจัดที่บริเวณลานอเนกประสงค์หน้าธนาคารออมสิน และลานส่งเสริมการขายหน้าอาคารที่ทำการตลาดนัด) อย่านำสินค้ามาวางขายล้ำริมฝาระบายน้ำ (เฉพาะผู้ค้าริมถนนภายในตลาดนัดจตุจักร) สำหรับผู้ค้ารถเข็น หาบเร่ แผงลอย สามารถขายอาหาร สินค้าได้จนถึง at 9:00 เฟซบุกชมรมคนรักสุนัขไทยหลังอาน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, 2555. 356 หน้า. หน้า 178. ISBN 978-974-228-070-3 ขุมทรัพย์จตุจักร จากมติชน เนื้อเพลง :: เพลง >> สวนจตุจักร กองอำนวยการตลาดนัดจตุจักร กรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทยลั่น!! ยึดคืนตลาดจตุจักร ร้านเสื้อผ้าไอเดียสำนวนไทยของหนุ่มนักผวน ที่ใครผ่านไปผ่านมาแล้วต้องสะดุด... เที่ยวตลาดนัดจตุจักรอย่าเผลอสูบบุหรี่โดนแน่2,000 บาท โครงการ 1 ของเก่าและของสะสม ศิลปะ หนังสือ สินค้าหัตถกรรม โครงการ 2 สินค้าหัตถกรรม โครงการ 3 ต้นไม้และอุปกรณ์สวน เสื้อผ้าและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน อาหารและเครื่องดื่ม โครงการ 4 ต้นไม้และอุปกรณ์สวน เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน อาหารและเครื่องดื่ม โครงการ 5 เสื้อผ้ามือสองและสินค้าเบ็ดเตล็ด โครงการ 6 เสื้อผ้ามือสองและสินค้าเบ็ดเตล็ด โครงการ 7 ศิลปะ โครงการ 8 สินค้าหัตถกรรม สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน โครงการ 9 สินค้าหัตถกรรม สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง โครงการ 10 อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าหัตถกรรม โครงการ 11 สินค้าหัตถกรรม สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง โครงการ 12 เสื้อผ้าและเครื่องประดับ โครงการ 13 สินค้าหัตถกรรม สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค โครงการ 14 เสื้อผ้าและเครื่องประดับ โครงการ 15 สินค้าหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค โครงการ 16 เสื้อผ้าและเครื่องประดับ โครงการ 17 สินค้าหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค โครงการ 18 เสื้อผ้าและเครื่องประดับ โครงการ 19 สินค้าหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค โครงการ 20 เสื้อผ้าและเครื่องประดับ สินค้าหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค โครงการ 21 เสื้อผ้าและเครื่องประดับ โครงการ 22 เสื้อผ้าและเครื่องประดับ โครงการ 23 เสื้อผ้าและเครื่องประดับ โครงการ 24 สินค้าหัตถกรรม โครงการ 25 สินค้าหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค ผ้าไหม โครงการ 26 อาหารและเครื่องดื่ม ของเก่าและของสะสม โครงการ 27 เสื้อผ้าและเครื่องประดับ หนังสือ อาหารและเครื่องดื่ม บริการ สถานี/ป้ายหยุดรถ สายทาง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หมอชิต รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สวนจตุจักร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล กำแพงเพชร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถโดยสารประจำทาง สวนจตุจักร ช่วงเวลาปกติ A1 3 8 26 27 28 29 34 38 39 44 52 59 63 77 90 96 104 108 122 134 136 138 145 157 177 182 188 502 503 509 510 517 524 529 กะสว่าง 3 29 34 59 63 134 145 ตลาดนัดจตุจักร (ประตู 1) ช่วงเวลาปกติ 26 77 96 104 122 134 136 138 145 157 182 509 517 529 536 กะสว่าง 134 145 คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ตลาดนัดจตุจักร ภาพบรรยากาศตลาดนัดจตุจักร บริเวณถนนหน้าโครงการ 11 - 13 คนหนาแน่นในช่วงเย็น บริเวณโครงการ 1 และ โครงการ 26 หอนาฬิกา สัญลักษณ์ตลาดนัดจตุจักร หอนาฬิกา สัญลักษณ์ตลาดนัดจตุจักร (ได้รับการบูรณะใหม่ ในปี พ.ศ. 2549) ซุ้มประชาสัมพันธ์ ตลาดนัดจตุจักร ตั้งอยู่ที่ประตู 1 ราชวงศ์ซาฟาวิด ============== ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (เปอร์เซีย: صفویان‎; อาเซอร์ไบจาน: صفوی‌لر; จอร์เจีย: სეფიანთა დინასტია; อังกฤษ: Safavid dynasty) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในอดีต ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ปกครองจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งตั้งแต่การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียของอิสลาม (Islamic conquest of Persia) เป็นต้นมา และเป็นผู้ก่อตั้ง “Ithnāˤashari” (อิมามชีอะหฺ) ซึ่งเป็นลัทธิทางการของจักรวรรดิ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มาจากหลายเผ่าพันธุ์ (ชาวอาเซอร์ไบจาน,ชาวเซอร์คาสเซียน/ชาวจอร์เจีย, ชาวกรีก,ชาวเคิร์ด) และมีอำนาจปกครองอิหร่านระหว่างปี ค.ศ. 1501/ค.ศ. 1502 มาจนถึงกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1722 ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มีรากฐานมาจากการก่อตั้งลัทธิซูฟีย์ (Safaviya sufi order) ในเมืองอาร์ดาบิล (Ardabil) ในบริเวณอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน จากนั้นราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ก็ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวางจนสามารถครอบครองจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด และริเริ่มการก่อตั้งวัฒนธรรมของความเป็นอิหร่านในบริเวณที่ปกครอง ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จึงกลายเป็นราชวงศ์แรกของอิหร่านตั้งแต่ซาสซานิยะห์ที่เริ่มการรวบรวมอิหร่านเข้าเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ว่าการปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1736 แต่ก็ได้ทิ้งร่องรอยมาจนถึงสมัยปัจจุบันโดยการก่อตั้งและเผยแพร่ชีอะหฺในบริเวณส่วนใหญ่ของคอเคซัส และเอเชียตะวันออกและโดยเฉพาะในอิหร่านเอง ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (เปอร์เซีย: صفویان‎; อาเซอร์ไบจาน: صفوی‌لر; จอร์เจีย: სეფიანთა დინასტია; อังกฤษ: Safavid dynasty) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในอดีต ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ปกครองจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งตั้งแต่การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียของอิสลาม (Islamic conquest of Persia) เป็นต้นมา และเป็นผู้ก่อตั้ง “Ithnāˤashari” (อิมามชีอะหฺ) ซึ่งเป็นลัทธิทางการของจักรวรรดิ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มาจากหลายเผ่าพันธุ์ (ชาวอาเซอร์ไบจาน,ชาวเซอร์คาสเซียน/ชาวจอร์เจีย, ชาวกรีก,ชาวเคิร์ด) และมีอำนาจปกครองอิหร่านระหว่างปี ค.ศ. 1501/ค.ศ. 1502 มาจนถึงกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1722 ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มีรากฐานมาจากการก่อตั้งลัทธิซูฟีย์ (Safaviya sufi order) ในเมืองอาร์ดาบิล (Ardabil) ในบริเวณอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน จากนั้นราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ก็ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวางจนสามารถครอบครองจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด และริเริ่มการก่อตั้งวัฒนธรรมของความเป็นอิหร่านในบริเวณที่ปกครอง ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จึงกลายเป็นราชวงศ์แรกของอิหร่านตั้งแต่ซาสซานิยะห์ที่เริ่มการรวบรวมอิหร่านเข้าเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ว่าการปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1736 แต่ก็ได้ทิ้งร่องรอยมาจนถึงสมัยปัจจุบันโดยการก่อตั้งและเผยแพร่ชีอะหฺในบริเวณส่วนใหญ่ของคอเคซัส และเอเชียตะวันออกและโดยเฉพาะในอิหร่านเอง Roemer, H. R. (1986). "The Safavid Period". The Cambridge History of Iran, Vol. 6: The Timurid and Safavid Periods. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 189–350. ISBN 0-521-20094-6. Excerpt from Page 331:"Depressing though the condition in the country may have been at the time of the fall of Safavids, they cannot be allowed to overshadow the achievements of the dynasty, which was in many respects to prove essential factors in the development of Persia in modern times. These include the maintanence of Persian as the official language and of the present-day boundaries of the country, adherence to the Twelever Shi'i, the monarchical system, the planning and architectural feartures of the urban centers, the centralised administration of the state, the alliance of the Shi'i Ulama with the merchant bazaars, and the symbiosis of the Persian-speaking population with important non-Persian, especially Turkish speaking minorities" Savory, Roger (2007). Iran Under the Safavids. Cambridge University Press. p. 213. ISBN 0521042518, ISBN 978-0-521-04251-2 Check |isbn= value (help). "qizilbash normally spoke Azari brand of Turkish at court, as did the Safavid shahs themselves; lack of familiarity with the Persian language may have contributed to the decline from the pure classical standards of former times"  Price, Massoume (2005). Iran's Diverse Peoples: A Reference Sourcebook. ABC-CLIO. p. 66. ISBN 1576079937, ISBN 978-1-57607-993-5 Check |isbn= value (help). "The Shah was a native Turkic speaker and wrote poetry in the Azerbaijani language."  Helen Chapin Metz. Iran , a Country study. 1989. Original from the University of Michigan. pg 313. Emory C. Bogle. Islam: Origin and Belief. University of Texas Press. 1989. pg 145. Stanford Jay Shaw. History of the Ottomon Empire. Cambridge University Press. 1977. pg 77 Andrew J. Newman, Safavid Iran: Rebirth of a Persian Empire, I. B. Tauris (March 30, 2006) R.M. Savory, Safavids, Encyclopedia of Islam, 2nd edition Encyclopaedia Iranica. R. N. Frye. Peoples of Iran. RUDI MATTHEE, "GEORGIANS IN THE SAFAVID ADMINISTRATION" in Encyclopedia Iranica [1] Anthony Bryer. "Greeks and Türkmens: The Pontic Exception", Dumbarton Oaks Papers, Vol. 29., (1975), Appendix II - Genealogy of the Muslim Marriages of the Princesses of Trebizond R.M. Savory. Ebn Bazzaz. Encyclopedia Iranica Why is there such confusion about the origins of this important dynasty, which reasserted Iranian identity and established an independent Iranian state after eight and a half centuries of rule by foreign dynasties? in R.M. Savory, Iran under the Safavids (Cambridge University Press, Cambridge, 1980), page 3. จักรวรรดิเปอร์เชีย ประวัติศาสตร์อิหร่าน บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง จักรวรรดิซาฟาวิยะห์ سلسلۀ صفویۀ ایران จักรวรรดิ ธงซาฟาวิยะห์ อิหร่าน จักรวรรดิซาฟาวิยะห์ เมืองหลวง ทาบริซ, Qazvin, เอสฟาฮาน ภาษา เปอร์เซีย (ทางการ) และ อาเซอร์ไบจาน (ราชสำนัก, ผู้นำทางศาสนา, การทหาร) ศาสนา อิมามชีอะหฺ รัฐบาล ราชาธิปไตย ชาห์  -  ค.ศ. 1501–1524 ชาห์อิสมาอิลที่ 1  -  ค.ศ. 1524–1576 ชาห์ทามาสพ์ที่ 1  -  ค.ศ. 1587–1629 ชาห์อับบาสที่ 1  -  ค.ศ. 1732–1736 ชาห์อับบาสที่ 3  -  1732–1736 นาเดอร์ อาฟชาร์ ประวัติศาสตร์  -  ก่อตั้ง ลัทธิซูฟีย์ ค.ศ. 1301  -  สถาปนา ค.ศ. 1501  -  การรุกรานของโฮทาคิ ค.ศ. 1722  -  ยึดคืนได้ในสมัยของนาเดอร์ อาฟชาร์ ค.ศ. 1726–ค.ศ. 1729  -  สิ้นสุด ค.ศ. 1736  -  นาเดอร์ อาฟชาร์สวมมงกุฎเป็นชาห์ 8 มีนาคม ค.ศ. 1736 พื้นที่ 2,850,000 ตร.กม. (1,100,391 ตารางไมล์) ←   ← ค.ศ. 1501–ค.ศ. 1736 →   → ประวัติศาสตร์อิหร่านแผ่นดินใหญ่ กษัตริย์แห่งเปอร์เชีย ก่อนยุคใหม่ ก่อน อิสลาม  หลัง อิสลาม  ยุคใหม่ สสซ = สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต อัฟกานิสถาน  อาเซอร์ไบจาน  บาห์เรน  อิหร่าน  อิรัก  ทาจิกิสถาน  อุซเบกิสถาน  ก่อนคริสต์ศักราช ก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมก่อนเอลาไมท์ 3200–2800 จักรวรรดิเอลาไมท์ 2800–550 แหล่งโบราณคดีบัคเตรีย-มาร์เกียนา 2200–1700 ราชอาณาจักรมานไน ศตวรรษที่ 10-7 จักรวรรดิมีเดีย 728–550 จักรวรรดิอคีเมนียะห์ 550–330 จักรวรรดิเซลูซิยะห์ 330–150 ราชอาณาจักรกรีก-บัคเตรีย 250-125 จักรวรรดิพาร์เธียน 248–ค.ศ.  224 หลังคริสต์ศักราช จักรวรรดิกุษาณะ 30–275 จักรวรรดิซาสซานิยะห์ 224–651 จักรวรรดิเฮพธาไลท์ 425–557 เฮพธาไลท์-กุษาณะ 565–670 อาณาจักรกาหลิป 637–651 จักรวรรดิอุมัยยะฮ์ 661–750 จักรวรรดิอับบาซียะฮ์ 750–1258 จักรวรรดิทาฮิริยะห์ 821–873 ราชวงศ์อาลาวิยะห์ 864–928 จักรวรรดิซาฟาริยะห์ 861–1003 จักรวรรดิซามานิยะห์ 819–999 จักรวรรดิไซยาริยะห์ 928–1043 จักรวรรดิไบอิยะห์ 934–1055 จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ 975–1187 จักรวรรดิกอร์ 1149–1212 จักรวรรดิเซลจุค 1037–1194 จักรวรรดิควาเรซเมีย 1077–1231 ราชวงศ์คาร์ติยะห์ 1231-1389 จักรวรรดิอิลค์ 1256–1353 ราชวงศ์มุซาฟฟาริยะห์ 1314–1393 ราชวงศ์จุพานิยะห์ 1337–1357 ราชวงศ์จาไลยิริยะห์ 1339–1432 จักรวรรดิติมูริยะห์ 1370–1506 คารา โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1407–1468 อัค โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1378–1508 จักรวรรดิซาฟาวิยะห์ 1501–1722* จักรวรรดิโมกุล 1526–1857 ราชวงศ์โฮทาคิ 1722–1729 จักรวรรดิอาฟชาริยะห์ 1736–1750 * หรือ 1736 จักรวรรดิเดอร์รานิ 1748–1823 อิทธิพลของบริติชและรัสเซีย 1826–1919 อิสรภาพและสงครามกลางเมือง 1919–1929 สมัยปกครองของมุฮัมมัดเมดไซ 1929–1973 สาธารณรัฐอัฟกานิสถาน 1973–1978 สาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถาน 1978–1992 ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถานสมัยปัจจุบัน ตั้งแต่ 1992 ลำดับเหตุการณ์ อาณาจักรข่านแห่งคอเคซัส 1722–1828 ภายใต้การปกครองของรัสเซีย 1828–1917 สาธารณรัฐประชาธิปไตย 1918–1920 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต 1920–1991 สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ตั้งแต่ 1991 ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส 1521–1602 สนธิสัญญาบริติช 1820–1971 ราชอาณาจักรบาห์เรน ตั้งแต่ 1971 ราชวงศ์ซานด์ 1750–1794 ราชวงศ์คาจาร์ 1781–1925 ราชวงศ์ปาห์ลาวี 1925–1979 การปฏิวัติอิหร่าน 1979 รัฐบาลชั่วคราว 1979 สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ตั้งแต่ 1979 จักรวรรดิออตโตมัน 1632–1919 กษัตริย์ฮาชิไมท์ 1920–1958 การปฏิวัติและสาธารณรัฐ 1958–2003 สาธารณรัฐอิรัก ตั้งแต่ 2004 อาณาจักรอิเมียร์แห่งบุฮารา 1785–1920 สาธารณรัฐประชาชนโซเวียตบุฮารา / อุซเบก 1920–1929 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอิสระทาจิก 1929 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก 1929–1991 สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ตั้งแต่ 1991 อาณาจักรอิเมียร์แห่งบุฮารา 1785–1920 สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก 1924–1991 อิสรภาพ 1991 สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ตั้งแต่ 1991 อำเภอหนองสูง ============ อำเภอหนองสูง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร อำเภอหนองสูง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร อำเภอหนองสูงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอคำชะอี ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอนิคมคำสร้อย ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา (จังหวัดยโสธร) และอำเภอหนองพอก (จังหวัดร้อยเอ็ด) ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองพอก (จังหวัดร้อยเอ็ด) และอำเภอกุฉินารายณ์ (จังหวัดกาฬสินธุ์) อำเภอหนองสูงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 44 หมู่บ้าน ได้แก่ ท้องที่อำเภอหนองสูงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลภูวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูวงทั้งตำบล เทศบาลตำบลบ้านเป้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเป้าทั้งตำบล เทศบาลตำบลหนองสูงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสูงและตำบลหนองสูงเหนือทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลโนนยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนยางทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสูงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสูงใต้ทั้งตำบล ชุมชนออนไลน์อำเภอหนองสูง บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย อำเภอหนองสูง หนองสูงถิ่นผู้ไทย เมืองพระไกรสรราช ตาดโตนน้ำตกสวย ห้วยบังอี่น้ำใส ผ้าไหมเลิศหรู ภูจ้อก้อแหล่งวัฒนธรรม ลึกล้ำพิธีเหยา ทิวเขางามตา ข้อมูลทั่วไป อักษรไทย อำเภอหนองสูง อักษรโรมัน Amphoe Nong Sung จังหวัด มุกดาหาร ข้อมูลสถิติ พื้นที่ 410.4 ตร.กม. ประชากร 20,795 คน (พ.ศ. 2557) ความหนาแน่น 50.67 คน/ตร.กม. รหัสทางภูมิศาสตร์ 4907 รหัสไปรษณีย์ 49160 ที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอหนองสูง หมู่ที่ 4 ตำบลหนองสูงเหนือ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร 49160 พิกัด 16°29′12″N 104°20′42″E / 16.48667°N 104.34500°E / 16.48667; 104.34500 หมายเลขโทรศัพท์ 0 4263 5405 หมายเลขโทรสาร 0 4263 5406, 0 4263 5222 ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย 1. หนองสูง (Nong Sung) 5 หมู่บ้าน 2. โนนยาง (Non Yang) 10 หมู่บ้าน 3. ภูวง (Phu Wong) 6 หมู่บ้าน 4. บ้านเป้า (Ban Pao) 6 หมู่บ้าน 5. หนองสูงใต้ (Nong Sung Tai) 8 หมู่บ้าน 6. หนองสูงเหนือ (Nong Sung Nuea) 8 หมู่บ้าน สึ (คะนะ) ========= "ツ" เปลี่ยนทางมาที่นี่ ระวังสับสนกับ ชิ "シ" สึ เป็นคะนะของภาษาญี่ปุ่นตัวหนึ่ง ฮิระงะนะเขียนว่า つ มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 川 และคะตะกะนะเขียนว่า ツ มีที่มาจากตัวเขียนหวัดอีกแบบหนึ่งของมันโยงะนะ 川 ออกเสียงว่า  [t͡su] เมื่อเติมดะกุเต็งจะออกเสียงว่า  [d͡zu] หรือ [zu] (づ ออกเสียงเหมือน ず แต่มีที่ใช้น้อยกว่า) เสียงอ่านที่เปลี่ยนไปจากปกติเนื่องจากเหตุผลทางสัทศาสตร์ つ เป็นอักษรลำดับที่ 18 อยู่ระหว่าง ち (ชิ) กับ て (เทะ) ในการจัดลำดับอักษรปัจจุบัน ส่วนการจัดลำดับแบบอิโระฮะ つ เป็นอักษรลำดับที่ 19 อยู่ระหว่าง そ (โซะ) กับ ね (เนะ) "ツ" เปลี่ยนทางมาที่นี่ ระวังสับสนกับ ชิ "シ" สึ เป็นคะนะของภาษาญี่ปุ่นตัวหนึ่ง ฮิระงะนะเขียนว่า つ มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 川 และคะตะกะนะเขียนว่า ツ มีที่มาจากตัวเขียนหวัดอีกแบบหนึ่งของมันโยงะนะ 川 ออกเสียงว่า  [t͡su] เมื่อเติมดะกุเต็งจะออกเสียงว่า  [d͡zu] หรือ [zu] (づ ออกเสียงเหมือน ず แต่มีที่ใช้น้อยกว่า) เสียงอ่านที่เปลี่ยนไปจากปกติเนื่องจากเหตุผลทางสัทศาสตร์ つ เป็นอักษรลำดับที่ 18 อยู่ระหว่าง ち (ชิ) กับ て (เทะ) ในการจัดลำดับอักษรปัจจุบัน ส่วนการจัดลำดับแบบอิโระฮะ つ เป็นอักษรลำดับที่ 19 อยู่ระหว่าง そ (โซะ) กับ ね (เนะ) อักษรแบบอื่นของสึคือคะนะขนาดเล็ก っ, ッ ใช้แทนเสียงพยัญชนะกัก แต่จะเป็นเสียงใดขึ้นอยู่กับว่าคะนะตัวถัดไป ดูเพิ่มที่ สึตัวเล็ก ภาษาไอนุใช้คะตะกะนะแบบเติมฮันดะกุเต็ง ツ゚ สำหรับใช้แทนเสียง [tu͍] ซึ่งสามารถเขียนด้วย ト゚ แทนก็ได้ ฮิระงะนะ つ มีลำดับขีด 1 ขีดดังนี้ ขีดเส้นโค้งไปทางขวาเริ่มที่ตำแหน่งกึ่งบน ยกขึ้นเล็กน้อย โค้งงอเป็นรูปตัว C กลับข้าง คะตะกะนะ ツ มีลำดับขีด 3 ขีดดังนี้ ขีดเส้นเฉียงเล็ก ๆ ในตำแหน่งบน ขีดเส้นเฉียงเล็ก ๆ ในตำแหน่งบนถัดไปทางขวา ค่อนไปข้างบนเล็กน้อย ขีดเส้นโค้งจากบนลงไปทางซ้าย ตัวอย่างคันจิที่อ่านว่าสึ และขึ้นต้นด้วยสึ มีดังนี้ 津 墜 椎 槌 追 鎚 痛 通 塚 栂 掴 槻 佃 漬 柘 辻 蔦 綴 鍔 椿 潰 坪 壷 嬬 紬 爪 吊 釣 鶴 JIS拡張漢字(JIS X 0213:2004)(全コード表) (ญี่ปุ่น) ฮิระงะนะ คะตะกะนะ การถอดอักษร tsu, tu +ดะกุเต็ง zu, dzu, du มันโยงะนะ ของฮิระงะนะ 川 มันโยงะนะ ของคะตะกะนะ 川 รหัสเรียกขาน つるかめのツ (สึรุกะเมะ โนะ สึ) รหัสมอร์ส ・--・ อักษรเบรลล์ ยูนิโคด U+3064, U+30C4 คะนะ อึง วะ ระ ยะ มะ ฮะ นะ ทะ ซะ คะ อะ วิ ริ – มิ ฮิ นิ ชิ ชิ คิ อิ – รุ ยุ มุ ฟุ นุ สึ ซุ คุ อุ เวะ เระ – เมะ เฮะ เนะ เทะ เซะ เคะ เอะ โวะ โระ โยะ โมะ โฮะ โนะ โทะ โซะ โคะ โอะ เคะตัวเล็ก · สึตัวเล็ก · โยะริ · โคะโตะ ดะกุเต็ง · ฮันดะกุเต็ง · โชอมปุ รูปแบบ โรมะจิ ฮิระงะนะ คะตะกะนะ เสียงอ่าน รูปแบบ โรมะจิ ฮิระงะนะ คะตะกะนะ เสียงอ่าน ธรรมดา tsu, tu つ ツ สึ ธรรมดา +ดะกุเต็ง zu, dzu, du づ ヅ สึ tsū, tū つう, つぅ つー, つ~ ツウ, ツゥ ツー, ツ~ สือ zū, dzū, dū づう, づぅ づー, づ~ ヅウ, ヅゥ ヅー, ヅ~ สือ ทวิอักษร tsa つぁ ツァ สะ ทวิอักษร +ดะกุเต็ง zwa づぁ ヅァ สฺวะ tsi つぃ ツィ สิ zwi づぃ ヅィ สฺวิ tsyu つゅ ツュ สฺยุ — — — — tse つぇ ツェ เสะ zwe づぇ ヅェ สฺเวะ tso つぉ ツォ โสะ zwo づぉ ヅォ สฺโวะ อักขระ ยูนิโคด จิส เอกซ์ 0213 ความหมาย っ U+3063 1-4-35 ฮิระงะนะ สึ (tsu) ตัวเล็ก つ U+3064 1-4-36 ฮิระงะนะ สึ (tsu) づ U+3065 1-4-37 ฮิระงะนะ สึ (dzu) ッ U+30C3 1-5-35 คะตะกะนะ สึ (tsu) ตัวเล็ก ツ U+30C4 1-5-36 คะตะกะนะ สึ (tsu) ヅ U+30C5 1-5-37 คะตะกะนะ สึ (dzu) ツ゚ U+30C4 U+309A 1-5-93 คะตะกะนะ ทุ (tu) ㋡ U+32E1 1-12-76 คะตะกะนะ สึ (tsu) ในวงกลม ツ U+FF82 ไม่มี คะตะกะนะ สึ (tsu) ครึ่งความกว้าง ลำดับขีดในการเขียน つ ลำดับขีดในการเขียน ツ บูลด็อก ======= บูลด็อก เป็นชื่อสำหรับสายพันธุ์ของสุนัขมักเรียกว่า อิงลิชบูลด็อก สายพันธุ์บูลด็อกอื่นๆ รวมทั้งอเมริกันบูลด็อก ,โอลด์อิงลิชบูลด็ิอก และเฟรนช์บูลด็อก เป็นสุนัขที่มีลักษณะใบหน้าย่นและมีจมูกโด่ง บทความนี้ได้รับแจ้งว่ามีแต่กล่องข้อมูลและมีเนื้อหาน้อยมาก โปรดช่วยปรับปรุงบทความ ด้วยการขยายความเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าอ่านยิ่งขึ้น หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้าอภิปราย บูลด็อก ชื่อ ชื่ออื่น ชื่อเล่น ถิ่นกำเนิดของสายพันธุ์ ถิ่นกำเนิด ประเทศอังกฤษ มาตรฐานสายพันธุ์ น้ำหนัก เพศผู้ 24 - 25 กิโลกรัม / เพศเมีย 22 - 23 กิโลกรัม ส่วนสูง เพศผู้ 12 - 18 นิ้ว / เพศเมีย 12 - 15 นิ้ว ลักษณะขน เรียบสั้น และแน่น สีขน ทุกสีของสุนัขในกลุ่มมาสติฟ จัดอยู่ในกลุ่ม กลุ่มสุนัขมาสติฟ จัดอยู่ในประเภท พันธุ์สุนัข สาธารณรัฐเบลารุสในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ====================================== สาธารณรัฐเบลารุส เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27 ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ณ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศเบลารุสในโอลิมปิก ธงชาติเบลารุส รหัสประเทศ : BLR เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเบลารุส noc.by (รัสเซีย) โอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 · 2000 · 2004 · 2008 · 2012 · 2016 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1994 · 1998 · 2002 · 2006 · 2010 · 2014 · 2018 การเข้าร่วมในนามของชาติอื่น จักรวรรดิรัสเซีย (1900–1912) โปแลนด์ (1924–1936) สหภาพโซเวียต (1952–1988) ทีมรวม (1992) เส้นเมริเดียนที่ 94 =================== เส้นเมริเดียนที่ 94 อาจหมายถึง: เส้นเมริเดียนที่ 94 องศาตะวันตก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันตกของเส้นเมริเดียนกรีนิช เส้นเมริเดียนที่ 94 องศาตะวันออก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันออกของเส้นเมริเดียนกรีนิช 94° เส้นเมริเดียนที่ 94 องศาตะวันตก 94° เส้นเมริเดียนที่ 94 องศาตะวันออก หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง สมาร์ตโฟน ========= สมาร์ตโฟน หรือ สมาร์ทโฟน (อังกฤษ: smartphone, smart phone) เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถเพิ่มเติมเหนือจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป สมาร์ตโฟนถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือเข้ากับโปรแกรมประยุกต์ในโทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ตัวเอง โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มของโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการ สมาร์ตโฟน หรือ สมาร์ทโฟน (อังกฤษ: smartphone, smart phone) เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถเพิ่มเติมเหนือจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป สมาร์ตโฟนถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือเข้ากับโปรแกรมประยุกต์ในโทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ตัวเอง โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มของโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการ รายชื่อระบบปฏิบัติการของสมาร์ตโฟนที่เป็นนิยม ได้แก่ ซิมเบียน (Symbian) แบล็กเบอร์รีโอเอส (BlackBerry OS) แอนดรอยด์ (Android) ไอโอเอส (iOS) วินโดวส์โมบาย (Windows Mobile) วินโดวส์โฟน (Windows Phone) บาดา (Bada) เว็บโอเอส (webOS) มีโก (MeeGo) 'สมาร์ต' ตามศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน และ คลังศัพท์ไทย โดย สวทช. คลังศัพท์ไทย โดย สวทช. Andrew Nusca (20 August 2009). "Smartphone vs. feature phone arms race heats up; which did you buy?". ZDNet.  "Feature Phone". Phone Scoop. สืบค้นเมื่อ 9 May 2010.  "Smartphone definition from PC Magazine Encyclopedia". PC Magazine. สืบค้นเมื่อ 13 May 2010.  Gartner Says Worldwide Mobile Device Sales Grew 13.8 Percent in Second Quarter of 2010, But Competition Drove Prices Down บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล สมาร์ตโฟน ไอบีเอ็มไซมอน สมาร์ตโฟนเครื่องแรกของโลก สัดส่วนตลาดสมาร์ตโฟนในปี 2553 แบ่งตามระบบปฏิบัติการ เส้นเมริเดียนที่ 161 ==================== เส้นเมริเดียนที่ 161 อาจหมายถึง: เส้นเมริเดียนที่ 161 องศาตะวันตก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันตกของเส้นเมริเดียนกรีนิช เส้นเมริเดียนที่ 161 องศาตะวันออก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันออกของเส้นเมริเดียนกรีนิช 161° เส้นเมริเดียนที่ 161 องศาตะวันตก 161° เส้นเมริเดียนที่ 161 องศาตะวันออก หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง สาธารณรัฐตูนิเซียในโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 ======================================= สาธารณรัฐตูนิเซีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 17 ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ณ กรุงโรม อิตาลีระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 11 กันยายน พ.ศ. 2503 สาธารณรัฐตูนิเซีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 17 ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ณ กรุงโรม อิตาลีระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 11 กันยายน พ.ศ. 2503 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศตูนิเซียในโอลิมปิก ธงชาติตูนิเซีย รหัสประเทศ : TUN เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกตูนิเซีย เว็บไซต์ : www.cnot.org.tn (ฝรั่งเศส) โอลิมปิกฤดูร้อน 1960 โรม อิตาลี เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 • 2016 สาธารณรัฐมอริเชียสในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ======================================== สาธารณรัฐมอริเชียส เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 สาธารณรัฐมอริเชียส เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศมอริเชียสในโอลิมปิก ธงชาติมอริเชียส รหัสประเทศ : MRI เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกมอริเชียส โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน นักกีฬา 12 คน  เหรียญ อันดับ: 81 0 0 1 1 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 สาธารณรัฐเติร์กเมนิสถานในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ============================================= สาธารณรัฐเติร์กเมนิสถาน เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 28 ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซระหว่างวันที่ 13 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศเติร์กเมนิสถานในโอลิมปิก ธงชาติเติร์กเมนิสถาน รหัสประเทศ : TKM เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติเติร์กเมนิสถาน โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 เอเธนส์ กรีซ เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 การเข้าร่วมในนามของชาติอื่น จักรวรรดิรัสเซีย (1900–1912) สหภาพโซเวียต (1952–1988) ทีมรวม (1992) ปากคลองตลาด =========== ปากคลองตลาด (อังกฤษ: Pak Khlong Talat) เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ บริเวณถนนจักรเพชร ยาวจนไปถึงถนนมหาราช ตั้งโอบล้อมวัดราชบูรณะ โรงเรียนราชินีและโรงเรียนสวนกุหลาบ ประกอบไปด้วยตลาดใหญ่ถึง 5 แห่งตั้งติด ๆ กัน ปัจจุบันเน้นขายสินค้าเกษตรกรรมที่เน้นการค้าส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด ปากคลองตลาดติดอันดับที่ 4 (จากการจัดอันดับ 1 ใน 10 ของตลาดดอกไม้ทั่วโลก) ยังเป็นตลาดกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้วย ปากคลองตลาด (อังกฤษ: Pak Khlong Talat) เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ บริเวณถนนจักรเพชร ยาวจนไปถึงถนนมหาราช ตั้งโอบล้อมวัดราชบูรณะ โรงเรียนราชินีและโรงเรียนสวนกุหลาบ ประกอบไปด้วยตลาดใหญ่ถึง 5 แห่งตั้งติด ๆ กัน ปัจจุบันเน้นขายสินค้าเกษตรกรรมที่เน้นการค้าส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด ปากคลองตลาดติดอันดับที่ 4 (จากการจัดอันดับ 1 ใน 10 ของตลาดดอกไม้ทั่วโลก) ยังเป็นตลาดกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้วย ในสมัยอยุธยาเป็นย่านชุมชน พบหลักฐานเป็นสิ่งปลูกสร้างทั้งวัดและป้อมปราการต่างๆ ที่ก่อสร้างขึ้นมาหลายแห่ง รอบๆ ชุมชนมีคูคลองและแม่น้ำหลายสายเข้ามาบรรจบกันจนมีลักษณะเป็นปากคลอง ต่อมาในสมัยธนบุรี เป็นจุดนัดพบของผู้คนที่สัญจรทางน้ำ มีการค้าขาย แลกเปลี่ยนสิ่งของ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นตลาดค้าปลาขนาดใหญ่ที่ส่งตรง มาจากแม่น้ำท่าจีน (สมุทรสาคร) แล้วของที่ส่งผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีบันทึกว่าในในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯ ให้ขุดคลองหลายสายมาตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงเทพ รวมถึง "คลองตลาด" คลองเล็กข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม อีกทั้งในย่านไม่ไกลกันนี้ มีคลองที่ขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2315 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน เรียกว่า "คลองใน" ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้เป็นตลาดสดเน้นการค้าปลาเป็นหลักมาจน จนในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดฯ จะเรียกตลาดนี้ว่า "ตะพานปลา" ในระยะหนึ่ง ก็เปลี่ยนจากตลาดค้าปลาไปยังตำบลวัวลำพอง หัวลำโพง แทน ตลาดปลานี้จึงแปรสภาพเป็นตลาดสด ค้าสินค้าเกษตร อย่างผัก ผลไม้และดอกไม้สด มาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบัน ปากคลองตลาดประกอบด้วยตลาดหลัก 4 แห่งได้แก่ ตลาดองค์การตลาดเป็นของรัฐ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ตลาดยอดพิมานเป็นของเอกชน และตลาดส่งเสริมเกษตรไทยเป็นของเอกชน ตลาดพุทธยอดฟ้าเป็นของเอกชน มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ สูง 2-4 ชั้น มีการวางสินค้าต่าง ๆ และแผงลอย กันสาด กันอย่างหนาแน่น ไม่นับรวมตลาดใต้สะพานพุทธ ซึ่งขายเสื้อผ้า ของประดับ ของเล่น อื่น ๆ อีกมาก ซึ่งจะขายเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้น หยุดเฉพาะวันจันทร์ แต่เดิม ตลาดองค์การตลาดเป็นของรัฐ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อมีการห้ามขายของที่สนามหลวงและท่าเตียน ก็ได้นำผู้ค้าบางส่วนเข้ามาทำการค้าขายที่ตลาดนี้ โดยเน้นราคาค่าเช่าถูกให้ขายของในราคาถูกเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและช่วยผู้ค้าที่ไม่มีสถานที่ค้าขาย โดยเน้นเป็นสินค้าอุปโภคและบริโภคเป็นหลัก เพิ่งเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นสัมปทานให้เอกชนเข้ามาบริหารแทน 30 ปี เพราะองค์การตลาดขาดสภาพคล่อง ในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายถาวร เสนเนียมเป็น รมต.ช่วยมหาดไทยในตอนนั้น บริษัทที่เข้ามาบริหารเป็นบริษัทเดียวกับเจ้าของใหม่ตลาดยอดพิมานซึ่งได้ซื้อตลาดยอดพิมานต่อมาจากเจ้าของเดิมก่อนแล้วก็เริ่มปรับปรุงตลาดยอดพิมานแต่ยังไม่แล้วเสร็จดี ต่อมาก็เข้ามารับสัมปทานจากองค์การตลาดเพื่อบริหารแทน 30 ปี เพราะตลาดพื้นที่ติดกัน และได้เริ่มเข้ามาทำการปรับปรุงทั้ง 2 ตลาดเป้าหมายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนี้ยังปรับปรุงไม่เรียบร้อยแล้วเสร็จ เนื่องจากอุปสรรคมีมาก ทำให้การปรับปรุงล่าช้ากว่ากำหนดไว้ วรุณรัตน์ คัทมาตย์, 'ปากคลอง' ประลองอาเซียน กรุงเทพธุรกิจ 30 สิงหาคม 2555 ปากคลองตลาด องค์การตลาด พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′32″N 100°29′48″E / 13.742209°N 100.496567°E / 13.742209; 100.496567 ปากคลองตลาด ชื่ออักษรโรมัน Pak Khlong Talat ที่ตั้ง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทิศทางการจราจร ถนนตรีเพชร » พาหุรัด, เสาชิงช้า ถนนจักรเพชร » การไฟฟ้าวัดเลียบ ถนนประชาธิปก » สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ถนนจักรเพชร » สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง, ตลาดยอดพิมาน, โรงเรียนราชินี ถนนบ้านหม้อ » วังสราญรมย์, วัดราชบพิตร ด • พ • ก ประเทศเบอร์มิวดาในโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ====================================== ประเทศเบอร์มิวดา เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ณ โซล เกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 17 กันยายน – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ประเทศเบอร์มิวดา เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ณ โซล เกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 17 กันยายน – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2531 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา เบอร์มิวดาในโอลิมปิก ธงชาติเบอร์มิวดา รหัสประเทศ : BER เอ็นโอซี : สมาคมโอลิมปิกแห่งเบอร์มิวดา โอลิมปิกฤดูร้อน 1988 โซล เกาหลีใต้ เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 1948 1952 1956 1960 1964 1968 1972 1976 1980 1984 1988 1992 1996 2000 2004 2008 2012 2016 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1992 1994 1998 2002 2006 2010 2014 2018 ศาสนาในประเทศเกาหลี =================== ศาสนาในประเทศเกาหลี ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีศาสนา นี่คือแผนภูมิแสดงการนับถือศาสนาในประเทศเกาหลี ศาสนาในประเทศเกาหลี ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีศาสนา นี่คือแผนภูมิแสดงการนับถือศาสนาในประเทศเกาหลี ดูบทความหลักที่: ศาสนาในประเทศเกาหลีใต้ ดูบทความหลักที่: ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ ศาสนาในประเทศเกาหลีใต้ ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ Calculated by direct proportionality, whereas South Korea constitutes two thirds of Korean population and North Korea one third of entire population. Religious Intelligence UK Report South Korea Country Study North Korea profile South Korea profile Korea Society Podcast: The Religious Revolution in Modern Korean History http://www.dlibrary.go.kr/JavaClient/jsp/wonmun/full2.jsp?v_kw_str=(韓國新宗敎實態調査報告書)&v_db=4&v_doc_no=104211&mode=1 list 잃어버린 배달사상과 东北沦陷时期的朝鲜族宗教 - 普世社会科学研究网 ศาสนาในประเทศเกาหลี (2548) ศาสนา % ไม่มีศาสนา    52.4% ศาสนาคริสต์    19.6% ศาสนาพุทธ    16.7% Korean Shamanism    5.3% ลัทธิช็อนโด    4.4% อื่น ๆ    1.3% ศาสนาในประเทศเกาหลีใต้ ศาสนา % ไม่มีศาสนา    46.5% ศาสนาคริสต์    29.2% ศาสนาพุทธ    22.8% อื่น ๆ    1.7% ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ ศาสนา % ไม่มีศาสนา    64.3% Korean Shamanism    16% ลัทธิช็อนโด    13.5% ศาสนาพุทธ    4.5% ศาสนาคริสต์    1.69% คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Religion in Korea เบรดา ===== เบรดา (ดัตช์: Breda, เสียงอ่านภาษาดัตช์: [breːˈdaː] ( ฟังเสียง)) เป็นเทศบาลและนครทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ บนฝั่งแม่น้ำเมิร์ก เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทหารและการเมือง เนื่องจากเป็นเมืองป้อมปราการ จากข้อมูลประชากรในปี ค.ศ. 2014 มีประชากร 180,420 คน ขณะที่เขตมหานครมีประชากร 324,812 คน เบรดา (ดัตช์: Breda, เสียงอ่านภาษาดัตช์: [breːˈdaː] ( ฟังเสียง)) เป็นเทศบาลและนครทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ บนฝั่งแม่น้ำเมิร์ก เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทหารและการเมือง เนื่องจากเป็นเมืองป้อมปราการ จากข้อมูลประชากรในปี ค.ศ. 2014 มีประชากร 180,420 คน ขณะที่เขตมหานครมีประชากร 324,812 คน "de heer P.A.C.M. van der Velden" (ใน Dutch). Gemeente Breda. สืบค้นเมื่อ 12 April 2014.  แม่แบบ:Dutch municipality total area "Postcodetool for 4811DJ". Actueel Hoogtebestand Nederland (ใน Dutch). Het Waterschapshuis. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.  แม่แบบ:Dutch municipality population แม่แบบ:Dutch municipality population urbanmetro "De grenzeloze regio". Sdu uitgevers. 2007. "Het BBP van BrabantStad ligt op 14.7% van het nationale BBP. In de regio liggen Philips, de Technische Universiteit Eindhoven, de Universiteit Tilburg en de HAS Den Bosch. De regio heeft 1.4 miljoen inwoners. Er is veel R&D, ICT, automotive, logistiek en agribusiness."  บทความเกี่ยวกับประเทศ ดินแดน หรือเขตการปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล เบรดา นคร และ เทศบาล Grote Kerk in Breda สถานที่ตั้งในจังหวัดนอร์ทบราแบนต์ พิกัดภูมิศาสตร์: 51°35′N 4°47′E / 51.583°N 4.783°E / 51.583; 4.783พิกัดภูมิศาสตร์: 51°35′N 4°47′E / 51.583°N 4.783°E / 51.583; 4.783 ประเทศ เนเธอร์แลนด์ จังหวัด จังหวัดนอร์ทบราแบนต์ การปกครอง  • หน่วยงาน Municipal council  • Mayor Peter van der Velden (PvdA) พื้นที่  • Municipality แม่แบบ:Dutch municipality total area ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)  • พื้นดิน แม่แบบ:Dutch municipality land area ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)  • พื้นน้ำ แม่แบบ:Dutch municipality water area ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์) ความสูง 3 เมตร (10 ฟุต) ประชากร (Municipality, แม่แบบ:YEAR; Urban and Metro, แม่แบบ:YEAR)  • Municipality แม่แบบ:Dutch municipality population  • เขตเมือง แม่แบบ:Dutch municipality population urbanmetro  • เขตมหานคร แม่แบบ:Dutch municipality population urbanmetro  • Metropolitan region 553,706  • Brabant cities region 2,213,379 คำเรียกพลเมือง Bredanaar, Bredaër เขตเวลา CET (UTC+1)  • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) CEST (UTC+2) Postcode 4800–4841, 4847, 4850–4854 Area code 076 เว็บไซต์ www.breda.nl ธง ตราอาร์ม เส้นเมริเดียนที่ 87 =================== เส้นเมริเดียนที่ 87 อาจหมายถึง: เส้นเมริเดียนที่ 87 องศาตะวันตก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันตกของเส้นเมริเดียนกรีนิช เส้นเมริเดียนที่ 87 องศาตะวันออก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันออกของเส้นเมริเดียนกรีนิช 87° เส้นเมริเดียนที่ 87 องศาตะวันตก 87° เส้นเมริเดียนที่ 87 องศาตะวันออก หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง เส้นเมริเดียนที่ 89 =================== เส้นเมริเดียนที่ 89 อาจหมายถึง: เส้นเมริเดียนที่ 89 องศาตะวันตก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันตกของเส้นเมริเดียนกรีนิช เส้นเมริเดียนที่ 89 องศาตะวันออก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันออกของเส้นเมริเดียนกรีนิช 89° เส้นเมริเดียนที่ 89 องศาตะวันตก 89° เส้นเมริเดียนที่ 89 องศาตะวันออก หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง ภาษาม้ง ======= วิกิมีเดีย อินคิวเบเตอร์ มีการทดสอบโครงการ:วิกิพีเดียในภาษาม้ง ภาษาม้งอยู่ในตระกูลแม้ว-เย้า หรือม้ง-เมี่ยน ใช้กันในชาวม้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ บางส่วนของจีนจัดเป็นภาษาคำโดด โดยหนึ่งคำมีเสียงพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ ไม่มีเสียงตัวสะกด มีวรรณยุกต์สนธิหรือการผสมกันของเสียงวรรณยุกต์เมื่อนำคำมาเรียงต่อกันเป็นประโยค ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ภาษาม้งเขียว หรือ ม้งจั๊ว (Hmong Njua) ภาษาม้งขาว หรือ ม้งเด๊อว (Hmong Daw) วิกิมีเดีย อินคิวเบเตอร์ มีการทดสอบโครงการ: วิกิพีเดียในภาษาม้ง ภาษาม้งอยู่ในตระกูลแม้ว-เย้า หรือม้ง-เมี่ยน ใช้กันในชาวม้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ บางส่วนของจีนจัดเป็นภาษาคำโดด โดยหนึ่งคำมีเสียงพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ ไม่มีเสียงตัวสะกด มีวรรณยุกต์สนธิหรือการผสมกันของเสียงวรรณยุกต์เมื่อนำคำมาเรียงต่อกันเป็นประโยค ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ภาษาม้งเขียว หรือ ม้งจั๊ว (Hmong Njua) ภาษาม้งขาว หรือ ม้งเด๊อว (Hmong Daw) การเรียงคำเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม เช่น เด๋เตาะหมี (หมากัดแมว) ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงกาล แต่ใช้การเติมคำบอกกาลเช่นเดียวกับภาษาไทย อดีตเติมคำว่าเหลอะไว้ท้ายประโยค เช่น เด๋เตาะหมีเหลอะ (หมากัดแมวแล้ว) อนาคตใช้คำว่าหยัววางไว้หน้ากริยา เช่น เด๋หยัวเตาะหมี (หมาจะกัดแมว) ประโยคปฏิเสธเติมคำว่าไม่ (จี่ หรือ ทจี่) หน้าคำกริยา เช่น เด๋ทจี่เตาะหมี (หมาไม่กัดแมว) ประโยคคำถามเติมคำว่าปั่วหรือหลอเข้าในประโยค คำว่าหลอนิยมวางไว้ท้ายประโยค ส่วนคำว่าปั่วนิยมวางไว้หน้ากริยา เช่น เด๋เตาะหมีหลอ หรือ เด๋ปั่วเตาะหมี (หมากัดแมวหรือ) ภาษาม้งมีการใช้คำลักษณนามโดยจะเรียงคำแบบ จำนวนนับ-ลักษณนาม-นาม เช่น อ๊อตู่แหน่ง (สอง-ตัว-ม้า) คำลักษณนามที่สำคัญคือ ตู่ใช้กับสิ่งมีชีวิตทั้ง สัตว์และต้นไม้ ส่วนคนนั้นใช้ เล่ง เช่น อ๊อเล่ง (คนสองคน) ตร๊า ใช้กับเครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธ ได่ ใช้กับสิ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ แส้ฮ ใช้กับสิ่งที่เป็นเส้นยาวหรือเวลานานๆ ลู้ใช้กับคำนามทั่วไป จ๋อใช้กับคำนามที่มีมากกว่าหนึ่ง เช่น จ๋อแหน่ง (ม้าหลายตัว) ไม่มีอักษรเป็นของตนเอง มีผู้สนใจภาษาม้งพยายามประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้เขียน เช่น อักษรม้ง อักษรพอลลาร์ด เมียว ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายคืออักษรละติน ในประเทศไทยบางครั้งเขียนด้วยอักษรไทย สำหรับการเขียนด้วยอักษรละตินมี พยัญชนะที่ใช้ทั้งหมด 26 ตัว วรรณยุกต์ มี 8 และสระมี 14 ตัว ได้แก่ ในภาษาม้งมีทั้งหมด 57 ตัวแยกเป็น พยัญชนะตัวเดียว พยัญชนะควบกล้ำ 2 ตัว พยัญชนะควบกล้ำ 3 ตัว และพยัญชนะควบกล้ำ 4 ตัว ดังต่อไปนี้คือ พยัญชนะตัวเดียว มีทั้งหมด 18 ตัว t k p s x l n h m g q v r z y c f d เทียบกับอักษรไทย ต ก ป ซ ซ ล น ฮ ม _ ก ว จ ย ย จ ฟ ด พยัญชนะควบกล้ำ 2 ตัว มีทั้งหมด 22 ตัว kh qh ch ts ny hn th nt np ph tx xy hl nk nr dh rh nc pl hmเหมือนhn ml nl เทียบกับอักษรไทย ค ค ช จ ญ หน ท ด บ พ จ ซ หล ก จ ธ ช จ ปล หม หน มล นล พยัญชนะควบกล้ำ 3 ตัว มีทั้งหมด 14 ตัว tsh nth txh nts nph nrh hmlหรือhnl nkh nqh nch ntx npl plh hny เทียบกับอักษรไทย ช ด ช จ จ ภ ฌ หมล หนล ฆ ฆ ฌ จ บล พล หญ พยัญชนะควบกล้ำ 4 ตัว มีทั้งหมด 3 ตัว ntsh ntxh nplh เทียบกับอักษรไทย ฌ ฌ ภล วรรณยุกต์ของม้งมีทั้งหมด 7 รูป 8 เสียงดังต่อไปนี้คือ สั๊วบัว(suab npua) เสียงสามัญไม่มีพยัญชนะกำกับ เช่น qhia tsua ya zoo qee ntshua xyoo สั๊วนือ (suab nws) ใช้ตัว s เช่น ntuas tsoos nplias moos ntses qhuas สั๊วก้อ (suab koj) ใช้ตัว j เช่น yeej tshaj khauj noj nroj yaj phuaj phwj สั๊วเป๊ (suab peb) ใช้ตัว b เช่น neb coob qaub iab suab wb nyab cob สั๊วกู๋ (suab kuv) ใช้ตัว v เช่น qhiav ntxoov qhauv ntsev ntuav xav สั๊วป่อ (suab pom) ใช้ตัว m เช่น niam nyiam yuam twm nyem cuam kam สั๊วยอห์ (suab yog) ใช้ตัว g เช่น tog loog taug neeg lwg nag tseg yiag สั๊วเต๋อ (suab ntawd) ใช้ตัว d ใช้ในกรณีของการบอกทิศทางเท่านั้นเช่น ntawd tod saud haud nrad ped tid ได้แก่ สระอา (a) สระอี (i) สระ เอ (e) สระอื (w) สระอู (u) สระออ (o) สระโอง (oo) สระอาง (aa) สระเอง (ee) สระเออ (aw) สระเอีย (ia) สระเอา (au) สระอัว ( ua) สระ ไอ (ai) วิกิมีเดีย อินคิวเบเตอร์ มีการทดสอบโครงการ: วิกิพีเดียในภาษาม้ง http://hmongstudies.org/LemoineHSJ6.pdf Lemoine, Jacques. "What is the actual number of the (H) mong in the World." Hmong Studies Journal, Vol 6, 2005. สุริยา รัตนกุล. พจนานุกรมภาษาไทย-ม้ง. กทม. โรงพิมพ์เกษมสัมพันธ์การพิมพ์. 2515 สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธ์: ม้ง. กทม. สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท. 2538 ศัพทานุกรมไทย-คำเมือง-ม้งขาว-กะเหรี่ยงสะกอ-มูเซอดำสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์และสัตวแพทย์เพื่อการพัฒนุณภาพชีวิตของชาวชนบท. กทม. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2530 สุนิสา เจริญธรรมอักษร ชาวม้งเขียว บ้านแม่แรม ต.เตาปูน อ.สอง จ.แพร่ ภาษาม้ง Hmoob ประเทศที่มีการพูด จีน, เวียดนาม, ลาว, ไทย, และ สหรัฐ. จำนวนผู้พูด มากกว่า 4 ล้านคน  (ไม่พบวันที่) ตระกูลภาษา Hmong-Mien ภาษาม้ง รหัสภาษา ISO 639-2 hmn ISO 639-3 มีหลากหลาย: hmn — Hmong (generic) mww — ภาษาม้งเด๊อว (Laos, China) hmv — Hmong Do (Vietnam) hmf — Hmong Don (Vietnam) blu — ภาษาม้งจั๊ว (Laos, China) hmz — Hmong Shua (Vietnam) hmc — Hmong Central Huishui (China) hmm — Hmong Central Mashan (China) hmj — Hmong Chonganjiang (China) hme — Hmong Eastern Huishui (China) เส้นเมริเดียนที่ 110 ==================== เส้นเมริเดียนที่ 110 อาจหมายถึง: เส้นเมริเดียนที่ 110 องศาตะวันตก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันตกของเส้นเมริเดียนกรีนิช เส้นเมริเดียนที่ 110 องศาตะวันออก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันออกของเส้นเมริเดียนกรีนิช 110° เส้นเมริเดียนที่ 110 องศาตะวันตก 110° เส้นเมริเดียนที่ 110 องศาตะวันออก หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง ประเทศนอร์เวย์ในโอลิมปิกฤดูหนาว 1952 ==================================== ประเทศนอร์เวย์ เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 6 ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ณ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ประเทศนอร์เวย์ เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 6 ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ณ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศนอร์เวย์ในโอลิมปิก ธงชาตินอร์เวย์ รหัสประเทศ : NOR เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกนอร์เวย์และสมาพันธ์กีฬา เว็บไซต์ : www.idrett.no (นอร์เวย์) โอลิมปิกฤดูหนาว 1952 ออสโล นอร์เวย์ เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1896 · 1900 · 1904 · 1908 · 1912 · 1920 · 1924 · 1928 · 1932 · 1936 · 1948 · 1952 · 1956 · 1960 · 1964 · 1968 · 1972 · 1976 · 1980 · 1984 · 1988 · 1992 · 1996 · 2000 · 2004 · 2008 · 2012 · 2016 · การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1924 · 1928 · 1932 · 1936 · 1948 · 1952 · 1956 · 1960 · 1964 · 1968 · 1972 · 1976 · 1980 · 1984 · 1988 · 1992 · 1994 · 1998 · 2002 · 2006 · 2010 · 2014 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1928 ================================ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1928 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1928 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 20 พฤษภาคม - การลงประชามติสวิตเซอร์แลนด์ ค.ศ. 1928 รายชื่อปีในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปฏิทินปี 1928 - ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา สฟิงซ์ ====== สำหรับพันธุ์แมวในชื่อเดียวกัน ดูที่ สฟิงซ์ (พันธุ์แมว) สฟิงซ์ (อังกฤษ: Sphinx) เป็นสัตว์ที่มีส่วนผสมของสัตว์หลายชนิดรวมอยู่ในตัวเดียวกันตามความเชื่อของคนแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ สฟิงซ์เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในหลายวัฒนธรรม สำหรับพันธุ์แมวในชื่อเดียวกัน ดูที่ สฟิงซ์ (พันธุ์แมว) สฟิงซ์ (อังกฤษ: Sphinx) เป็นสัตว์ที่มีส่วนผสมของสัตว์หลายชนิดรวมอยู่ในตัวเดียวกันตามความเชื่อของคนแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ สฟิงซ์เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในหลายวัฒนธรรม สฟิงซ์ของกรีกเป็นหนึ่งในลูก ๆ ของอีคิดนาและไทฟอน สฟิงซ์มีใบหน้าและทรวงอกของหญิงสาว ท่อนล่างเป็นสิงโตและมีปีกแบบนกอินทรี มีลักษณะนิสัยชอบทรยศหักหลัง ก้าวร้าวรุนแรง และกระหายเลือด และพวกนี้ยังชอบกินคนเป็นอาหารด้วย ลักษณะที่เด่นชัดของสฟิงซ์ กรีกอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความคล้ายแมว หรือจะว่าอีกทีก็คล้ายผู้หญิงด้วย นั่นคือ มันจะพูด คุยหยอกเหยื่อของมันก่อนที่จะกินเข้าไป แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเกิดเหยื่อหนีรอดไปได้ สฟิงซ์จะบินดิ่งทิ้งตัวกระแทกพื้นหรืออะไรสักอย่าง ด้วยความโกรธเกรี้ยวจนตายไปเอง เรื่องราวเกี่ยวกับสฟิงซ์ของกรีก ที่โด่งดังเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของ เจ้าแม่เฮรา (Hera) ซึ่งมอบหมายหน้าที่ลงโทษชาวเมืองธีบีส (Thebes) เพราะความเมามายไร้สติของพวกเขา หลังจากที่ ไดโอนิซุส เทพแห่งเมรัยได้มาสอนการทำไวน์ ให้แก่ชาวเมืองนี้ ตามปกติสฟิงซ์จะไม่เข้าขย้ำเหยื่อ ที่ผ่านมาในทันทีทันใด แต่จะให้โอกาสเหยื่อด้วยการถามปัญหา ที่เรียกกันว่าปัญหาของตัวสฟิงซ์ (The Riddle of the Sphinx) ซึ่งสัญญาจะปล่อยเหยื่อเป็นอิสระ หากตอบปัญหาของนางได้ ตามท้องเรื่องที่จะกล่าวถึง เอดิปุส (Oedipus) แห่งโครินท์ผ่านมาในเมืองธีบีสพอดิบพอดี สฟิงซ์กระโดดออกมา จากหลังพุ่มไม้ แลบลิ้นเลียปากด้วยความอยากกินเนื้อ ก่อนจะส่งเสียงคำรามให้ขวัญหาย เข้าใส่เอดิปุสและถามปัญหา "อะไรเอ่ยเดินสี่ตีนในยามเช้า เดินสอง ตีน ในยามสาย และเดินสามตีนในยามเย็น….? "อ๋อ มันก็คือมนุษย์นั่นแล ย่อมเดินด้วยการคลานทั้งมือและเข่า เมื่อยังเป็นเด็ก ยืนด้วยขาสอง ข้าง เมื่อโตเต็มที่ และต้องใช้ไม้เท้าพยุงตัวเอง เป็นขาที่สามในยามสายัณห์ของชีวิต" เอดิปุสตอบอย่างไม่ลังเล สฟิงซ์เมื่อได้ฟังคำตอบ ที่ไม่คิดว่าจะได้ยินจากมนุษย์หน้าไหนเลย ถึงกับกรีดร้องด้วยความเจ็บใจ นางโผบินขึ้น บนฟ้า แล้วทิ้งตัวดิ่งลงฆ่าตัวตายในทะเล เป็นพันธุ์ที่เราเรียกว่า แอนโดรสฟิงซ์ (Andro-Sphinx) เป็นการผสมกันระหว่างมนุษย์กับสิงโต ส่วนหัวที่เหมือนมนุษย์นั้น มีสัญลักษณ์ ของฟาโรห์อียิปต์แสดงไว้ชัดเจน คือมีเคราที่คาง ตรงหน้าผากมีงูจงอางแผ่แม่เบี้ย และมีเครื่องประดับ รัดเกล้าแบบกษัตริย์โดยรอบ ว่ากันว่า สฟิงซ์ คือ รูปเหมือนขนาดใหญ่กว่าร่างจริงสองเท่าของฮาร์มาชิส เทพแห่งรุ่งอรุณ เมื่อตอนที่แปลงร่าง เป็นสิงโต มีเศียร เป็นฟาโรห์อียิปต์หรือ "sphingein" แปลว่า "การบีบรัด" รูปสลักสฟิงซ์ของอียิปต์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) บริเวณใกล้กับพีระมิดคาเฟร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ หมู่เกาะพีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex) S เป็นสัตว์ที่ได้ชื่อว่าฉลาด ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะมันจะเปิดเผยสิ่งที่มันรู้ยากมาก มันพอใจที่จะนอนผึ่งแดด อย่างเป็นสุข ท่ามกลางการเคารพบูชาของผู้ที่เทิดทูนมัน นอกจากนี้ยังมีสฟิงซ์แบบอื่นๆซึ่งแตกมาจากพวกอียิปต์อีกเช่นกัน เช่น ครีโอสฟิงซ์ (Crio-Spninx) ที่มีหัวเป็นแกะบ้าง หรือเป็นนกเหยี่ยว บ้าง ในเปอร์เซีย (Persia) , แอสซีเรีย (Assyria) , และฟีเนียเซีย (Phoenicia) มีสฟิงซ์ทั้งสองเพศ ตัวผู้จะมีหนวด และผมหยักศก ส่วนของโรมโบราณเป็นผู้หญิง และอาจจะเป็นแบบ ที่ส่งผ่านมาให้ กับอียิปต์ก็ได้ เพราะว่าตัวนี้สวมงูแอสพ์ (Asp) คาดอยู่ที่หน้าผากด้วย สฟิงซ์ได้ถูกนำมาสร้างเป็นชุดเซอร์พลิสของสฟิงซ์ ฟาโรห์ในดินแดนยมโลกขุมที่ 2 บทความนี้อาจต้องการพิสูจน์อักษร ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Sphinxes สฟิงซ์ของกรีก มหาสฟิงซ์ และ พีระมิดคาเฟร ในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1951 ================================ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1951 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1951 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 25 กุมภาพันธ์ - การลงประชามติสวิตเซอร์แลนด์ ค.ศ. 1951 รายชื่อปีในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปฏิทินปี 1951 - ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา ห้างหุ้นส่วน ============ ห้างหุ้นส่วน (Partnerships) คือ องค์การธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินการ และจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมี 2 ชนิด คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) และห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) ห้างหุ้นส่วน (Partnerships) คือ องค์การธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินการ และจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมี 2 ชนิด คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) และห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคล 2 คนขึ้นไปมาลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเป็น"หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด" หมายถึง ถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ทุกคนที่เป็นหุ้นส่วน ต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมด โดยไม่จำกัดจำนวนและหุ้นส่วนแต่ละคนมีอำนาจในการจัดการกิจการของห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด หมายถึง รับผิดชอบจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนและไม่มีสิทธิ์ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่มีสิทธิที่จะสอบถามการดำเนินกิจการของห้าง ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง ถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดก่อนและมีสิทธิเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วน ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินประจำปี ยื่นต่อสำนักบริหารข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม มิฉะนั้น มีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้อง ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับห้างหุ้นส่วนบริษัทอื่น กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของห้างหุ้นส่วน กิจการที่จะทำ สถานที่ตั้งห้าง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ สิ่งที่นำมาลงทุน ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ชื่อหุ้นส่วนผุ้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้น ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมกับ ประทับตราสำคัญของห้างในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง และให้ หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน (ปกติการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล /ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ประสงค์จะไปลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนก็สามารถจะลงลายมือชื่อต่อหน้าสามัญหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อเป็นการรับรองลายมือชื่อ ของตนได้ในอีกทางหนึ่ง) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นจดทะเบียนแทนก็ได้ เสียค่าธรรมเนียมโดยนับจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนกล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน เสีย ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท กรณีเกิน 3 คน จะเสียค่าธรรมเนียมหุ้นส่วนที่เกินเพิ่มอีกคนละ 200 บาท เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งแล้วจะได้รับหนังสือรับรองและใบสำคัญเป็นหลักฐาน การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ บทความเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ หรือ การค้านี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ตัวอย่างและทัศนะในบทความนี้มิได้เสนอมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถพัฒนาบทความได้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่ วังไชยา ======= วังไชยา เป็นวังที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ตั้งอยู่ริมถนนลูกหลวงตอนต่อถนนนครสวรรค์ฝั่งใต้ วังไชยา เป็นวังที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ตั้งอยู่ริมถนนลูกหลวงตอนต่อถนนนครสวรรค์ฝั่งใต้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างวังพระราชทาน กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ที่ริมถนนลูกหลวง ตอนต่อถนนนครสวรรค์ฝั่งใต้ และได้ประทับวังนี้ตลอดพระชนมายุ ปัจจุบันวังนี้เป็นที่ทำการของรัฐบาล คือที่ทำการส่วนกลางทะเบียนและบัตรของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ส่วนอาคารที่เป็นวังกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ถูกดันแปลงต่อเติม จนไม่เหลือสภาพเดิม เส้นเมริเดียนที่ 52 =================== เส้นเมริเดียนที่ 52 อาจหมายถึง: เส้นเมริเดียนที่ 52 องศาตะวันตก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันตกของเส้นเมริเดียนกรีนิช เส้นเมริเดียนที่ 52 องศาตะวันออก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันออกของเส้นเมริเดียนกรีนิช 52° เส้นเมริเดียนที่ 52 องศาตะวันตก 52° เส้นเมริเดียนที่ 52 องศาตะวันออก หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง ชาบู-ชาบู ========= ชาบู-ชาบู (อังกฤษ: Shabu-shabu; ญี่ปุ่น: しゃぶしゃぶ shabushabu ?) เป็นอาหารญี่ปุ่นประเภทหม้อไฟแบบหนึ่ง คล้ายกับสุกี้ยากี้ มีส่วนผสมต่าง ๆ เช่น ผัก เนื้อหั่นบาง ๆ และอาหารทะเล โดยการปรุงจะนำวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้จุ่มแช่ลงในน้ำเดือด หรือน้ำซุป และปล่อยทิ้งไว้สักพัก จากนั้นนำส่วนผสมอย่างอื่น เช่น เต้าหู้ บะหมี่ ลงตุ๋นให้เข้ากัน แล้วรับประทานโดยจุ่มลงในซอส ปัจจุบัน ชาบู-ชาบู มีหลากหลายประเภทให้เลือกรับประทานทั้งแบบดั้งเดิม หรือแบบประยุกต์ ชาบู-ชาบู (อังกฤษ: Shabu-shabu; ญี่ปุ่น: しゃぶしゃぶ shabushabu ?) เป็นอาหารญี่ปุ่นประเภทหม้อไฟแบบหนึ่ง คล้ายกับสุกี้ยากี้ มีส่วนผสมต่าง ๆ เช่น ผัก เนื้อหั่นบาง ๆ และอาหารทะเล โดยการปรุงจะนำวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้จุ่มแช่ลงในน้ำเดือด หรือน้ำซุป และปล่อยทิ้งไว้สักพัก จากนั้นนำส่วนผสมอย่างอื่น เช่น เต้าหู้ บะหมี่ ลงตุ๋นให้เข้ากัน แล้วรับประทานโดยจุ่มลงในซอส ปัจจุบัน ชาบู-ชาบู มีหลากหลายประเภทให้เลือกรับประทานทั้งแบบดั้งเดิม หรือแบบประยุกต์ ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ จิ้มจุ่ม สุกี้ยากี้ ชาบูส่งถึงบ้าน Shabu ส่งถึงบ้าน ชาบูส่งถึงบ้าน สมุทรปราการ หน้า 20 เรื่องเล่าจากต่างแดน-ช่องทางทำกิน, 'ชาบู ชาบู' สไตล์ไทย..รายได้งาม, " ช่องทางทำกิน" โดย สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,999: วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม บทความเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม และหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอื่น ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ชาบู-ชาบู ชาบู-ชาบู ข้อมูลจุดกำเนิด ประเทศกำเนิด: ญี่ปุ่น ข้อมูลอาหาร ประเภท: อาหารหลัก อุณหภูมิการเสิร์ฟ: ร้อน ส่วนประกอบหลัก เนื้อวัวหั่นบาง ๆ , อาหารทะเล, ผัก, เต้าหู้, บะหมี่ ข้อมูลอื่น: สุกี้ยากี้ คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ชาบู-ชาบู ประเทศสวีเดนใน ค.ศ. 1859 ======================== เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1859 ในประเทศสวีเดน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1859 ในประเทศสวีเดน พระเจ้าคาร์ลที่ 15 เสด็จขึ้นครองราชย์ รายชื่อปีในประเทศสวีเดน บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา สหพันธรัฐรัสเซียในโอลิมปิกฤดูหนาว 1994 ====================================== สหพันธรัฐรัสเซีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 17 ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ณ เมืองลิลแฮมเมอร์ ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สหพันธรัฐรัสเซีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 17 ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ณ เมืองลิลแฮมเมอร์ ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศรัสเซียในโอลิมปิก ธงชาติรัสเซีย รหัสประเทศ : RUS เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซีย external link โอลิมปิกฤดูหนาว 1994 ลิลเลฮัมเมร์ นอร์เวย์ เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1896 • 1900 • 1904 • 1908 • 1912 • 1920 • 1924 • 1928 • 1932 • 1936 • 1948 • 1952 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 • 2016 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1924 • 1928 • 1932 • 1936 • 1948 • 1952 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1994 • 1998 • 2002 • 2006 • 2010 • 2014 ประเทศนิวซีแลนด์ใน ค.ศ. 1908 ============================ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1908 ในประเทศนิวซีแลนด์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1908 ในประเทศนิวซีแลนด์ 17 พฤศจิกายน และ 2 ธันวาคม - การเลือกตั้งทั่วไปในนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1908 รายชื่อปีในประเทศนิวซีแลนด์ บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา ดัชนีเม็ดเลือดแดง ================= ดัชนีเม็ดเลือดแดง (อังกฤษ: Red blood cell indices) เป็นการตรวจเลือดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฮีโมโกลบินและขนาดของเม็ดเลือดแดง ค่าที่ผิดปกติสามารถบ่งบอกถึงการเป็นโลหิตจาง รวมถึง สามารถใช้แยกชนิดของโลหิตจางได้ด้วย ดัชนีเม็ดเลือดแดง (อังกฤษ: Red blood cell indices) เป็นการตรวจเลือดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฮีโมโกลบินและขนาดของเม็ดเลือดแดง ค่าที่ผิดปกติสามารถบ่งบอกถึงการเป็นโลหิตจาง รวมถึง สามารถใช้แยกชนิดของโลหิตจางได้ด้วย ดูบทความหลักที่: Mean corpuscular volume ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (อังกฤษ: Mean corpuscular volume, MCV) คือ การวัดปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง คำนวณได้จากการนำค่าฮีมาโตคริต (Hct) หารด้วยจำนวนเม็ดเลือดแดง M C V = H c t R B C {\displaystyle MCV={\frac {Hct}{RBC}}} x10 ช่วงค่าปกติ: 80-100 fL ดูบทความหลักที่: Mean corpuscular hemoglobin ปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (อังกฤษ: Mean corpuscular hemoglobin, MCH) คือ ค่าเฉลี่ยของปริมาณฮีโมโกลบิน (Hb) ต่อเม็ดเลือดแดง คำนวณได้จากการนำค่าฮีโมโกลบิน (Hb) หารด้วยจำนวนเม็ดเลือดแดง M C H = H b R B C {\displaystyle MCH={\frac {Hb}{RBC}}} x10 ช่วงค่าปกติ: 27-31 pg/cell ดูบทความหลักที่: Mean corpuscular hemoglobin concentration ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (อังกฤษ: Mean corpuscular hemoglobin concentration, MCHC) คือ ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินต่อเม็ดเลือดแดง คำนวณได้จากการนำค่าฮีโมโกลบินหารด้วยค่าฮีมาโตคริต M C H C = H b H c t {\displaystyle MCHC={\frac {Hb}{Hct}}} x100 ช่วงค่าปกติ: 32-36 g/dL MedlinePlus Medical Encyclopedia: RBC indices ประเทศเบลเยียมใน ค.ศ. 1925 ========================== เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1925 ในประเทศเบลเยียม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1925 ในประเทศเบลเยียม 5 เมษายน - การเลือกตั้งทั่วไปในเบลเยียม ค.ศ. 1925 รายชื่อปีในประเทศเบลเยียม บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา ประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1483 ========================== เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1483 ในประเทศฝรั่งเศส เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1483 ในประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 ผู้อ่อนโยน ขึ้นครองราชย์ รายชื่อปีในประเทศฝรั่งเศส บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา อำเภอคลองหอยโข่ง ================ คลองหอยโข่ง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา คลองหอยโข่ง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา อำเภอคลองหอยโข่งมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสะเดา ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง (จังหวัดสตูล) อำเภอคลองหอยโข่งแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 32 หมู่บ้าน ท้องที่อำเภอคลองหอยโข่งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลทุ่งลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งลานทั้งตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกม่วงทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหอยโข่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหอยโข่งทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหลาทั้งตำบล บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย อำเภอคลองหอยโข่ง พระพุทธลาภดำรงค์ เรือนที่ประทับทรงงาน ตำนานเมืองศิลปิน สนามบินนานาชาติ สวยสะอาดอ่างเก็บน้ำ เลื่องลือนามถิ่นขุนคล่อง ข้อมูลทั่วไป อักษรไทย อำเภอคลองหอยโข่ง อักษรโรมัน Amphoe Khlong Hoi Khong จังหวัด สงขลา ข้อมูลสถิติ พื้นที่ 275 ตร.กม. ประชากร 26,056 คน (พ.ศ. 2557) ความหนาแน่น 94.74 คน/ตร.กม. รหัสทางภูมิศาสตร์ 9016 รหัสไปรษณีย์ 90230, 90115 (ตำบลโคกม่วง หมู่ที่ 8 เฉพาะบ้านพักภายในกองบิน 56 และตำบลคลองหลา) ที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอคลองหอยโข่ง ถนนโคกม่วง-บ้านเหนือ ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90230 พิกัด 6°53′57″N 100°23′19″E / 6.89917°N 100.38861°E / 6.89917; 100.38861 หมายเลขโทรศัพท์ 0 7450 1108 หมายเลขโทรสาร 0 7450 1108 ต่อ 16 ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย 1. คลองหอยโข่ง (Khlong Hoi Khong) 7 หมู่บ้าน 2. ทุ่งลาน (Thung Lan) 9 หมู่บ้าน 3. โคกม่วง (Khok Muang) 9 หมู่บ้าน 4. คลองหลา (Khlong La) 7 หมู่บ้าน สาธารณรัฐปารากวัยในโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 ======================================= สาธารณรัฐปารากวัย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ณ โซล เกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 17 กันยายน – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2531 สาธารณรัฐปารากวัย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ณ โซล เกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 17 กันยายน – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2531 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศปารากวัยในโอลิมปิก ธงชาติปารากวัย รหัสประเทศ : PAR เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกปารากวัย เว็บไซต์ : www.cop.org.py (สเปน) โอลิมปิกฤดูร้อน 1988 โซล เกาหลีใต้ เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 การเจาะน้ำไขสันหลัง =================== การเจาะน้ำไขสันหลัง (อังกฤษ: lumbar puncture (LP), spinal tap) เป็นหัตถการทางการแพทย์ มีใช้ทั้งเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษา เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำไขสันหลัง นำไปตรวจทางชีวเคมี จุลชีววิทยา และเซลล์วิทยา การเจาะน้ำไขสันหลัง (อังกฤษ: lumbar puncture (LP), spinal tap) เป็นหัตถการทางการแพทย์ มีใช้ทั้งเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษา เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำไขสันหลัง นำไปตรวจทางชีวเคมี จุลชีววิทยา และเซลล์วิทยา eMedicine: Lumbar puncture Medstudents: Procedures: Lumbar puncture Video of lumbar puncture บทความเกี่ยวกับแพทยศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:แพทยศาสตร์ บุคลากรทางการแพทย์กำลังเจาะน้ำไขสันหลัง แผ่นหลังของผู้รับการตรวจได้รับการฆ่าเชื้อด้วยสารฆ่าเชื้อไอโอดีนทำให้มีสีน้ำตาล สหพันธ์สาธารณรัฐอิรักในโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 =========================================== สหพันธ์สาธารณรัฐอิรัก เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 22 ค.ศ. 1980([[พ.ศ. 2523) ณ กรุงมอสโก สหภาพโซเวียตระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2523 สหพันธ์สาธารณรัฐอิรัก เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 22 ค.ศ. 1980([[พ.ศ. 2523) ณ กรุงมอสโก สหภาพโซเวียตระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2523 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศอิรักในโอลิมปิก ธงชาติอิรัก รหัสประเทศ : IRQ เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติแห่งอิรัก เว็บไซต์ : www.iraqiolympic.org (อาหรับ) โอลิมปิกฤดูร้อน 1980 มอสโก สหภาพโซเวียต เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 • 1952 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1980 • 1984 • 1988 • 1972 • 1976 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 ปอนด์ (หน่วยมวล) ================ ปอนด์ (อังกฤษ: pound /paʊnd/ พาวด์) สัญลักษณ์ lb, lbm หรือบางครั้งอาจพบเป็น # คือหน่วยวัดมวลและน้ำหนักในระบบอังกฤษ หน่วยปอนด์ในปัจจุบันกำหนดให้มีค่าคงที่เท่ากับ 0.453 592 37 กิโลกรัมพอดี (หรือประมาณ 2.2 ปอนด์ เท่ากับ 1 กิโลกรัม) อย่างไรก็ตามหน่วยปอนด์มีการใช้กันหลายค่า ตัวอย่างเช่นในสหรัฐ 2,000 ปอนด์เท่ากับหนึ่งตัน ในขณะที่อื่น 2,240 ปอนด์เท่ากับหนึ่งตัน ปอนด์นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา โดยหน่วยน้ำหนักทุกอย่างจะใช้เป็นหน่วยปอนด์ ไม่ว่าน้ำหนักบุคคล หรือน้ำหนักเนื้อสัตว์ที่ขายตามตลาด คำว่า pound มาจากภาษาละตินคำว่า pondus หมายถึง น้ำหนัก ส่วนสัญลักษณ์ lb มาจากคำว่า libra หมายถึง ตาชั่ง, ความสมดุล ปอนด์ (อังกฤษ: pound /paʊnd/ พาวด์) สัญลักษณ์ lb, lbm หรือบางครั้งอาจพบเป็น # คือหน่วยวัดมวลและน้ำหนักในระบบอังกฤษ หน่วยปอนด์ในปัจจุบันกำหนดให้มีค่าคงที่เท่ากับ 0.453 592 37 กิโลกรัมพอดี (หรือประมาณ 2.2 ปอนด์ เท่ากับ 1 กิโลกรัม) อย่างไรก็ตามหน่วยปอนด์มีการใช้กันหลายค่า ตัวอย่างเช่นในสหรัฐ 2,000 ปอนด์เท่ากับหนึ่งตัน ในขณะที่อื่น 2,240 ปอนด์เท่ากับหนึ่งตัน ปอนด์นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา โดยหน่วยน้ำหนักทุกอย่างจะใช้เป็นหน่วยปอนด์ ไม่ว่าน้ำหนักบุคคล หรือน้ำหนักเนื้อสัตว์ที่ขายตามตลาด คำว่า pound มาจากภาษาละตินคำว่า pondus หมายถึง น้ำหนัก ส่วนสัญลักษณ์ lb มาจากคำว่า libra หมายถึง ตาชั่ง, ความสมดุล 1 ปอนด์ มีค่าเท่ากับ 16 ออนซ์ 7,000 เกรน 0.453 592 37 กิโลกรัม 2,204 ปอนด์ เท่ากับ 1 ตัน 2,000 ปอนด์ เท่ากับ 1 ตัน (ในสหรัฐอเมริกา) Quoted by Laws LJ in "[2002] EWHC 195 (Admin)". สืบค้นเมื่อ 2006-08-12.  Mass Unit Conversions http://dictionary.reference.com/browse/pound เว็บช่วยในการแปลงหน่วยจากยาฮู! บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์ เมาวี ===== เกาะเมาวี (อังกฤษ: Maui; ออกเสียง [maʊ.i] ในภาษาอังกฤษ,[mɐu.i] ในภาษาฮาวาย) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของในหมู่เกาะฮาวาย มีพี้นที่ 1,883.5 ตารางกิโลเมตร และเป็นเกาะที่ใหญ่อันดับที่ 17 ในสหรัฐอเมริกา เมาวีเป็นส่วนหนึ่งของของรัฐฮาวาย และมีขนาดใหญ่ที่สุดในเกาะทั้งสี่ของเมาวีเคาน์ตี ในปี พ.ศ. 2543 เกาะเมาวีมีประชากร 117,644 คน ที่มีประชากรมากเป็นลำดับ 3 ของหมู่เกาะฮาวาย ต่อจากโฮโนลูลูและ Hawi'i (ฮาวายอิ) เมืองใหญ่ที่สุดบนเกาะ คือ Kahului (คาฮุลุย) มีประชากร 20,146 คน ที่ตั้งของเมาวีเคาน์ตี คือ Wailuku(วัยลุคุ)และเมืองสำคัญอื่นๆ รวมถึง Kīhei(คิเฮ) Lahaina(ละฮัยนะ) Makawao(มะคะเวา) Pa'ia (พะเอีย) Kula(คุละ) Ha'iku(ฮาอิคุ) Hana(ฮะนะ) Ka'anapali (คะอะนะพะลิ) Wailea (วัยเล) Makena (มะคินะ)และ Kapalua (คะพะลัว) เกาะเมาวี (อังกฤษ: Maui; ออกเสียง [maʊ.i] ในภาษาอังกฤษ,[mɐu.i] ในภาษาฮาวาย) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของในหมู่เกาะฮาวาย มีพี้นที่ 1,883.5 ตารางกิโลเมตร และเป็นเกาะที่ใหญ่อันดับที่ 17 ในสหรัฐอเมริกา เมาวีเป็นส่วนหนึ่งของของรัฐฮาวาย และมีขนาดใหญ่ที่สุดในเกาะทั้งสี่ของเมาวีเคาน์ตี ในปี พ.ศ. 2543 เกาะเมาวีมีประชากร 117,644 คน ที่มีประชากรมากเป็นลำดับ 3 ของหมู่เกาะฮาวาย ต่อจากโฮโนลูลูและ Hawi'i (ฮาวายอิ) เมืองใหญ่ที่สุดบนเกาะ คือ Kahului (คาฮุลุย) มีประชากร 20,146 คน ที่ตั้งของเมาวีเคาน์ตี คือ Wailuku(วัยลุคุ)และเมืองสำคัญอื่นๆ รวมถึง Kīhei(คิเฮ) Lahaina(ละฮัยนะ) Makawao(มะคะเวา) Pa'ia (พะเอีย) Kula(คุละ) Ha'iku(ฮาอิคุ) Hana(ฮะนะ) Ka'anapali (คะอะนะพะลิ) Wailea (วัยเล) Makena (มะคินะ)และ Kapalua (คะพะลัว) Kinney, Ruby Kawena (1956). "A Non-purist View of Morphomorphemic Variations in Hawaiian Speech". Journal of the Polynesian Society 65 (3): 282–286 === ภูมิศาสตร์ === สถานที่ตั้งอยู่ใน รัฐฮาวาย ตำแหน่งที่ตั้ง 20 ° 48'N 156 ° 20'W เนื้อที่ 727.2 ตารางไมล์ (1,883.5 กม. 2) ลำดับ ใหญ่เป็นลำดับ 2 ในหมู่เกาะฮาวาย จุดหลัก Haleakalā สูงกว่าระดับน้ำทะเล 10,023 ฟุต (3,055 เมตร) ความหนาแน่น 162/sq ไมล์ (62/km 2).  "Table 5.08 - Land Area of Islands: 2000". 2004 State of Hawaii Data Book. State of Hawaii. 2004. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.  "Table 1.05 - Resident Population of Islands 1950 to 2000". 2004 State of Hawaii Data Book. State of Hawaii. 2004. สืบค้นเมื่อ 2007-07-20.  บทความเกี่ยวกับภูมิศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล หรือดูเพิ่มที่ ภูมิศาสตร์ แผนที่เกาะเมาวี บุคลาธิษฐานของความตาย ===================== บุคลาธิษฐานของความตาย (อังกฤษ: Personification of Death) เป็นบุคลาธิษฐานของความเชื่อทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมมาตั้งแต่ยุคแรกของประวัติศาสตร์ ในภาษาอังกฤษ “บุคลาธิษฐานของความตาย” มักจะเรียกกันว่า “กริม รีพเพอร์” (Grim Reaper) และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาก็มักจะเป็นรูปโครงกระดูกสวมเสื้อคลุมยาวแบบมีหมวกคลุมศีรษะสีดำถือเคียวด้ามยาว หรือบางครั้งก็จะเรียกว่า “เทพแห่งความตาย” (อังกฤษ: Angel of Death หรือ ฮีบรู: מַלְאַךְ הַמָּוֶת ‎ Malach HaMavet) ที่มาจากคัมภีร์ไบเบิล ในบางกรณีกริม รีพเพอร์อาจจะเป็นผู้ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ ที่ทำให้เชื่อกันว่ากริม รีพเพอร์เป็นผู้ที่ติดสินบน, ล่อลวง หรือ เอาฉลาดได้ เพื่อให้ยืดอายุต่อไปได้ ความเชื่ออื่นก็เชื่อว่าจินตสัตว์แห่งความตายเป็นแต่เพียงยมทูต ผู้มีหน้าที่ตัดสายใยสุดท้ายระหว่างวิญญาณและร่างกาย และมีหน้าที่นำผู้ตายไปยังโลกหน้าโดยไม่มีอำนาจใดๆ ต่อการตายของผู้ตาย บุคลาธิษฐานของความตายในหลายวัฒนธรรมจะเป็นชาย และอีกหลายวัฒนธรรมก็จะเป็นหญิง เช่นในวัฒนธรรมสลาวิคเป็นต้น บุคลาธิษฐานของความตาย (อังกฤษ: Personification of Death) เป็นบุคลาธิษฐานของความเชื่อทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมมาตั้งแต่ยุคแรกของประวัติศาสตร์ ในภาษาอังกฤษ “บุคลาธิษฐานของความตาย” มักจะเรียกกันว่า “กริม รีพเพอร์” (Grim Reaper) และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาก็มักจะเป็นรูปโครงกระดูกสวมเสื้อคลุมยาวแบบมีหมวกคลุมศีรษะสีดำถือเคียวด้ามยาว หรือบางครั้งก็จะเรียกว่า “เทพแห่งความตาย” (อังกฤษ: Angel of Death หรือ ฮีบรู: מַלְאַךְ הַמָּוֶת ‎ Malach HaMavet) ที่มาจากคัมภีร์ไบเบิล ในบางกรณีกริม รีพเพอร์อาจจะเป็นผู้ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ ที่ทำให้เชื่อกันว่ากริม รีพเพอร์เป็นผู้ที่ติดสินบน, ล่อลวง หรือ เอาฉลาดได้ เพื่อให้ยืดอายุต่อไปได้ ความเชื่ออื่นก็เชื่อว่าจินตสัตว์แห่งความตายเป็นแต่เพียงยมทูต ผู้มีหน้าที่ตัดสายใยสุดท้ายระหว่างวิญญาณและร่างกาย และมีหน้าที่นำผู้ตายไปยังโลกหน้าโดยไม่มีอำนาจใดๆ ต่อการตายของผู้ตาย บุคลาธิษฐานของความตายในหลายวัฒนธรรมจะเป็นชาย และอีกหลายวัฒนธรรมก็จะเป็นหญิง เช่นในวัฒนธรรมสลาวิคเป็นต้น ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน บุคลาธิษฐาน บทความเกี่ยวกับความเชื่อนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Death reaper “บุคลาธิษฐานของความตาย” ตามความเชื่อตะวันตกเป็นโครงกระดูกถือเคียวด้ามยาว ฮก ลก ซิ่ว ========== ฮก ลก ซิ่ว (จีนตัวย่อ: 福禄寿; จีนตัวเต็ม: 福祿壽; พินอิน: Fú Lù Shòu; พินอินกวางตุ้ง: Fuk1 Luk6 Sau6; อังกฤษ: Fu Lu Shou) เป็น 3 เทพเจ้าจีน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นมงคล 3 ประการของจีน แห่งการอวยพร ปัจจุบันนิยมสร้างเป็นเทวรูปประดับตั้งวางอยู่ภายในบ้าน คนไทยส่วนมากรวมถึงคนจีนส่วนหนึ่งก็มักเข้าใจผิด คิดว่าเทพฮก คือเทพองค์กลางที่เป็นขุนนาง แท้จริงเทพฮกคือเทพองค์ที่อุ้มเด็ก เพราะคำว่า ลก หมายถึง ยศถาบรรดาศักดิ์ จึงหมายถึงเทพองค์กลางที่เป็นขุนนาง บางทีจะถูกวาดคู่กับกวาง เพราะในภาษาจีน คำว่ากวางพ้องเสียงกับคำว่า ยศถาบรรดาศักดิ์ ส่วนเทพฮกจะอุ้มเด็ก หมายถึงความสุขต่างๆในชีวิต พึงระวังการจำสับสนกัน ฮก ลก ซิ่ว (จีนตัวย่อ: 福禄寿; จีนตัวเต็ม: 福祿壽; พินอิน: Fú Lù Shòu; พินอินกวางตุ้ง: Fuk1 Luk6 Sau6; อังกฤษ: Fu Lu Shou) เป็น 3 เทพเจ้าจีน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นมงคล 3 ประการของจีน แห่งการอวยพร ปัจจุบันนิยมสร้างเป็นเทวรูปประดับตั้งวางอยู่ภายในบ้าน คนไทยส่วนมากรวมถึงคนจีนส่วนหนึ่งก็มักเข้าใจผิด คิดว่าเทพฮก คือเทพองค์กลางที่เป็นขุนนาง แท้จริงเทพฮกคือเทพองค์ที่อุ้มเด็ก เพราะคำว่า ลก หมายถึง ยศถาบรรดาศักดิ์ จึงหมายถึงเทพองค์กลางที่เป็นขุนนาง บางทีจะถูกวาดคู่กับกวาง เพราะในภาษาจีน คำว่ากวางพ้องเสียงกับคำว่า ยศถาบรรดาศักดิ์ ส่วนเทพฮกจะอุ้มเด็ก หมายถึงความสุขต่างๆในชีวิต พึงระวังการจำสับสนกัน ฮก (ในภาษาแต้จิ๋ว) หรือ ฝู (ภาษาจีนกลาง) (จีน: 福) หมายถึง โชคลาภและความมั่งคั่ง บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ คือ ประกอบพร้อมด้วยเครื่องอุปโภค บริโภค แก้วแหวนเงินทอง และบริบูรณ์ด้วยบริวารสมบัติ มีบุตร ภรรยา ญาติมิตร คนใช้สอย เป็นต้น ลักษณะของฮก เป็นรูปเศรษฐี สวมหมวกมีเส้าข้างหลังสูง มีผ้าคลุมลงไปเบื้องหลัง แสดงโภคสมบัติ มือหนึ่งอุ้มเด็ก แสดงถึงบริวาร สมบัติ นิยมให้เป็นเด็กผู้ชาย เพราะหมายถึงการสืบต่อวงศ์ตระกูล มีค้างคาวเป็นสัญลักษณ์ เพราะพ้องเสียงกับคำว่า ความสุข วาสนา มีเรื่องเล่าว่า ท่าน "เจี่ยวช้ง" เป็นพ่อค้า มหาเศรษฐี ในสมัยราชวงศ์ถัง ที่ร่ำรวยจากการค้าขายที่สุจริต และ คนในครอบครัว ลูกหลาน ล้วนแล้วแต่เป็นคนดี ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใด มีเรื่องเล่าขานกันว่า บ้านพักของท่านเจี่ยวช้งนั้น ห่างจากพระราชวังถึง 20 ลี้ เพียงท่านก้าวพ้นจากเขตที่ดินของท่าน ก็เป็นเขตพระราชวัง ด้วยความที่ท่านมีทรัพย์สมบัติมาก กอปรกับท่านเป็นใจบุญ ให้ความช่วยเหลือกับทุกคนที่ทุกข์ยาก จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน และนับถือท่านเป็นเทพผู้นำความสุขมาให้ ในสมัยก่อน ลก (ในภาษาแต้จิ๋ว) หรือ ลู่ (ภาษาจีนกลาง) (จีน: 禄) หมายถึง บุญวาสนา อำนาจ เกียรติยศ ลักษณะของลก เป็นรูปขุนนางจีนสวมหมวก มีปีกหมวกกางออกไปสองข้าง มือถือคทายู่อี่ ซึ่งเป็นคทาแห่งความสมปรารถนา มีกวางเป็นสัญลักษณ์ เพราะพ้องเสียงกับคำว่า ยศถาบรรดาศักดิ์ มีเรื่องเล่าว่า ท่าน "ก๋วยจื่องี้" เป็นข้าราชการระดับอัครเสนาบดี (ข้าราชการระดับสูง) ที่จงรักภักดี ซื่อสัตย์ ยุติธรรม รับใช้ราชการนานหลายแผ่นดิน ความซื่อสัตย์ และ จงรักภักดีต่อแผ่นดินนั้น เป็นที่ประจักษ์ต่อ ฮ่องเต้หลายพระองค์ จึงมีราชการโองการ ให้อยู่ในตำแหน่งตลอดทั้ง 4 แผ่นดิน และได้รับมอบ ดาบหยก และ เข็มขัดหยก ให้สามารถทำการใดๆ แทนฮ่องเต้ก่อน แล้ว ค่อยทูลถวายภายหลังได้ ท่าน ก๋วยจื่องี้ เป็นข้าราชการที่อยู่ในตำแหน่ง นานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ซิ่ว (ในภาษาแต้จิ๋ว) หรือ โซ่ว (ภาษาจีนกลาง) (จีน: 寿) หมายถึงอายุยืน ลักษณะของซิ่วเป็นรูปชายชราหน้าตาใจดี หนวดเครายาวสีขาว ศีรษะล้าน ส่วนหน้าผากโหนกนูนเห็นชัดเจน มือหนึ่งถือไม้เท้า อีกมือหนึ่งถือผลท้อ ซึ่งเป็นผลไม้แห่งความยั่งยืนและมักจะมีนกกระเรียนขาวอยู่ข้างกาย อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอายุยืนยาว มีเรื่องเล่าว่า ท่าน "แผ่โจ้ว" เป็นบุคคลที่กลัวความแก่ และความตายมากที่สุด จึงรักษาสุขภาพ ร่างกาย และ จิตใจของตนเองให้มีความสุข แข็งแรง ตลอดเวลา ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวใหญ่ มีภรรยา และ ลูกหลานมากมาย และเป็นที่กล่าวขานกันว่า ท่านแผ่โจ้วนั้นมีอายุยืนกว่า 800 ปี มีภรรยาเสียชีวิตก่อนท่านทั้งสิ้น 49 คน และ บุตรหลานเสียชีวิตก่อนท่านทั้งสิ้น 154 คน ใช้เป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบต่าง ๆ กันคือ แสดงออกโดยรูปมนุษย์ คือรูปฮก ลก ซิ่ว ที่พบเห็นได้ทั่วไป แสดงออกโดยรูปสัตว์ เช่น ฮกในรูปค้างคาว ลกในรูปกวางดาว และซิ่วในรูปนกกระเรียน แสดงออกโดยสัญลักษณ์บนท้องฟ้า เช่น ดวงดาว พระอาทิตย์ พระจันทร์ เมฆ แสดงออกโดยพฤกษาชาติและบุปผชาติ การแสดงออกของฮก ลก ซิ่ว มีนัยเกี่ยวกับการอวยพรอันเป็นมงคล ดังนั้นสัญลักษณ์ทั้งหลายที่แสดงออกมาจึงเรียกว่า เครื่องมงคลแบบจีน ฮก ความสุขสมหวังดังใจปรารถนา อยู่อี่ คือคทาวิเศษ เป็นของพระราชทานแก่ขุนนางและพระชั้นผู้ใหญ่ เพื่อแสดงถึงอำนาจวาสนากล่าวว่าสามารถขอพรศักดิ์สิทธิ์จากคฑานี้ได้ ดอกโบตั๋นเป็นราชาแห่งดอกไม้ เพราะเมื่อปลูกที่ใดไม้อื่นจะโน้มเข้าหาแสดงถึงอำนาจวาสนา ดอกบัวหรือพุดตานน้ำเป็นราชาแห่งไม้น้ำ เป็นดอกไม้พิเศษที่สะอาดบริสุทธิ์ มีประโยชน์ทั้งต้น และบานได้โดยอาศัยแสงจันทร์ในขณะที่ดอกไม้อื่นบานโดยแสงอาทิตย์ ส้มมือ มีรูปร่างมีสัณฐานเหมือนมือพระโพธิสัตว์ แสดงถึงความมีโชค สิงโต เป็นสัตว์ที่มีนัยแสดงถึงอำนาจเป็นที่รู้จักแพร่หลาย นกยูง นกยูงเป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์เพราะแววหางของนกยูงเหมือนแสงอาทิตย์และความสง่างามของนกยูง มีความหมายถึงอำนาจวาสนา ค้างคาว เป็นสัตว์ที่ไม่รู้จักลงดิน แสดงถึงวาสนา พระอาทิตย์ มีอานุภาพ ให้แสงสว่าง ให้ชีวิต เป็นเครื่องหมายของอำนาจ 福禄寿 จาก ไป่ตู้ไป่เคอ (จีน) บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก รูปเคารพ (จากขวา) ฮก, ลก, ซิ่ว ประเทศเอธิโอเปียใน ค.ศ. 1978 ============================ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเอธิโอเปีย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเอธิโอเปีย ประเทศเอธิโอเปียได้เข้าร่วมการแแข่งขันออล-แอฟริกาเกมส์ 1978 รายชื่อปีในประเทศเอธิโอเปีย จักรวรรดิมองโกล =============== จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; อังกฤษ: Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน ค.ศ. 1206 จักรวรรดิเติบโตอย่างรวดเร็วภายใต้การปกครองของเขาและภายใต้ผู้สืบเชื้อสายของเขาต่อ ๆ มา ซึ่งส่งการบุกครองไปทุกสารทิศ จักรวรรดิข้ามทวีปไพศาลนี้เชื่อมตะวันออกกับตะวันตกด้วยสันติภาพมองโกลซึ่งบังคับใช้ ทำให้การค้า เทคโนโลยี โภคภัณฑ์และอุดมการณ์แพร่หลายและมีการแลกเปลี่ยนทั่วยูเรเชีย จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; อังกฤษ: Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน ค.ศ. 1206 จักรวรรดิเติบโตอย่างรวดเร็วภายใต้การปกครองของเขาและภายใต้ผู้สืบเชื้อสายของเขาต่อ ๆ มา ซึ่งส่งการบุกครองไปทุกสารทิศ จักรวรรดิข้ามทวีปไพศาลนี้เชื่อมตะวันออกกับตะวันตกด้วยสันติภาพมองโกลซึ่งบังคับใช้ ทำให้การค้า เทคโนโลยี โภคภัณฑ์และอุดมการณ์แพร่หลายและมีการแลกเปลี่ยนทั่วยูเรเชีย หลังจากได้รับตำแหน่งเจงกิสข่าน เจงกิสข่านก็ได้ทำการขยายอาณาจักรโดยสามารถพิชิตอาณาจักรเหลียว อาณาจักรซีเซี่ยและอาณาจักรจิน "หรือเมืองกิม" ปีคริสต์ศักราช 1219 เจงกิสข่านก็เริ่มยกทัพไปทางตะวันตกถึงเอเชียกลางและยุโรป และได้พิชิตไปทั่วทวีปเอเซีย เอเซียกลางจนถึงทวีปยุโรป ต่อมาปีคริสต์ศักราช 1227 เจงกิสข่านสวรรคตด้วยอาการประชวรระหว่างเดินทัพ ณะมีพระชนมายุ 65 พรรษา สุสานของพระองค์อยู่ที่ใดยังคงเป็นปริศนากระทั่งถึงทุกวันนี้ ดูบทความหลักที่: การรุกรานของมองโกลในยุโรป ในปี ค.ศ. 1246 กองทัพมองโกล เข้าโจมตีเมืองแคฟฟาของอิตาลี กองทัพของมองโกลตังทัพอยู่นอกกำแพงอยู่นานไม่อาจเข้าโจมตีเข้าไปในค่ายได้ ต่อมาเกิดกาฬโรคหรือโรคห่าระบาดในกองทัพของมองโกล ทหารล้มตายเป็นเบือศพทหารกองท่วมค่าย แต่แทนที่จะมีการนำศพนั้นไปฝังหรือเผา แม่ทัพมองโกลกลับมีความคิดที่ดีกว่านั้น ด้วยการนำศพทหารที่ตายด้วยโรคห่าใช้แทนก้อนหินเข้าเครื่องยิงข้ามเข้าไปในกำแพงเมืองแคฟฟา คนในเมืองแตกตื่นกับสภาพศพที่เห็น ที่ทั้งเนื้อทั้งตัวเป็นตุ่มพุพองช้ำเลือดช้ำหนองเน่าแฟะ หนำซ้ำเชื่อโรคยังระบาดสู่ชาวเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือรอดก็พากันหนีออกไปนอกเมือง จนในที่สุดไม่อาจต้านอาวุธเชื้อโรคของมองโกลได้เมืองจึงแตก หลังจากที่เมืองแคฟฟา อิตาลีแตก กองทัพมองโกลจึงเคลื่อนทัพเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน เข้าโจมตีหมู่เกาะซิซิลี และยุโรปตะวันออกด้วยวิธีการเดียวกัน เพียงแค่ในเวลา 3 ปีในการทำสงคราม คาดว่ามีผู้คนล้มตายด้วยกาฬโรคไม่ต่ำกว่า 25 ล้านคน นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำอาวุธเชื้อโรคเข้ามาทำสงคราม และถือว่าเป็นวิธีการที่ชาญฉลาดที่สุดในหน้าหนึ่งเท่าที่ประวัติศาสตร์เคยบันทึกเอาไว้ ฮูลากู (หลานชายคนหนึ่งของเจงกิสข่าน) ปกครองอาณาจักรมองโกลอิลข่านตอนช่วงนี้อยู่ระหว่างสมัยของมังกุข่าน นอกจากนั้นแล้วเขายังเป็นคนที่คุ้มดีคุ้มร้ายด้วย โดกุซ คอดูน ภรรยาของเขาซึ่งเป็นคริสเตียนในเผ่าเคเรสต์จึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีอิทธิพลในราชสำนัก ในปี ค.ศ. 1258 ฮูลากูได้ยกทัพมาทำลายนครบัฆดาดจนราพณาสูร และประชาชนชาวบัฆดาดทุกคนยกเว้นคริสเตียนถูกฆ่าตายหมด หลังจากนั้น ฮูลากูก็ถอนทัพกลับไปยังเมืองหลวงใกล้ทะเลสาบอูรมีอะฮฺในทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิรอน โดยมอบความไว้วางใจในการปฏิบัตการทางทหารในขั้นต่อไปให้กับขุนทัพเจนศึกของเขาชื่อ คิตบูกา เป็นผู้รับผิดชอบ หลังจากนั้นดินแดนและเมืองต่าง ๆ ของมุสลิมถูกพวกมองโกลตีรุกครั้งแล้วครั้งเล่าและสถานการณ์ของประเทศมุสลิมในเอเชียตะวันตกก็มีทีท่าว่าจะเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะปรากฏว่าพวกมองโกลและพวกคริสเตียนได้รวมกำลังกันเข้ารุมตีมุสลิม ดังจะเห็นได้จากเมื่อตอนที่พวกมองโกลยกทัพมาทำลายเมืองบัฆดาดนั้น กษัตริย์คริสเตียนแห่งจอร์เจีย และอาร์มีเนียก็มีส่วนร่วมด้วย และในตอนที่กองทัพของพวกเหล่านี้ยกเข้ามาในซีเรียนั้น พวกมองโกลก็ได้เสนอให้พวกครูเสดเป็นพันธมิตรกับตนในการต่อสู้กับมุสลิม อาศัยความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของตนเอง พวกมองโกลมีปรัชญาการเมืองอย่างง่าย ๆ ว่า เพื่อนของตนจะต้องเป็นบริวารของตน และคนที่ไม่ยอมเป็นบริวารนั้นคือศัตรู กษัตริย์แห่งจอร์เจียและอาร์มีเนียได้ยอมรับอธิปไตยของพวกมองโกล แต่พวกขุนนางคริสเตียนไม่ยอมรับสภาพเช่นนั้นด้วย พวกขุนนางเหล่านี้ได้สังเกตว่าพวกมองโกลนั้นคิดแต่จะพิชิตซึ่งท่าเดียว และพวกนี้ก็เคยทำทารุณกับคนคริสเตียนในทางยุโรปตะวันออกเหมือนกับที่เคยทำกับคนมุสลิมมาแล้ว นอกจากนั้น พวกขุนนางคริสเตียนยังได้สังเกตเห็นว่า พวกเจ้าชายและเจ้าหญิงมองโกลซึ่งเป็นคริสเตียนนั้นเป็นพวกนิกายเนสโทเรียนและมีทีท่าว่าจะสนับสนุนพวกกรีกออร์โธดอกซ์ในการต่อต้านพวกโรมันคาทอลิก เมื่อรู้ดังนี้ พวกครูเสดจึงถอนตัวออกจากความเป็นพันธมิตรกับพวกมองโกล กองทหารของคิตบูกาและกองทหารคริสเตียนแห่งจอร์เจีย อาร์มีเนีย และอันติออค ได้รุกเข้าไปในซีเรียและฟิลิสตีน (ปาเลสไตน์) โดยมีพวกคริสเตียนในท้องถิ่นให้การสนับสนุน นี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ที่มุสลิมในอาณาเขตนี้พบว่าตัวเองกลายเป็นคนกลุ่มน้อยที่กำลังถูกกดขี่ปราบปราม ดังนั้น พวกนี้จึงคิดที่จะต่อต้านแก้แค้นพวกมองโกลขึ้นมาบ้าง ถึงแม้ความหวังจะน้อยก็ตาม แต่พวกมุสลิมเองก็ยังมีความคิดที่จะต่อต้านมองโกลอยู่ ในทางตะวันตกขณะนั้น ปรากฏว่าอียิปต์ซึ่งมีสภาพคล้ายกับรัฐทหารภายใต้การนำของ ซัยฟุคดีน กุตูซ ได้กลายเป็นแหล่งลี้ภัยของพวกมุสลิมที่หลบลี้หนีภัยมาจากที่ต่าง ๆ ทั้งนี้รวมทั้งบรรดาหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ และบรรดาทหารทั้งหลายด้วย อัยบัค ซึ่งเป็นพวกมัมลุ้กและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์มัมลุก (หรือราชวงศ์ทาส) แห่งอียิปต์ขึ้น ได้ปกครองอียิปต์ตั้งแต่ ค.ศ. 1250-1257 (พ.ศ. 1793-1800) หลังจากที่เกิดสภาวะว่างผู้นำอยู่ระยะหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1259 (พ.ศ. 180) กุตูซ ซึ่งเป็นมัมลู้กอีกคนหนึ่งก็ก้าวขึ้นมามีอำนาจ กุตูซเป็นคนที่กล้าหาญและเฉลียวฉลาด และได้รับการฝึกการอบรมมาจากโรงเรียนทหารของ อัสซอลิฮฺ อัยยูบ ในสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำไนล์ นอกจากตัวเขาแล้ว หัวหน้าที่ปรึกษาของเขาคือ บัยบัรฺ อัล-บันดุคดารี ซึ่งเป็นพวกมัมลู้กอีกคนหนึ่ง คน ๆ นี้ยิ่งมีความกล้าหาญและเหี้ยมเกรียมยิ่งกว่าเขาเสียอีก ทั้ง 2 คนได้รับบรรดาพวกที่หนีภัยมาไว้ทั้งหมด เพราะพวกเขากำลังต้องการกำลังทหาร จริงอยู่ ถึงแม้นักรบมัมลู้กจะเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพก็ตามแต่ก็มีจำนวนน้อย แต่ทหารที่หนีมาจากซีเรียและแม้แต่ที่หนีมาจากอาณาจักรควาริซมีก็ยอมอยู่ใต้ผู้นำมัมลู้ก ดังนั้น กุตูซจึงมีกำลังรบพร้อมที่จะรับมือกับพวกมองโกลถ้าหากว่าพวกนั้นยกมา พวกมองโกลเข้ามาเร็วเกินกว่าที่กุตูซคาดไว้ ขณะที่ทหารจากเมืองต่าง ๆ กำลังทยอยเข้ามาหลบภัยในอียิปต์นั้น พวกมองโกลได้ส่งทูตของตนเข้ามายื่นคำขาดให้ผู้ปกครองอียิปต์ยอมจำนนต่อพวกตน กุตูซ จึงได้เรียกประชุมสภาขุนศึกทันที นะซีรุดดีน คอยมารี ซึ่งเป็นทหารชาวซีเรียคนหนึ่งและรู้จักพวกมองโกลเป็นอย่างดีได้เสอให้รบกับพวกมองโกล เพราะเขารู้ดีว่าพวกมองโกลนั้นจะทำสัญญาก็เพื่อให้ข้าศึกตายใจเท่านั้น บัยบัรฺก็เห็นด้วยกับความคิดนี้อย่างเต็มที่ หลังจากที่ตกลงกันแล้ว กุตูซก็ได้รับมอบอำนาจเต็มในการที่จะจัดการกับพวกมองโกล หลังจากการประชุม กุตูซและบัยบัรฺได้ปรึกษาหารือเป็นการส่วนตัวตามลำพังเพียง 2 คน เพราะเขายังสงสัยว่าพวกซีเรียจะยืนอยู่ได้นานขนาดไหนเมื่อต้องประจัญหน้ากับพวกมองโกล และจะทำอย่างไรในอันที่จะป้องกันมิให้พวกทหารซีเรียหนีศึก บัยบัรฺจึงเสนอความคิดหนึ่งขึ้นมา และกุตูซก็ยอมรับ วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองไคโรก็ได้เห็นศพคนนำสารของพวกมองโกลถูกแขวนอยู่ 4 มุมเมือง เมื่อพวกซีเรียเห็นก็รู้ทันทีว่าขณะนี้กุตูซได้ท้าทายพวกมองโกลโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว และพวกซีเรียก็รู้ดีว่าพวกตนจะต้องรบกับพวกมองโกลอย่างไม่มีทางเลี่ยงแน่ เพราะถึงจะหนีไปไกลถึงฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก พวกมองโกลก็จะต้องตามไปฆ่าพวกตนเป็นการแก้แค้นแน่นอน ดังนั้พวกซีเรียจึงตัดสินใจที่จะเผชิญหน้ากับพวกมองโกลอย่างเต็มที่ แต่ก็มีพวกหัวหน้าบางคนเท่านั้นที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับพวกมองโกล และกุตูซก็ยอมให้พวกขี้ขลาดเหล่านี้หนีไปทางตะวันตกหรือทางใต้ ขณะที่ยังมีเวลา แต่ก็มีเงื่อนไขว่าจะต้องทิ้งทหารของตนไว้ที่อียิปต์ กุตูซจัดการเตียมทัพอย่างรวดเร็ว โดยให้บัยบัรฺคุมกองทัพส่วนหนึ่งพร้อมกับทหารม้ามัมลู้กเป็นกองระวังหน้า ส่วนกุตูซคุมกองกำลังทหารมัมลู้กส่วนที่เหลือพร้อมกับทหารอื่น ๆ ที่หนีมาหลบภัยในอียิปต์มุ่งหน้าจากโอซุสสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อเขามาถึงพรมแดนอียิปต์พวกทหารและผู้คนที่หนีมาก็ปฏิเสธที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะพวกนี้ต้องการที่จะให้ต่อสู้กับพวกมองโกลในอียิปต์ กุตูซรู้สึกโกรธมาก แม้เขาจะทั้งขู่ทั้งปลอบอย่างไรก็ตามก็ไม่บังเกิดผล ดังนั้น เขาจึงประกาศว่า เขาจะต่อสู้กับพวกศัตรูนอกศาสนาด้วยกองกำลังของเขาเอง และถ้าหากใครผู้ใดต้องการที่จะหนีไปไหนก็มีสิทธิที่จะไปได้ หลังจากนั้นเขาก็พาทหารมัมลู้กเดินทัพมุ่งหน้าออกไปทันที พวกซีเรียและพวกอื่น ๆ ส่วนหนึ่งที่เกิดความรู้สึกละอายใจ และส่วนหนึ่งเกิดความรู้สึกที่ประทับใจในความเป็นผู้นำของกุตูซจึงได้ตามเขาไป ในไม่ช้ากองทัพของกุตูซก็มาถึงหน้ากาซา โดยปกติแล้วพวกมองโกลนั้นจะเคลื่อนที่เร็วกว่าศัตรูของตนเสมอแต่ตอนนี้ กุตูซได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเร็วกว่า ดังนั้น กองทัพย่อยของพวกมองโกลจึงได้ถอนตัวออกจากกาซาเพื่อถอยไปรวมพลกับกองทัพหลัก เนื่องจากพวกคริสเตียนอนุญาตให้เดินทัพผ่านเขตแดนของตนได้ ดังนั้นกุตูซจึงได้เดินทัพเลียบไปตามชายฝั่งขึ้นไปยังซีซาเรีย (Caesarea) แล้วเลี้ยวมาทางตะวันออกผ่านหุบเขาแห่งแม่น้ำ "ไคซอน" ข้ามทุ่งราบเมกิดโดและเข้าไปยังแม่น้ำญาลูต กองทหารม้าเคลื่อนที่เร็วของบัยบัรฺได้เข้าโจมตีค่ายของพวกมองโกลและสามารถยังความเสียหายให้แก่พวกมองโกลได้ส่วนหนึ่ง หลังจากนั้นจึงได้ถอนตัวกลับมายังกองทัพของตนซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของอัยน์ ญาลูต (ตาน้ำญาลูต) ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำญาลูต ส่วนคิตบูกา ซึ่งอยู่ที่บาลาบัคในซีเรียได้เคลื่อนทัพลงมาตามถนนระหว่างภูเขาเลบานอนและแอนตี้เลบานอน ผ่านเมืองซาเฟตและเรื่อยลงมาตามหุบเขาจอร์แดน เมื่อมาถึงแม่น้ำบัยซาน เขาได้เลี้ยวมาทางตะวันตกและมุ่งตรงไปยังหุบเขาญาลูตเพื่อไปเผชิญกับพวกอียิปต์โดยมรแม่น้ำบัยซานอยู่ทางด้านหลัง ในบริเวณหุบเขาแคบ ๆ ซึ่งมีภูเขากิลบัวปิดล้อมอยู่ทางด้านใต้และแม่น้ำญาลูตอยู่ทางด้านเหนือนี้แหละที่กองทัพของทั้ง 2 ฝ่ายได้มาเผชิญหน้ากัน ฝ่ายหนึ่งคือพวกมองโกลซึ่งพิชิตอาณาจักรต่าง ๆ มาแล้วเป็นจำนวนมากมาย และอีกฝ่ายหนึ่งคือพวกมัมลู้ก ในครั้งนั้นพวกมัมลู้กซึ่งเป็นแกนนำของกองทัพอียิปต์มีกำลังคนเพียง 12,000 คนเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับกองกำลังอันมากมายมหาศาลของพวกมองโกลแล้ว กองทัพของอียิปต์ก็ยังเหมือนกับลูกแกะที่อยู่กลางฝูงหมาป่านั่นเอง ระบบทหารของพวกมองโกลนั้นเป็นระบบง่าย ๆ ซึ่งคล้าย ๆ กับสภาพการดำรงชีวิตในท้องทุ่งของพวกตนนั่นเอง ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาพวกมองโกลเป็นพวกที่เร่ร่อนทำมาหาดินอยู่ตามทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลในเอเชียกลาง กินไขมันและนมม้าเป็นอาหารประจำ ร่งกายจึงกำยำล่ำสัน ดังนั้น พวกนี้จึงไม่รู้จักกับคำว่าสิ่งกีดขวาง พวกมองโกลรู้จักการข้ามแม่น้ำด้วยการใช้ถุงหนังที่พองลมเป็นเครื่องพยุงตัวมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และด้วยเหตุที่มีชีวิตความเป็นอยู่ง่าย ๆ ดังนั้นพวกมองโกลจึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องมีการจัดระเบียบสังคม เจงกิสข่านเองก็ใช้ยุทธศาสตร์ลักษณะประจำชาติง่าย ๆ นี้ในการทำศึก กล่าวคือ เมื่อเกิดศึกสงครามขึ้นมา พวกมองโกลก็จะกลายสภาพมาเป็นทหารภายใต้บังคับบัญชาของเขาทุกคน พวกมองโกลขี่มาเก่งมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้นจึงมีความสามารถในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและมักจะเข้าโจมตีข้าศึกโดยวิธีการบีบทางด้านข้างแล้วก็ปลีกตัวออก อาวุธที่พวกมองโกลใช้คือธนูซึ่งยาวกว่าปกติและสามารถยิงได้ระยะไกล พวกมองโกลจึงใช้ธนูให้เป็นประโยชน์โดยจะยิงข้าศึกจากระยะไกลจนข้าศึกแตกระส่ำระสายเสียก่อนแล้วจึงเข้าตี นอกจากนั้นแล้ว พวกทหารม้าขมังธนูมองโกลยังมีม้าสำรองที่บรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำสงครามติดตาทเป็น "คลังแสงเคลื่อนที่" ด้วย ถ้าหรม้าตัวหนึ่งตัวใดถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บหรือเหนื่อยพวกมองโกลก็จะใช้ม้าสำรองแทน และขณะเดียวกันม้าสำรองเหล่านี้ก็จะกลายเป็น "เสบียงที่มีชีวิต" ของพวกมองโกลไปในตัวด้วหากต้องอยู่ในสภาพฉุกเฉิน หากจะกล่าวโดยสรุปแล้ว องค์ประกอบในความเป็นทหารของพวกมองโกลก็คือ ความสามารถขี่ม้าได้อย่างคล่องแคล่ว และยิงธนูได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่จะสามารถต่อกรกับพวกมองโกลได้ก็ต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวทัดเทียมกับพวกมองโกลและระหว่างทะเลญี่ปุ่นไปจนถึงพรมแดนออสเตรียก็ยังหาคนที่มีคุณสมบัติเช่นนั้นไม่พบเสียด้วยนอกจากกุตูซ และพวกมัมลู้ก พวกมัมลู้กแห่งอาณาจักรอัยยูบนั้นมีเชื้อสายเติร์ก และเป็นพวกที่เร่ร่อนอยู่ในทุ่งหญ้าเอเชียกลาง ทุกคนขี่ม้าเก่งและรู้จักการใช้ธนูมาตั้งแต่ยังเด็ก นอกจากนั้นแล้วยังได้รับการฝึกอบรมมาให้มีระเบียบวินัยเคร่งครัด แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พวกมองโกลยังมีความได้เปรียบทางด้านอาวุธอยู่ เพราะธนูของพวกมองโกลมีขนาดยาวกว่าและสามรถยิงได้ไกลกว่าธนูของพวกมัมลู้ก กุตูซรู้ถึงความเสียเปรียบนี้เป็นอย่างดี และเขาก็ไม่บ้าบิ่นหรือมุทะลุอย่างที่คิตบูกาคิดไว้ ดังนั้น ในในหุบเขาญะลูตแคบ ๆ นี้เองชนสองเผ่าที่มาจากทุ่งหญ้าในเอเชียกลางได้มาเผชิญซึ่งกันและกัน (ที่จริงในเนื้อหามันมีแผนที่, ลักษณะกองทัพ, การจัดทัพอยู่ด้วย) ทางตอนใต้ของหุบเขาญาลูตซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างธารน้ำและภูเขากิลบัวนั้นมีความกว้าง 2 ไมล์ หุบเขานี้จะยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้จนกระทั่งไปรวมกับหุบเขาจอร์แดนซึ่งอยู่ไกลออกไป 35 ไมล์ ดังนั้นพวกมองโกลจึงเผชิญหน้าพวกอียิปต์ในช่องเขาซึ่งกว้างพอที่พวกมัมลู้กจะตรึงกำลังไว้ได้ขณะเดียวกัน พวกมองโกลซึ่งมีกำลังมากกว่าต้องออกไปแออัดกันและไม่มีที่พอที่จะเคลื่อนไหวได้สะดวกความเฉลียวฉลาดในการเลือสมรภูมิของกุตูซนั้นทำให้ปีกทั้งสองของกองทัพของเขาปลอดภัยจากการถูกโจมตีโดยทหารม้าของพวกมองโกล และคิตบูกาเองก็มีความเชื่อมั่นเสียเหลือเกินว่า เขาคงจะบดขยี้มุสลิมได้โดยง่ายจนไม่จำเป็นที่จะต้องโอบปีกตี หรือใช้ทหารม้าหน่วยย่อยเข้าตีลวงตามตำรับของพวกมองโกล แต่ก็จะไปประมาณคิตบูกาทั้งหมดไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการที่พวกมัมลู้กได้เลือกชัยภูมิก่อนนั้นเป็นการปิดโอกาสมิให้พวมองดกลสามารถเข้าตีทางด้านปีกตามความถนัดได้ กุตุซได้ให้ทหารม้าของเขาจัดแนวรบขึ้น โดยให้แนวรบด้านหน้าประกอบด้วย หน่วยทหารซีเรียและทหารควาริซมี โดยมีหน่วยทหารราบมัมลู้กคุ้มกันเป็นหน่วย ๆ อีกชั้นหนึ่ง ส่วนแนวที่สองประกอบด้วยทหารราบมัมลู้กแปรขบวนเป็นแถวหน้ากระดานอยู่ระหว่างหน่วยทหารมัมลู้กและทหารซีเรีย ส่วนแนวรบด้านหลังสุดเป็นทหารม้าภายใต้การบังคับบัญชาของบัยบัรฺ กุตูซเป็นผู้บังคับบัญชากองทหารมุสลิมทั้งหมดเหมือนกับที่คิตบูกาควบคุมพวกมองโกล พวกผู้นำซีเรียมีความเหก็นว่าเป็นเรื่องไม่ถูกที่เอากองทหารที่มิใช่อียิปต์ซึ่งอ่อนแอไปวางไว้ข้างหน้าเพื่อต้านการบุกของพวกมองโกล แต่เรื่องนี้ กุตูซและบัยบัรฺได้ปรึกษาหารือกันและวางแผนไว้อย่างรอบคอบแล้ว พวกมองโกลเป็นผู้เปิดฉากรบก่อนตามแบบฉบับ โดยใช้ทหารม้าขมังธนูควบม้าเข้ามายิงะนูใส่กองทหารมุสลิมระลอกแล้วระลอกเล่าแล้วก็ถอยกลับไปก่อนที่จะเข้ามาถึงระยะรัศมีธนูของทหารฝ่ายมุสลิม ด้วยความที่กลัวพวกมองโกลมาก่อน ประกอบกับไม่สามารถตีโต้และได้รับความเสียหายจากธนูของฝ่ายตรงข้ามทำให้ทหารแนวหน้าของมุสลิมเริ่มปั่นป่วน นายทหารที่ทำหน้าที่บังคับบัญชาอยู่ได้พยายามที่จะคุมกำลังไว้ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะทหารแตกกระจายและบางคนเริ่มวิ่งหนีออกจากสนามรบ อย่างไรก็ตาม พวกทหารที่มิใช่ชาวอียิปต์ก็มิได้ทำให้ทหารราบมัมลู้กที่อยู่ทางด้านหลังต้องประสบความยุ่งยาก เพราะระหว่างแนวหน้ากับแนวที่สองนั้นยังมีช่องว่างพอที่จะให้ทหารในแนวหน้าหนีวิถีลูกธนูของพวกมองโกลได้ เมื่อเห็นทหารศัตรูแตกทัพและวิ่งหนี คิตบูกา ก็สั่งให้ทหารของตนตามตีทันที การโจมตีของพวกมองโกลเป็นไปอย่างหนักหน่วงและสามารถส้างความเสียหายให้แก่ทหารซีเรียอย่างหนัก คิตบูกาจึงคิว่าเขาชนะศึกแล้ว แต่เมื่อเขานำทัพตามติดเข้ามาเขาก็พบว่าตัวเองได้หลงเข้ามาติดกับเสียแล้ว เมื่อพวกทหารซีเรียซึ่งเป็นแนวหน้าเกิดความปั่นป่วนและถอยหนีนั้น ปีกทั้งสองข้างของกองทหารมัมลู้กซึ่งมีภูเขากิลบัวและแม่น้ำญาลูตเป็นแนวป้องกันอยู่ยังคงตั้งมั่นอย่างไม่หวั่นไหว และแนวที่สองของอียิปต์ซึ่งประกอบด้วยพวกมัมลู้กภายใต้การบังคับบัญชาของ กุตูซก็สามารถยันการรุกของพวกมองโกลไว้ได้ ดังนั้นการรุกหน้าของพวกมองโกลจึงช้าลงขณะเดียวกันก็เริ่มตกอยู่ในวงล้อมของพวกซีเรียที่กำลังล่าถอยด้วย (อลหม่านน่าดู) หลังจากนั้นพวกมัมลู้กก็เริ่มจัดขบวนปิดล้อมทหารพวกมองโกลอีกชั้นหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้เนื้อที่การสู้รบของพวกมองโกลแคบลงจนเคลื่อนไหวไม่สะดวกและไม่สามารถใช้อาวุธของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากพวกมองโกลถือว่าพวกตนมีกำลังมากกว่าพวกมองโกลจึงไม่ยอมถอย พวกอียิปต์จึงสาดฝนธนูเข้าใส่พวกมองโกลอย่างไม่ยั้งมือ ด้วยกลยุทธ์นี้ กุตูซไม่เพียงแต่จะทำให้พวกมองโกลตกเข้ามาอยู่ในรัศมีการสังหารด้วยลูกธนูของพวกอียิปต์เท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้กองทหารม้าเคลื่อนที่เร็วที่สุดในสมัยกลางต้องมีสภาพเหมือนกับคนที่กำลังจะเป็นอัมพาตไป หลังจากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เมื่อพวกมุสลิมซีเรียเห็นว่าพวกตนกำลังหลุดรอดปลอดภัยจากการถูกตามสังหารแล้ว พวกนี้ก็เริ่มรวมพลกันอีกครั้งหนึ่งแล้วกลับเข้าสู่สมรภูมิช่วยหนุนพวกมัมลู้กเข้าตีฝ่ายมองโกลจนล่าถอยไป อย่างไรก็ ตามนี่ยังไม่ใช่การสิ้นสุดศึก ตลอดการสงครามอันตึงเครียด บัยบัรฺกับกองทหารม้ามัมลู้กของเขาต่างจด ๆ จ้อง ๆ ด้วยความกระวนกระวาย เมื่อศึกบยกแรกสิ้นสุดลง บัยบัรและทหารของเขาจึงได้คลายความกระวนกระวายลง บัยบัรฺนั้นเป็นคนที่ดุดันเหี้ยมเกรียมตลอดชีวิตของเขานั้น เขามิเคยขอหรือให้ความกรุณากับใคร เขาต้อนพวกมองโกลให้ถอยร่นไปยังหนองบึงบัยซาน หลังจากนั้นก็สั่งให้ทหารตารมเด็ดชีวิตศัตรูให้มากที่สุด พวกมองโกลที่หนีภัยไปหลบอยู่ในพงอ้อถูกเผาตายนับเป็นพัน ๆ คน อีกส่วนหนึ่งที่หนีไปก็ถูกไล่ต้อนไปจนมุมที่แม่น้ำจอร์แดน และถูกฆ่าตายไปจำนวนมาก แต่ บัยบัรฺจะมิได้เป็นบัยบัรฺถ้าหากว่าเขาหยุดอยู่แค่นั้น จากแม่ฯํ้สจอร์แดนเขาได้พากองทหารของเขาออกติดตามรบรันพันตูกับข้าศึกอย่างดุเดือด ตลอกระยะทาง 300 ไมล์ที่เขาติดตามศึกนั้น เขาตามเข่นฆ่าพวกมองโกลทุกคนที่เขาพบเห็นอย่างไม่ปราณี มีแต่พวกที่ลอยข้ามแม่น้ำยูเฟรตีสไปได้เท่านั้นที่หลุดรอดจากการเอาชีวิตของเขา หลังจากนั้นไม่นาน บัยบัรฺ อัล-บันดุคดารี ก็ได้กลายเป็นสุลฏอนมัมลู้กที่มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์ คิตบูกาถูกจับได้ในสนามรบ ก่อนที่เขาจะถูกสังหาร เขาได้กล่าวทายล่วงหน้าเอาไว้ว่า ทันทีที่ Hulaku รู้ข่าวเรื่องศึกที่อัยน์ ญาลูต นี้เข้าแผ่นดินมุสลิมระหว่างแม่น้ำยูเฟรติสและแม่น้ำไนล์จะต้องสั่นสะเทือนไปด้วยการเดินทัพอันมหึมาของ Hulaku และในกระเป๋าอานม้าของพวกมองโกลนั้นจะเต็มไปด้วยทรายจากแผ่นดินอียิปต์ แต่อย่างไรก็ตาม นายของคิตบูกาก็ไม่มีโอกาสได้มุ่งหน้ามาทางตะวันตก เพราะมองคา ข่าน ผู้ยิ่งใหญ่ได้เสียชีวิตลงและกุบไลข่าน น้องชายของ Hulaku กับอาริคโบกาได้ต่อสู้แก่งแย่งกันเพื่อที่จะก้าวขึ้นมาเป็นข่านผู้นำ Hulaku ต้องการที่จะอยู่ใกล้ ๆ คาราโครัม เผื่อที่จะกระโดดเข้าไปเล่นเกมส์ชิงความเป็นผู้นำกับเขาด้วยถ้าหากโอกาสเอื้ออำนวย นอกากนั้นแล้ว พวกหัวหน้าเผ่ามองดกลในทรานสโอเซียนาก็ได้กลายมาเป็นมุสลิมขณะที่พวกมองดกลที่เข้าไปตียุโรปในทางตอนใต้ของรัสเซียได้เกิดความเห็นใจมุสลิมและเริ่มรุกเข้าไปในเขตแดนของ Hulaku ดังนั้น Hulaku จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกทัพมาตีข้าศึกของเขาในอียิปต์ เพราะต้องคอยป้องกันพรมแดนทางด้านเหนืออยู่ อาณาจักรของ Hulaku คือ "อาณาจักรอิลข่าน" สงครามอัยน์ ญาลูต เป็นสงครามที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ชัยชนะของพวกมัมลู้กได้ช่วยปกป้องคุ้มครองอิสลามให้รอดพ้นจากการข่มขู่คุกคามที่อันตรายที่สุดที่มุสลิมเคยพบมาถ้าหากว่าพวกเขามองโกลสามารถตีอียิปต์ได้ ทางด้านตะวันออกของโมร็อกโคก็จะไม่มีรัฐมุสลิมหลงเหลืออีกเลยถ้าหากพวกมองโกลสามารถครอบครองฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันออกและด้านใต้ได้ พวกทมองโกลก็อาจจะตกอยู่ใต้อิทธิพลคริสเตียน แล้วถ้าหากพวกมองโกลดำเนินรอยตามเจ้าชายคริสเตียนอย่างวเช่นคิตบูกา ศาสนาคริสต์ก็อาจจะมารุ่งโรจน์อยู่ตรงใจกลางของแผ่นดินอิสลามได้ ดังนั้น การสงครามที่อัยน์ ญาลูต จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางเดินของกระแสประวัติศาสตร์อิสลามทั้งในแง่ของศาสนาและในแง่ของการทหารด้วย หลังจากนั้นพวกมัมลู้กได้เข้ายึดครองฟิลิสตีน (ปาเลสไตน์) ซีเรีย อิร็อก (อิรัก) ตะวันตก และอนาโตเลียทางตอนใต้ไว้ และพวกมองโกลหลังจากที่ได้นั่งอยู่บนรั้วตรงกลางระหว่างอิสลามกับคริสเตียนอยู่เป็นเวลานานแล้ว ก็ได้มาเข้าฝ่ายมุสลิมอยู่ที่นั่นในที่สุด ในเดือนกรกฎาคม ปี 1252 เจ้าชายคูบิไล (หลานของเจงกิสข่านและอนาคตได้ขึ้นเป็นกุบไลข่าน) ได้รับพระราชโองการของมังกุข่านให้เคลื่อนทัพโจมตีอาณาจักรต้าหลี่ แต่เจ้าชายคูบิไลก็มิได้เคลื่อนทัพทันทีจนกระทั่งถึงเดือนกันยายน ปี 1253 ทรงใช้เวลาเตรียมทัพอย่างเต็มที่ พระองค์ทรงเชื่อว่ากองทัพของพระองค์ต้องพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียง การทำสงครามกับอาณาจักรต้าหลี่ ในช่วงปลายฤดูร้อน ปี 1253 เจ้าชายคูบิไลเริ่มกรีธาทัพจากเมืองหลิน-เตา ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของฆฌฑลเชนสีมุ่งตรงไปยังทางทิศใต้ถึงที่ราบยูนนาน พระองค์และกองทัพต้องประสบความลำบากในการเคลื่อนทัพ และต้องผ่านมณฑลเสฉวนตรงไปยังหุบเขาลัดเข้าสู่อาณาจักรต้าหลี่ดินแดนที่แหล่งต้นน้ำแยงชีขณะประทับอยู่ที่เมืองหลินเตา เจ้าชายคูบิไลได้ส่งคณะทูตไปยื่นข้อเสนอแก่กษัตริย์อาณาจักรต้าหลี่ ทรงพระนามว่าพระเจ้าทวน สิง จี ซึ่งได้กลายเป็นหุ่นเชิดของขุนนางชื่อเก๋าไตเชียงผู้กุมอำนาจสูงสุดอยู่เบื้องหลัง เก๋าไตเชียงได้บังอาจท้าทายอำนาจกองทัพเจ้าชายคูบิไลโดยสั่งให้ประหารชีวิตทูตของเจ้าชายคูบิไลทุกคน ด้วยเหตุนี้เจ้าชายคูบิไลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องทรงปฏิบัติการลงโทษศัตรูเพียงสถานเดียว การโจมตีแบบสายฟ้าแลบพร้อมกันทั้งสามด้านนี้เริ่มต้นในปลายเดือนตุลาคม ปี 1253 ซึ่งเจ้าชายคูบิไลทรงคาดว่าคงเป็นสงครามนองเลือดครั้งใหญ่ที่จะบดขยี้อาณาจักรต้าหลี่ จนกว่าผู้นำและกองทัพของอาณาจักรต้าหลี่จะยอมแพ้ กองทัพของเจ้าชายคูบิไลได้เคลื่อนไปถึงริมฝั่งแม่น้ำแยงซีตรงข้ามฝั่งที่ตั้งค่ายพักของกองทัพตาหลี่ในเดือนพฤศจิกายน เจ้าชายคูบิไลได้รับสั่งให้ทหารสร้างแพที่ทำด้วยถุงนอนหนังแกะ เพื่อลำเลียงทหารเสบียงและอาวุธเบาข้ามน้ำไปภายใต้การควบคุมของขุนพลบายัน ขุนพลบายันได้นำกองทหารหน่วยกล้าตายลุยข้ามน้ำในเวลากลางคืน เมื่อรวมกำลังพลแล้วจึงรีบโจมตีทหารกองทัพของขุนนางเก๋าไตเซียงอย่างรวดเร็ว ฝ่ายทหารกองทัพขุนนางเก๋าไตเซียงต่างตกใจและคาดไม่ถึงว่าจะถูกโจมตียามดึกจึงวิ่งหนีแตกพ่ายกระเจิดกระเจิงไม่เป็นขบวน ต่อมาเจ้าชายคูบิไลได้ยึดเมืองหลวงของอาณาจักรต้าหลี่โดยปราศจากการต่อต้าน ตกดึกของคืนวันหนึ่งเก๋าไตเซียงขุนนางผู้กุมอำนาจสูงสุดของอาณาจักรต้าหลี่ได้หนีออกไปจากวังพร้อมทหารคู่ใจแต่ไปไม่ได้ไกลนักถูกทหารของเจ้าชายคูบิไลตามจับได้และประหารชีวิตด้วยการตัดหัวหน้าบริเวณหอคอยทางประตูด้านทิศใต้ของเมือง นอกจากนั้นเจ้าชายคูบิไลยังได้รับสั่งให้ประหารชีวิตทหารทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการสังหารคณะทูตของพระองค์ และให้ฝังศพคณะทูตอย่างสมเกียรติโดยมีป้ายหินเขียนคำสรรเสริญยกย่องเกียรติคุณไว้ และสั่งให้ขุนนางมองโกลระดับสูงร่วมกับราชวงศ์ตวนปกครองอาณาจักรต้าหลี่ต่อไป ส่วนจอมทัพอูริยังกาได โอรสองค์โตของอดีตจอมทัพข่านสุโบไตยังคงทำสงครามขยายดินแดนทางดินแดนทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ จนกระทั่งยึดดินแดนทั้งหมดเข้ามารวมอยู่ภายใต้อาณาจักรมองโกล ดินแดนดังกล่าวประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ มากมายรวมทั้งทิเบตด้วย บรรพบุรุษของกุบไลข่านเคยผิดหวังที่จะพิชิตคาบสมุทรเกาหลีมาก่อนในช่วงปี พ.ศ. 1761 (ค.ศ. 1218) สมัยจอมทัพเจงกิลข่าน และในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1774 ถึง พ.ศ. 1776 เคยส่งทหารไปพิชิตดินแดนตะวันออกไกล แม้ว่าจะประสบความสำเร็จมีอำนาจเหนือดินแดนส่วนใหญ่ของเกาหลี แต่ก็ไม่อาจควบคุมได้เบ็ดเสร็จ ในปี พ.ศ. 1776 (ค.ศ. 1233) พระเจ้าโกจงแห่งราชวงศ์โครยอได้เสด็จหนีกองทัพมองโกลไปยังเกาะคังฮวา ใกล้ฝั่งตะวันตกของแผ่นดินเกาหลี ในปี พ.ศ. 1796 (ค.ศ. 1253) แม่ทัพมังกุข่านได้รับสั่งให้แม่ทัพชา-ลา-เออร์-ไต นำกองทัพไปโจมตีเกาหลี และอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 1801 (ค.ศ. 1258) ต่อมามกุฎราชกุมารชอนจากเกาหลีเสด็จไปเยือนมองโกลเพื่อแสดงถึงการยอมแพ้ของชาวเกาหลี และเสนอให้พระองค์เองเป็นตัวประกัน เมื่อกุบไลข่านเห็นถึงความจงรักภักดีพระองค์จึงให้มกุฎราชกุมารปกครองแคว้นเกาหลีต่ามเช่นเดิม และให้ส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกลมาทุกปี ในปี พ.ศ. 1812 (ค.ศ. 1269) กุบไลข่านทรงทราบข่าวว่ามีการกบฏต่อต้านมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงรีบส่งทหารไปช่วยเหลือ และสามารถล้อมจับหัวหน้ากบฏคืออิม ยอน อดีตผู้บัญชาการกองทัพ พระเจ้าวอนจงแห่งโครยอจึงยกพระธิดาซึ่งมีพระนามว่า ฮู ตู ลู ชี หลี่ มี ชี ให้กับมกุฎราชกุมารเพื่ออภิเษกสมรส ดูบทความหลักที่: การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล จักรวรรดิมองโกลได้รุกรานญี่ปุ่นสองครั้ง ในปี ค.ศ. 1274 และ 1281 โดยมีเกาหลีและจีนเป็นแนวร่วม ในครั้งแรก ได้นำไพร่พลไปราวสองหมื่นนาย ญี่ปุ่นไม่อาจทัดทหารและยุทธวิธีการรบของมองโกลได้ และในภาวะเสียเปรียบของญี่ปุ่น แต่ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นขึ้นอย่างกะทันหัน พัดทำลายกองเรือของฝ่ายมองโกลอัปปางจนเกือบหมดสิ้น จนทหารมองโกล จีน และเกาหลี ต่างขวัญหนีดีผ่อ จมน้ำตายบ้าง ส่วนที่รอดชีวิตก็ถูกญี่ปุ่นประหารหรือเป็นเชลยมาก ชาวญี่ปุ่นจึงตั้งชื่อพายุนี้ว่า "คะมิกะเซะ" (วายุเทพ) ที่ช่วยปกป้องญี่ปุ่น จากที่การรบคราวแรกรบแพ้ ศึกครั้งที่สอง กุบไล ข่าน จึงรับสั่งให้ต่อเรือรบ มากกว่า 4,000 ลำ และกำลังทหารนับ 140,000 นาย ซึ่งใช้เวลาตระเตรียมมากกว่า 6 ปี มองโกลหวังจะพิชิตญี่ปุ่นให้หมดสิ้น แต่ทั้งนี้ ญี่ปุ่นก็ได้เตรียมรับมือเป็นอย่างดี โดยมีการสร้างป้อมและกำแพงหิน ซึ่งมีความทนทานจนปืนใหญ่ของฝ่ายมองโกลไม่อาจพิชิตได้ การรบดำเนินต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าฝ่ายใดจะเพลียงพล้ำ แต่แล้ว ก็บังเกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ พัดเข้าสู่ที่ตั้งของกองเรือมองโกลจนพินาศย่อยยับเกือบทั้งหมด ทหารมองโกลเสียชีวิตจากการจมน้ำไปนับแสนนาย ส่วนที่รอดก็ถูกญี่ปุ่นประหารและจับเป็นเชลย โดยมีทหารรอดกลับเกาหลีเพียงไม่กี่พันนายจากที่ยกทัพมาเรือนแสน จากการแพ้ครั้งยิ่งใหญ่นี้ทำให้กุบไลข่านทรงพิโรธเป็นอย่างมาก และในปี 1283 รับสั่งให้เตรียมการบุกญี่ปุ่นครั้งที่ 3 แต่เนื่องจากบรรดาขุนนาง ทหาร และราษฎรคัดค้านอย่างหนัก เพราะศึกสองครั้งที่ผ่านมา ได้สูญเสียทรัพย์สินและไพร่พลไปอย่างมหาศาลแล้ว ทำให้การบุกครั้งที่สาม ต้องล้มเลิกลงในปี 1286 กุบไลข่านใช้วิธีการขยายดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากการส่งทูตไปให้ยอมจำนนและยอมรับอำนาจกองทัพมองโกล หากไม่ยอมจำนนจะใช้สงครามเป็นทางเลือกสุดท้าย ในปี พ.ศ. 1816 (ค.ศ. 1273) กุบไลข่านได้ทรงส่งคณะทูตสามชุดมายังอาณาจักรพุกาม (พม่า) เพื่อให้ยอมจำนนต่ออาณาจักรมองโกล แต่กษัตริย์พม่าในขณะนั้นทรงถือว่าพระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงโจมตีรัฐควนไกทางภาคเหนือของอาณาจักรพุกาม ทำให้ชาวมองโกลโกรธแค้น ต่อมากุบไลข่านจึงสั่งให้แม่ทัพนาเซอร์ อัลดินบุตรชายของขุนนางไซยิด อาจัลล์ ขุนนางมุสลิมซึ่งเป็นที่วางพระทัยของกุบไลข่านคนหนึ่ง นำทัพโจมตีอาณาจักรพุกาม ขณะเดียวกันพระเจ้านรสีหบดีของพม่า พระองค์ทรงวางกำลังช้างศึก 2000 เชือก นำหน้ากระบวนทัพ และวางกำลังกองทหารม้าไว้สองด้าน ตามด้วยกองกำลังทหารราบ ผลจากสงครามครั้งนี้กองทัพพม่าปราชัยอย่างย่อยยับ มองโกลได้ยึดเมืองที่มีประชากรกว่า 110,200 ครอบครัว ตามชายแดนพม่า ต่อมาในปี พ.ศ. 1830 (ค.ศ. 1287) กุบไลข่านได้ส่งกองทัพเพื่อพิชิตอาณาจักรพุกาม ภายใต้การบังคับบัญชาโดยแม่ทัพอีเซน เตมูร์ พระราชนัดดาของพระองค์ แม่ทัพอีเซนได้นำทัพบุกไปถึงเมืองหลวงของอาณาจักรพุกาม และยึดเมืองหลวงอาณาจักรพุกามไว้ได้ พระเจ้านรสีหบดีของพม่าจึงได้ยอมจำนนต่อมองโกลและส่งเครื่องราชบรรณาการเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อมองโกลทุกปี มีข่าวว่ากษัตริย์พม่าได้ปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการเสวยยาพิษเพราะด้วยความเสียพระทัยอย่างใหญ่หลวง กุบไลข่านได้ส่งทูตเชิญพระเจ้าตรัน ถั่น ทอน กษัตริย์อาณาจักรอันนัม และพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 แห่งอาณาจักรจามปา เสร็จไปเยือนราชสำนักของพระองค์ที่เมืองต้าตูอาณาจักรมองโกล แต่ปรากฏว่าไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดเสร็จไป เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง ในปี พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) กุบไลข่านจึงตัดสินพระทัยที่จะปฏิบัติการโต้ตอบอย่างรุนแรง โดยให้แม่ทัพโซดูพร้อมด้วยทหาร 5,000 นาย เรือ 100 ลำ เดินทางถึงอาณาจักรจัมปา และยึดเมืองหลวง ซึ่งก็สามารถยึดได้อย่างรวดเร็ว และพบว่าพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 ได้นำทัพล่าถอยไปซ่อนอยู่ตามภูเขาภายในเขตตะวันตก ต่อมากุบไลข่านได้ส่งกำลังเสริมไปช่วยแม่ทัพโซดูอีก 15,000 นาย แต่ปรากฏว่าต้องประสบปัญหายุ่งยากหลายประการ เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศ ต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนชื้นและโรคภัยต่าง ๆ ทำให้การทำสงครามดำเนินไปได้น้อยมาก กุบไลข่านจึงส่งกองทัพที่แข็งแกร่งนำโดยเจ้าชายโตกอนเพื่อไปเสริมกับกองทัพของแม่ทัพโซดูโดยใช้เส้นทางของอาณาจักรอันนัมเป็นทางผ่านแต่พระเจ้าตรัน ถั่น ทอนทรงปฏิเสธไม่ยอมให้ใช้ดินแดนของอาณาจักรอันนัมเป็นทางผ่านไปบุกรุกอาณาจักรจัมปา ดังนั้นเจ้าชายโตกอนจึงต้องรวมทัพใหญ่ทำสงครามกับอาณาจักรอันนัม การทำสงครามกับอาณาจักรอันนัมในช่วงแรก กองทัพมองโกลต้องพบกับอุปสรรคหลายอย่างเช่นอากาศร้อนชื้น ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 1830 (ค.ศ. 1287) พวกเขาได้รวมกันเข้าเป็นกองทัพใหญ่ นำโดยเจ้าชายโตกอน และมุ่งตรงไปกรุงฮานอย และพบว่ากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมและพระโอรสได้เสร็จหนีไปแล้ว ต่อมากษัตริย์แห่งอาณาจักรอันนัมก็ได้ตัดสินใจยอมจำนนโดยส่งทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวาย และปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อราชสำนักกุบไลข่านต่อไป ด้วยเหตุผลคล้ายกันทางพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 6 แห่งอาณาจักรจามปาก็ได้ยอมจำนนและส่งเครื่องราชบรรณาการไปสวามิภักดิ์ราชสำนักกุบไลข่านเช่นเดียวกัน กุบไลข่านทรงส่งกองทัพแผ่อำนาจลงทางใต้เพื่อล้มล้างราชวงศ์ซ่งทางตอนใต้ของจีน ซึ่งผลจากการยกทัพตามไล่ล่าพวกราชวงศ์ซ่งดังกล่าว เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้กองทัพมองโกลรุกรานลงมายังเขตมณฑลยูนนานในปี พ.ศ. 1796 (ค.ศ. 1253) หลังจากเคลื่อนกองทัพเข้ายึดมณฑลยูนนานและโจมตีอาณาจักรน่านเจ้าในยูนนานแตกแล้ว ตามข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ถือว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของไทย ที่ถูกกองทัพมองโกลโจมตีจึงได้อพยพลงมาทางใต้มาอยู่ในเขตแหลมทอง และได้ตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นแต่ข้อมูลดังกล่าวนี้ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า อาณาจักรน่านเจ้าเป็นของไทยจริงหรือไม่ สรุปได้ว่าช่วงที่กองทัพมองโกลแผ่แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุดเป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1800 (1257) ซึ่งเป็นอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก หลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกลได้สรุปไว้ว่ากุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปรามแคว้นต่าง ๆ ทางใต้ มีสุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่น ๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฏว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่าง ๆ อ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ปราฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่าง ๆ กว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. 1822 - 1825) พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 12 เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนังเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อ พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 17 กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1835 (ค.ศ. 1292) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยังนครหลวงข่านมาลิก (ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้พ่อขุนรามคำแหงเสร็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของอาณาจักรต่าง ๆ ไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่นที่ 18 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน พระเจ้าเกียรตินครแห่งชวาทรงแข็งข้อต่อต้านมหาอำนาจของกุบไลข่าน เนื่องมาจากพระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการรวมดินแดนเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรใหญ่ จนทำให้พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงศาสนาไปเป็นศาสนาพุทธแบบตันตระ และได้สถาปนาสัมพันธไมตรีด้วยการอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์อาณาจักรจัมปา พระองค์ทรงแสวงหาทางควบคุมการค้าขายเครื่องเทศที่มีกำไรงาม ซึ่งมีฐานอยู่ในเขตหมู่เกาะโมลุกกะ และต้องอนุรักษ์ให้ชาวชวาเป็นกลางเกี่ยวกับการค้าขายโดยเฉพาะ พระองค์ทรงเกรงว่ากุบไลข่านทรงตั้งพระทัยที่จะกำจัดการควบคุมการค้านี้ พระองค์ทรงมีพฤติกรรมต่อต้านขุนนางเม่ง จี หนึ่งในคณะทูตของกุบไลข่านที่เดินทางไปถึงชวาในปี พ.ศ. 1832 (ค.ศ. 1289) และได้กราบทูลให้พระองค์ทรงยอมจำนนแก่อาณาจักรมองโกล การตอบสนองของพระองค์อย่างหยิ่งยโสคือทรงใช้เหล็กประทับตราที่เผาไฟร้อนจัดประทับลงใบหน้าของทูตผู้โชคร้ายคนนี้อย่างโหดเหี้ยม เหตุร้ายแรงดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นข้ออ้างของกุบไลข่าน ทรงเริ่มส่งกองทัพไปปราบปรามกษัตริย์ชวาทันที โดยให้แม่ทัพชี่ปี และแม่ทัพอิโก มู ซุ รวบรวมกำลังพลและเสบียงจากมณฑลฝูเจี้ยน กวางซี และหูกวาง เป็นทัพใหญ่ไปโจมตีชวา แม่ทัพชี่ปีได้รับมอบหมายให้บังคับบัญชาทหารภาคพื้นดิน ส่วนแม่ทัพอิโก มู ซู ชาวอิกเกอร์ สายเลือกมองโกล ได้รับมอบหมายให้เตรียมเรือ และรวบรวมทหารเรือที่เชี่ยวชาญด้านยุทธนาวี ปลายปี พ.ศ. 1835 กองทัพใหญ่ได้เคลื่อนพลออกจากมณฑลจวนโจว พร้อมด้วยกำลังทหารจำนวน 20,000 นาย เรือลำเลียงพล 1,000 ลำเสบียงกรังสำหรับใช้ทั้งปี และแท่งเงินบริสุทธิ์น้ำหนักรวม 40,000 ออนซ์สำหรับใช้ซื้อหาสิ่งของเพิ่มเติม ในช่วงต้นปี พ.ศ. 1836 กองกำลังทหารราบของแม่ทัพชี่ปีได้ยกทัพขึ้นฝั่งส่วนแม่ทัพอิโก มู ซุ คุมกองเรือใกล้ชายฝั่ง พระเจ้าเกียรตินครแห่งชวาทรงทราบข่าวการโจมตีของกองทัพมองโกลใกล้จะเกิดขึ้น ดังนั้นพระองค์จึงรีบส่งกองทัพขนาดใหญ่ไปยังอาณาจักรจามปาและบางส่วนในคาบสมุทรมลายู ซึ่งพระองค์ทรงคาดว่าเป็นจุดที่กองทัพข้าศึกจะยกพลขึ้นฝั่งก่อนที่จะเคลื่อนพลมุ่งหน้าไปชวา แต่การส่งกองทัพใหญ่ไปอยู่ห่างไกล กลายเป็นจุดอ่อนของพระเจ้าเกียรตินคร สำหรับผู้นำอีกหลายฝ่ายที่ต่อต้านพระองค์ หนึ่งในกลุ่มผู้นำที่เป็นปรปักษ์พระองค์ก็คือ พระเจ้าชัยขัตติยวงศ์ผู้นำรัฐเคดิรี (ดาหา) ได้ก่อการปฏิวัติต่อต้านพระองค์โดยโจมตีกองทัพรักษาพระองค์จนแตกพ่าย และได้ปลงพระชนม์พระเจ้าเกียรตินครด้วยพระองค์เอง ในที่สุดอำนาจของพระเจ้าเกียรตินครก็ตกไปอยู่ในพระหัตถ์ของเจ้าชายวิชัยพระชามาดา (ราชบุตรเขย) ผู้ทรยศของพระองค์ ต่อมาพระองค์ทรงคิดหาทางแก้แค้นให้กับความพ่ายแพ้ของพระสัสสุระ (พ่อตา หมายถึง พระเจ้าเกียรตินคร) โดยพระองค์ได้ทรงเสนอยอมจำนนแก่กองทัพมองโกล ในทางกลับกันเพื่อให้ช่วยปราบปรามผู้ก่อการปฏิวัติอีกทอดหนึ่ง นายทหารคนสนิทของพระองค์เป็นคนนำความลับไปแจ้งแก่กองทัพมองโกลเกี่ยวกับการเข้าเมือง ท่าเรือ แม่น้ำ และแผนที่รัฐเคดิรี ทางกองทัพมองโกลตกลงร่วมปฏิบัติการโดยได้นำกองเรือแล่นตรงไปยังเมืองท่ารัฐเคดิรี ส่วนแม่ทัพชี่ปีนำกองทหารราบบุกขึ้นฝั่งแล้วเตรียมทัพโจมตี ภายในสัปดาห์เดียว กองทัพของเขาก็ได้เข้าปะทะกับกองทัพรัฐเคดิรี ผลการสู้รบกันอย่างหนักทำให้สังหารทหารรัฐเคดิรีได้ถึง 5,000 นายในที่สุดพระเจ้าชัยขัตติยวงศ์ทรงยอมแพ้และถูกตัดสินให้ปลงพระชนม์ทันที แม้ว่ากองทัพมองโกลจะประสบความสำเร็จดังกล่าว แต่ผู้นำทั้งสองถูกหลอกโดยไม่มีใครคาดคิด เมื่อเจ้าชายวิชัยได้ตรัสขอให้จัดกำลังทหารมองโกลไม่ต้องติดอาวุธจำนวน 200 นาย คอยอารักขาตามเสร็จพระองค์ไปยังเมืองมัชปาหิต ซึ่งทรงอ้างว่าที่เมืองนั้นพระองค์ทรงเตรียมพิธียื่นข้อเสนอยอมจำนนผู้แทนกุบไลข่านอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าผู้นำทั้งสองของกองทัพมองโกลได้กราบทูลตกลงและเห็นด้วย โดยมิได้สงสัยพฤติกรรมการหลอกลวงของเจ้าชายวิชัยเลยแม้แต่น้อย เหตุการณ์ร้ายได้เกิดขึ้น ระหว่างทางมุ่งหน้าไปยังเมืองมัชปาหิตกองกำลังทหารของเจ้าชายวิชัยได้ลอบซุ่มโจมตีทหารมองโกลที่ตามเสด็จไป ส่วนกองทัพมองโกลภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพชี่ปีและแม่ทัพอิโก มู ซุ ซึ่งรออยู่ที่เมืองเคดิรี ถูกกองทัพใหญ่ของเจ้าชายวิชัยโอบล้อมโจมตีโดยที่ไม่มีใครคาดคิด แม่ทัพมองโกลทั้งสองได้นำกองกำลังตีฝ่าวงล้อมเพื่อมุ่งหน้าไปยังกองเรือที่จอดอยู่ท่าเรือ ในที่สุดแม่ทัพชี่ปีถึงกับต้องล่าถอย และตัดสินใจวิ่งหนีไปยังเรือที่จอดอยู่ที่ท่าเรือ แต่ปรากฏว่าเขาต้องสูญเสียชีวิตของทหารราบไปกว่าสามพันคน เมื่อกลับไปถึงมองโกล กุบไลข่านก็ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 1837 และก็ไม่มีผู้นำคนใดที่จะนำกองทัพไปปราบปรามอาณาจักรสิงหะส่าหรี (อินโดนีเซีย) อีกเลย บทความเกี่ยวกับประเทศ ดินแดน หรือเขตการปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานด้านล่าง โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป จักรวรรดิมองโกล Ikh Mongol Uls จักรวรรดิ เมืองหลวง Avarga Karakorum (modern Beijing) ศาสนา ลัทธิเตงกรี (นับถือเชมัน) ศาสนาพุทธ, อิสลาม, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่นในเวลาต่อมา รัฐบาล ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง ข่าน  -  ค.ศ. 1206–1227 เจงกีส ข่าน  -  ค.ศ. 1229–1241 โอเกได ข่าน  -  ค.ศ. 1246–1248 กูยุก ข่าน  -  ค.ศ. 1251–1259 มองเกอ ข่าน  -  ค.ศ. 1260–1294 กุบไล ข่าน  -  ค.ศ. 1333–1370 ทอคอน ตีมูร์ ข่าน การปกครอง คุรัลไต ประวัติศาสตร์  -  เจงกีส ข่านรวบรวมดินแดนและสถาปนารัฐมองโกล ค.ศ. 1206  -  เจงกีส ข่าน สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1227  -  ช่วงสันติภาพแห่งมองโกล ค.ศ. 1210–1350  -  จักรวรรดิแตกแยก ค.ศ. 1260–1264  -  ราชวงศ์หยวนล่มสลาย ค.ศ. 1368 สกุลเงิน Coins (such as dirhams), Sukhe, paper money (paper currency backed by silk or silver ingots, and the Yuan's Chao) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ปัจจุบันเป็นประเทศ  อัฟกานิสถาน  อาร์มีเนีย  อาเซอร์ไบจาน  เบลารุส  จีน  จอร์เจีย  อินเดีย  อิหร่าน  อิรัก  คาซัคสถาน  คีร์กีซสถาน  ลาว  มอลโดวา  มองโกเลีย  พม่า  เกาหลีเหนือ  ปากีสถาน  โปแลนด์  โรมาเนีย  รัสเซีย  เกาหลีใต้  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ยูเครน  อุซเบกิสถาน  เวียดนาม ← ค.ศ. 1206–ค.ศ. 1368 ↓ ก่อนหน้า ถัดไป คามัค มองโกล จักรวรรดิข่านจักกาไท โกลเดนฮอร์ด อิลคาเนต ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวนเหนือ อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล ประเทศติมอร์-เลสเตใน ค.ศ. 2020 ============================== เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศติมอร์-เลสเต เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประเทศติมอร์-เลสเต ประเทศติมอร์-เลสเตในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 รายชื่อปีในประเทศติมอร์-เลสเต รายชื่อปีในประเทศโคลอมเบีย ========================== ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อปีในประเทศโคลอมเบีย ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อปีในประเทศโคลอมเบีย คริสต์ทศวรรษ 1930 1930 1931 1932 1933 1934 1935 1936 1937 1938 1939 คริสต์ทศวรรษ 1940 1940 1941 1942 1943 1944 1945 1946 1947 1948 1949 คริสต์ทศวรรษ 1950 1950 1951 1952 1953 1954 1955 1956 1957 1958 1959 คริสต์ทศวรรษ 1960 1960 1961 1962 1963 1964 1965 1966 1967 1968 1969 คริสต์ทศวรรษ 1970 1970 1971 1972 1973 1974 1975 1976 1977 1978 1979 คริสต์ทศวรรษ 1980 1980 1981 1982 1983 1984 1985 1986 1987 1988 1989 คริสต์ทศวรรษ 1990 1990 1991 1992 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999 คริสต์ทศวรรษ 2000 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 คริสต์ทศวรรษ 2010 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 วิศวกรรมโยธา ============ วิศวกรรมโยธา (อังกฤษ: civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ด้วยระบบสุ่มข้อสอบทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (เฉพาะระดับ "ภาคีวิศวกร") การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลาย ๆ สถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุด โดยตอบสนองความต้องการของสังคม วิศวกรรมโยธา (อังกฤษ: civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ด้วยระบบสุ่มข้อสอบทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (เฉพาะระดับ "ภาคีวิศวกร") การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลาย ๆ สถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุด โดยตอบสนองความต้องการของสังคม วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)  ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ สิ่งก่อสร้าง การศึกษาในสาขานี้จะเน้นในทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ งานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้น วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)  ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)  ศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลักคือระบบและวัสดุ โดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร โดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering)  ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมธรณี (Geological engineering)  ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)  ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสีย วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resource engineering)  ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคู คลอง และแม่น้ำ วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)  ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้าน จีพีเอส (GPS) และ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system;GIS) http://whatiscivilengineering.csce.ca/civil1.htm วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ตั้มซีวิล แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา และซอฟต์แวร์ CivilClub เว็บไซต์สำหรับวิศวกรโยธาและบุคคลทั่วไป วิศวกรโยธา Civil Engineer cu-tep วิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยศรีปทุม http://www.spu.ac.th/fac/engineer/th/program.php?bid=6 Falkirk Wheel สิ่งก่อสร้างในสก็อตแลนด์สำหรับยกเรือข้ามแม่น้ำ ตัวอย่างแผนที่ใช้ในการแบ่งโซนอาศัย สร้างโดยใช้ระบบ จีไอเอส (GIS) โดยโปรแกรม ชื่อ อาร์คจีไอเอส (ArcGIS) ประเทศมอลตาใน ค.ศ. 1907 ======================= เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1907 ในประเทศมอลตา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1907 ในประเทศมอลตา การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมอลตา ค.ศ. 1907 รายชื่อปีในประเทศมอลตา บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา 20 เมษายน ========= วันที่ 20 เมษายน เป็นวันที่ 110 ของปี (วันที่ 111 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 255 วันในปีนั้น วันที่ 20 เมษายน เป็นวันที่ 110 ของปี (วันที่ 111 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 255 วันในปีนั้น พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1657) - นิวอัมสเตอร์ดัม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์ก) ให้สิทธิเสรีภาพทางศาสนาแก่ชาวยิว พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) - หลุยส์ ปาสเตอร์ และ คล็อด เบร์นาร์ ทดสอบการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) - ปิแอร์ กูรี และ มารี กูรี สกัดเรเดียมคลอไรด์ พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - สงครามโลกครั้งที่สอง: กรีซยอมแพ้ต่อนาซีเยอรมนี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - เหตุการณ์สังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์: เอริค แฮร์ริส และดีแลน คลีโบลด์ 2 นักเรียนมัธยม ก่อเหตุยิงเพื่อนนักเรียนและคณาจารย์ ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ก่อนตัดสินใจยิงตัวตาย ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 15 คน พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมนี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) - หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 13 (ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538) พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - สุจิตต์ วงษ์เทศ นักเขียนชาวไทย พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - ปีเตอร์ รีด นักฟุตบอลชาวอังกฤษ พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - ทรงศักดิ์ ทองศรี นักการเมืองไทย พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - บดินทร์ ดุ๊ก นักแสดงชาวไทย พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - สุริวิภา กุลตังวัฒนา นักแสดง พิธีกรชาวไทย พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - ชาติชาย งามสรรพ์ นักแสดงชายชาวไทย พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เชย์ กิฟเวน นักฟุตบอลชาวไอร์แลนด์ พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - โจอี้ ลอว์เรนซ์ นักแสดง นักร้องชาวอเมริกัน พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - นนทพร ธีระวัฒนสุข นักแสดงและนางแบบชาวไทย พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ลู่หาน ศิลปิน,นักแสดงชาวจีน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - จิระเมศ์ นักเรียน,เกมเมอร์ พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - แบรม สโตกเกอร์ นักเขียนชาวไอร์แลนด์ (เกิด 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2390) พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - ฮิโระยุกิ เอะบิฮะระ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น (เกิด 26 มีนาคม พ.ศ. 2482) พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - ไชนา (โจน มารี ลอว์เลอร์) นักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2513) วันกัญชาโลก (อังกฤษ: 420, 4:20, 4/20 หรือ four-twenty) BBC: On This Day Today in History: April 20 บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา 20 เมษา วันสูบกัญชาอย่างไม่เป็นทางการของชาวตะวันตก ( เรท R ผู้ปกครองควรพิจารณา! ) Thousands at UCSC burn one to mark pot holiday Stoner Chic Traces Origin To San Rafael / Snickering high schoolers brought `420' into lexicon ครั้งแรกของไทยกับวันกัญชาโลก << เมษายน >> อา จ อ พ พฤ ศ ส     1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30       พ.ศ. 2557 20 เมษายนเมื่อปีก่อน พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2558 ประเทศนอร์เวย์ใน ค.ศ. 1936 ========================== เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1936 ในประเทศนอร์เวย์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1936 ในประเทศนอร์เวย์ 19 ตุลาคม - การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเทศนอร์เวย์ ค.ศ. 1936 รายชื่อปีในประเทศนอร์เวย์ บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา ICD-10 บทที่ 14: โรคของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะ ================================================== ICD-10 บทที่ 14: โรคของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะ เป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประเภทการเจ็บป่วยตามเกณฑ์เพื่อใช้บันทึกเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลทางสถิติในการวางแผนสุขภาพในระดับสากล ICD-10 บทที่ 14: โรคของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะ เป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประเภทการเจ็บป่วยตามเกณฑ์เพื่อใช้บันทึกเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลทางสถิติในการวางแผนสุขภาพในระดับสากล หมายเหตุ: รหัสหลักที่สี่สำหรับการจำแนกย่อยต่อไปนี้ จำแนกตามการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างของเซลล์ และใช้รหัส N00-N07. โดยปกติไม่ควรใช้รหัสการจำแนกย่อย .0-.8 นอกจากต้องการระบุรายละเอียดให้ชัดเจน (เช่น จากการตัดเนื้อออกตรวจ หรือการตรวจศพ) ส่วนรหัสสามหลักมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการทางคลินิก .0 โกลเมอรูลัสผิดปกติเล็กน้อย รอยโรคเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย .1 รอยโรคที่โกลเมอรูลัสแบบเป็นจุดและเป็นส่วน .2 โกลเมอรูโลเนไฟรติสชนิดเมมเบรนัสแบบแพร่กระจาย .3 โกลเมอรูโลเนไฟรติสชนิดมีแซงเจียล โปรลิเฟอเรทีฟ แบบแพร่กระจาย .4 โกลเมอรูโลเนไฟรติสชนิดเอ็นโดแคปพิลลารี โปรลิเฟอเรทีฟ แบบแพร่กระจาย .5 โกลเมอรูโลเนไฟรติสชนิดมีแซงจิโอแคปพิลลารี โปรลิเฟอเรทีฟ แบบแพร่กระจาย โกลเมอรูโลเนไฟรติสชนิดเมมเบรโนโปรลิเฟอเรทีฟ แบบ 1 และ 3 หรือมิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น .6 โรคเด็นส์ เดโพสิต โกลเมอรูโลเนไฟรติสชนิดเมมเบรโนโปรลิเฟอเรทีฟ แบบ 2 .7 โกลเมอรูโลเนไฟรติสชนิดเครสเซนติกแบบแพร่กระจาย โกลเมอรูโลเนไฟรติสชนิดเอกซ์ตราแคปพิลลารี .8 อื่นๆ โกลเมอรูโลเนไฟรติสแบบแพร่กระจาย มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น .9 ไม่ระบุรายละเอียด (N00) กลุ่มอาการไตอักเสบเฉียบพลัน (N01) กลุ่มอาการไตอักเสบชนิดลุกลามเร็ว (N02) ปัสสาวะเป็นเลือดที่กลับเป็นซ้ำและที่คงอยู่ (N03) กลุ่มอาการไตอักเสบเรื้อรัง (N04) กลุ่มอาการเนโฟรติก ไลปอยด์ เนโฟรซิส (N05) กลุ่มอาการไตอักเสบที่ไม่ระบุรายละเอียด (N06) มีโปรตีนในปัสสาวะแต่ลำพังร่วมกับรอยโรคจำเพาะตามรูปร่างเซลล์ (N07) โรคไตที่เป็นกรรมพันธุ์ มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N08) ความผิดปกติของโกลเมอรูลัสในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (N10) หลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอยอักเสบเฉียบพลัน กรวยไตและไตอักเสบเฉียบพลัน (N11) หลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอยอักเสบเรื้อรัง กรวยไตและไตอักเสบเรื้อรัง (N11.0) กรวยไตและไตอักเสบเรื้อรังจากการไหลกลับแบบไม่มีการอุดกั้น (N11.1) กรวยไตและไตอักเสบเรื้อรังแบบมีการอุดกั้น (N11.8) หลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอยอักเสบเรื้อรังแบบอื่น (N11.9) หลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอยอักเสบเรื้อรัง ไม่ระบุรายละเอียด (N12) หลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอยอักเสบ ไม่ระบุว่าเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ไตอักเสบแบบอินเตอร์สตีเชียล มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น กรวยไตอักเสบ มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น กรวยไตและไตอักเสบ มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (N13) โรคทางเดินปัสสาวะจากการอุดกั้นและไหลกลับ (N13.0) ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่งร่วมกับการอุดกั้นที่รอยต่อท่อไตกับกรวยไต (N13.1) ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่งร่วมกับการคอดของท่อไต มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N13.2) ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่งร่วมกับการอุดกั้นจากนิ่วของไตและท่อไต (N13.3) ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่งแบบอื่นและที่ไม่ระบุรายละเอียด (N13.4) ท่อไตมีน้ำคั่ง (N13.5) การงอและคอดของท่อไตโดยไม่มีภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่ง (N13.6) ไตเป็นหนอง (N13.7) โรคทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการไหลย้อนจากกระเพาะปัสสาวะเข้าท่อไต (N13.8) โรคทางเดินปัสสาวะแบบอื่นจากการอุดกั้นและไหลย้อน (N13.9) โรคทางเดินปัสสาวะจากการอุดกั้นและไหลย้อน ไม่ระบุรายละเอียด (N14) ภาวะของหลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอยที่เกิดจากยาและโลหะหนัก (N15) โรคอื่นของหลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอย (N15.0) โรคไตบอลข่าน โรคไตประจำถิ่นบอลข่าน (N15.1) ฝีในไตและรอบไต (N15.8) โรคอื่นที่ระบุรายละเอียดของหลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอย (N15.9) โรคของหลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอย ไม่ระบุรายละเอียด การติดเชื้อของไต มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (N16) ความผิดปกติของหลอดไตฝอยและเนื้อเยื่อระหว่างหลอดไตฝอยในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (N17) ไตวายเฉียบพลัน (N17.0) ไตวายเฉียบพลันร่วมกับเนื้อตายเฉพาะส่วนของหลอดไตฝอย (N17.1) ไตวายเฉียบพลันร่วมกับเนื้อตายเฉพาะส่วนเฉียบพลันของเปลือกไต (N17.2) ไตวายเฉียบพลันร่วมกับเนื้อตายเฉพาะส่วนของไตส่วนใน (N17.8) ไตวายเฉียบพลันแบบอื่น (N17.9) ไตวายเฉียบพลัน ไม่ระบุรายละเอียด (N18) ไตวายเรื้อรัง (N19) ไตวายที่ไม่ระบุรายละเอียด (N20) นิ่วในไตและท่อไต (N20.0) นิ่วในไต นิ่วไต มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (N20.1) นิ่วในท่อไต (N20.2) นิ่วในไตร่วมกับนิ่วในท่อไต (N20.9) นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ไม่ระบุรายละเอียด (N21) นิ่วในทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (N22) นิ่วในทางเดินปัสสาวะในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (N23) อาการปวดนิ่วไตที่ไม่ระบุรายละเอียด (N25) ความผิดปกติที่เกิดจากการทำหน้าที่บกพร่องของหลอดไตฝอย (N25.0) กระดูกฝ่อจากไต กระดูกฝ่อจากภาวะเลือดคั่งสารไนโตรเจน ความผิดปกติของหลอดไตฝอยที่มีการสูญเสียฟอสเฟต (N25.1) โรคเบาจืดที่เกิดจากไต (N25.8) ความผิดปกติอื่นที่เกิดจากการทำหน้าที่บกพร่องของหลอดไตฝอย กลุ่มอาการไลท์วูด-อัลไบรท์ ภาวะเลือดเป็นกรดจากหลอดไตฝอย มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น พาราไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินแบบทุติยภูมิที่เกิดจากไต (N25.9) ความผิดปกติที่เกิดจากการทำหน้าที่บกพร่องของหลอดไตฝอย ไม่ระบุรายละเอียด (N26) ไตหดตัวที่ไม่ระบุรายละเอียด (N27) ไตเล็กที่ไม่ทราบสาเหตุ (N28) ความผิดปกติอื่นของไตและท่อไต มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N28.0) ไตขาดเลือดและเนื้อไตตายเพราะขาดเลือด (N28.1) ถุงน้ำของไต เกิดภายหลัง (N28.8) ความผิดปกติอื่นที่ระบุรายละเอียดของไตและท่อไต ไตโตเกิน ท่อไตพอง ไตหย่อน กรวยไตอักเสบเป็นถุงน้ำ กรวยไตร่วมท่อไตอักเสบเป็นถุงน้ำ ท่อไตอักเสบเป็นถุงน้ำ ท่อไตย้อย (N28.9) ความผิดปกติของไตและท่อไต ไม่ระบุรายละเอียด (N29) ความผิดปกติอื่นของไตและท่อไตในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (N30) กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (N30.0) กระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน (N30.1) กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบอินเตอร์สตีเชียล (เรื้อรัง) (N30.2) กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังแบบอื่น (N30.3) บริเวณสามเหลี่ยมในกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (N30.4) กระเพาะปัสสาวะอักเสบเพราะการฉายรังสี (N30.8) กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบอื่น (N30.9) กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด (N31) กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่ได้จำแนกไว้ที่ใด (N31.0) โรคระบบประสาทของกระเพาะปัสสาวะชนิดยับยั้งไม่ได้ มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N31.1) โรคระบบประสาทของกระเพาะปัสสาวะชนิดรีเฟล็กซ์ มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N31.2) โรคระบบประสาทของกระเพาะปัสสาวะชนิดปวกเปียก มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N31.8) กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อชนิดอื่น (N31.9) กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ไม่ระบุชนิด กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (N32) ความผิดปกติแบบอื่นของกระเพาะปัสสาวะ (N32.0) การอุดกั้นที่คอกระเพาะปัสสาวะ (N32.1) ทางทะลุระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับลำไส้ (N32.2) ทางทะลุของกระเพาะปัสสาวะ มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N32.4) กระเพาะปัสสาวะแตก ไม่เกิดจากการบาดเจ็บ (N32.8) ความผิดปกติแบบอื่นที่ระบุรายละเอียดของกระเพาะปัสสาวะ (N32.9) ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ ไม่ระบุรายละเอียด (N33) ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (N34) ท่อปัสสาวะอักเสบและกลุ่มอาการท่อปัสสาวะ (N34.0) ฝีที่ท่อปัสสาวะ (N34.1) ท่อปัสสาวะอักเสบแบบไม่จำเพาะ ท่อปัสสาวะอักเสบไม่เกิดจากหนองใน (N35) ท่อปัสสาวะคอด (N36) ความผิดปกติแบบอื่นของท่อปัสสาวะ (N37) ความผิดปกติของท่อปัสสาวะในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (N39) ความผิดปกติแบบอื่นของระบบปัสสาวะ (N39.0) การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ไม่ระบุตำแหน่ง (N39.1) มีโปรตีนคงอยู่ในปัสสาวะ ไม่ระบุรายละเอียด (N39.2) มีโปรตีนในปัสสาวะในท่ายืน ไม่ระบุรายละเอียด (N39.3) กลั้นปัสสาวะไม่ได้เมื่อมีความเค้น (N39.4) ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบอื่นที่ระบุรายละเอียด (N39.8) ความผิดปกติแบบอื่นที่ระบุรายละเอียดของระบบปัสสาวะ (N39.9) ความผิดปกติของระบบปัสสาวะ ไม่ระบุรายละเอียด (N40) การเจริญเกินของต่อมลูกหมาก (N41) โรคอักเสบของต่อมลูกหมาก (N42) ความผิดปกติอื่นของต่อมลูกหมาก (N43) ไฮโดรซีลและหลอดน้ำอสุจิโป่งพอง (N43.0) ไฮโดรซีลในถุงหุ้ม (N43.1) ไฮโดรซีลติดเชื้อ (N43.2) ไฮโดรซีลแบบอื่น (N43.3) ไฮโดรซีล ไม่ระบุรายละเอียด (N43.4) หลอดน้ำอสุจิโป่งพอง (N44) การบิดของอัณฑะ (N45) อัณฑะอักเสบและอีพิดิไดมิสอักเสบ (N46) การมีบุตรยากในชาย ไม่มีอสุจิ มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น อสุจิน้อย มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (N47) หนังหุ้มปลายองคชาตยาวเกิน ตีบ และร่นรัด (N48) ความผิดปกติแบบอื่นขององคชาต (N48.0) ฝ้าขาวที่องคชาต (N48.1) การอักเสบที่หัวองคชาตและหนังหุ้ม หัวองคชาตอักเสบ (N48.2) การอักเสบแบบอื่นขององคชาต (N48.3) องคชาตแข็งค้าง (N48.4) หย่อนสมรรถภาพทางเพศจากสาเหตุทางร่างกาย (N48.5) แผลขององคชาต (N48.6) อินดูราชิโอ พีนิส พลาสติกา โรคเพโรนีย์ (N48.8) ความผิดปกติอื่นที่ระบุรายละเอียดขององคชาต (N48.9) ความผิดปกติขององคชาต ไม่ระบุรายละเอียด (N49) การอักเสบของอวัยวะสืบพันธุ์ชาย มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N50) ความผิดปกติแบบอื่นของอวัยวะสืบพันธุ์ชาย (N51) ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ชายในโรคที่จำแนกไว้ที่อื่น (N60) การเจริญผิดปกติชนิดไม่ร้ายของเนื้อเยื่อเต้านม (N60.0) ถุงน้ำเดี่ยวของเต้านม (N60.1) เต้านมมีถุงน้ำกระจายทั่วไป (N60.2) ไฟโบรอะดิโนซิสของเต้านม (N60.3) พังผืดแข็งของเต้านม (N60.4) ท่อน้ำนมโป่งพอง (N60.8) การเจริญผิดปกติชนิดไม่ร้ายแบบอื่นของเนื้อเยื่อเต้านม (N60.9) การเจริญผิดปกติชนิดไม่ร้ายของเนื้อเยื่อเต้านม ไม่ระบุรายละเอียด (N61) การอักเสบของเต้านม เต้านมอักเสบ มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (N62) เต้านมโตผิดปกติ เต้านมชายโตขึ้น (N63) ก้อนที่ไม่ระบุรายละเอียดในเต้านม (N64) ความผิดปกติแบบอื่นของเต้านม (N64.0) รอยแยกและทางทะลุของหัวนม (N64.1) ไขมันเต้านมตาย (N64.2) เต้านมฝ่อ (N64.3) น้ำนมไหลโดยไม่สัมพันธ์กับการคลอด (N64.4) ปวดเต้านม (N64.5) อาการและอาการแสดงอื่นที่เต้านม เนื้อเต้านมแข็ง มีของเหลวไหลออกจากหัวนม หัวนมบอด (N64.8) ความผิดปกติอื่นของเต้านมที่ระบุรายละเอียด ถุงน้ำนม (N64.9) ความผิดปกติของเต้านม ไม่ระบุรายละเอียด (N70) ท่อนำไข่อักเสบและรังไข่อักเสบ (N70.0) ท่อนำไข่อักเสบและรังไข่อักเสบเฉียบพลัน (N70.1) ท่อนำไข่อักเสบและรังไข่อักเสบเรื้อรัง ภาวะมีน้ำในท่อนำไข่ (N70.9) ท่อนำไข่อักเสบและรังไข่อักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด (N71) การอักเสบของมดลูก ยกเว้นปากมดลูก เยื่อบุมดลูกอักเสบ เยื่อบุและกล้ามเนื้อมดลูกอักเสบ มดลูกอักเสบ กล้ามเนื้อมดลูกอักเสบ หนองในมดลูก ฝีในโพรงมดลูก (N72) การอักเสบของปากมดลูก (N73) การอักเสบแบบอื่นในอุ้งเชิงกรานสตรี (N73.0) เนื้อเยื่อข้างมดลูกและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานอักเสบเฉียบพลัน (N73.1) เนื้อเยื่อข้างมดลูกและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง (N73.2) เนื้อเยื่อข้างมดลูกและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานอักเสบที่ไม่ระบุรายละเอียด (N73.3) เยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกรานสตรีอักเสบเฉียบพลัน (N73.4) เยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกรานสตรีอักเสบเรื้อรัง (N73.5) เยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกรานสตรีอักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด (N73.6) เยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกรานสตรียึดติด (N73.8) โรคอักเสบอื่นในอุ้งเชิงกรานสตรีที่ระบุรายละเอียด (N73.9) โรคอักเสบอื่นในอุ้งเชิงกรานสตรี ไม่ระบุรายละเอียด (N74) การอักเสบในอุ้งเชิงกรานสตรีในโรคที่ได้จำแนกไว้ที่อื่น (N75) โรคของต่อมบาร์โทลิน (N76) การอักเสบแบบอื่นของช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก (N76.0) ช่องคลอดอักเสบเฉียบพลัน (N76.1) ช่องคลอดอักเสบกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง (N76.2) อวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอกอักเสบเฉียบพลัน (N76.3) อวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอกอักเสบกึ่งเฉียบพลันและเรื้อรัง (N76.4) ฝีที่อวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก (N76.5) แผลที่ช่องคลอด (N76.6) แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก (N76.8) การอักเสบอื่นที่ระบุรายละเอียดของช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก (N77) แผลและการอักเสบที่ช่องคลอดและอวัยวะเพศสตรีด้านนอกในโรคที่ได้จำแนกไว้ที่อื่น (N80) เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (N80) เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่บริเวณมดลูก อะดิโนไมโอซิส (N81) อวัยวะสืบพันธุ์สตรีหย่อน (N81.0) ท่อปัสสาวะโป่งในสตรี (N81.1) กระเพาะปัสสาวะหย่อน (N81.6) ลำไส้ตรงหย่อน (N82) ทางทะลุของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี (N82.0) ทางทะลุระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับช่องคลอด (N82.1) ทางทะลุอื่นระหว่างทางเดินปัสสาวะกับอวัยวะสืบพันธุ์สตรี (N82.2) ทางทะลุระหว่างช่องคลอดกับลำไส้เล็ก (N82.3) ทางทะลุระหว่างช่องคลอดกับลำไส้ใหญ่ (N82.4) ทางทะลุอื่นระหว่างลำไส้กับอวัยวะสืบพันธุ์สตรี (N82.5) ทางทะลุระหว่างอวัยวะสืบพันธุ์สตรีกับผิวหนัง (N83) ความผิดปกติของรังไข่ ท่อนำไข่ และเอ็นกว้างยึดมดลูกที่ไม่เกิดจากการอักเสบ (N83.0) ถุงน้ำเล็กๆ ของรังไข่ (N83.1) ถุงน้ำคอร์ปัส ลูเตียม (N83.2) ถุงน้ำอื่นและที่มิได้ระบุรายละเอียดของรังไข่ (N83.3) การฝ่อของรังไข่และท่อนำไข่ที่เกิดภายหลัง (N83.4) การหย่อนและเคลื่อนของรังไข่และท่อนำไข่ (N83.5) การบิดของรังไข่ ขั้วรังไข่ และท่อนำไข่ (N83.6) เลือดขังในท่อนำไข่ (N83.7) ก้อนเลือดคั่งในเอ็นกว้างยึดมดลูก (N83.8) ความผิดปกติอื่นของรังไข่ ท่อนำไข่ และเอ็นกว้างยึดมดลูกที่ไม่เกิดจากการอักเสบ (N83.9) ความผิดปกติของรังไข่ ท่อนำไข่ และเอ็นกว้างยึดมดลูกที่ไม่เกิดจากการอักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด (N84) ติ่งเนื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์สตรี (N84.0) ติ่งเนื้อที่ตัวมดลูก ติ่งเนื้อที่เยื่อบุมดลูก (N84.1) ติ่งเนื้อที่ปากมดลูก (N84.2) ติ่งเนื้อที่ช่องคลอด (N84.3) ติ่งเนื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก (N84.8) ติ่งเนื้อที่ส่วนอื่นของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี (N84.9) ติ่งเนื้อที่ระบบสืบพันธุ์สตรี ไม่ระบุรายละเอียด (N85) ความผิดปกติอื่นของมดลูก ยกเว้นปากมดลูก ที่ไม่เกิดจากการอักเสบ (N85.0) เยื่อบุมดลูกงอกเกินแบบแกลนดูลา (N85.1) เยื่อบุมดลูกงอกเกินแบบอะดิโนมาตัส (N85.2) มดลูกโตเกิน (N85.3) มดลูกไม่เข้าอู่ (N85.4) มดลูกผิดตำแหน่ง (N85.5) มดลูกปลิ้น (N85.6) โพรงมดลูกยึดติด (N85.7) เลือดขังในมดลูก (N85.8) ความผิดปกติที่ระบุรายละเอียดอย่างอื่นของมดลูกที่ไม่เกิดจากการอักเสบ (N85.9) ความผิดปกติของมดลูกที่ไม่เกิดจากการอักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด (N86) การกร่อนและการปลิ้นของปากมดลูก (N87) การเจริญผิดปกติของปากมดลูก (N87.0) การเจริญผิดปกติแบบเล็กน้อยของปากมดลูก เนื้องอกในเยื่อบุผิวปากมดลูก (ซีไอเอ็น) ระดับ 1 (N87.1) การเจริญผิดปกติแบบปานกลางของปากมดลูก เนื้องอกในเยื่อบุผิวปากมดลูก (ซีไอเอ็น) ระดับ 2 (N87.2) การเจริญผิดปกติแบบรุนแรงของปากมดลูก มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N87.9) การเจริญผิดปกติของปากมดลูก ไม่ระบุรายละเอียด (N88) ความผิดปกติแบบอื่นของปากมดลูกที่ไม่เกิดจากการอักเสบ (N88.0) ฝ้าขาวที่ปากมดลูก (N88.1) แผลฉีกขาดเก่าของปากมดลูก (N88.2) การคอดและการตีบของปากมดลูก (N88.3) ปากมดลูกหลวม (N88.4) ปากมดลูกขยายยาวเกิน (N88.8) ความผิดปกติแบบอื่นของปากมดลูกที่ไม่เกิดจากการอักเสบที่ระบุรายละเอียด (N88.9) ความผิดปกติแบบอื่นของปากมดลูกที่ไม่เกิดจากการอักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด (N89) ความผิดปกติแบบอื่นของช่องคลอดที่ไม่เกิดจากการอักเสบ (N89.0) การเจริญผิดปกติแบบเล็กน้อยของช่องคลอด (N89.1) การเจริญผิดปกติแบบปานกลางของช่องคลอด (N89.2) การเจริญผิดปกติแบบรุนแรงของช่องคลอด มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N89.3) การเจริญผิดปกติของช่องคลอด ไม่ระบุรายละเอียด (N89.4) ฝ้าขาวของช่องคลอด (N89.5) การคอดและไม่มีรูเปิดของช่องคลอด (N89.6) เยื่อพรหมจารีตึงแน่น (N89.7) เลือดขังในช่องคลอด (N89.8) ความผิดปกติแบบอื่นของช่องคลอดที่ไม่เกิดจากการอักเสบที่ระบุรายละเอียด ระดูขาว มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (N89.9) ความผิดปกติแบบอื่นของช่องคลอดที่ไม่เกิดจากการอักเสบ ไม่ระบุรายละเอียด (N90) ความผิดปกติแบบอื่นของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอกและฝีเย็บที่ไม่เกิดจากการอักเสบ (N90.0) การเจริญผิดปกติแบบเล็กน้อยของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก (N90.1) การเจริญผิดปกติแบบปานกลางของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก (N90.2) การเจริญผิดปกติแบบรุนแรงของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก มิได้จำแนกไว้ที่ใด (N90.3) การเจริญผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก ไม่ระบุรายละเอียด (N90.4) ฝ้าขาวของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก (N90.5) อวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอกฝ่อ (N90.6) อวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอกโตเกิน (N90.7) ถุงน้ำที่อวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอก (N90.8) ความผิดปกติที่ไม่เกิดจากการอักเสบอื่นที่ระบุรายละเอียดของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอกและฝีเย็บ (N90.9) ความผิดปกติที่ไม่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีด้านนอกและฝีเย็บ ไม่ระบุรายละเอียด (N91) ประจำเดือนขาด มาน้อย และมาห่าง (N91.2) ไม่มีประจำเดือน ไม่ระบุรายละเอียด (N91.5) ประจำเดือนมาน้อย ไม่ระบุรายละเอียด (N92) ประจำเดือนมามากเกิน บ่อย และไม่สม่ำเสมอ (N92.0) ประจำเดือนมามากเกินและบ่อยในวงรอบสม่ำเสมอ ประจำเดือนมาก มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (N92.1) ประจำเดือนมามากเกินและบ่อยในวงรอบไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนออกมากและมีเลือดออกระหว่างรอบประจำเดือน เลือดออกระหว่างรอบประจำเดือน (N92.2) ประจำเดือนมามากเกินในวัยแรกรุ่น (N92.3) เลือดออกในระยะตกไข่ (N92.4) เลือดออกมากเกินในระยะก่อนหมดประจำเดือน (N93) เลือดออกผิดปกติแบบอื่นจากมดลูกและช่องคลอด (N93.0) เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์และหลังสัมผัส (N93.8) เลือดออกผิดปกติอย่างอื่นที่ระบุรายละเอียดจากมดลูกและช่องคลอด เลือดออกจากมดลูกหรือช่องคลอดจากการทำหน้าที่ผิดปกติหรือปกติ มิได้ระบุรายละเอียดเป็นอย่างอื่น (N93.9) เลือดออกผิดปกติจากมดลูกและช่องคลอด ไม่ระบุรายละเอียด (N94) อาการปวดและภาวะอื่นที่สัมพันธ์กับอวัยวะสืบพันธุ์สตรีและรอบประจำเดือน (N94.0) ปวดขณะตกไข่ (N94.1) ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (N94.2) ช่องคลอดหดเกร็ง (N94.3) กลุ่มอาการตึงเครียดก่อนมีประจำเดือน (N94.4) ปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ (N94.5) ปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ (N94.6) ปวดประจำเดือน ไม่ระบุรายละเอียด (N95) ความผิดปกติในวัยหมดประจำเดือนและวัยใกล้หมดประจำเดือน (N95.0) เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน (N95.1) สภาวะหมดประจำเดือนและเริ่มหมดประจำเดือน (N95.2) ช่องคลอดอักเสบฝ่อหลังวัยหมดประจำเดือน (N95.3) สภาวะที่สัมพันธ์กับการหมดประจำเดือนผิดธรรมชาติ (N95.8) ความผิดปกติอื่นในวัยหมดประจำเดือนและวัยใกล้หมดประจำเดือนที่ระบุรายละเอียด (N95.9) ความผิดปกติในวัยหมดประจำเดือนและวัยใกล้หมดประจำเดือน ไม่ระบุรายละเอียด (N96) สตรีที่แท้งเป็นอาจิณ (N97) ภาวะมีบุตรยากในสตรี (N97.0) ภาวะมีบุตรยากในสตรีที่สัมพันธ์กับการไม่ตกไข่ (N97.1) ภาวะมีบุตรยากในสตรีที่มีต้นเหตุจากท่อนำไข่ (N97.2) ภาวะมีบุตรยากในสตรีที่มีต้นเหตุจากมดลูก (N97.3) ภาวะมีบุตรยากในสตรีที่มีต้นเหตุจากปากมดลูก (N97.4) ภาวะมีบุตรยากในสตรีที่สัมพันธ์กับปัจจัยของฝ่ายชาย (N97.8) ภาวะมีบุตรยากในสตรีที่มีต้นเหตุอื่น (N97.9) ภาวะมีบุตรยากในสตรี ไม่ระบุรายละเอียด (N98) ภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับการช่วยปฏิสนธิ (N98.0) การติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการใส่เชื้ออสุจิ (N98.1) การกระตุ้นรังไข่มากเกิน (N98.2) ภาวะแทรกซ้อนของการพยายามใส่ไข่ที่ผสมแล้วหลังการปฏิสนธินอกมดลูก (N98.3) ภาวะแทรกซ้อนของการพยายามใส่ตัวอ่อนในการเคลื่อนย้ายตัวอ่อน (N98.8) ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่สัมพันธ์กับการช่วยปฏิสนธิ (N98.9) ภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับการช่วยปฏิสนธิ ไม่ระบุรายละเอียด (N99) ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะหลังทำหัตถการ มิได้จำแนกไว้ที่ใด รายการอาการในรหัส ICD-10 บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ICD-10-TM Online บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย บัญชีจำแนกโรค ICD-10 A00-B99 โรคติดเชื้อและโรคปรสิตบางโรค C00-D48 เนื้องอก D50-D89 เลือดและอวัยวะสร้างเลือด E00-E90 ต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม F00-F99 ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม G00-G99 ระบบประสาท H00-H59 ตาและอวัยวะเคียงลูกตา H60-H95 หูและปุ่มกระดูกกกหู I00-I99 ระบบไหลเวียนโลหิต J00-J99 ระบบหายใจ K00-K93 ระบบย่อยอาหาร L00-L99 ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง M00-M99 กล้ามเนื้อโครงร่างและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน N00-N99 ระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะ O00-O99 การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด P00-P96 ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด Q00-Q99 รูปพิการและความผิดปกติของโครโมโซม R00-R99 ความผิดปกติจากทางคลินิกและห้องปฏิบัติการ S00-T98 การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และอุบัติเหตุ V01-Y98 สาเหตุภายนอก Z00-Z99 ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพ U00-U99 รหัสเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ แบเรียม ======= แบเรียม (อังกฤษ: Barium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 56 และสัญลักษณ์คือ Ba แบเรียมเป็นธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทมีลักษณะเป็นสีเงินอ่อนนุ่มหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงมาก อ๊อกไซด์ของมันเรียกแบริตา (baryta) ตามธรรมชาติพบในแร่แบไรต์ไม่พบในสภาพบริสุทธิ์เพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีกับอากาศ แบเรียม (อังกฤษ: Barium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 56 และสัญลักษณ์คือ Ba แบเรียมเป็นธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทมีลักษณะเป็นสีเงินอ่อนนุ่มหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงมาก อ๊อกไซด์ของมันเรียกแบริตา (baryta) ตามธรรมชาติพบในแร่แบไรต์ไม่พบในสภาพบริสุทธิ์เพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีกับอากาศ สารประกอบของแบเรียมใช้ทำสี แบเรียมซัลเฟตใช้ในการถ่ายภาพทางการแพทย์ เรียกว่า แป้งแบเรียม บทความเกี่ยวกับเคมีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก ทั่วไป ชื่อ, สัญลักษณ์, เลขอะตอม แบเรียม, Ba, 56 อนุกรมเคมี โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท หมู่, คาบ, บล็อก 2, 6, s ลักษณะ สีขาวเงิน มวลอะตอม 137.327 (7) กรัม/โมล การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Xe] 6s2 อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 8, 18, 18, 8, 2 คุณสมบัติทางกายภาพ สถานะ ของแข็ง ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) 3.51 ก./ซม.³ ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. 3.338 ก./ซม.³ จุดหลอมเหลว 1000 K (727 °C) จุดเดือด 2170 K(1897 °C) ความร้อนของการหลอมเหลว 7.12 กิโลจูล/โมล ความร้อนของการกลายเป็นไอ 140.3 กิโลจูล/โมล ความร้อนจำเพาะ (25 °C) 28.07 J/(mol·K) คุณสมบัติของอะตอม โครงสร้างผลึก cubic body centered สถานะออกซิเดชัน 2 (ออกไซด์เป็นเบสแก่) อิเล็กโตรเนกาติวิตี 0.89 (พอลิงสเกล) พลังงานไอออไนเซชัน ระดับที่ 1: 502.9 กิโลจูล/โมล ระดับที่ 2: 965.2 กิโลจูล/โมล ระดับที่ 3: 3600 กิโลจูล/โมล รัศมีอะตอม 215 pm รัศมีอะตอม (คำนวณ) 253 pm รัศมีโควาเลนต์ 198 pm อื่น ๆ การจัดเรียงทางแม่เหล็ก paramagnetic ความต้านทานไฟฟ้า (20 °C) 332 nΩ·m การนำความร้อน (300 K) 18.4 W/(m·K) การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 20.6 µm/(m·K) อัตราเร็วของเสียง (แท่งบาง) (20 °C) 1620 m/s โมดูลัสของยังก์ 13 GPa โมดูลัสของแรงเฉือน 4.9 GPa โมดูลัสของแรงบีบอัด 9.6 GPa ความแข็งโมห์ส 1.25 เลขทะเบียน CAS 7440-39-3 ไอโซโทปเสถียรที่สุด แหล่งอ้างอิง แบเรียม ซีเซียม ← → แลนทานัม Sr ↑ Ba ↓ Ra ความดันไอ P/Pa 1 10 100 1 k 10 k 100 k ที่ T K 911 1038 1185 1388 1686 2170 บทความหลัก: ไอโซโทปของแบเรียม iso NA ครึ่งชีวิต DM DE (MeV) DP 130Ba 0.106% Ba เสถียร โดยมี 74 นิวตรอน 132Ba 0.101% Ba เสถียร โดยมี 76 นิวตรอน 133Ba syn 10.51 y ε 0.517 133Cs 134Ba 2.417% Ba เสถียร โดยมี 78 นิวตรอน 135Ba 6.592% Ba เสถียร โดยมี 79 นิวตรอน 136Ba 7.854% Ba เสถียร โดยมี 80 นิวตรอน 137Ba 11.23% Ba เสถียร โดยมี 81 นิวตรอน 138Ba 71.7% Ba เสถียร โดยมี 82 นิวตรอน เส้นเมริเดียนที่ 135 ==================== เส้นเมริเดียนที่ 135 อาจหมายถึง: เส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันตก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันตกของเส้นเมริเดียนกรีนิช เส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันออก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันออกของเส้นเมริเดียนกรีนิช 135° เส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันตก 135° เส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันออก หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัว ================================================================== บทความนี้แสดงรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด ณ ราคาตลาด ต่อหัวต่อหนึ่งปี (Gross Provincial Product at Current Market Price per capita) ของแต่ละปี ข้อมูลโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ: หน่วยที่แสดงคือ "บาท" และให้นับ "กรุงเทพมหานคร" ด้วย บทความนี้แสดงรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด ณ ราคาตลาด ต่อหัวต่อหนึ่งปี (Gross Provincial Product at Current Market Price per capita) ของแต่ละปี ข้อมูลโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ: หน่วยที่แสดงคือ "บาท" และให้นับ "กรุงเทพมหานคร" ด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี. "ตารางสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด (2547-2558) Table of Gross Regional and Provincial Product (2004-2015) (Excel) ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=gross_regional 2558. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2560. บทความเกี่ยวกับประเทศ ดินแดน หรือเขตการปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล อันดับ (ปีล่าสุด) จังหวัด พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558 - กรุงเทพมหานคร 324,995 344,236 356,810 363,524 369,574 360,232 374,262 398,951 429,263 460,596 484,288 513,397 — รวม อันดับ (ปีล่าสุด) จังหวัด พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2558 1 ระยอง 578,223 682,820 776,680 847,269 846,207 752,923 873,165 918,651 997,255 1,033,263 1,029,765 982,500 2 ชลบุรี 275,402 329,945 380,045 420,176 425,403 384,600 399,284 406,778 395,773 429,800 458,602 491,971 3 พระนครศรีอยุธยา 271,766 273,741 298,955 339,994 438,556 379,659 428,777 371,564 382,348 467,582 425,092 475,795 4 ฉะเชิงเทรา 220,124 225,748 256,654 288,953 320,210 281,771 346,300 354,426 460,080 424,431 423,999 399,194 5 สมุทรสาคร 348,659 341,953 347,999 342,425 348,307 322,440 348,212 353,696 356,010 343,620 356,479 364,354 6 ปราจีนบุรี 211,448 252,957 274,093 332,483 368,115 359,422 388,076 305,919 433,182 372,975 373,092 345,795 7 สมุทรปราการ 292,048 294,169 305,078 366,594 358,891 309,346 362,494 322,856 368,363 338,000 334,451 339,972 8 ภูเก็ต 184,794 148,587 184,635 201,914 201,466 175,251 186,737 205,026 229,285 255,798 265,954 306,779 9 นครปฐม 142,373 153,443 169,381 158,484 166,490 163,778 182,068 202,279 234,428 258,417 272,586 288,820 10 สระบุรี 176,213 190,573 200,983 202,993 223,875 245,470 254,855 259,721 286,488 293,203 296,739 284,180 11 ปทุมธานี 224,483 224,162 233,949 224,126 240,631 248,028 264,787 223,227 217,219 225,025 231,792 236,145 12 จันทบุรี 96,380 103,455 118,745 138,041 143,208 167,272 181,485 212,562 203,752 204,374 212,188 218,411 13 กระบี่ 104,920 98,084 123,580 140,443 157,968 143,765 159,413 195,778 207,273 193,367 195,210 217,685 14 ราชบุรี 107,749 119,474 128,665 131,241 142,017 153,290 167,657 174,504 182,369 179,661 191,458 204,753 15 นนทบุรี 101,734 111,890 119,432 122,769 125,567 128,646 133,082 129,618 142,777 154,092 184,579 193,426 16 สุราษฎร์ธานี 98,733 106,636 125,666 122,003 134,995 122,409 152,391 174,142 175,003 176,357 170,976 183,584 17 พังงา 93,744 99,544 115,561 119,815 136,012 128,863 155,618 175,830 166,024 166,796 168,303 177,350 18 ประจวบคีรีขันธ์ 103,155 109,221 116,478 120,568 132,447 126,301 135,792 150,474 149,427 153,163 162,505 171,357 19 สงขลา 97,189 107,802 117,641 116,433 119,911 114,182 137,261 150,332 149,659 154,631 148,814 153,505 20 ชุมพร 82,239 88,146 96,606 109,741 125,415 120,917 134,493 142,377 140,400 146,928 146,633 151,835 21 ตราด 94,142 91,635 110,302 118,974 123,904 124,954 143,541 158,335 148,697 139,321 145,932 148,446 22 ลำพูน 83,313 99,031 105,383 112,620 129,577 128,691 172,875 177,026 170,845 120,119 139,072 142,771 23 ลพบุรี 65,838 73,093 73,108 73,165 79,468 85,731 87,939 96,192 116,875 131,765 132,925 129,962 24 เชียงใหม่ 60,705 67,310 69,595 70,957 79,492 76,159 86,766 94,060 106,753 108,762 117,523 126,976 25 เพชรบุรี 82,038 85,278 90,876 95,116 101,189 103,217 109,105 110,754 128,151 126,614 123,556 123,800 26 กำแพงเพชร 70,704 75,719 84,441 89,119 96,468 90,340 97,115 115,493 146,855 153,410 138,951 123,428 27 สตูล 77,305 82,851 89,989 93,013 92,352 91,861 109,260 122,165 120,962 110,430 111,358 112,051 28 สิงห์บุรี 71,270 78,052 86,535 94,914 108,148 114,904 116,839 125,332 142,812 134,718 122,322 111,856 29 ขอนแก่น 48,138 49,914 60,303 65,487 72,344 81,453 87,293 92,176 106,899 105,683 105,512 107,607 30 สมุทรสงคราม 57,881 67,418 78,189 77,455 84,279 89,090 87,801 91,921 90,734 92,202 100,852 106,513 31 กาญจนบุรี 60,210 64,214 72,507 80,441 79,975 86,616 85,404 96,916 105,110 107,419 107,469 106,303 32 นครราชสีมา 47,697 51,953 56,824 61,577 61,075 66,879 75,307 83,261 92,951 101,870 101,449 106,000 33 นครนายก 51,014 53,679 53,258 58,825 65,602 69,413 77,608 81,120 93,159 94,368 103,373 102,052 34 นครสวรรค์ 50,114 55,566 62,584 64,252 73,627 78,382 83,383 92,591 115,177 118,322 108,630 99,724 35 ตรัง 75,651 84,930 99,255 98,918 104,582 94,511 122,797 142,176 116,160 106,914 98,614 96,801 36 เพชรบูรณ์ 33,067 38,397 41,787 45,649 55,125 56,632 62,954 65,872 79,455 90,039 101,205 92,171 37 นครศรีธรรมราช 66,951 70,485 73,611 77,575 76,170 81,140 102,945 101,575 99,976 99,273 92,421 91,648 38 พิษณุโลก 45,645 50,657 53,807 56,314 64,008 63,376 67,977 73,099 99,934 99,837 93,709 91,577 39 ระนอง 78,722 80,646 82,316 83,554 86,967 83,298 86,954 89,121 90,467 90,749 93,141 91,452 40 สุพรรณบุรี 49,764 51,527 58,142 61,539 71,722 75,092 72,293 84,525 99,694 95,374 89,588 90,458 41 ยะลา 60,817 70,375 81,435 86,787 89,239 83,357 118,069 132,347 113,136 96,933 87,531 89,875 42 ตาก 43,610 49,048 55,333 56,375 56,749 58,655 67,733 67,286 77,620 77,834 84,056 88,680 43 อ่างทอง 57,308 60,203 65,616 69,240 79,834 77,608 72,017 80,834 107,296 98,320 90,487 87,290 44 ลำปาง 47,958 50,488 52,139 54,298 56,293 70,380 77,337 80,763 84,161 85,847 84,251 84,151 45 อุทัยธานี 39,177 41,165 46,503 55,097 60,241 64,489 67,010 84,371 99,383 100,463 96,249 82,952 46 เชียงราย 33,743 38,813 40,441 44,738 51,848 51,174 59,421 63,069 75,985 80,670 80,337 81,835 47 ชัยนาท 52,414 55,977 57,661 66,154 84,920 82,233 83,654 89,432 114,542 112,949 92,607 81,072 48 พะเยา 33,592 39,485 44,184 47,876 54,566 55,370 65,705 66,959 76,142 78,871 77,385 80,802 49 หนองคาย 27,797 29,844 34,144 35,393 40,473 46,107 53,475 73,145 75,302 79,848 74,509 78,558 50 อุดรธานี 32,176 33,331 38,453 45,104 46,245 55,043 60,748 70,817 74,771 78,233 78,559 78,095 51 เลย 27,668 29,384 33,186 40,887 42,311 44,394 55,432 66,223 73,927 75,822 76,445 77,485 52 ปัตตานี 50,499 52,470 55,354 52,416 56,323 60,448 69,201 76,194 79,337 77,342 71,692 73,338 53 อุตรดิตถ์ 36,257 40,782 46,247 46,410 54,627 55,385 60,795 69,900 86,586 87,771 80,996 71,365 54 พิจิตร 36,856 41,653 45,778 46,563 58,244 60,967 68,270 69,250 100,454 109,291 85,739 68,922 55 นครพนม 24,503 25,948 29,809 32,445 36,567 43,643 48,897 52,456 65,248 70,689 66,404 66,799 56 อุบลราชธานี 27,340 28,781 30,870 32,958 34,406 39,193 45,808 49,913 56,730 67,743 61,478 65,489 57 น่าน 29,924 31,558 34,392 38,273 41,759 41,691 48,476 49,882 57,536 58,372 60,628 64,305 58 มุกดาหาร 27,746 29,045 32,521 33,998 35,203 39,981 44,466 54,272 55,936 62,643 61,427 61,630 59 แพร่ 31,937 34,382 36,338 39,165 42,194 43,466 48,744 52,311 58,793 60,988 60,375 61,013 60 สระแก้ว 32,550 35,973 40,672 44,763 45,825 48,052 48,411 54,308 59,241 57,924 58,846 60,573 61 พัทลุง 40,002 46,680 54,282 56,682 59,137 57,727 70,555 78,951 73,883 71,005 65,150 60,497 62 บึงกาฬ — — — — — — — 48,580 62,546 64,846 61,427 60,457 63 สุโขทัย 31,417 32,943 35,639 37,927 43,760 43,642 50,104 55,931 74,411 75,748 68,669 59,921 64 บุรีรัมย์ 24,792 26,408 30,674 33,139 35,755 41,213 48,440 52,777 54,886 61,057 57,892 58,554 65 สกลนคร 28,025 30,621 30,872 33,979 37,571 44,343 48,596 50,559 57,449 63,709 58,951 57,559 66 มหาสารคาม 24,057 25,937 29,298 33,219 35,812 42,033 48,997 51,713 55,951 60,472 55,753 57,069 67 แม่ฮ่องสอน 27,768 29,055 31,988 33,895 37,019 38,520 40,017 41,412 46,858 50,731 51,655 56,862 68 สุรินทร์ 23,986 25,533 29,451 33,036 33,623 40,564 46,619 50,213 56,197 61,870 56,792 56,159 69 ศรีสะเกษ 21,461 23,587 27,977 31,792 34,118 39,473 48,402 51,788 57,813 62,171 57,232 56,137 70 ร้อยเอ็ด 25,245 26,746 30,684 35,464 37,091 43,377 52,138 51,867 57,892 63,499 57,959 55,982 71 ชัยภูมิ 23,866 25,020 29,440 32,043 34,273 40,480 45,035 50,678 56,221 59,201 55,161 55,665 72 นราธิวาส 41,256 46,258 56,173 58,665 59,892 57,455 78,217 88,425 64,013 58,339 56,299 54,922 73 กาฬสินธุ์ 24,182 24,904 29,385 31,659 31,948 37,958 42,258 48,105 52,546 54,708 52,164 51,147 74 อำนาจเจริญ 21,997 24,965 28,928 33,318 31,260 37,265 42,848 44,355 48,986 58,154 51,848 51,221 75 ยโสธร 23,370 23,681 26,534 28,990 30,783 35,089 43,022 45,405 49,390 55,473 49,969 47,333 76 หนองบัวลำภู 20,975 22,154 26,174 28,857 28,358 31,527 36,008 39,022 39,409 42,710 39,994 41,963 — รวม ภาพแสดงจังหวัดไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัว (ข้อมูลปี พ.ศ. 2558) เส้นขนานที่ 72 ============== เส้นขนานที่ 72 อาจหมายถึง: เส้นขนานที่ 72 องศาเหนือ คือ เส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน เส้นขนานที่ 72 องศาใต้ คือ เส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน 72° เส้นขนานที่ 72 องศาเหนือ 72° เส้นขนานที่ 72 องศาใต้ หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง เส้นเมริเดียนที่ 167 ==================== เส้นเมริเดียนที่ 167 อาจหมายถึง: เส้นเมริเดียนที่ 167 องศาตะวันตก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันตกของเส้นเมริเดียนกรีนิช เส้นเมริเดียนที่ 167 องศาตะวันออก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากตะวันออกของเส้นเมริเดียนกรีนิช 167° เส้นเมริเดียนที่ 167 องศาตะวันตก 167° เส้นเมริเดียนที่ 167 องศาตะวันออก หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง รายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีต ========================== พระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่าจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้งสี่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเรื่องพุทธวิสัยเป็นอจินไตย คือเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน ในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ซึ่งว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์ดังนี้ ซึ่ง 28 พระองค์นี้ 3 พระองค์แรก คือ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า และ พระสรณังกรพุทธเจ้า ไม่ได้พยากรณ์แก่พระโคตมพุทธเจ้าสมัยยังเป็นพระโพธิสัตว์ แต่เพิ่งจะได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรกจากพระทีปังกรพุทธเจ้า จึงนับพระทีปังกรเป็นพระองค์ที่ 1 ในพุทธวงศ์ (หมายเหตุ พระโคดมพุทธเจ้าในอดีตได้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกเมื่อ 20 อสงไขยกับอีกหนึ่งแสนกัปที่แล้วโดยในครั้งนั้นพระองค์เห็นพระธุดงค์อยู่ในป่าแล้วศรัทธาถวายผ้าเก่า ดังที่พระองค์ตรัสเล่าไว้เองใน พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 32) ไม่ใช่ปรารถนาครั้งแรกตอนแบกมารดาว่ายข้ามแม่น้ำอย่างที่เข้าใจกันตามข้อมูลในหนังสือมุนีนาถทีปนี และหลังจากที่ได้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกแล้วก็บำเพ็ญบารมีอย่างต่อเนื่องจนได้มาพบกับพระทีปังกรพุทธเจ้าแล้วได้รับพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน) หากแบ่งตามกัป โดยการนับอสงไขยกัปในที่นี้ จะนับอสงไขยกัปแรกโดยเริ่มนับจากช่วงเวลาที่ อดีตชาติของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มสร้างบารมี โดยการอธิษฐานในใจว่าปรารถนาจะเป็นพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก จะมีพระพุทธเจ้าในอดีตตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกดังต่อไปนี้ กัปหนึ่งในอสงไขยกัปที่ 1-16 พระสัพพาภิภูพุทธเจ้า (สพฺพาภิภุสฺส พุทฺธสฺส) สี่อสงไขยแสนกัปที่แล้วเป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ ได้แก่พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า พระสรณังกรพุทธเจ้า พระทีปังกรพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์แรกที่พยากรณ์ว่า พระโคดมพุทธเจ้าครั้งเป็นพระโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) ต่อมาอีก 1 อสงไขย (คือสามอสงไขยแสนกัปที่แล้ว) เป็นสารกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ คือ พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 อสงไขย (คือสองอสงไขยแสนกัปที่แล้ว) เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ พระสุมังคลพุทธเจ้า พระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 อสงไขย (คือหนึ่งอสงไขยแสนกัปที่แล้ว) เป็นวรกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมพุทธเจ้า พระนารทพุทธเจ้า เมื่อแสนกัปที่แล้วกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์. บางตำราว่าเป็นมัณฑกัป บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป. พระปทุมุตตรพุทธเจ้า สูญกัป (กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น) 30,000 กัป ต่อมาอีก 7 หมื่นกัป (30,000 กัปที่แล้ว) จึงเป็นมัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระสุเมธพุทธเจ้า พระสุชาตพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 กัป (1,800 กัปที่แล้ว) เป็นวรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ พระปียทัสสีพุทธเจ้า พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1,706 กัป (94 กัปที่แล้ว) เป็นสารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ พระสิทธัตถพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 กัป (92 กัปที่แล้ว) เป็นมัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระติสสพุทธเจ้า พระปุสสพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 กัป (91 กัปที่แล้ว) เป็นสารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ พระวิปัสสีพุทธเจ้า ต่อมาอีก 59 กัป (31 กัปที่แล้ว) เป็นมัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า ต่อมาอีก 29 กัป เป็นกัปปัจจุบัน เป็น ภัทรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 80 ปีก่อนพุทธกาล) พระเมตไตยพุทธเจ้า (อนาคตอีกหลายล้านปีนับจากที่พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน) พระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่าจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้งสี่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเรื่องพุทธวิสัยเป็นอจินไตย คือเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน ในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ซึ่งว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์ดังนี้ ซึ่ง 28 พระองค์นี้ 3 พระองค์แรก คือ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า และ พระสรณังกรพุทธเจ้า ไม่ได้พยากรณ์แก่พระโคตมพุทธเจ้าสมัยยังเป็นพระโพธิสัตว์ แต่เพิ่งจะได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรกจากพระทีปังกรพุทธเจ้า จึงนับพระทีปังกรเป็นพระองค์ที่ 1 ในพุทธวงศ์ (หมายเหตุ พระโคดมพุทธเจ้าในอดีตได้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกเมื่อ 20 อสงไขยกับอีกหนึ่งแสนกัปที่แล้วโดยในครั้งนั้นพระองค์เห็นพระธุดงค์อยู่ในป่าแล้วศรัทธาถวายผ้าเก่า ดังที่พระองค์ตรัสเล่าไว้เองใน พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 32) ไม่ใช่ปรารถนาครั้งแรกตอนแบกมารดาว่ายข้ามแม่น้ำอย่างที่เข้าใจกันตามข้อมูลในหนังสือมุนีนาถทีปนี และหลังจากที่ได้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกแล้วก็บำเพ็ญบารมีอย่างต่อเนื่องจนได้มาพบกับพระทีปังกรพุทธเจ้าแล้วได้รับพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน) หากแบ่งตามกัป โดยการนับอสงไขยกัปในที่นี้ จะนับอสงไขยกัปแรกโดยเริ่มนับจากช่วงเวลาที่ อดีตชาติของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มสร้างบารมี โดยการอธิษฐานในใจว่าปรารถนาจะเป็นพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก จะมีพระพุทธเจ้าในอดีตตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกดังต่อไปนี้ กัปหนึ่งในอสงไขยกัปที่ 1-16 พระสัพพาภิภูพุทธเจ้า (สพฺพาภิภุสฺส พุทฺธสฺส) สี่อสงไขยแสนกัปที่แล้วเป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ ได้แก่พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า พระสรณังกรพุทธเจ้า พระทีปังกรพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์แรกที่พยากรณ์ว่า พระโคดมพุทธเจ้าครั้งเป็นพระโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) ต่อมาอีก 1 อสงไขย (คือสามอสงไขยแสนกัปที่แล้ว) เป็นสารกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ คือ พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 อสงไขย (คือสองอสงไขยแสนกัปที่แล้ว) เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ พระสุมังคลพุทธเจ้า พระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 อสงไขย (คือหนึ่งอสงไขยแสนกัปที่แล้ว) เป็นวรกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมพุทธเจ้า พระนารทพุทธเจ้า เมื่อแสนกัปที่แล้วกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์. บางตำราว่าเป็นมัณฑกัป บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป. พระปทุมุตตรพุทธเจ้า สูญกัป (กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น) 30,000 กัป ต่อมาอีก 7 หมื่นกัป (30,000 กัปที่แล้ว) จึงเป็นมัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระสุเมธพุทธเจ้า พระสุชาตพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 กัป (1,800 กัปที่แล้ว) เป็นวรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ พระปียทัสสีพุทธเจ้า พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1,706 กัป (94 กัปที่แล้ว) เป็นสารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ พระสิทธัตถพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 กัป (92 กัปที่แล้ว) เป็นมัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระติสสพุทธเจ้า พระปุสสพุทธเจ้า ต่อมาอีก 1 กัป (91 กัปที่แล้ว) เป็นสารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ พระวิปัสสีพุทธเจ้า ต่อมาอีก 59 กัป (31 กัปที่แล้ว) เป็นมัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า ต่อมาอีก 29 กัป เป็นกัปปัจจุบัน เป็น ภัทรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 80 ปีก่อนพุทธกาล) พระเมตไตยพุทธเจ้า (อนาคตอีกหลายล้านปีนับจากที่พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=8563&Z=8606 http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=7849&Z=7924 มุนีนาถทีปนี: ศาสตร์ว่าด้วยการเป็นพระพุทธเจ้า พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 32 สืบค้นจาก http://www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka/tri_verpali/32.pdf พระไตรปิฎกฉบับประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ http://reocities.com/ss12345_th/poti/P204.html พระไตรปิฎกฉบับประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ http://reocities.com/ss12345_th/poti/P205.html พระพุทธเจ้า เจ้าชายสิทธัทถะ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า พระสรณังกรพุทธเจ้า พระทีปังกรพุทธเจ้า พระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระมังคลพุทธเจ้า พระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตพุทธเจ้า พระโสภิตพุทธเจ้า พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมพุทธเจ้า พระนารทพุทธเจ้า พระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระสุเมธพุทธเจ้า พระสุชาตพุทธเจ้า พระปิยทัสสีพุทธเจ้า พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า พระสิทธัตถพุทธเจ้า พระติสสพุทธเจ้า พระปุสสพุทธเจ้า พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ด พ ก บทความสำคัญเกี่ยวกับศาสนาพุทธ เค้าโครง · สถานีย่อย · หมวดหมู่ · Glossary · ดัชนี รากฐาน รัตนตรัย (พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์)  · อริยสัจ · อริยมรรค · นิพพาน · มัชฌิมาปฏิปทา พระพุทธเจ้า ตถาคต · วันประสูติ · เทวทูต · ลักษณะทางกายภาพ: (มหาปุริสลักขณะ 32  · อนุพยัญชนะ 80)  · รอยพระพุทธบาท · ประติมานวิทยา · ภาพยนตร์ · อิทธิปาฏิหารย์ · (พระเจ้าสุทโธทนะ (พุทธบิดา) · พระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) · พระนางยโสธรา (พระชายา) · พระราหุล (พระโอรส))  · สถานที่จำพรรษา · การกล่าวถึงในศาสนาอื่นๆ แนวคิดสำคัญ ไตรลักษณ์: (อนิจจตา · ทุกขตา · อนัตตตา)  · ปฏิจจสมุปบาท · ขันธ์ · กรรม · สังสารวัฏ · วัฏสงสาร · สังขาร · กิเลส · อวิชชา · ตัณหา · นิวรณ์ · สังโยชน์ · อินทรีย์ · โพธิ · ปรินิพพาน · ตถตา/ธรรมดา · สัตยทวัย · สุญญตา · โพธิจิต · โพธิสัตว์ · ตถาคตครรภ์ · กระแสจิต · Dzogchen จักรวาลวิทยา ภูมิทางจิต 10 ภูมิ · กามภูมิ (เทวภูมิ (ฉกามาพจร) · มนุสสภูมิ · อสุรภูมิ · เปตภูมิ · เดรัจฉานภูมิ · นรกภูมิ)  · ไตรภูมิ ข้อปฏิบัติ ไตรสรณคมณ์ · Buddhist devotion · การบูชา: (Offerings · Prostration · การสวดมนต์)  · บุญ · ปริตร · ทาน · เนกขัมมะ · ศีล: (ปัญจศีล · โพธิสัตวสิกขาบท · ปาฏิโมกข์)  · ไตรสิกขา: (ศีล · สมาธิ · ปัญญา)  · พรหมวิหาร: (เมตตา · กรุณา · มุทิตา · อุเบกขา)  · ปารมิตา · โพธิปักขิยธรรม · โพชฌงค์ 7 · อิทธิบาท · พละ 5 · ศรัทธา · วิริยะ (สัมมัปปธาน 4)  · สติ (สติปัฏฐาน 4)  · ฌาน  · ภาวนา · สมาธิ: (กรรมฐาน  · อนุสสติ · Smarana · อานาปานสติ · สมถกรรมฐาน · วิปัสสนากรรมฐาน · ชิคังทะซะ · ซะเซ็น · โคอัน · มัณฑละ · Tonglen · ตันตระ · Tertön · Terma) การบรรลุธรรม ประเภทของพุทธะ: (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า · พระปัจเจกพุทธเจ้า · อนุพุทธะ)  · อริยบุคคล: (โสดาบัน · สกทาคามี · อนาคามี · พระอรหันต์) พุทธบริษัท ภิกษุ · ภิกษุณี · สามเณร · สามเณรี · อนาคาริก · พระอาจารย์ · สะยาดอว์ · อาจารย์เซน · โรชิ · ลามะ · รินโปเช · Geshe · Tulku · ฆราวาส · อุบาสก · สาวก บุคคลสำคัญ พระโคตมะพุทธเจ้า · พระสารีบุตร · พระมหาโมคคัลลานะ · พระอานนท์ · พระมหากัสสปะ · พระอนุรุทธเถระ · พระมหากัจจายนะ · พระนันทะ · พระสุภูติ · พระปุณณมันตานีบุตร · พระอุบาลีเถระ · พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี · พระเขมาเถรี · พระอุบลวรรณาเถรี · พระพุทธโฆสะ · พระนาคเสนเถระ · พระโพธิธรรม  · พระนาคารชุน · อสังคะ · พระวสุพันธุ · พระอตีศะ · พระปัทมสัมภวะ · ทะไลลามะ  · ฮุ่ยเหนิง  · เต้าซิ่น คัมภีร์ พระไตรปิฎก: (พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก)  · อรรถกถา  · ฎีกา · อนุฎีกา · โยชนา · ปกรณ์วิเสส · คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย · พระสูตรมหายาน · พระไตรปิฎกภาษาจีน  · พระไตรปิฎกภาษาทิเบต  · วิสุทธิมรรค  · สมันตปาสาทิกา  · สัจจสังเขป  · ชินาลังการ  · กัจจายนะวยากรณ์  · ชินจริต  · สัมภารวิบาก  · สัมปิณฑิตมหานิทาน  · โลกทีปกสาร  · จักกวาฬทีปนี  · ปฐมสมโพธิ  · สัทธัมมสังคหะ  · ฎีกาพาหุํ  · มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ  · สารสังคหะ  · พุทธจริต  · เนตติฎีกา นิกาย เถรวาท · มหายาน: (นิกายเซน · นิกายสุขาวดี · นิกายเทียนไถ · นิกายนิชิเรน · นิกายมัธยมกะ · นิกายโยคาจาร)  · วัชรยาน: (ศาสนาพุทธแบบทิเบต · นิกายชินงน)  · Early Buddhist schools · ศาสนาพุทธก่อนการแบ่งนิกาย · หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน ประเทศ บังกลาเทศ · ภูฏาน · บรูไน  · พม่า · กัมพูชา · จีน · อินเดีย · อินโดนีเซีย · ญี่ปุ่น · เกาหลี · ลาว · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · มองโกเลีย · เนปาล  · ปากีสถาน · ฟิลิปปินส์  · รัสเซีย · สิงคโปร์ · ศรีลังกา · ไต้หวัน · ไทย · ทิเบต · เวียดนาม · เอเชียกลาง: (อัฟกานิสถาน · คาซัคสถาน · อุซเบกิสถาน)  · ตะวันออกกลาง: (อิหร่าน · สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ · อิสราเอล · ตุรกี)  · แอฟริกา: (อียิปต์ · เคนยา · เซเนกัล · แอฟริกาใต้ · ยูกันดา · ลิเบีย · โมร็อกโก)  · อเมริกากลาง: (นิการากัว)  · กลุ่มประเทศตะวันตก/ยุโรป: (อาร์เจนตินา · ออสเตรเลีย · บราซิล · ฝรั่งเศส · สหราชอาณาจักร · สหรัฐอเมริกา · เวเนซุเอลา · เยอรมนี · อิตาลี · เนเธอร์แลนด์ · แคนาดา · นิวซีแลนด์ · เม็กซิโก · ชิลี · อุรุกวัย) ประวัติศาสตร์ ลำดับเหตุการณ์ · การสังคายนาพระธรรมวินัย · ประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย · ความเสื่อมของศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย · พระเจ้าอโศกมหาราช · Greco-Buddhism · Buddhism and the Roman world · การเผยแพร่ศาสนาพุทธผ่านเส้นทางสายไหม · Persecution of Buddhists ปรัชญา อภิธรรม · ตรรกะ · พุทธวิทยา · Eschatology · Reality · God · Humanism · Engaged Buddhism · Socialism · Anarchism · Economics · Atomism · Evolution · Ethics · Fourteen unanswerable questions วัฒนธรรม ศิลปะ · Greco-Buddhist art · วรรณคดี · พระพุทธรูป · ปู้ไต้ · สัญลักษณ์: (ธรรมจักร · ธง · ภวจักร · ทังกา)  · Prayer wheel · Mala · มุทรา · มนตร์ (โอม มณิ ปัทเม หูม)  · ดนตรี · วันสำคัญ: (วิสาขบูชา · วันอุโบสถ · มาฆบูชา · อาสาฬหบูชา · เข้าพรรษา)  · ไตรจีวร · สถาปัตยกรรม: (วิหาร · วัด · สถูป · เจดีย์ · ศิลปะและสถาปัตยกรรมของวัดไทย)  · การแสวงบุญ: (ลุมพินีวัน · พุทธคยา · สารนาถ · กุสินารา)  · ต้นพระศรีมหาโพธิ์ · วัดมหาโพธิ์ · ปฏิทิน · Cuisine · มังสวิรัติ อื่นๆ Lineage · พระศรีอริยเมตไตรย · พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม)  · พระอมิตาภะพุทธะ · พรหม · มาร · ธรรมบท · พระวินัย · พระสูตร · หินยาน · ภาษาศักดิ์สิทธิ์: (ภาษาบาลี · ภาษาสันสกฤต)  · การสนทนาธรรม · กัลป์ · อภิญญา · อิทธิ การเปรียบเทียบ วิทยาศาสตร์ · จิตวิทยา · ศาสนาฮินดู · ศาสนาเชน · ศาสนาในเอเชียตะวันออก · ศาสนาคริสต์ · Theosophy · Gnosticism รายชื่อ พระพุทธเจ้า · พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ · พระโพธิสัตว์ · ชาวพุทธ · พระสูตร · หนังสือ · วัด วรรณกรรมทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท พระคาถารัตนมาลา · ไตรภูมิโลกวินิจฉัย · มหาชาติคำหลวง · มหาชาติคำหลวง · นันโทปนันทสูตรคำหลวง · ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา · คัมภีร์มหาวงศ์ · ปัญญาสชาดก · พระคาถาพาหุง · เตลกฏาหคาถา  · ประชุมพระราชปุจฉา · พระคาถาอุปปาตะสันติ  · จุลชัยยะมงคลคาถา วรรณกรรมทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สูตรของเว่ยหล่าง · พระสูตร ธัมมจักกัปปวัตนสูตร · อนัตตลักขณสูตร · อาทิตตปริยายสูตร · มหาสติปัฏฐานสูตร · รัตนสูตร · มงคลสูตร · พรหมชาลสูตร · มหาสมัยสูตร · มหาปรินิพพานสูตร · สามัญญผลสูตร · อานาปานสติสูตร · ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1893 ================================ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1893 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1893 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 20 สิงหาคม - การลงประชามติสวิตเซอร์แลนด์ ค.ศ. 1893 รายชื่อปีในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปฏิทินปี 1893 - ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บทความเกี่ยวกับปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เวลา อาคารชุด ======== อาคารชุด หรือ คอนโดมิเนียม (อังกฤษ: condominium) เป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบหนึ่งที่เจ้าของห้องชุดจะต้องแบ่งปันกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของร่วมกับเจ้าของห้องชุดอื่น ๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ทางเดิน บริเวณห้องโถง บันได ลิฟต์ โรงจอดรถ สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น ซึ่งเจ้าของห้องทุกคนจะเป็นเจ้าของร่วมตามกฎหมาย ลักษณะของห้องในอาคารชุดจะเหมือนกับห้องอยู่อาศัย เพียงแต่เราเป็นเจ้าของห้อง ไม่ใช่ผู้เช่า อาคารชุดเริ่มจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ธนิดา กิตติอดิสร จากราชบัณฑิตยสถานระบุว่า "คำว่าคอนโดมิเนียมในภาษาอังกฤษหมายถึงการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในอาคารขนาดใหญ่ที่แบ่งซอยเป็นส่วนต่าง ๆ ให้คนต่างครอบครัวพักอยู่ ต่อมามีความหมายถึง อาคารที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน หรืออาคารอื่น ที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง" ในภาษาอังกฤษ คำเรียกอาคารชุดและกรรมสิทธิ์ร่วมในอาคารชุดนอกเหนือจากคำว่า condominium จะต่างกันไปในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค เช่น ในออสเตรเลียและแคนาดาเฉพาะรัฐบริติชโคลัมเบียนิยมเรียกว่า strata title ในขณะที่รัฐควิเบกเรียกว่า divided co-property ส่วนในอังกฤษและเวลส์เรียกว่า commonhold ส่วนภาษาฝรั่งเศสจะเรียกว่า copropriété และในรัฐควิเบกอาจเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า copropriété divise อาคารชุด หรือ คอนโดมิเนียม (อังกฤษ: condominium) เป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบหนึ่งที่เจ้าของห้องชุดจะต้องแบ่งปันกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของร่วมกับเจ้าของห้องชุดอื่น ๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ทางเดิน บริเวณห้องโถง บันได ลิฟต์ โรงจอดรถ สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น ซึ่งเจ้าของห้องทุกคนจะเป็นเจ้าของร่วมตามกฎหมาย ลักษณะของห้องในอาคารชุดจะเหมือนกับห้องอยู่อาศัย เพียงแต่เราเป็นเจ้าของห้อง ไม่ใช่ผู้เช่า อาคารชุดเริ่มจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ธนิดา กิตติอดิสร จากราชบัณฑิตยสถานระบุว่า "คำว่าคอนโดมิเนียมในภาษาอังกฤษหมายถึงการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในอาคารขนาดใหญ่ที่แบ่งซอยเป็นส่วนต่าง ๆ ให้คนต่างครอบครัวพักอยู่ ต่อมามีความหมายถึง อาคารที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน หรืออาคารอื่น ที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง" ในภาษาอังกฤษ คำเรียกอาคารชุดและกรรมสิทธิ์ร่วมในอาคารชุดนอกเหนือจากคำว่า condominium จะต่างกันไปในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค เช่น ในออสเตรเลียและแคนาดาเฉพาะรัฐบริติชโคลัมเบียนิยมเรียกว่า strata title ในขณะที่รัฐควิเบกเรียกว่า divided co-property ส่วนในอังกฤษและเวลส์เรียกว่า commonhold ส่วนภาษาฝรั่งเศสจะเรียกว่า copropriété และในรัฐควิเบกอาจเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า copropriété divise ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2554, หน้า 35. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1401. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 247. คอนโด (๒๒ เมษายน ๒๕๕๑) .royin.go.th คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: อาคารชุด อาคารชุดในแคนาดา ประเทศพม่าใน ค.ศ. 2004 ====================== เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 2004 ในประเทศพม่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 2004 ในประเทศพม่า เซนลวีน ปฎิทินปี 2004 - ประเทศพม่า บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ ยูโกสลาเวียในโอลิมปิกฤดูหนาว 1948 ================================= ยูโกสลาเวีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 5 ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) ณ เมืองเซนท์มอริทซ์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ยูโกสลาเวีย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 5 ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) ณ เมืองเซนท์มอริทซ์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ยูโกสลาเวียในโอลิมปิก ธงชาติยูโกสลาเวีย รหัสประเทศ : YUG เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกยูโกสลาเวีย โอลิมปิกฤดูหนาว 1948 ซังคท์โมริทซ์ สวิตเซอร์แลนด์ เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1920 • 1924 • 1928 • 1932 • 1936 • 1948 • 1952 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1972 • 1976 • 1984 • 1988 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1998 • 1928 • 1932 • 1936 • 1948 • 1952 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 การเข้าร่วมในนามของชาติอื่น บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (1992–) โครเอเชีย (1992–) คอซอวอ (2016–) มาซิโดเนีย (1996–) มอนเตเนโกร (2008–) เซอร์เบียและมอนเตเนโกร (1996–2006) เซอร์เบีย (1912; 2008–) สโลวีเนีย (1992–) สุจิตต์ วงษ์เทศ =============== สุจิตต์ วงษ์เทศ (20 เมษายน พ.ศ. 2488 - ปัจจุบัน) นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นนักเขียนประจำในเครือมติชน เขียนเป็นประจำในคอลัมน์ "สยามประเทศไทย" ในหนังสือพิมพ์มติชน และผู้บรรยาย องค์ปาฐกถาพิเศษด้านศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ. 2545 (แต่ได้ขอปฏิเสธรางวัลและค่าตอบแทน) สุจิตต์ วงษ์เทศ (20 เมษายน พ.ศ. 2488 - ปัจจุบัน) นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นนักเขียนประจำในเครือมติชน เขียนเป็นประจำในคอลัมน์ "สยามประเทศไทย" ในหนังสือพิมพ์มติชน และผู้บรรยาย องค์ปาฐกถาพิเศษด้านศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ. 2545 (แต่ได้ขอปฏิเสธรางวัลและค่าตอบแทน) สุจิตต์ วงษ์เทศ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2488 ที่บ้านด่าน ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ) จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ สำเภา วงษ์เทศ เป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านด่าน มารดาชื่อลิ้นจี่ วงษ์เทศ สุจิตต์ เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 6 คน สมรสกับศาสตราจารย์ ปรานี วงษ์เทศ (สกุลเดิม: เจียรดิษฐ์อาภรณ์) เมื่อ พ.ศ. 2514 มีบุตร 2 คน สุจิตต์ วงษ์เทศ เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดต้นโพธิ์ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากนั้นได้ย้ายตามลูกของลุงที่บวชเป็นพระมาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร แล้วเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพมหานคร แล้วไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 แผนกวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ต่อมาได้ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จนสำเร็จปริญญาตรีใน พ.ศ. 2513 สุจิตต์ วงษ์เทศ เริ่มสนใจงานเขียนมาตั้งแต่เรียนที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ด้วยการชักชวนของนายขรรค์ชัย บุนปาน เพื่อนร่วมห้องซึ่งทำหนังสือประจำห้องอยู่ก่อนแล้วด้วยใจรักและด้วยความสนุกร่วมกับนายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ เพื่อนในชั้นเรียนอีกคนหนึ่ง ชักชวนกันเขียนกลอน ช่วงนั้นได้อ่านหนังสือของไม้ เมืองเดิม เกิดความชอบใจสำนวนโวหาร จึงคิดเขียนกลอนที่แตกต่างจากกลอนรักที่นิยมเขียนกันทั่วไป คือ เขียนกลอนแนวลูกทุ่งสะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรมในขณะนั้น จนมีผลงานรวมพิมพ์เป็นเล่ม ร่วมกับผลงานของนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ นิราศ เมื่อ พ.ศ. 2507 โดยสุจิตต์ เขียนนิราศเมืองนนท์ ส่วนกลอนลูกทุ่ง เขียนร่วมกัน ต่อมา พ.ศ. 2508 เขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ คนบาป ซึ่งเป็นปฐมบทของพฤติกรรม "ขุนเดช" ผู้หวงแหนโบราณวัตถุและโบราณสถาน ลงพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2509 ทำให้มีกำลังใจเขียนเรื่องสั้นต่ออีกมาก จน พ.ศ. 2511 มีรวมเรื่องสั้นเล่มแรกร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ ครึ่งรักครึ่งใคร่ และโด่งดังมากใน พ.ศ. 2512 จากผลงานร้อยกรองร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ กูเป็นนิสิตนักศึกษา และรวมเรื่องสั้นของตนเอง ชื่อ ขุนเดช กับนวนิยายขนาดสั้น หนุ่มหน่ายคัมภีร์ ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง โดยเฉพาะรวมเรื่องสั้นชุดขุนเดช มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกด้วย ในช่วงที่เรียนคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากจะประพันธ์ร้อยกรองและเรื่องสั้นกับเพื่อนๆ นักเขียนกลุ่ม "หนุ่มเหน้าสาวสวย" จนโด่งดังแล้ว ยังได้ไปทำนิตยสารช่อฟ้า ที่มีนายสำราญ ทรัพย์นิรันดร์ เป็นบรรณาธิการ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยรับหน้าที่บรรณาธิการวารสารโบราณคดี และได้ทำงานที่โรงพิมพ์กรุงสยาม รับจ้างพิสูจน์อักษร ออกแบบปก จัดทำรูปเล่มและทำงานการพิมพ์อื่น ๆ เกือบทุกอย่าง ทำให้รอบรู้และมีรายได้ส่งเสียตัวเองและน้องสาวที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ด้วย เนื่องจากนายสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยอ่านวรรณคดีโบราณ เช่น ทวาทศมาส ยวนพ่าย กำสรวลโคลงดั้น ฯลฯ มามาก จึงได้รับการขอร้องจากอาจารย์ให้เป็นผู้สอนวิชาภาษาและวรรณคดีไทยในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 และสอนต่อเนื่องมาจนจบการศึกษาแล้วก็ยังกลับไปสอนอีกระยะหนึ่ง เมื่อเรียนจบปริญญาตรี เมื่อพ.ศ. 2513 ได้เข้าทำงานกับ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ทำงานแทนบรรณาธิการเกือบทุกอย่างประมาณ 1 ปี จึงขอลาไปสหรัฐอเมริกา 1 ปีเศษ ทำงานเขียนหนังสืออย่างเดียว มีผลงานรวมเรื่องสั้นพิมพ์เผยแพร่ในช่วงนี้ชุดหนึ่ง ชื่อ มุกหอมบนจานหยก เรื่องที่ส่งกลับมาลงพิมพ์ในสยามรัฐรายวัน และเรื่องที่เขียนให้นายสุทธิชัย หยุ่น แปลเป็นภาษาอังกฤษลงในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นนั้น ได้รวมพิมพ์ชื่อ เมดอิน ยูเอสเอ และ โง่เง่าเต่าตุ่นเมดอิน ยูเอสเอ ช่วงที่อยู่สหรัฐอเมริกาได้แต่งงานกับนางสาวปรานี เจียรดิษฐ์อาภรณ์ (รองศาสตราจารย์ปรานี วงษ์เทศ) ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 เดินทางกลับมาทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวันตามเดิม แล้วออกมาพร้อมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน และนายเสถียร จันทิมาธร ไปทำงานที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายวันระยะหนึ่ง แล้วร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ก่อตั้งโรงพิมพ์พิฆเนศ กระทั่งหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงเริ่มออกหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายสัปดาห์ ซึ่งต่อมาเป็นประชาชาติรายวัน โดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นบรรณาธิการในระยะแรก แต่ถูกสั่งปิดในระยะต่อมา จึงไปช่วยก่อตั้งสำนักพิมพ์การเวกจัดพิมพ์หนังสือต่าง ๆ ออกจำหน่าย จากนั้นได้ก่อตั้งโรงพิมพ์เรือนแก้วเป็นของตัวเอง ออกหนังสือการะเกดรายสัปดาห์ ก็เลิกล้มไปอีก จนกระทั่ง พ.ศ. 2522 ริเริ่มทำนิตยสารศิลปวัฒนธรรมรายเดือน ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้อ่านกว้างขวาง จึงรับหน้าที่บรรณาธิการเรื่อยมา จนภายหลังได้มอบหมายให้นายฐากูร บุนปาน ทำหน้าที่นี้แทน ขณะเดียวกันก็เขียนบทความแนวประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมในนามจริง สุจิตต์ วงษ์เทศ และใช้นามปากกา "ทองเบิ้ม บ้านด่าน" ไปพร้อม ๆ กับงานร้อยกรอง ด้วยความรักในกาพย์ กลอน นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ยังคงสร้างผลงานกวีนิพนธ์ร่วมสมัยสะท้อนสภาพสังคมเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นบทกลอนสั้น ๆ ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันประจำทุกวันอาทิตย์จนถึงปัจจุบัน นายสุจิตต์ วงษ์เทศ นับเป็นกวีที่มีผลงานโดดเด่นด้วยการนำรูปแบบของร้อยกรองพื้นบ้าน มาปรับให้เข้ากับสังคมปัจจุบัน มีผลงานหลากหลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า 40 ปี ได้แก่ ผลงานด้านร้อยกรอง ผลงานรวมเล่มแต่งร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ได้แก่ นิราศ กลอนลูกทุ่ง เห่ลูกทุ่ง กูเป็นนิสิตนักศึกษา หันหลังชนกัน ฯลฯ ผลงานเดี่ยว ได้แก่ นิราศ 12 เดือนฉบับไพร่ เพลงยาวถึงนายกรัฐมนตรี เสภาไพร่ เสภาน้ำท่วมหาบเร่ เสภาเผด็จการ ไพร่ขับเสภา เสภาเบ็ดเตล็ด และบทกวีสั้น ๆ ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันอาทิตย์ ฯลฯ ผลงานรวมเรื่องสั้น ได้แก่ หันหลังชนกัน ขุนเดช มุกหอมบนจานหยก ครึ่งรักครึ่งใคร่ หยิบเงามาชักเงา (ผลงานรวมเล่ม 2 เรื่องหลังแต่งร่วมกับขรรค์ชัย บุนปาน) ฯลฯ ผลงานด้านนวนิยาย ได้แก่ หนุ่มหน่ายคัมภีร์ ประดาบก็เลือดเดือด ศึกเจ้าพระยา ไผ่ตัน ผลงานด้านรวมบทความ ได้แก่ เดินหน้าเข้าคลอง เมดอิน ยูเอสเอ โง่เง่าเต่าตุ่น ฯลฯ ผลงานด้านวรรณกรรมเยาวชน ได้แก่ เด็กชายดวงเข้าเมือง ผลงานด้านวิชาการ ผลงานเดี่ยว ได้แก่ คนไทยอยูที่นี่ที่อุษาคเนย์ เยี่ยมอุบลฯ 3,000 ปี ร้องรำทำเพลง : ดนตรีและนาฏศิลป์ชาวสยาม ศรีศัทธา คนไทยอยู่ที่นี่ อยุธยาศล่มแล้ว ศรีมหาโพธิ์และศรีวัตสะปุระ นาคในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ ล้านนา : มหาราชอาณาจักร กว่าจะเป็นกรุงศรีอยุธยา ราชอาณาจักรสยามแห่งแรก เจดีย์ยุทธหัตถีมีจริงหรือ ? รามคำแหง, ศิลาจารึก ศรีวิชัย แม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์ วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ ตำบลโคกปีบ พลิกประวัติศาสตร์แคว้นสุโขทัย ท้าวศรีสุดาจันทร์ “แม่หยัวเมือง” ศึกเจ้าพระยา ขุนช้าง ขุนแผนแสนสนุก บ้านเชียง ศรีวิชัยในสยาม เบิ่งสังคมและวัฒนธรรมอีสาน แม่น้ำลำคลองสายประวัติศาสตร์ เจ๊กปนลาว อยุธยายศยิ่งฟ้า พระปฐมเจดีย์ไม่ใช่เจดีย์แห่งแรกแต่เป็นมหาธาตุหลวง ยุคทวาราวดี สารนิยายอิงจดหมายเหตุฝรั่งเศส สมัยกรุงศรีอยุธยา ศึกมักกะสัน เมืองบางกอก ผลงานแต่งร่วมกับผู้อื่น ได้แก่ ไทยน้อยไทยใหญ่ ไทยสยาม แต่งร่วมกับศรีศักร วัลลิโภดม กรุงเทพฯ มาจากไหน แต่งร่วมกับศรีศักร วัลลิโภดม ฯลฯ หนังสือเรียนสังคมศึกษา แต่งร่วมกับศรีศักร วัลลิโภดม และพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ลาว 10 ปี หลังปฏิวัติ แต่งร่มกับชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ ได้แก่ สุนทรภู่ ครูเสภาและทะเลอันดามัน ไม่มีนางนพมาศ ไม่มีลอยกระทงสมัยสุโขทัย การบ้านการเมือง เรื่องเจ้าฟ้ากุ้ง ฝรั่งอุษาคเนย์ จิม ทอมป์สัน “ราชาไหมไทย” หรือ “สายลับ” ตามรอยศรีวิชัย กรุงเทพไม่มีพิพิธภัณฑ์กรุงเทพ พระสุริโยทัยเป็นใคร? มาจากไหน? พระนเรศวรตีเมืองละแวก แต่ไม่ได้ “ฆ่า” พระยาละแวก ประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการลาว จามเทวีจอมนางหริภุญไชย เวียง วัง ฝั่งธนฯ ชุมชนชาวสยาม สุนทรภู่มหากวีกระฎุมพี มหาราชวงษ์ พงศาวดารและปฐมวงศ์ กวีสยามนำเที่ยวกรุงเทพ ภาพเขียนสีพิธีกรรม 3,000 ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นกวีร่วมสมัยผู้สืบสานและสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ของไทย บทกวีของนายสุจิตต์ วงศ์เทศ ปรับประยุกต์ขนบวรรณศิลป์พื้นบ้านมาสะท้อนและวิพากษ์วิจารณ์วิถีชีวิตของผู้คน สังคม และการเมืองร่วมสมัย ด้วยท่วงทำนองเรียบง่ายแต่เฉียบคม นายสุจิตต์ วงษ์เทศ พิสูจน์ให้เห็นว่ากวีนิพนธ์สามารถสื่อเนื้อหาทางสังคมและการเมืองร่วมสมัยได้อย่างทรงพลัง ทั้งพลังเชิงวรรณศิลป์และพลังทางปัญญา นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นปฏิภาณกวีผู้เชี่ยวชาญในการด้นกลอนเสภา อีกทั้งผสมผสานมรดกทางวรรณศิลป์ของไทยตั้งแต่วรรณคดีโบราณ เพลงพื้นบ้านต่าง ๆ ประวัติศาสตร์ โบราณคดีและตำนาน เพื่อนำมาเสนอเรื่องราวร่วมสมัย กวีนิพนธ์จำนวนมากนำเสนอวิถีชีวิตของสามัญชนชาวไทยที่ยากลำบาก แต่ก็ยังต่อสู้ดิ้นรนและมีความรักประเทศชาติและผืนแผ่นดิน จากประวัติชีวิตและผลงานดังกล่าว คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2527 - นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทวารสารเฉพาะวิชาในการคัดเลือกสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) พ.ศ. 2536 - ได้รับรางวัลศรีบูรพา จากกองทุนศรีบูรพา พ.ศ. 2545 - ได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ. 2545 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน. ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2545. 250 หน้า. วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ เว็บไซต์ทางการของสุจิตต์ วงษ์เทศ สุจิตต์ วงษ์เทศ นามปากกา: สุจิตต์ วงษ์เทศ ทองเบิ้ม บ้านด่าน เกิด: 20 เมษายน พ.ศ. 2488 (72 ปี) อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี อาชีพ: นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี สัญชาติ: ไทย บิดา: สำเภา วงษ์เทศ มารดา: ลิ้นจี่ วงษ์เทศ คู่สมรส: ปรานี วงษ์เทศ รางวัล: ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) พ.ศ. 2545 ลายมือชื่อ: เว็บไซต์: http://www.sujitwongthes.com/ ผลงานวรรณกรรมของนายสุจิตต์ วงษ์เทศ สาธารณรัฐโปรตุเกสในโอลิมปิกฤดูร้อน 1968 ======================================= สาธารณรัฐโปรตุเกส เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 19 ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12 ตุลาคม – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2511 สาธารณรัฐโปรตุเกส เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 19 ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12 ตุลาคม – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2511 บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา ประเทศโปรตุเกสในโอลิมปิก ธงชาติโปรตุเกส รหัสประเทศ : POR เอ็นโอซี : คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งโปรตุเกส เว็บไซต์ : www.comiteolimpicoportugal.pt (โปรตุเกส) โอลิมปิกฤดูร้อน 1968 เม็กซิโกซิตี เม็กซิโก เหรียญ 0 0 0 0 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1912 • 1920 • 1924 • 1928 • 1932 • 1936 • 1948 • 1952 • 1956 • 1960 • 1964 • 1968 • 1972 • 1976 • 1980 • 1984 • 1988 • 1992 • 1996 • 2000 • 2004 • 2008 • 2012 • 2016 การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1952 • 1988 • 1994 • 1998 • 2002 • 2006 • 2010 • 2014 • 2018 แขน === บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน แขน เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของมนุษย์อยู่ระหว่างไหล่กับข้อศอก ใช้ในการเคลื่อนที่ สัตว์บางชนิดจะมีแขนเช่นลิงในการหยิบจับหรือคลาน ส่วนปลายแขนหมายถึงแขนตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอก ต้นแขนหมายถึงหมายถึงแขนตั้งแต่ข้อศอกจนถึงมือ บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน แขน เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของมนุษย์อยู่ระหว่างไหล่กับข้อศอก ใช้ในการเคลื่อนที่ สัตว์บางชนิดจะมีแขนเช่นลิงในการหยิบจับหรือคลาน ส่วนปลายแขนหมายถึงแขนตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอก ต้นแขนหมายถึงหมายถึงแขนตั้งแต่ข้อศอกจนถึงมือ บทความเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ โครงการวิกิกายวิภาคศาสตร์ แขน รายละเอียด ภาษาละติน Brachium หลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงรักแร้ หลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำรักแร้ ประสาท ข่ายประสาทแขน การระบุ MeSH D001132 FMA 24878 อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ แขน ได้โดยค้นหาจาก โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย : หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม หนังสือ จากวิกิตำรา คำคม จากวิกิคำคม ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์ เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย โครงสร้างของแขน การ์ฟีลด์ ========= การ์ฟีลด์ (อังกฤษ: Garfield) เป็นการ์ตูนช่องเรื่องสั้น เขียนโดย จิม เดวิส ตัวละครนำในเรื่องได้แก่ เจ้าแมวอ้วน การ์ฟีลด์ เจ้าหมาน้อย โอดี้ และหนุ่มผู้เป็นเจ้าของเจ้าการ์ฟิลด์และโอดี้ จอน อาร์บัคเคิ้ล ในปี ค.ศ. 2006 การ์ตูนช่องเรื่องการ์ฟีลด์ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กว่า 2,570 ฉบับทั่วโลก หนังส